อิตาลีสั่งห้ามใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้า เพราะยังไม่มีกฎหมายที่รัดกุม

Loading

  สำนักงานคุ้มครองข้อมูลของอิตาลี (GPDP) สั่งห้ามการใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้าและเทคโนโลยี ‘smart glasses’ หรือเทคโนโลยีอื่นใดที่ใช้ข้อมูลไบโอเมตริกซ์ภายในประเทศ   คำสั่งข้างต้นออกมาภายหลังจากที่เมืองเลชเช ทางตอนใต้ของประเทศ และเมืองอเรซโซ ในแคว้นทัสคานี ประกาศจะนำเทคโนโลยีฯ ดังกล่าวมาใช้   GPDP ระบุว่าการสั่งห้ามในครั้งนี้จะมีผลไปจนกว่าจะมีการใช้บังคับกฎหมายเป็นการเฉพาะ หรือจนกว่าจะสิ้นปี โดยให้เหตุผลว่าที่ต้องห้ามเพราะว่าในปัจจุบันยังไม่มีมาตรการควบคุมที่มารองรับได้อย่างเหมาะสม   แต่ก็มีข้อยกเว้นอยู่ว่าหากเทศบาลใดอยากนำเทคโนโลยีทั้ง 2 ชนิดไปใช้ จะต้องทำข้อตกลงด้านความปลอดภัยเมืองกับผู้แทนของรัฐบาลกลางก่อน โดยจะต้องมอบรายละเอียดของระบบที่จะนำมาใช้ รวมถึงวัตถุประสงค์ หลักเหตุผลรองรับทางกฎหมาย และรายชื่อฐานข้อมูลที่อุปกรณ์เหล่านี้จะเข้าถึง ประกอบกันด้วย   สำหรับ smart glasses เป็นแว่นอินฟราเรตที่ใช้จดจำหมายเลขทะเบียนของประชาชน     ที่มา iTnews         ————————————————————————————————————————- ที่มา :                     …

Google ก็มา! ยอมจ่ายเกือบ 400 ล้านเหรียญ หลังแอบเก็บข้อมูลโลเคชันแม้ผู้ใช้งานปิดแล้ว

Loading

  เมื่อวานนี้มีข่าวว่า Apple ถูกฟ้องกลุ่มกรณีมีการเก็บข้อมูลการใช้งานแม้ว่าผู้ใช้งานจะปิดไว้แล้วก็ตาม ก็ต้องรอกระบวนการทางกฏหมายต่อไป แต่ล่าสุด Google ได้ยุติคดีโดยยอมจ่ายกว่า 400 ล้านเหรียญเนื่องจากบริษัทเก็บข้อมูลตำแหน่งของผู้ใช้งานแม้ว่าจะปิดไปแล้วก็ตาม   กลุ่มทนายความจากโอเรกอน นิวยอร์ก ฟลอริดา เนบราสก้า และรัฐอื่น ๆ ได้เปิดการสอบสวนตามรายงานเมื่อปี 2018 จาก Associated Press เผยข้อมูลว่า Google ติดตามตำแหน่งของผู้ใช้ในบริการต่าง ๆ บน iPhone และ Android ได้อย่างไร ตั้งแต่ปี 2014 – 2019, Google ได้หลอกผู้ใช้งานว่าระบบไม่มีการเก็บข้อมูลแล้วกรณีที่ผู้ใช้งานเลือกปิด แต่เบื้องหลังยังมีการเก็บข้อมูลอยู่ โดย Google จะนำข้อมูลเหล่านั้นไปปรับการโฆษณาหรือทำให้ Google Ads ตรงใจผู้ใช้งานมากขึ้น   ด้าน Google ชี้แจงว่านั่นเป็นนโยบายของผลิตภัณฑ์ที่ล้าสมัยแล้ว ปัจจุบันบริษัทได้ปรับปรุงระบบใหม่แล้ว โดย Google จะชี้แจ้งเรื่องการเก็บข้อมูลที่ละเอียดขึ้นกว่าเดิมด้วย   Google ปรับปรุงข้อตกลงนี้ใหม่หลังจากจ่ายเงิน…

ข้อมูลผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งชาวมาเลย์ 800,000 คนถูกนำไปขายบนโลกออนไลน์ในราคาเพียง 70,000 บาท

Loading

  ข้อมูลของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง 800,000 บนฐานข้อมูลของคณะกรรมการการเลือกตั้งมาเลเซียถูกขโมยและนำไปขายบน lowyat.net ซึ่งเป็นตลาดออนไลน์ในราคาราว 73,090 บาท   ในบรรดาข้อมูลที่นำมาขายมีทั้งข้อมูลชื่อ เลขประจำตัวประชาชน อีเมล วันเกิด และที่อยู่ นอกจากนี้ ยังปรากฎรูปภาพของเหยื่อด้วย ผู้สนใจสามารถจ่ายเป็นคริปโทเคอเรนซีในสกุล Bitcoin หรือ Monero   CyberSecurity Malaysia หน่วยงานกลางด้านไซเบอร์ของมาเลเซียรับทราบเรื่องนี้แล้วและกำลังอยู่ระหว่างการสืบสวนกรณีที่เกิดขึ้น   เจ้าหน้าที่เชื่อว่าแฮกเกอร์ขโมยข้อมูลเหล่านี้มาจากเว็บไซต์ MySPR ของคณะกรรมการการเลือกตั้งมาเลเซีย ซี่งเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งมากกว่า 22 ล้านคน   อย่างไรก็ดี นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ เมื่อเดือนเมษายน ข้อมูลพลเมืองกว่า 22.5 ล้านคนของมาเลเซียที่อยู่บนฐานข้อมูลของกรมทะเบียนมาเลเซีย ก็ถูกนำไปขายบนดาร์กเว็บในราคาราว 360,000 บาท     ที่มา New Straits Times       ——————————————————————————————————————————————————————– ที่มา :     …

คนไข้นับแสนรายจากศูนย์การแพทย์ OakBend ในสหรัฐฯ ถูกขโมยข้อมูลประวัติการรักษา

Loading

  ศูนย์การแพทย์ OakBend ในเมืองชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ เผยว่าถูกโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่ แฮ็กเกอร์สามารถขโมยประวัติการรักษาไปได้มากถึง 500,000 คน   ทั้งนี้ OakBend ไม่เชื่อว่าอาชญากรไซเบอร์สามารถนำข้อมูลประวัติการรักษาออกไปได้โดยสมบูรณ์ แต่แฮ็กเกอร์ได้ข้อมูลไปบางส่วน โดยเฉพาะข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลทางการแพทย์ รวมถึงข้อมูลวันเกิด และเลข Social Security (คล้ายเลขบัตรประชาชนของไทย) แต่ก็ได้แจ้งไปยังคนไข้ทั้งอดีตและปัจจุบันให้ระวังข้อความสแปมแล้ว   นอกจากนี้ OakBend ยังอยู่ระหว่างการร่วมมือกับสำนักงานสืบสวนกลางของสหรัฐอเมริกา (FBI) และได้ยกระดับมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์เพื่อป้องกันภัยในอนาคตด้วย   ในส่วนของเหตุโจมตีเกิดขึ้นในเดือนกันยายน ซึ่งทำให้ระบบการสื่อสารไปยังโลกภายนอกของ OakBend ใช้งานได้อย่างจำกัด ระบบอีเมลและโทรศัพท์ใช้งานไม่ได้เป็นเวลาหลายสัปดาห์   คีธ ฟริก (Keith Fricke) ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงและความเป็นส่วนตัวทางไซเบอร์ระบุว่ากรณีของ OakBend ถือเป็นตัวอย่างสำคัญของการที่ต้องมีการจัดทำแผนตอบโต้ภัยที่ต้องระบุแนวทางหลักและแนวทางสำรองในการสื่อสารภายในองค์กร   แก๊งมัลแวร์เรียกค่าไถ่ที่ชื่อ Daixin ออกมาแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และได้เรียกเอาเงินค่าไถ่จำนวนมหาศาล โดยรัฐบาลสหรัฐฯ เคยออกมารายงานว่า Daixin เน้นโจมตีธุรกิจในสหรัฐฯ โดยเฉพาะธุรกิจด้านสุขภาพและสาธารณสุข     ที่มา…

นักวิจัยเผย Worok ปฏิบัติการแฮ็กที่แฝงข้อมูลสร้างมัลแวร์ไว้ในไฟล์ PNG

Loading

  นักวิจัยไซเบอร์จาก ESET พบปฏิบัติการแฮ็กชื่อว่า Worok ที่ใช้มัลแวร์ชนิดใหม่ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อขโมยข้อมูลและโจมตีเหยื่อที่มีความสำคัญ โดยใช้วิธีการซ่อนมัลแวร์ไว้ในไฟล์ภาพที่มีนามสกุล PNG   ESET ชี้ว่า Worok เป็นกลุ่มจารกรรมทางไซเบอร์ที่ใช้เครื่องมือที่ไม่เคยมีการพบที่ไหนมาก่อน โดยเฉพาะเครื่องมืออำพรางข้อมูลที่ใช้ฝังมัลแวร์ลงบนไฟล์ภาพ PNG   เป้าหมายของ Worok ส่วนใหญ่เป็นหน่วยงานรัฐบาลที่อยู่ในตะวันออกกลาง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแอฟริกาใต้   ทางด้าน Avast เผยว่า Worok ใช้รูปแบบการโจมตีแบบหลายขั้นตอนที่มีความซับซ้อน เพื่อซ่อนวิธีการโจมตี โดยปัจจุบันยังไม่รู้วิธีที่ Worok ใช้ในการเจาะระบบโครงข่าย แต่พบว่า Worok ผสมผสานการเครื่องมือหลายชนิดเพื่อใช้ข้อมูลที่แฝงอยู่ในจุดย่อยที่สุดในพิกเซลเฉพาะในภาพที่เป็นไฟล์ PNG เพื่อผสมเป็นไฟล์ EXE 2 ไฟล์ที่จะปล่อยมัลแวร์ต่อไป   มัลแวร์ตัวนี้มีชื่อว่า DropBoxControl ที่มีความสามารถหลากหลาย อาทิ การดาวน์โหลดไฟล์จาก Dropbox ไปยังอุปกรณ์ที่ติดมัลแวร์ ลบข้อมูลจากระบบ และดึงข้อมูลระบบออกมา   ผู้เชี่ยวชาญจากทั้ง ESET และ Avast ต่างพยายามที่จะเก็บข้อมูลเพื่อให้รู้ระบบการทำงานของ…

แคนาดาจับกุมแฮ็กเกอร์ที่พัวพันกับแก๊ง LockBit

Loading

  ตำรวจในจังหวัดออนทาริโอของแคนาดาเข้าจับกุม มิคาอิล วาซิเลฟ (Mikhail Vasiliev) ชายถือ 2 สัญชาติ แคนาดา-รัสเซีย จากเมืองแบรดฟอร์ด ในข้อหามีความเกี่ยวพันกับกลุ่มมัลแวร์เรียกค่าไถ่ LockBit   วาซิเลฟอาจถูกส่งตัวไปยังสหรัฐอเมริกาเพื่อไปรับโทษทางอาญาว่าด้วยการเจาะระบบคอมพิวเตอร์ที่อัยการกลางในรัฐนิวเจอร์ซีย์เป็นผู้ฟ้อง   หากศาลตัดสินว่าวาซิเลฟมีความผิดจริงตามข้อกล่าวหา อาจต้องได้รับโทษจำคุกและค่าปรับ 250,000 เหรียญ (ราว 9 ล้านบาท) หรือ 2 เท่าจากรายได้ที่ได้รับจากการแฮ็ก ทั้งนี้ วาซิเลฟได้รับสิทธิ์การประกันตัว แต่ถูกติดตามด้วย GPS   ตำรวจแคนาดาทำการค้นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ของวาซิเลฟและพบภาพการสื่อสารผ่านข้อความบนแพลตฟอร์มที่มีชื่อว่า Tox ระหว่างตัวเขาและคนที่ใช้ชื่อว่า LockBitSupp รวมถึงยังพบวิธีการใช้มัลแวร์ LockBit บน Linux ด้วย   นอกจากนี้ Europol ยังรายงานว่าตำรวจเจออาวุธปืน 2 กระบอก คอมพิวเตอร์ 8 เครื่อง External Hard drive 32 ตัว และคริปโทเคอเรนซีที่มีมูลค่ากว่า…