มือถือเจอศึกหนัก มัลแวร์ ในไทยพุ่ง พบช่องโหว่มาจากแอปดัง

Loading

  แม้ว่าจำนวนมัลแวร์ บนมือถือทั่วโลกจะลดลง แต่การโจมตีกลับมีความซับซ้อนและหวังผลมากขึ้น Kaspersky บริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ตรวจพบแฮกเกอร์หน้าใหม่ปรากฎตัวอยู่ตลอดเวลา และไทยเองก็ตกเป็นเหยื่อของมัลแวร์มือถือไม่แพ้ประเทศอื่น Kaspersky ออกมาให้ข้อมูลว่า ในปี 2021 พบความพยายามใช้มัลแวร์โจมตีผู้ใช้งานผ่านสมาร์ทโฟนหรือมือถือในประเทศมากกว่า 6 หมื่นครั้ง เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมากว่า 130% ติดอันดับ 3 รองจาก อินโดนีเซีย และมาเลเซีย จากรายงาน DIGITAL 2022 Global Overview report ระบุว่า สถิตินี้สัมพันธ์กับการเชื่อมต่ออุปกรณ์มือถือที่เพิ่มขึ้นถึง 95.6 ล้านเครื่อง อีกทั้งยอดดาวน์โหลดแอปพลิเคชันของไทยในปี 2021 เพิ่มมากขึ้นกว่า 2 พันล้านรายการ โดยมีแอปพลิเคชั่นอันตรายปะปนอยู่ ผู้เชี่ยวชาญสังเกตเห็นความผิดปกติของแอปยอดนิยมที่ใช้วิธีแทรกโค้ดอันตราย ผ่าน SDK โฆษณา อย่างในกรณีของ CamScanner ที่พบโค้ดที่เป็นอันตรายในไลบรารีโฆษณาในไคลเอ็นต์ APKPure ทางการ เช่นเดียวกับใน WhatsApp เวอร์ชันแก้ไข อีกทั้ง ยังพบมัลแวร์ในแอปที่ดาาวน์โหลดได้จาก Google Play แม้ว่า…

กต.สหรัฐฯ หนุน ‘ธรรมศาสตร์’ ยกระดับเป็นศูนย์กลางอาเซียนด้านความปลอดภัยไซเบอร์

Loading

  “ธรรมศาสตร์” เดินหน้าเปิดศูนย์อบรมด้าน “Cybersecurity” เสริมองค์ความรู้ให้หน่วยงานดูแลระบบโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ “ไฟฟ้า-พลังงาน-อื่นๆ” ของประเทศ หลัง ก.ต่างประเทศสหรัฐฯ-PNNL สนับสนุนเป็นศูนย์กลางของไทยและอาเซียน วันที่ 20 มิถุนายน 2565 รศ.ดร.จิรพล สังข์โพธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันโลกออนไลน์กลายเป็นส่วนสำคัญในการใช้ชีวิตและการทำงานของทุกคน รวมถึงทุกองค์กร และนั่นจึงทำให้การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity) กลายเป็นประเด็นที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดในเวลานี้ เพื่อที่จะปกป้องอุปกรณ์ ข้อมูล ตลอดจนทรัพย์สินทางดิจิทัลต่างๆ ซึ่งล้วนมีโอกาสเสี่ยงในการตกเป็นเป้าของการโจมตีทางไซเบอร์ได้มากยิ่งขึ้น รศ.ดร.จิรพล กล่าวว่า ในฐานะสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศ ล่าสุด มธ. ได้รับความไว้วางในการเป็นศูนย์กลางด้าน Cybersecurity สำหรับระบบโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ (Critical Infrastructure) ของประเทศไทย และในประเทศประชาคมอาเซียน (ASEAN) ด้วยการสนับสนุนจากกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (US Department of State) ผ่านห้องปฏิบัติการแห่งชาติแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ หรือ Pacific Northwest National Laboratory (PNNL)  …

ญี่ปุ่นจ่อลงดาบบริษัทไอทีต่างชาติที่ไม่ยอมจดทะเบียนในประเทศ

Loading

นายโยชิฮิสะ ฟูรุคาวะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมของญี่ปุ่นเปิดเผยในวันนี้ (21 มิ.ย.) ว่า บริษัทเทคโนโลยีต่างชาติขนาดใหญ่ที่ไม่ยอมจดทะเบียนบริษัทในญี่ปุ่นตามที่กฎหมายกำหนดจะต้องถูกลงโทษ สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า จนถึงขณะนี้บริษัทไอทีต่างชาติ 48 แห่ง ซึ่งรวมถึงกูเกิล , เมตา แพลตฟอร์ม และทวิตเตอร์ ยังไม่ยอมจดทะเบียนบริษัทในญี่ปุ่น แม้ว่ากระทรวงยุติธรรมและกระทรวงสื่อสารของญี่ปุ่นได้ยื่นคำขอไปแล้วก็ตาม ทั้งนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นตั้งเป้าที่จะส่งเสริมการตรวจสอบธุรกิจของบริษัทต่างชาติที่ให้บริการผู้คนจำนวนมากในประเทศ นอกจากนั้น การจดทะเบียนของกลุ่มบริษัทโซเชียลมีเดีย จะทำให้ศาลญี่ปุ่นสามารถขอรายละเอียดผู้ใช้งานได้ เพื่อนำมาใช้ในการพิจารณาคดีการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ตที่แพร่หลายภายในประเทศ กฎหมายของญี่ปุ่นบัญญัติเอาไว้ว่า ตัวแทนท้องถิ่นของบริษัทต่างประเทศที่ไม่ได้จดทะเบียน แม้มีเจตนาทำธุรกิจในญี่ปุ่น จะถูกปรับเป็นเงินถึง 1 ล้านเยน (7,400 ดอลลาร์สหรัฐ) อย่างไรก็ดี กระทรวงยุติธรรมระบุว่า บริษัท 6 แห่งจาก 48 แห่งได้ตอบรับคำขอจดทะเบียนแล้ว ขณะที่อีกส่วนหนึ่งเพิ่งตอบรับหลังจากได้รับแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรเมื่อต้นเดือนนี้ว่าต้องจดทะเบียนภายในวันที่ 13 มิ.ย.     ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์   /   วันที่เผยแพร่ 21 มิ.ย.65 Link : https://www.infoquest.co.th/2022/210049  

“เพจกรมชลประทาน” โดนแฮ็ก ติดตามข้อมูล ที่เพจ”รอบรั้วชลประทาน” แทน

Loading

วันที่ 21 มิ.ย.65 เพจเฟซบุ๊ก กรมชลประทาน โพสต์ข้อความระบุว่า… เรียน สมาชิกเพจกกรมชลประทาน เพื่อทราบ ตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายน 2565 เพจกรมชลประทานโดนแฮ็ก แอดมินหลักไม่สามารถเข้าระบบเพื่อทำการใด ๆ ได้ ขณะนี้ได้ส่งเรื่องไปยังเฟซบุ๊กแต่ยังไม่ได้รับการติดต่อกลับมา การโพสต์หรือการไลฟ์ใดๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับกรมชลประทาน กรมชลประทานไม่ได้มีส่วน เกี่ยวข้องแต่อย่างใด ทั้งนี้อยู่ระหว่างการประสานงานกับ facebook business suport ผู้เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อไป สมาชิกสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างเป็นทางการได้ที่ เพจ”รอบรั้วชลประทาน” ค่ะ https://www.facebook.com/ridreport และหากพบความผิดปกติใดๆ เกี่ยวกับการใช้งาน สามารถโทรแจ้งได้ที่ 02 2410965 กนกนุช นวกุลจิตมั่น ผู้อำนวยการส่วนประชาสัมพันธ์ กรมชลประทาน       ที่มา : สยามรัฐ / วันที่เผยแพร่ 21 มิ.ย.65 Link : https://siamrath.co.th/n/358643

พบมัลแวร์เรียกค่าไถ่ ech0raix เริ่มกลับมาระบาดอีกครั้ง ควรปิด NAS ไม่ให้เข้าถึงจากอินเทอร์เน็ต

Loading

  ID Ransomware บริการระบุมัลแวร์เรียกค่าไถ่ (ransomware) รายงานว่ามัลแวร์ในกลุ่ม ech0raix ที่มุ่งเรียกค่าไถ่จาก NAS เช่น QNAP และ Synology กลับมาระบาดเพิ่มขึ้นอีกครั้ง หลังจากระบาดหนักช่วงเดือนมกราคมและลดลงไป แม้ ech0raix จะโจมตี NAS แบรนด์หลักทั้งสองยี่ห้อ แต่รอบนี้ทาง ID Ransomware พบการโจมตี QNAP เป็นหลัก โดยตอนนี้ยังไม่ชัดเจนว่าเหตุใดการโจมตีจึงเพิ่มขึ้น เพราะ ID Ransomware เป็นบริการที่เปิดให้ผู้ใช้ส่งตัวอย่างไฟล์เพื่อตรวจสอบสายพันธุ์มัลแวร์เท่านั้น ไม่ได้ตรวจสอบตัวมัลแวร์โดยตรงหรือตรวจสอบการโจมตี ech0raix เป็นมัลแวร์ตัวหนึ่งที่เคยมีการโจมตีในไทยช่วงปีที่ผ่านมา ที่ผ่านมาทาง QNAP แนะนำให้ลูกค้าตั้งรหัสผ่านให้แข็งแรง , ไม่เปิดให้ผู้ใช้เข้าถึง NAS จากอินเทอร์เน็ต , ปิด UPnP ในเราท์เตอร์ , และหมั่นอัพเดตซอฟต์แวร์เสมอ ที่มา – Bleeping Computer     ที่มา :…

“ดีอีเอส”เตือนภัย QR code หลอกลวง แนะตรวจสอบก่อนโอน

Loading

กระทรวงดีอีเอส เตือน ปชช. จ่ายค่าสินค้าหรือบริการต่างๆ ผ่านการสแกน QR CODE แทนจ่ายเงินสด ต้องตรวจสอบให้ดี พบมีมิจฉาชีพสร้าง QR CODE ปลอม น.ส.นพวรรณ หัวใจมั่น โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฝ่ายการเมือง (ดีอีเอส) เปิดเผยว่า ในปัจจุบันประชาชนนิยมใช้ QR CODE ในการใช้จ่ายสินค้าหรือบริการต่างๆ และร้านอาหารหลายแห่งเริ่มใช้ QR CODE ในการชำระเงินแบบไร้เงินสด ทำให้ประชาชนได้รับความสะดวก ทั้งนี้ฝากเตือนประชาชนถึงการใช้ QR CODE ต้องระวังและมีสติในการใช้งาน ซึ่งอาจมีผู้ร้ายหรือผู้ไม่หวังดีอาจจงใจใช้ QR CODE พิมพ์ URL ซึ่งนำไปสู่เว็บไซต์หลอกลวง (Phishing) หลอกให้กรอกข้อมูลหรือบัญชีธนาคารหรือหลอกให้โอนเงินไปบัญชีคนอื่นที่ไม่ใช่บัญชีของร้านค้าได้เช่นกัน ซึ่งประชาชนสามารถป้องกันจาก QR CODE ปลอมได้โดย 1. ควรตรวจสอบแหล่งที่มาของ QR CODE ว่ามีความน่าเชื่อถือหรือไม่ โดยก่อนกด Scan ควรตรวจสอบหรือ Preview ตัวลิงก์หรือ URL โดยเมื่อเราใช้กล้องของมือถือสมาร์ทโฟน ส่องดูก่อนกด…