เครือโรงแรมหรู Shangri-La ยอมรับถูกแฮ็กในช่วงการประชุมระดับสูงด้านกลาโหม

Loading

  เครือโรงแรม Shangri-La Group ยอมรับว่าระบบไอทีของโรงแรมถูกโจมตีทางไซเบอร์ ทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้ารั่วออกไป   Shangri-La ระบุว่าในช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคม – กรกฎาคม ที่ผ่านมา มีแฮกเกอร์ที่ใช้วิธีการแฮกอันซับซ้อนจนสามารถลอดผ่านระบบการรักษาความมั่นคงปลอดภัยบนระบบไอทีของเครือโรงแรมเข้าไปล้วงข้อมูลลูกค้าได้สำเร็จ   ข้อมูลที่หลุดออกไปประกอบด้วย ข้อมูลวันเกิด เอกสารยืนยันตัวบุคคล หมายเลขหนังสือเดินทาง และรายละเอียดบัตรเครดิต   อสังหาริมทรัพย์ของ Shangri-La ที่ถูกโจมตีมีมากกว่า 8 แห่งทั้งใน ฮ่องกง ไต้หวัน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และไทย ในจำนวนนี้มีทั้งโรงแรม และอพาร์ตเมนต์   การแฮกดังกล่าวยังเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่มีการประชุม Shangri-La Dialogue ซี่งเป็นการประชุมระดับสูงระหว่างประเทศด้านกลาโหม ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 10 – 12 มิถุนายนที่ผ่านมา ณ โรงแรม Shangri-La ในสิงคโปร์   ในการประชุมครั้งนั้นมีทั้งผู้นำญี่ปุ่น ตลอดจนเจ้าหน้าที่ระดับสูงด้านกลาโหมจากทั้งสหรัฐอเมริกา อินโดนีเซีย ฝรั่งเศส จีน เยอรมนี ออสเตรเลีย ไทย…

สหรัฐฯ เสนอเค้าโครงบัญญัติสิทธิที่วางกรอบการใช้ปัญญาประดิษฐ์

Loading

  รัฐบาลสหรัฐอเมริกาเสนอเค้าโครงบัญญัติสิทธิด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI Bill of Rights) ที่ตั้งใจเขียนขึ้นมาเพื่อกำหนดกรอบและเสนอแนวทางเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์   สำนักประธานาธิบดี (ทำเนียบขาว) เผยว่าบัญญัติฉบับนี้ต้องการควบคุมให้ปัญญาประดิษฐ์ถูกนำไปใช้ในเชิงสร้างสรรค์ อาทิ การพัฒนาคุณภาพชีวิต และการเพิ่มคุณภาพการจ้างงาน ในขณะเดียวกันก็ป้องกันการไปใช้ในเชิงลบด้วย   เนื้อหาของเค้าโครงบัญญัติสิทธิด้านปัญญาประดิษฐ์มีหลักสำคัญ 5 ประการ ได้แก่ การรักษาระบบที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ การป้องกันไม่ให้มีการสร้างอัลกอรึทึมที่ส่งเสริมการเลือกปฏิบัติ การรักษาความเป็นส่วนตัวของข้อมูล การแจ้งละเอียดของปัญญาประดิษฐ์ และการระบุถึงตัวเลือกอื่น ๆ นอกเหนือไปจากปัญญาประดิษฐ์ พร้อมด้วยผลเสียของเทคโนโลยี   โดยเค้าโครงนี้จะใช้กับ “ระบบอัตโนมัติ (Automated System) ที่มีศักยภาพในการสร้างผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อสิทธิ โอกาส หรือการเข้าถึงทรัพยากรหรือบริการสำคัญของชาวอเมริกัน”     ที่มา ZDNET       ——————————————————————————————————————————————– ที่มา :          Beartai         …

อดีตวิศวกร Amazon ถูกตัดสินคุมประพฤติ จากกรณีแฮ็กข้อมูลคนนับร้อยล้านราย

Loading

  เพจ ทอมป์สัน (Paige Thompson) อดีตวิศวกรซอฟต์แวร์ของ Amazon ที่เคยมีส่วนเกี่ยวข้องกับการแฮ็กธนาคาร Capital One และหลายบริษัทในสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 2019 ถูกศาลตัดสินคุมประพฤติเป็นเวลา 5 ปี   โรเบิร์ต เอส ลาสนิก (Robert S. Lasnik) ผู้พิพากษาประจำเขต ลงความเห็นว่าหากตัดสินให้จำคุกจะส่งผลเสียต่อทอมป์สัน เนื่องจากมีปัญหาสุขภาพจิต และสถานะความเป็นคนข้ามเพศ   อย่างไรก็ดี ทางด้านอัยการ นิก บราวน์ (Nick Brown) ระบุว่าผิดหวังกับคำตัดสินที่ออกมา เพราะทางฝ่ายอัยการอยากให้ศาลตัดสินจำคุก 7 ปี บราวน์ถึงขั้นบอกว่าผิดหวังในกระบวนการยุติธรรม   สำหรับรายละเอียดการกระทำผิดนั้น ทอมป์สันได้เจาะข้อมูลส่วนบุคคลของมากกว่า 100 ล้านคน เหตุการณ์ในครั้งนั้นทำให้ Capital One ต้องยอมจ่ายเงิน 190 ล้านเหรียญ (ราว 7,113 ล้านบาท) เพื่อยุติการฟ้องร้องจากลูกค้าที่ได้รับผลกระทบ แถมยังต้องเสียค่าปรับเป็นเงิน 80…

แฮ็ก”ทวิตเตอร์ ปภ.” ปรับแจ้งเตือนน้ำท่วมผ่านเฟซบุ๊ก เฝ้าระวัง”กลาง-อีสาน-เหนือ”

Loading

  แฮ็กเกอร์ ยึดทวิตเตอร์ “ปภ.” แอดมินเร่งกู้คืน แจ้งการติดตามประกาศเตือนภัยน้ำท่วมผ่านเฟซบุ๊ก ล่าสุดเปิดพื้นที่ “เหนือ-อีสาน-กลาง” เตรียมรับมือน้ำท่วม   5 ตุลาคม 2565 ปภ. ถูกแฮ็กเกอร์โจมตี ทวิตเตอร์ (Twitter) โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แจ้งผ่านเพจเฟซบุ๊ก “กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM” เมื่อเวลา 19.00 น. วันที่ 4 ต.ค.ที่ผ่านมา ระบุว่า ถูก แฮ็กเกอร์ เข้าถึงระบบหลังบ้านและได้เปลี่ยนแปลงบัญชี “Twitter” ทำให้แอดมินของ ปภ. ไม่สามารถใช้งานได้ โดยมีเนื้อหาดังนี้..   ” เนื่องจากขณะนี้ Twitter ของ ปภ. ชื่อกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) บัญชี @DDPMNews ถูกแฮ็ก แอดมินอยู่ระหว่างการประสานดำเนินการแก้ไขเพื่อให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติโดยเร็ว ผู้ที่ติดตามข้อมูลสาธารณภัยของ ปภ. สามารถติดตามข้อมูลได้ผ่านทาง Facebook ค่ะ “  …

ไมโครซอฟท์รายงานกลุ่มแฮ็กเกอร์เกาหลีเหนือ ใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สโจมตีเหยื่อ

Loading

  ไมโครซอฟท์รายงานถึงกลุ่มแฮ็กเกอร์ ZINC ที่มีฐานอยู่ในเกาหลีเหนือพยายามโจมตีองค์กรจำนวนมาก ทั้งในสหรัฐฯ, สหราชอาณาจักร, อินเดีย, และรัสเซีย โดยอาศัยการหลอกเหยื่อประกอบกับการแปลงโปรแกรมโอเพนซอร์สที่ใช้งานได้จริง แต่มีฟีเจอร์มุ่งร้ายฝังอยู่ภายใน   ช่วงเริ่มต้นกลุ่ม ZINC จะแสดงตัวเป็นฝ่ายบุคคลที่ตามหาผู้สมัครให้กับบริษัทใหญ่ๆ แล้วติดต่อเหยื่อผ่านทาง LinkedIn จากนั้นจะพยายามหลอกล่อให้เหยื่อไปคุยกันผ่านทาง WhatsApp และส่งโปรแกรมให้เหยื่อ โดยโปรแกรมทำงานได้ตามปกติแต่แอบติดต่อเซิร์ฟเวอร์ของคนร้ายเพื่อขโมยข้อมูล   โปรแกรมหนึ่งที่คนร้ายใช้คือ KiTTY ที่ใช้สำหรับติดต่อเซิร์ฟเวอร์ด้วยโปรโตคอล Secure Shell ตัวโปรแกรมที่คนร้ายดัดแปลงยังคงใช้งานได้ แต่จะเก็บข้อมูลชื่อเครื่อง, ชื่อผู้ใช้, และรหัสผ่าน ส่งกลับไปยังเซิร์ฟเวอร์ของคนร้าย หรือโปรแกรม TightVNC ที่ถูกดัดแปลงให้ส่งข้อมูลกลับไปยังเซิร์ฟเวอร์เช่นกัน   ไมโครซอฟท์เปิดเผยรายชื่อไอพีเซิร์ฟเวอร์ของคนร้าย, รายการค่าแฮชของโปรแกรมที่คนร้ายดัดแปลงแล้ว, และโดเมนต่างๆ ที่คนร้ายแฮก พร้อมกับแนะนำให้บล็อกอินเทอร์เน็ตไม่ให้เชื่อมต่อไปยังเครื่องในรายกร และแนะนำให้เปิดใช้การล็อกอินสองขั้นตอนเพื่อป้องกันการโจมตีในกรณีเช่นนี้ที่คนร้ายขโมยรหัสผ่านออกไปได้     ที่มา – Microsoft       —————————————————————————————————————————————————- ที่มา :       …

รัฐบาลเม็กซิโกโดนแฮ็กครั้งใหญ่ ข้อมูลสุขภาพประธานาธิบดีหลุด

Loading

  รัฐบาลเม็กซิโก ถูกโจมตีไซเบอร์ครั้งใหญ่ ข้อมูลกองทัพหลุดรวมถึงรายละเอียดโรคหัวใจของประธานาธิบดีแอนเดรส มานูเอล โลเปซ โอบราดอร์ ที่ต้องเข้าโรงพยาบาลเมื่อเดือน ม.ค.   สำนักข่าวรอยเตอร์รายงาน ประธานาธิบดีเม็กซิโก แถลงข่าวประจำวันเมื่อวันศุกร์ (30 ก.ย.) ตามเวลาท้องถิ่น กล่าวว่า ข้อมูลที่สื่อท้องถิ่นรายงานเมื่อคืนที่ผ่านมาเรื่องการแฮกข้อมูลกระทรวงกลาโหมเป็นข่าวจริง พร้อมยืนยันข้อมูลสุขภาพของตนที่ถูกเปิดเผยเป็นของจริง แฮ็กเกอร์ใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงระบบไอทีของกองทัพ   ทั้งนี้ ตามรายงานข่าว การโจมตีข้อมูลครั้งนี้เข้าถึงข้อมูล 6 เทราไบต์จากกระทรวงกลาโหม ประกอบด้วยข้อมูลอาชญากร สำเนาการสื่อสาร และการจับตานายเคน เซลาซาร์ ทูตสหรัฐประจำเม็กซิโก ด้านสถานทูตสหรัฐยังไม่ให้ความเห็นกับรอยเตอร์   การโจมตีข้อมูลครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากมีการเปิดเผยข้อมูลของรัฐบาลเมื่อวันพฤหัสบดี (29 ก.ย.) ว่า เฮลิคอปเตอร์ทหารลำหนึ่งตกในเดือน ก.ค. มีผู้เสียชีวิต 14 คน สาเหตุมาจากน้ำมันหมด   นายฮาเวียร์ โอลิวา นักรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยอิสระแห่งชาติเม็กซิโก กล่าวว่า ข้อมูลหลุดชี้ให้เห็นความเสี่ยงอย่างร้ายแรง โดยเฉพาะในช่วงที่บทบาทของกองทัพกำลังเป็นที่ถกเถียงกันอย่างร้อนแรง       ——————————————————————————————————————————- ที่มา…