หน่วยไซเบอร์ยูเครนทลายบอตฟาร์มที่ใช้ปล่อยข้อเท็จเท็จสนับสนุนรัสเซีย

Loading

  กองไซเบอร์แห่งสำนักงานความมั่นคงปลอดภัยของยูเครน (SSU) ทลายฟาร์มบอต (Bot farms) เพิ่มอีก 2 แหล่งที่คอยปล่อยข้อมูลเท็จสนับสนุนรัสเซียบนโซเชียลและผ่านแพลตฟอร์มส่งข้อความ   บอตฟาร์มทั้ง 2 แห่งใช้บัญชีโซเชียลปลอมเกือบ 7,000 บัญชี ในการนำเสนอเนื้อหาโจมตียูเครนและสนับสนุนการรุกรานของรัสเซียด้วยข้อมูลปลอม   บอตฟาร์มแห่งแรกมีคนดูแลเป็นชาวยูเครนวัย 24 ปี ที่อาศัยอยู่ในบริเวณกรุงเคียฟ เมืองหลวงของยูเครน ที่ซ่อนตัวตนโดยใช้เอกสารปลอม รวมถึงอีเมลรัสเซียและเบอร์มือถือที่ใช้เครือข่ายของรัสเซียและเบลารุส ผู้ใช้บริการบอตฟาร์มแห่งนี้คือเหล่าฝ่ายประชาสัมพันธ์ของพรรคการเมืองและประชาชนทั่วไปในรัสเซีย   SSU เผยว่า ผู้ให้บริการบอตฟาร์มรายนี้จะให้เช่าหรือขายบอตสำเร็จรูปไปยังผู้ที่สนใจ โดยจะรับชำระเงินเป็นบัตรธนาคาร   สำหรับบอตฟาร์มแห่งที่ 2 ตั้งอยู่ในโอเดสซา เมืองท่าของยูเครน   เจ้าหน้าที่ SSU โดยความร่วมมือระหว่างสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และอัยการจากเคียฟและโอเดซสา ได้เข้าทลายบอตฟาร์มทั้ง 2 แห่ง ยึดบัตรธนาคารที่เชื่อมกับบัญชีธนาคารที่ใช้ในการเก็บเงินจากลูกค้า รวมถึงยังได้ยึดซิมการ์ดโมเด็ม USB ที่มีจำนวนนับร้อย ไปจนถึงอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือที่ใช้ในการปล่อยข้อมูลเท็จ   นี่ถือเป็นอีกครั้งหนึ่งที่ SSU ระบุว่าสามารถเข้าทลายบอตฟาร์มที่มีความสัมพันธ์กับขบวนการปล่อยข้อมูลเท็จจากรัสเซีย   โดยเมื่อเดือนที่แล้ว ตำรวจไซเบอร์ของยูเครนเพิ่งได้เข้าทลายบอตฟาร์มที่เป็นเจ้าของบัญชีปลอมกว่า…

ข้อมูลลูกค้า The North Face เกือบ 200,000 รายถูกเจาะ

Loading

  The North Face แบรนด์เครื่องแต่งกายสายลุยถูกแฮ็กเกอร์เจาะข้อมูลบัญชีลูกค้าไปถึง 194,905 บัญชีบนเว็บไซต์ thenorthface.com   แฮ็กเกอร์ปริศนารายนี้สามารถเจาะเข้าไปยังข้อมูลลูกค้าบนเว็บไซต์ของ The North Face ด้วยการใช้ข้อมูลชื่อผู้ใช้ อีเมล และรหัสผ่านที่ได้มาจากข้อมูลที่เคยรั่วไหลมาจากเว็บไซต์อื่น   การเจาะเข้าไปยังเว็บไซต์ของ The North Face เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม แต่ผู้ดูแลเว็บไซต์ตรวจพบความผิดปกติในวันที่ 11 สิงหาคม และสามารถหยุดยั้งความพยายามเจาะข้อมูลได้ในวันที่ 16 สิงหาคม   The North Face ระบุว่าข้อมูลของลูกค้าที่เสี่ยงถูกขโมยไป ได้แก่ ชื่อ-นามสกุล ประวัติการซื้อ ที่อยู่เรียกเก็บเงิน ที่อยู่ส่งสินค้า เบอร์โทรศัพท์ วันที่สร้างบัญชี เพศ และข้อมูลการใช้แต้ม XPLR Pass (แต้มซื้อสินค้าสำหรับลูกค้าในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา)   ทั้งนี้ ข้อมูลการชำระเงินอย่างบัตรเครดิต ไม่ได้เก็บไว้บนเว็บไซต์ ดังนั้นจึงปลอดภัยจากการโจมตี   หลังการที่ทราบข่าวการโจมตี ทาง…

2 แอปอันตราย จ้องดูดเงินคริปโต ซ่อนมัลแวร์ ลวงผู้ใช้แอนดรอยด์

Loading

  งานเข้ารัว ๆ Android เจอศึกหนัก พบอีก 2 แอปอันตราย เข้าข่ายกระจายมัลแวร์ SharkBot โทรจันที่มุ่งเป้าขโมยข้อมูลเข้าระบบของแอปสกุลเงินดิจิทัล คริปโตเคอเรนซี   ล่าสุดมีข้อมูลว่าผู้ใช้หลายพันคนกำลังตกอยู่ในความเสี่ยง ทันทีที่ Google ออกมาแนะนำให้ผู้ใช้ลบแอปที่ได้รับผลกระทบ ออกจากเครื่องทันที เพื่อป้องกันไม่ให้แฮกเกอร์เข้าถึงบัญชีของเหยื่อได้   SharkBot ถูกค้นพบครั้งแรกในปี 2018 แต่ล่าสุดกลับมาโผล่บน Google Play โดยซ่อนอยู่ในแอปที่ชื่อว่า “Mister Phone Cleaner” และ “Kylhavy Mobile Security” ที่ขายเรื่องป้องกันภัยจากไวรัส   แต่เมื่อใครก็ตามที่เผยติดตั้งแอปอันตราย 2 ตัวนี้ลงในเครื่อง แอปจะล่อลวงให้ดาวน์โหลดเวอร์ชันป้องกันมัลแวร์ปลอม ที่แฝงอันตรายตามมาด้วย   Google แนะนำให้ผู้ใช้แอนดรอยด์ลบแอปออกจากเครื่องทันที ตามที่ผู้เชี่ยวชาญด้านซอฟต์แวร์ของ Fox-IT ผู้ค้นพบได้รายงานไว้   โดยพฤติกรรมของ Sharkbot จะทำให้สมาร์ทโฟนติดไวรัสเมื่อดาวน์โหลดลงเครื่อง และจ้องขโมยเงินจากบัญชีธนาคารออนไลน์ของผู้ใช้ Android และสร้างหน้าเข้าสู่ระบบปลอม เพื่อให้แฮกเกอร์ขโมยชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านได้…

แฮ็กเกอร์นำข้อมูลลับทางทหารของโปรตุเกสไปขายบนดาร์กเว็บ

Loading

  ข้อมูลลับที่อ้างว่าถูกแฮ็กไปจากกองบัญชาการทหารโปรตุเกส (Armed Forces General Staff – EMGFA) ถูกนำไปขายในดาร์กเว็บ   EMGFA เพิ่งจะรู้ตัวว่าโดนแฮ็กไปก็เมื่อแฮ็กเกอร์ได้เผยตัวอย่างของเอกสารที่ขโมยไปได้บนดาร์กเว็บ โดยมีการเสนอขายข้อมูลดังกล่าวต่อผู้ที่สนใจ   เจ้าหน้าที่ด้านข่าวกรองไซเบอร์ของสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ตรวจพบการขายเอกสารดังกล่าวและได้แจ้งเตือนต่อสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ในกรุงลิสบอน เมืองหลวงของโปรตุเกส ซึ่งก็ได้เตือนต่อไปยังรัฐบาลโปรตุเกส   เมื่อได้รับการแจ้งเตือนแล้ว สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติ (National Security Office – GNS) และศูนย์ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติของโปรตุเกสได้เข้าตรวจสอบระบบเครือข่ายของ EMGFA ทันที   ทั้งนี้ สำนักข่าวท้องถิ่น Diario de Noticias อ้างว่าได้ตรวจสอบกับแหล่งข่าวที่ไม่เปิดเผยชื่อซึ่งมีความใกล้ชิดกับกระบวนการสืบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วพบว่าข้อมูลที่มีการเสนอขายบนดาร์กเว็บนั้นเป็นของจริง   แหล่งข่าวดังกล่าวระบุว่าเอกสารที่หลุดออกมานั้นมีความร้ายแรงสูงมาก การเผยแพร่ออกไปอาจกระทบต่อความน่าเชื่อถือของประเทศอย่างร้ายแรง โดยอ้างต่อไปว่าแฮกเกอร์ได้ใช้บอตที่มีความสามารถในการตรวจพบเอกสารชนิดนี้ในการแทรกซึมเข้ามาในระบบ อีกทั้งยังเป็นการโจมตีทางไซเบอร์ที่ใช้เวลานานและไม่สามารถตรวจพบได้   ณ ขณะนี้ ทางรัฐบาลโปรตุเกสยังไม่มีการออกมาแถลงใด ๆ แต่สมาชิกรัฐสภาหลายรายออกมาแสดงความประหลาดใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องที่หน่วยงานด้านข่าวกรองไม่สามารถตรวจพบการแฮ็กได้เลย และขอให้ประธานคณะกรรมาธิการทหารของรัฐสภาออกมาดำเนินการตรวจสอบในเรื่องนี้ให้เร็วที่สุด     ที่มา Bleeping Computer  …

แฮ็กเกอร์รัสเซียอ้างตัวว่าอยู่เบื้องหลังการโจมตีไซเบอร์ต่อรัฐบาลญี่ปุ่น

Loading

  กองบัญชาการตำรวจนครบาลกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นกำลังวางแผนสืบสวนการโจมตีทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้นต่อเว็บไซต์ของหน่วยงานรัฐบาลญี่ปุ่นและองค์กรต่าง ๆ ที่คาดว่าน่าจะเป็นฝีมือของกลุ่มแฮ็กเกอร์ชาวรัสเซีย   การโจมตีที่เกิดขึ้นทำให้เว็บไซต์และการให้บริการประชาชนบนโลกออนไลน์ของหน่วยงานรัฐบาลหลายแห่งใช้งานไม่ได้ชั่วคราว อาทิ ระบบการตรวจสอบภาษี และฐานข้อมูลประชาชน   ในช่วงเวลาเดียวกัน กลุ่มแฮ็กเกอร์ที่ใช้ชื่อว่า Killnet ที่สนับสนุนรัฐบาลรัสเซียได้โพสต์ข้อความบน Telegram ซึ่งอ้างว่าได้โจมตีระบบการให้บริการสาธารณะของญี่ปุ่น ตั้งแต่ระบบภาษีออนไลน์ ไปจนถึงเครือข่ายไอทีของระบบรถไฟฟ้าใต้ดิน โดยมุ่งหวังให้เครือข่ายดังกล่าวใช้งานไม่ได้   ในการโจมตีแต่ละครั้งยังมีข้อความต่อต้าน ‘ลัทธิทหารนิยม’ ของญี่ปุ่น บางข้อความก็เป็นการหยามแนวคิดชาตินิยมญี่ปุ่นด้วย   ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกเคยสันนิษฐานว่า Killnet อยู่เบื้องหลังการโจมตีทางไซเบอร์ต่อประเทศที่สนับสนุนยูเครนในการป้องกันตนเองจากการรุกรานของรัสเซีย   ทั้งนี้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติของญี่ปุ่นกำลังพิสูจน์ทราบว่าการโจมตีที่เกิดขึ้นต่อระบบไอทีของรัฐบาลนั้นได้กระทบต่อการให้บริการทางสารสนเทศขององค์กรต่าง ๆ ทั้งของรัฐและเอกชนหรือไม่ โดยจะร่วมมือกับตำรวจของโตเกียวต่อไป     ที่มา The Japan Times       ——————————————————————————————————————————- ที่มา :    แบไต๋             …

นักวิจัยเผย Minecraft เป็นเกมที่อาชญากรไซเบอร์นิยมใช้ลวงให้ผู้เล่นดาวน์โหลดมัลแวร์มากที่สุด

Loading

  นักวิจัยจากบริษัทด้านไซเบอร์ Kaspersky เผยสถิติที่เก็บได้ระหว่างเดือนกรกฎาคม 2021 – กรกฎาคม 2022 พบว่า Minecraft เป็นเกมที่อาชญากรไซเบอร์นิยมใช้ลวงให้ผู้เล่นดาวน์โหลดมัลแวร์มากที่สุด โดยคิดเป็นร้อยละ 25   รองลงมาคือ FIFA (ร้อยละ 11) Roblox (ร้อยละ 9.5) Far Cry (ร้อยละ 9.4) และ Call of Duty (ร้อยละ 9) เกมอื่น ๆ ที่อาชญากรนิยมใช้แอบอ้าง ยังรวมถึง Need for Speed, Grand Theft Auto, Valorant, The Sims และ CS:GO   Minecraft ไม่ได้เป็นที่นิยมของเหล่าอาชญากรเฉพาะบน PC เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงบนแพลตฟอร์มมือถือด้วย โดยมีส่วนแบ่งถึงร้อยละ 40 แต่การใช้เกมมือถือเป็นตัวหลอกให้ดาวน์โหลดมัลแวร์ถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับเกมบน…