ผู้เชี่ยวชาญพบ Lazarus กลุ่มแฮ็กเกอร์เกาหลีเหนืออยู่เบื้องหลังการโจมตีสถาบันวิจัยและองค์กรด้านการแพทย์หลายแห่ง

Loading

    WithSecure บริษัทด้านไซเบอร์พบว่าปฏิบัติการสอดแนมทางไซเบอร์ที่บริษัทตั้งชื่อให้ว่า No Pineapple! แท้จริงแล้วมี Lazarus กลุ่มแฮกเกอร์จากเกาหลีเหนืออยู่เบื้องหลัง   No Pineapple! สามารถขโมยข้อมูลขนาด 100 กิกะไบต์จากเป้าหมายได้อย่างลับ ๆ ด้วยการใช้ช่องโหว่ของเซิร์ฟเวอร์อีเมล Zimbra โดยที่ไม่ได้สร้างความเสียหายให้กับเหยื่อแต่อย่างใด   ช่องโหว่ทั้ง 2 ตัวที่ว่านี้คือ CVE-2022-27925 ที่เป็นช่องทางเปิดใช้โค้ดจากระยะไกล และ CVE-2022-37042 ที่เปิดโอกาสในการทะลุการระบุตัวตนได้ ทั้งนี้ ล่าสุดช่องโหว่ทั้ง 2 ตัวนี้ได้รับการแก้ไขไปแล้ว   โดยปฏิบัติการนี้เกิดขึ้นระหว่างช่วงเดือนสิงหาคมจนถึงพฤศจิกายน 2022 และมุ่งเป้าไปที่องค์กรด้านการแพทย์ วิศวกรรมเคมี พลังงาน การทหาร และสถาบันวิจัย   WithSecure สามารถเชื่อมโยง No Pineapple! เข้ากับ Lazarus โดยอาศัยหลักฐานหลายอย่าง ขณะที่ก็ใช้การเฝ้าดูกลยุทธ์และรูปแบบการโจมตีด้วย เช่น การใช้ที่อยู่ไอพีที่ไม่มีชื่อโดเมน และการใช้มัลแวร์ Dtrack และ GREASE…

ตำรวจไซเบอร์ เตือนภัยอย่าหลงกลมิจฉาชีพส่งลิงก์ให้ติดตั้งแอปพลิเคชันหน่วยงานของรัฐ อ้างโครงการคนละครึ่งเฟสใหม่

Loading

  โฆษก บช.สอท. เตือนภัยอย่าหลงกลมิจฉาชีพส่งลิงก์ให้ประชาชน หลอกลวงให้ติดตั้งแอปพลิเคชันหน่วยงานของรัฐ อ้างโครงการคนละครึ่งเฟสใหม่ ดูดเงินออกจากบัญชีได้อย่างง่ายดาย   วันนี้ (4 ก.พ.) พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) ขอประชาสัมพันธ์เตือนภัย กรณีมิจฉาชีพส่งลิงก์ให้ประชาชน หลอกลวงให้ติดตั้งแอปพลิเคชันหน่วยงานของรัฐ อ้างโครงการคนละครึ่งเฟสใหม่ ดังนี้   ที่ผ่านมา บช.สอท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ทำการประชาสัมพันธ์ ออกมาแจ้งเตือนประชาชนอยู่บ่อยครั้ง กรณีมิจฉาชีพแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ส่งข้อความสั้น (SMS) หรือโทรศัพท์ไปยังประชาชน หลอกลวงให้เพิ่มเพื่อนผ่านแอปพลิเคชันไลน์ แล้วส่งลิงก์ให้ติดตั้งแอปพลิเคชันของกรมสรรพากรปลอม ซึ่งแฝงมากับมัลแวร์ (Malware) หรือโปรแกรมประสงค์ร้ายที่ถูกเขียนขึ้นมาเพื่อทำอันตรายกับข้อมูลในระบบ เช่น ทำให้โทรศัพท์ของเหยื่อทำงานผิดปกติ ขโมยหรือทำลายข้อมูล หรือเปิดช่องทางให้มิจฉาชีพเข้ามาควบคุมโทรศัพท์ของเหยื่อได้ รวมไปถึงหลอกลวงให้กรอกข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้ตั้งรหัส PIN จำนวน 6 หลัก โดยประชาชนส่วนใหญ่มักจะใช้ชุดเลขรหัสเดียวกันกับรหัสแอปพลิเคชันของธนาคาร ทำให้มิจฉาชีพนำรหัสดังกล่าวไปใช้โอนเงินออกจากบัญชีของเหยื่อได้อย่างง่ายดาย   ทั้งนี้มิจฉาชีพมักจะอ้างว่าเพื่อเป็นการตรวจสอบรายได้ของท่าน หรือเป็นการแจ้งเตือนให้ชำระภาษี หรือให้ทำการยกเลิกเสียภาษีจากโครงการของรัฐบาล หรืออ้างว่าเป็นการขอใช้โครงการคนละครึ่งเฟสใหม่ หรืออ้างว่าสามารถช่วยเหลือไม่ให้เสียภาษีย้อนหลังได้…

กฎซับซ้อนไม่ช่วยอะไร พบรหัสผ่านยอดนิยมกระทรวงมหาดไทยสหรัฐฯ คือ “Password-1234”

Loading

  สำนักงานผู้ตรวจการกระทรวงมหาดไทยสหรัฐฯ (Department of Interior – DOI) รายงานถึงการตรวจสอบรหัสผ่านในระบบพบว่ามีการใช้รหัสผ่านที่อ่อนแอจำนวนมาก และผู้ตรวจสอบสามารถหารหัสผ่านจากค่าแฮชได้ถึง 16% ของผู้ใช้ทั้งหมดที่มีอยู่ 85,944 คนได้ภายใน 90 นาที และเมื่อหารหัสต่อไปก็สามารถหารหัสผ่านเจอถึง 21% ของผู้ใช้ทั้งหมด   รหัสผ่านยอดนิยมมักเป็นคำว่า “password” ผสมกับ “1234” ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้ผ่านกฎความซับซ้อนรหัสผ่านไปเรื่อย ๆ เฉพาะ “Password-1234” (มีตัวใหญ่, ตัวเล็ก, เครื่องหมาย, และตัวเลข) มีการใช้งานถึง 478 ครั้ง ทาง DOI มีมาตรฐานภายในกระทรวงระบุให้รหัสผ่านต้องยาวอย่างน้อย 12 ตัวอักษร ต้องประกอบตัวประเภทตัวอักขระตัวเล็ก, ตัวใหญ่, ตัวเลข, และเครื่องหมาย อย่างน้อย 3 ใน 4 ประเภท พร้อมกับบังคับเปลี่ยนรหัสผ่านทุก 60 วัน   การตรวจสอบก่อนหน้านี้เจ้าหน้าที่สามารถหารหัสผ่านเจอสูงถึง…

ตร.ไซเบอร์ เตือนภัย ขรก.เกษียณ ยื่นรับบำเหน็จระวัง เว็บไซต์-แอปฯ ปลอม

Loading

    ตำรวจไซเบอร์ เตือนภัยข้าราชการเกษียณยื่นรับบำเหน็จบำนาญด้วยตนเอง ระวังเว็บไซต์และแอปพลิเคชันปลอม ที่ทำให้หลงเชื่อกรอกข้อมูลส่วนบุคคล จนตกเป็นเหยื่อ จึงแนะวิธีหลีกเลี่ยง 9 ข้อ   เมื่อเวลา 08.00 น. วันที่ 1 ก.พ. พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒเจริญ โฆษก บช.สอท. ขอเตือนภัยข้าราชการเกษียณยื่นรับบำเหน็จบำนาญด้วยตนเองให้ถูกช่องทาง ระมัดระวังเว็บไชต์ปลอม แอปพลิเคชันปลอมของมิจฉาชีพที่สร้างขึ้นมาเพื่อหลอกลวงเอาข้อมูลส่วนตัว หรือข้อมูลทางการเงิน ในกรณีที่กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ได้อำนวยความสะดวกให้กับข้าราชการ และลูกจ้างประจำที่พ้นราชการ เนื่องจากเกษียณอายุในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ในวันที่ 1 ตุลาคม 2566 โดยสามารถยื่นคำขอรับบำเหน็จบำนาญล่วงหน้าผ่านระบบออนไลน์ก่อนวันครบเกษียณอายุได้ 8 เดือน เริ่มตั้งแต่ กุมภาพันธ์ 2566 เป็นต้นไป โดยสามารถยื่นขอรับบำเหน็จบำนาญต่อส่วนราชการเจ้าสังกัด   โดยเฉพาะอย่างยิ่งสามารถยื่นขอรับบำเหน็จบำนาญด้วยตนเองผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Pension’ Electronic Filing) หรือ ระบบ e-Filing ผ่านเว็บไชต์กรมบัญชีกลาง www.ced.go.th หรือผ่านแอปพลิเคชัน…

JD Sports เผยข้อมูลลูกค้า 10 ล้านรายอาจถูกแฮ็ก ข้อมูลบัตรธนาคารโดนด้วย

Loading

    JD Sports ผู้จัดจำหน่ายชุดกีฬาชี้ว่าข้อมูลลูกค้าราว 10 ล้านคนเสี่ยงถูกแฮกหลังเกิดการโจมตีทางไซเบอร์   บริษัทชี้ว่าแฮกเกอร์อาจเข้าถึงข้อมูลชื่อ ที่อยู่ อีเมล เบอร์โทรศัพท์ รายละเอียดคำสั่งซื้อระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2018 – ตุลาคม 2020 และเลขท้าย 4 ตัวของบัตรธนาคาร   ทางบริษัทได้ติดต่อไปยังลูกค้าที่ได้รับผลกระทบแล้ว และกำลังทำงานร่วมกับ ‘ผู้เชี่ยวชาญด้านไซเบอร์ชั้นนำ’ รวมถึงสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของสหราชอาณาจักร (ICO) อยู่   JD Sports ยืนยันว่าข้อมูลที่เสี่ยงตกไปอยู่ในมือแฮกเกอร์มีน้อยมาก ทางบริษัทไม่ได้เก็บข้อมูลหมายเลขตัวเต็มของบัตรเงินสดไว้ และไม่เชื่อว่าแฮกเกอร์จะได้ข้อมูลรหัสผ่านของลูกค้าไป   “เราอยากขอโทษลูกค้าที่อาจได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นี้” นีล กรีนฮัลก์ (Neil Greenhalgh) ประธานเจ้าหน้าที่การเงินของ JD Sports ระบุ และแนะนำให้ลูกค้าที่ได้รับคำเตือนระวังข้อความ อีเมล และโทรศัพท์หลอกลวง   สำหรับการโจมตีทางไซเบอร์ดังกล่าว เกิดขึ้นต่อรายการคำสั่งซื้อแบรนด์ Size? Millets, Blacks, Scotts และ MilletSport…