หลอกให้โหลด โจมตีรูปแบบใหม่ Dormant Colours

Loading

  นักวิจัยที่ Guardio Labs ได้ตรวจพบแคมเปญการโจมตีใหม่โดยใช้งานส่วนขยายของ Chrome Web Store เป็นสื่อกลางในการเข้าถึงผู้ใช้งาน   ส่วนขยายทั้งหมดเป็นตัวเลือกที่ให้ผู้ใช้เปลี่ยนสีต่าง ๆ ของหน้าเว็บเบราว์เซอร์ ซึ่งมีมากกว่า 30 ตัว และมียอดดาวน์โหลดรวมกันมากกว่า 1 ล้านครั้ง   แอปทั้งหมดสามารถผ่านระบบตรวจสอบของ Google เบื้องต้นได้ เพราะแอปเหล่านี้จะทำตัวเองให้ดูเหมือนว่าปลอดภัย ซึ่งจะสามารถหลบเลี่ยงการตรวจสอบความปลอดภัยได้ นักวิเคราะห์จึงตั้งชื่อแคมเปญนี้ว่า “Dormant Colours” (Dormant แปลว่า สงบเงียบ หรืออยู่เฉย ๆ )   การติดไวรัสเริ่มต้นด้วยการที่ผู้ใช้คลิกโฆษณาหรือลิงก์แปลก ๆ เช่นลิงก์ดูวีดิโอหรือลิงก์โหลดโปรแกรม โดยเมื่อคลิกไปแล้ว เราจะถูกเปลี่ยนเส้นทางไปจากหน้าต่างใหม่ที่พยายามจะให้เราติดตั้งส่วนขยายเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถเปิดดูวีดิโอได้หรือดาวน์โหลดโปรแกรมได้สำเร็จครับ   แน่นอนว่า ในการติดตั้งนั้นจะไม่มีมัลแวร์ติดตั้ง แอปจะทำหน้าที่ของมันตามปกติ แต่เมื่อติดตั้งไปสักพัก ส่วนขยายเหล่านี้จะพยายามดาวน์โหลดส่วนเสริมที่อันตรายมาติดตั้งในเครื่อง หรือแม้กระทั่งแทรกลิงก์ฟิชชิ่งที่พยายามจะขโมยบัญชี Microsoft 365 หรือ Google Workspace ครับ  …

น่าเป็นห่วง บริษัทไทยตกเป็นเป้าหมาย แฮ็กเกอร์จ้องขโมย Password

Loading

  ในช่วงครึ่งปีหลังที่ผ่านมา เรามักเห็นข่าวว่าช่อง Youtuber และเว็บไซต์ของธุรกิจไทยบางแห่งโดนโจมตีโดยการขโมย Password แล้วเข้าไปเปลี่ยนข้อมูลภายในเว็บ จ้องทำลายเว็บ หรือเป็นเส้นทางในการโจมตีส่วนอื่น ๆ ต่อไป เช่น การดักจับข้อมูลและใช้ Ransomware โจมตี   ล่าสุด Kaspersky ได้เปิดเผยข้อมูลสถิติของการโจมตีธุรกิจขนาดเล็ก (SMB) โดยครึ่งแรกของปี 2022 พบว่าอาชญากรไซเบอร์ได้โจมตีผ่านเว็บจำนวน 11,298,154 ในภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และในไทยมีสถิติการโจมตีมากกว่า 1.4 ล้านครั้งที่ Kaspersky สามารถบล็อกได้   ภัยคุกคามทางเว็บหรือภัยคุกคามออนไลน์เป็นความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ประเภทหนึ่งที่อาจทำให้เกิดเหตุการณ์หรือการกระทำที่ไม่พึงประสงค์ผ่านทางอินเทอร์เน็ต ภัยคุกคามทางเว็บเกิดขึ้นได้จากช่องโหว่ของผู้ใช้ปลายทาง (Endpoint) บริการเว็บเซอร์วิส และผู้พัฒนา/ผู้ให้บริการเว็บเซอร์วิส ซึ่งหากไม่ได้มีระบบป้องกันที่ดีพอ้และผู้ใช้ไม่ทันระวังตัว ก็อาจทำให้เกิดการโจมตีดังกล่าวได้   นอกเหนือจากภัยคุกคามทางเว็บแล้ว แคสเปอร์สกี้ยังตรวจพบโทรจันขโมยพาสเวิร์ด Trojan-PSW (Password Stealing Ware) จำนวน 373,138 รายการ (ในไทย 31,917) ที่พยายามแพร่กระจายสู่ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางในภูมิภาค SEA โดย Trojan-PSW…

ออสเตรเลียเตรียมเพิ่มโทษละเมิดข้อมูลทางคอมพิวเตอร์

Loading

  ออสเตรเลียเตรียมเสนอกฎหมายเข้ารัฐสภาเพื่อเพิ่มบทลงโทษกับบริษัทที่ละเมิดข้อมูลที่สำคัญทางคอมพิวเตอร์ หลังจากการโจมตีทางไซเบอร์ได้โจมตีชาวออสเตรเลียหลายล้านคนในช่วงไม่กี่สัปดาห์ทีผ่านมา   ภาคธุรกิจโทรคมนาคม การเงิน และภาครัฐของออสเตรเลียมีความตื่นตัวสูงนับตั้งแต่บริษัท Optus ซึ่งเป็นบริษัทโทรคมนาคมที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศเปิดเผยเมื่อวันที่ 22 ก.ย. ว่ามีการแฮกข้อมูลส่วนบุคคลจากบัญชีผู้ใช้มากถึง 10 ล้านบัญชี   ต่อมาในเดือนนี้ มีการละเมิดข้อมูลของบริษัทประกันสุขภาพ Medibank Private ซึ่งครอบคลุมถึง 1 ใน 6 ของชาวออสเตรเลีย ส่งผลให้ลูกค้า 100 รายถูกขโมยข้อมูล รวมทั้งการวินิจฉัยโรคและขั้นตอนทางการแพทย์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการขโมยข้อมูลจำนวน 200 กิกะไบต์ Mark Dreyfus อัยการสูงสุด เปิดเผยในแถลงการณ์อย่างเป็นทางการเมื่อวันเสาร์ว่า รัฐบาลจะเคลื่อนไหวในสัปดาห์หน้าเพื่อ “เพิ่มโทษอย่างมีนัยสำคัญสำหรับการละเมิดความเป็นส่วนตัว” พร้อมกับการแก้ไขกฎหมายความเป็นส่วนตัว การเปลี่ยนแปลงที่เสนอจะยกเลิกบทลงโทษสูงสุดสำหรับการละเมิดความเป็นส่วนตัวอย่างร้ายแรงหรือซ้ำจาก 2.22 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลียในปัจจุบัน (1.4 ล้านดอลลาร์) เป็นมากกว่า 50 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย หรือเป็นมูลค่าสามเท่าของผลประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้ข้อมูลในทางที่ผิด หรือ 30% ของยอดขายในช่วงเวลาที่เกี่ยวข้องกับการละเมิด   การละเมิดความเป็นส่วนตัวที่ปรากฎในสัปดาห์ที่ผ่านมาได้แสดงให้เห็นว่าระบบการป้องกันที่มีอยู่ไม่เพียงพอ และจำเป็นต้องเพิ่มความรุนแรงของการลงโทษสำหรับการละเมิดข้อมูลที่สำคัญ   “เราต้องการกฎหมายที่ดีกว่านี้…

วิศวกรคอมพิวเตอร์ชาวอินเดียวัย 32 ปีต้องโทษจำคุกตลอดชีวิต จากข้อหาก่อการร้ายไซเบอร์

Loading

  ศาลเมืองมุมไบ ประเทศอินเดีย พิพากษาให้ อานีส อันซารี (Anees Ansari) วิศวกรคอมพิวเตอร์วัย 32 ปี จำคุกตลอดชีวิต ในความผิดฐานก่อการร้ายไซเบอร์ จากกรณีที่อันซารีวางแผนสังหารหมู่ชาวต่างชาติในโรงเรียนนานาชาติแห่งหนึ่งในเมืองมุมไบ   ถือเป็นการตัดสินคดีก่อการร้ายไซเบอร์คดีแรกในประวัติศาสตร์ของรัฐมหาราษฎระของอินเดีย   อันซารีใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของบริษัทที่เขาทำงานอยู่ในการสร้างบัญชี Facebook ปลอมที่ใช้ชื่อปลอมว่า อุซายริม โลแกน (Usayrim Logan) เพื่ออัปโหลดเนื้อหาที่ส่งเสริมความรุนแรงในช่วงระหว่างปี 2011 – 2014   หน่วยงานของรัฐพบว่าอันซารีเผยแพร่และส่งข้อความสนับสนุนการปฏิบัติการของกลุ่มก่อการร้ายไอเอส (Islamic State – IS) และร่วมวางแผนกับชายชื่อ โอมาร์ เอลฮัจจ์ (Omar Elhajj) ในการมุ่งสังหารชาวต่างชาติ ในโรงเรียนอเมริกันที่ตั้งอยู่ในย่าน บันดรา เคอร์ลา คอมเพล็กซ์ ใจกลางเมืองมุมไบ โดยอันซารียังได้รับข้อมูลวิธีการประกอบระเบิดเทอร์ไมต์ด้วย   อย่างไรก็ดี อันซารีถูกจับกุมในเดือนตุลาคม 2014 จากกรณีที่เขาส่งข้อความที่มีเนื้อหาสนับสนุนแนวคิดรุนแรงของกลุ่มไอเอสไปยังโอมาร์ ซึ่งศาลวินิจฉัยว่าเป็นเนื้อหาที่คุกคามเอกภาพ อธิปไตย และความมั่นคงของอินเดีย  …

แฮ็กเกอร์เจาะระบบสำนักงานพลังงานปรมาณูอิหร่าน กดดันปล่อยนักโทษการเมือง

Loading

Suspected Hackers Impersonated   กลุ่มแฮ็กเกอร์เจาะล้วงเครือข่ายของสำนักงานพลังงานปรมาณูอิหร่าน (Iran’s Atomic Energy Organization) เรียกร้องให้รัฐบาลเตหะราน ปล่อยตัวนักโทษการเมืองที่ถูกจับระหว่างการประท้วงทั่วประเทศ   ทางสำนักงานพลังงานปรมาณูอิหร่าน ระบุในวันอาทิตย์ว่า กลุ่มแฮ็กเกอร์เข้าถึงระบบเครือข่ายสำรองและเข้าถึงระบบอีเมลขององค์กรได้ และว่าเนื้อหาที่เหล่าแฮ็กเกอร์เข้าถึงนั้นเป็น “อีเมลโต้ตอบรายวันและมีข้อมูลเชิงเทคนิคอยู่”   แถลงการณ์ของสำนักงานพลังงานปรมาณูอิหร่าน มีขึ้นหลังจากกลุ่มแฮ็กเกอร์ที่เรียกตนเองว่า Black Reward แสดงความรับผิดชอบต่อการเจาะล้วงเครือข่ายของหน่วยงานนี้ และเผยภาพของโรงงานนิวเคลียร์พร้อมกับข้อมูลอย่างน้อย 50 กิกะไบต์ของสำนักงานพลังงานปรมาณูอิหร่าน นอกจากนี้ ทาง Black Reward ยังเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวและสลิปเงินเดือนของวิศวกรและพนักงานในหน่วยงานนี้ด้วย   แฮกเกอร์ Black Reward เรียกร้องให้รัฐบาลอิหร่านปล่อยตัวนักโทษการเมืองที่ถูกจับกุมระหว่างการประท้วงทั่วประเทศนี้ ซึ่งเริ่มต้นมาตั้งแต่เมื่อกลางเดือนกันยายน หลังจาก มาห์ซา อะมินี วัย 22 ปีถูกตำรวจศีลธรรมอิหร่านจับกุมตัวในข้อหาสวมผ้าคลุมผมไม่เรียบร้อย ก่อนจะเสียชีวิตในเวลาต่อมา   รัฐบาลอิหร่านอ้างว่า อะมินี มีอาการของโรคหัวใจและไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง จึงเสียชีวิต แต่ครอบครัวของเธอยืนยันว่า เธอไม่มีประวัติอาการป่วยเกี่ยวกับหัวใจ และร่างของเธอมีรอยช้ำและร่องรอยของการถูกทุบตีด้วย     มีเนื้อหาบางส่วนจากเอพี…

Microsoft ทำข้อมูลภายในและข้อมูลสำคัญของลูกค้าหลุดออกไป 2.4 TB

Loading

  SOCRadar บริษัทด้านความปลอดภัยไซเบอร์ได้เปิดเผยรายงานระบุว่า Microsoft ทำข้อมูลภายในรั่วไหล ซึ่งเป็นข้อมูลที่เก็บตั้งแต่ปี 2017 มาจนถึงเดือนสิงหาคมปีนี้ รวมปริมาณ 2.4 TB   ข้อมูลที่หลุดออกมามีทั้งเอกสารภายในเกี่ยวกับการดำเนินของบริษัท, ข้อมูลผู้ใช้, รายละเอียดการสั่งซื้อและการเสนอขายผลิตภัณฑ์, รายละเอียดโครงการต่างๆ, ข้อมูลส่วนบุคคลที่ใช้ระบุตัวตนได้ รวมทั้งเอกสารอื่นที่อาจนำไปสู่การเปิดเผยทรัพย์สินทางปัญญาของบริษัท ทั้งนี้ SOCRadar ระบุว่าข้อมูลชุดนี้มาจากการปรับแต่งที่ผิดพลาดของ Azure Blob Storage   Microsoft เองก็โพสต์บล็อกอธิบายเรื่องการสืบสวนเกี่ยวกับปัญหาการรั่วไหลของข้อมูลในครั้งนี้ โดยกล่าวว่า SOCRadar ระบุเรื่องขอบข่ายความเสียหายเกินจริงไปมาก เพราะข้อมูลหลายส่วนนั้นแท้จริงแล้วเป็นข้อมูลสำเนาที่อ้างอิงมาจากอีเมลชุดเดียวกัน, โครงการเดียวกัน, ผู้ใช้กลุ่มเดียวกัน นอกจากนี้ Microsoft ระบุว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดจากช่องโหว่ของ Microsoft แต่มาจากการปรับแต่งค่าที่ผิดพลาดโดยไม่ได้เจตนาเท่านั้น   ทั้งนี้เมื่อมีลูกค้ารายหนึ่งได้ติดต่อสอบถาม Microsoft ว่ามีข้อมูลของพวกเขาหลุดออกไปด้วยหรือไม่ Microsoft ตอบแต่เพียงว่าไม่สามารถระบุข้อมูลที่ได้รับผลกระทบได้ แม้ลูกค้ารายดังกล่าวจะทักท้วงแต่ก็ได้รับการปฏิเสธจาก Microsoft อีกครั้งในภายหลัง   จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและท่าทีของ Microsoft ต่อเรื่องนี้ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ Microsoft และการตั้งคำถามถึงวิธีจัดการปัญหา รวมทั้งนโยบายการสำรองข้อมูลและการทำลายข้อมูลเก่า ตลอดจนแนวปฏิบัติในการแจ้งเตือนผู้ดูแลระบบของลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ข้อมูลรั่วไหลว่าขาดประสิทธิภาพในการสื่อสาร…