หน่วยสืบราชการลับสหรัฐฯ เผยแฮ็กเกอร์จีนขโมยเงินมหาศาลไปจากกองทุนโควิด-19

Loading

  หน่วยสืบราชการลับของสหรัฐอเมริกา (Secret Service) เผยว่ากลุ่มแฮ็กเกอร์แบบอำพรางขั้นสูง (APT) ที่มีรัฐบาลจีนให้การสนับสนุนได้ขโมยเงินอย่างน้อย 20 ล้านเหรียญ (ราว 700 ล้านบาท) ไปจากกองทุนช่วยเหลือโควิด-19 ของสหรัฐฯ   แฮ็กเกอร์กลุ่มนี้มีชื่อเรียกว่า APT41 มีฐานปฏิบัติการอยู่ในมณฑลเฉิงตู ที่ผ่านมาเคยขโมยเงินจากกองทุนกู้ยืมธุรกิจขนาดเล็ก (SBA) และกองทุนประกันการว่างงานในมากกว่า 12 รัฐ   แต่หน่วยสืบราชการรัฐเชื่อว่าเหยื่อจริง ๆ อาจมีจำนวนมากกว่านั้นมาก โดยเผยว่ามีการสืบสวนมากกว่า 1,000 คดีที่กำลังดำเนินอยู่ คดีส่วนใหญ่เกี่ยวกับการฉ้อโกงและการจารกรรมเงินจากกองทุนสาธารณะ   รอย ดอตสัน (Roy Dotson) ผู้ประสานงานด้านการกู้คืนจากการฉ้อโกงโรคระบาดแห่งชาติของหน่วยสืบราชการลับเชื่อว่าหาก APT41 จะโจมตีทั้ง 50 รัฐของสหรัฐฯ ก็ย่อมเป็นไปได้   สำนักข่าว NBC ชี้ว่าปฏิบัติการโจมตีของ APT41 เริ่มต้นในกลางปี 2020 จนส่งผลกระทบต่อ 2,000 บัญชีที่มีการทำธุรกรรมมากกว่า 40,000 รายการ ขณะที่…

ผู้เชี่ยวชาญพบปฏิบัติการไซเบอร์ที่ใช้แอป Android ปลอมส่งมัลแวร์ดูดข้อมูลเหยื่อ

Loading

  Zimperium บริษัทด้านไซเบอร์พบปฏิบัติการโจมตีทางไซเบอร์ที่ใช้แอปอ่านหนังสือและแอปการศึกษาบน Android ปล่อยมัลแวร์ประเภท Trojan เพื่อขโมยข้อมูลของเหยื่อ ที่เริ่มเคลื่อนไหวมาตั้งแต่ปี 2018   ปฏิบัติการนี้มุ่งเป้าโจมตีเหยื่อชาวเวียดนาม โดย Trojan ตัวนี้มีชื่อว่า Schoolyard Bully ซึ่งแฝงอยู่ในแอปหลายตัวที่เปิดให้ดาวน์โหลดบน Google Play Store และแอปภายนอก   แอปเหล่านี้แอบอ้างเป็นแอปด้านการศึกษาที่อ้างว่ามีหนังสือและหัวข้อด้านวิชาการให้ผู้ใช้อ่าน แต่จริง ๆ แล้วแอปเหล่านี้มีกลไกในการขโมยข้อมูลโซเชียลมีเดีย และข้อมูลอุปกรณ์ของผู้ใช้   Schoolyard Bully ขโมยข้อมูลของผู้ใช้โดยการเปิดหน้าล็อกอินของ Facebook ภายในแอปและใส่โค้ด JavaScript ที่ดูดข้อมูลที่ผู้ใช้กรอก มัลแวร์ตัวนี้สามารถหลบหลีกโปรแกรมต้านไวรัสและเครื่องมือตรวจหาไวรัสแบบ Machine Learning ได้ด้วย   Zimperium ชี้ว่าปฏิบัติการมัลแวร์นี้มีเหยื่อไปแล้วมากกว่า 300,000 คนใน 71 ประเทศ แต่อาจจะน้อยกว่าความเป็นจริงเนื่องจากแอปเหล่านี้ยังเปิดให้ดาวน์โหลดอยู่     ที่มา Neowin       ————————————————————————————————————————-…

ดีอีเอส เตือน! ระวังถูกหลอกโหลดสติกเกอร์ไลน์ จากมิจฉาชีพ

Loading

  ดีอีเอส แจ้งเตือนผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ระวังการโหลดสติกเกอร์ไลน์จากมิจฉาชีพ อาจโดนสวมสิทธ์ จากภัยไซเบอร์   นางสาวนพวรรณ หัวใจมั่น โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฝ่ายการเมือง (ดีอีเอส) กล่าวว่า ปัจจุบันมิจฉาชีพมีการชักชวนสมาชิกผู้ใช้แอปพลิเคชันสื่อสารและส่งข้อความไลน์ ให้โหลดสติกเกอร์จำนวนมาก อาทิ สติกเกอร์ปีใหม่ สติกเกอร์การ์ตูน ดีอีเอส ได้มีการติดตามผู้กระทำความผิดผ่านไลน์และได้รับแจ้งข้อมูลจากผู้ที่ได้รับผลกระทบจำนวนมาก ในฐานะผู้กำกับดูแลและรับผิดชอบความมั่นคงปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ตให้กับประชาชน   ขอแนะนำผู้ใช้ไลน์ทุกท่านตรวจสอบและระวังการโหลดสติกเกอร์ที่ไม่ได้มาจากผู้ให้บริการสื่อสังคมออนไลน์โดยตรง โดยมีข้อความที่ไม่น่าไว้วางใจ เช่น โหลดสติกเกอร์ฟรี หากท่านส่งข้อมูลให้กับเพื่อนครบจำนวน 10 คน   ทั้งนี้ การเชิญชวนการโหลดสติกเกอร์ดังกล่าว อาจมีการหลอกลวงให้ผู้ใช้ไลน์ใส่ชื่อ และรหัสการเข้าใช้ไลน์ รวมถึงข้อมูลส่วนตัว ซึ่งอาจจะเป็นช่องทางให้มิจฉาชีพ นำชื่อและรหัสการใช้งานของท่านไปทำธุรกรรมต่าง ๆ หรืออาจมีการสวมสิทธิ์เป็นท่านเพื่อกระทำผิดได้   นางสาวนพวรรณ กล่าวต่อว่า สติกเกอร์ที่ท่านสามารถดาวน์โหลดจากไลน์มี 2 รูปแบบหลัก ได้แก่ 1. Sponsored Sticker > สติกเกอร์ฟรีที่ได้รับเมื่อเพิ่มบัญชีทางการของแบรนด์นั้น ๆ 2. Mission Sticker > สติกเกอร์ฟรีที่ได้รับเมื่อร่วมกิจกรรมทางการตลาดผ่านบัญชีทางการของแบรนด์นั้นๆ…

LastPass เผยโดนแฮ็กข้อมูลผู้ใช้ แต่รหัสที่ฝากไว้ยังอยู่ดี

Loading

  ย้อนกลับไปในเดือนสิงหาคม มีรายงานว่า LastPass ถูกมือดีแฮ็กระบบ โดยความเสียหายคือ ถูกขโมยซอร์สโค้ด (Source Code) และข้อมูลทางเทคนิคของบริษัทไปได้ ล่าสุดทางผู้ให้บริการจัดเก็บรหัสผ่านที่มีผู้ใช้ถึง 33 ล้านรายนี้ ออกมาแถลงความคืบหน้าแล้ว   LastPass เผยความคืบหน้าล่าสุด หลังถูกมือดีแฮ็กระบบ จนเข้าถึงข้อมูลทางเทคนิคของบริษัทได้ และยอมรับว่ามีข้อมูลผู้ใช้หรือลูกค้า ก็ถูกเข้าถึงได้เช่นกัน ทว่าข้อมูลลูกค้าที่เข้าถึงได้นั้น ก็เป็นเพียง [องค์ประกอบบางส่วน] เท่านั้น ส่วนข้อมูลรหัสผ่านต่าง ๆ ที่ลูกค้าฝากไว้ ยังไม่ถูกล่วงรู้   สืบเนื่องจาก Zero-Knowledge หรือการรับประกันข้อมูลส่วนตัวที่ปลอดภัยที่สุด ซึ่งทางบริษัทนำมาใช้นี้เอง ทำให้มีเฉพาะผู้ใช้เท่านั้น ที่รู้ว่าฝากรหัสอะไรไว้ และใช้ [รหัสผ่านหลัก] อะไรในการเข้าถึง ซึ่งทั้งหมดนี้ ทางบริษัทก็ยังไม่สามารถเข้าถึงได้   Karim Toubba ซีอีโอของ LastPass เผยทางบริษัทตรวจพบความผิดปกติภายในบริการจริง แต่ก็พิจารณาแล้วว่าข้อมูลที่หลุดออกไปนั้น ยังไม่ถึงขั้นทำให้ลูกค้าหมดความมั่นใจ   แต่ตั้งทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ยังต้องมีการตรวจสอบต่อไป ว่ามีข้อมูลอะไรอีกบ้างที่ถูกขโมยได้ และยังได้มีการจ้าง Mandiant…

แฮ็กเกอร์นำข้อมูลพนักงานร้าน IKEA ในตะวันออกกลางไปเผยแพร่บนโลกออนไลน์

Loading

  แก๊งมัลแวร์เรียกค่าไถ่ Vice Society เผยแพร่ข้อมูลทางธุรกิจที่ขโมยมาจาก IKEA สาขาในโมร็อกโก คูเวต และจอร์แดน ไว้บนเว็บไซต์ของแก๊ง ขณะที่ทาง IKEA ออกมายืนยันแล้วว่าถูกขโมยไปจริง   ชื่อไฟล์และโฟลเดอร์สะท้อนให้เห็นว่า ข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงาน รวมอยู่ในข้อมูลที่หลุดออกมาด้วย   IKEA ระบุว่ากำลังร่วมมือกับหน่วยงานและหุ้นส่วนด้านไซเบอร์ที่เกี่ยวข้องในการสืบสวนกรณีการโจมตีทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้น แต่ให้ข้อมูลด้วยว่าร้าน IKEA สาขาในโมร็อกโกและคูเวตดำเนินการโดยบริษัทแฟรนไชส์ในคูเวตเป็นอิสระจากร้าน IKEA อื่น ๆ   Vice Society เริ่มออกอาละวาดมาตั้งแต่ปลายปี 2020 เป็นต้นมา ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าน่าจะมีความเกี่ยวข้องกับแก๊งมัลแวร์เรียกค่าไถ่ที่ชื่อว่า HelloKitty เนื่องจากมีการตั้งชื่อไฟล์และกลยุทธ์การโจมตีที่คล้ายคลึงกัน   ที่ผ่านมา Vice Society เน้นโจมตีองค์กรในวงการการศึกษา โดยเคยปล่อยข้อมูลที่ขโมยมาจากเขตการศึกษาลอสแอนเจลิส (LAUSD) เมื่อเดือนกันยายน 2021 ในขณะที่องค์กรค้าปลีกคิดเป็นเพียงร้อยละ 7 ของผู้เสียหายของ Vice Society เท่านั้น   Darkfeed เครื่องมือเฝ้าระวังดีปเว็บเผยว่าบนเว็บไซต์ของ Vice Society…

ข้อมูลผู้อพยพ 6,000 รายหลุดบนเว็บไซต์หน่วยงานตรวจคนเข้าเมืองของสหรัฐฯ

Loading

  สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองและศุลกากรของสหรัฐอเมริกา (ICE) เผยแพร่ชื่อ สถานะการอพยพ วันเกิด สัญชาติ และสถานที่ตั้งของศูนย์กักของผู้อพยพมากกว่า 6,000 รายโดยไม่ได้ตั้งใจระหว่างการอัปเดตเว็บไซต์ ผู้อพยพเหล่านี้อ้างว่าหนีจากการทรมานและการดำเนินคดีจากประเทศต้นทาง   กลุ่มส่งเสริมสิทธิผู้อพยพ Human Rights First เป็นผู้แจ้งเตือน ICE ต่อกรณีที่เกิดขึ้น ทำให้ทางหน่วยงานรีบลบข้อมูลออกจากเว็บไซต์ทันที หลังจากที่ข้อมูลอยู่บนหน้าเว็บไซต์เป็นเวลา 5 ชั่วโมง   ICE อยู่ระหว่างการสืบสวนความผิดพลาดที่เกิดขึ้นและจะมีการแจ้งผู้อพยพที่ได้รับผลกระทบ โดยให้คำมั่นว่าจะไม่ส่งผู้อพยพที่อยู่ในรายชื่อกลับประเทศจนกว่าจะพิสูจน์ทราบผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อบุคคลเหล่านี้ได้ รวมถึงจะแจ้งไปยังประชาชนที่ดาวน์โหลดข้อมูลเหล่านี้ให้ลบออกไปด้วย   โฆษกของ ICE ชี้ว่าการเผยแพร่ข้อมูลโดยไม่ได้ตั้งใจในครั้งนี้ถือว่าละเมิดนโยบายของหน่วยงาน ในขณะที่เจ้าหน้าที่ของกระทรวงความมั่นคงมาตุภูมิ (DHS) ชี้ว่าการหลุดของข้อมูลเป็นเรื่องที่น่าอายและอันตรายต่อเจ้าของข้อมูล   ไฮดี อัลต์แมน (Heidi Altman) ผู้อำนวยการนโยบายแห่ง National Immigrant Justice Center องค์กรส่งเสริมสิทธิผู้อพยพอีกแห่งให้ความเห็นว่าข้อมูลที่หลุดออกมาจะทำให้ชีวิตของผู้อพยพตกอยู่ในอันตราย   ด้าน เบลน บุกกี (Blaine Bookey) ผู้อำนวยการกฎหมายจากศูนย์เพศสภาวะและผู้ลี้ภัยศึกษา แห่งมหาวิทยาลัยยูซี เฮสติงส์…