หลุดอีก Malware App Store มาในร่างแอปแปลงไฟล์ PDF กระทบ iPhone

Loading

Malware App Store . Apple ชอบพูดอยู่เสมอว่า App store นั้นมีความปลอดภัยมาก เพราะเรามี….(นั่นแหละครับ) แต่แน่นอนว่า ทุกระบบย่อมมีช่องโหว่ เพียงแค่ Apple อาจแก้ไขช่องโหว่ได้เร็วกว่าคนอื่นเท่านั้นเอง . ไม่นานมานี้ Researcher Privacy 1st (Alex Kleber) นักวิเคราะห์บัญชีนักพัฒนาของ Apple ได้ค้นพบว่านักพัฒนาแอปชาวจีนคนหนึ่ง ได้ใช้บัญชีที่แตกต่างกันถึง 7 บัญชี เพื่อหลบเลี่ยงการป้องกันจากทีม App store และนำแอปที่ซ่อนมัลแวร์ไว้ ขึ้นสู่ App store ได้สำเร็จ . ด้วยมัลแวร์ที่เป็นลักษณะเหมือนโทรจัน ที่จะไม่แสดงท่าทีใด ๆ ก่อนถึงเวลาอันควร พวกมันจะทำตัวเรียบร้อย เหมือนผ้าพับไว้ แต่หากมีคนโหลดไปใช้ มัลแวร์ที่ซ่อนไว้ก็จะทำงานโดยเปิดรับคำสั่งจากเซิร์ฟเวอร์ระยะไกลได้ตัวอย่างเช่น . ในแอปบางตัว ทีมตรวจสอบของ Apple สังเกตเห็นว่า อินเทอร์เฟซผู้ใช้นั้นแตกต่างไปจากเวอร์ชันสุดท้ายที่มีการอัปเดตจาก Appstore เนื่องจากนักพัฒนาจีนสามารถปรับเปลี่ยน UI จากระยะไกลได้…

ระบบการให้บริการผู้ป่วยทั่วทั้งสหราชอาณาจักรถูกโจมตีทางไซเบอร์จนให้บริการไม่ได้ชั่วคราว

Loading

  การโจมตีทางไซเบอร์ต่อผู้ให้บริการระบบจัดการผู้ป่วยจนขัดข้องทำให้บริการฉุกเฉิน 111 รายทั่วทั้งระบบบริการสุขภาพแห่งชาติ (NHS) ของสหราชอาณาจักรไม่สามารถให้บริการได้ชั่วคราว NHS และผู้ให้บริการรถฉุกเฉินบางส่วนได้ออกมายืนยันว่า การโจมตีเกิดขึ้นจริง อย่างผู้ให้บริการฉุกเฉินเวลส์ ได้ระบุว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเหตุการณ์ที่เกิดจาก “ความขัดข้องของระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการส่งผู้ป่วยไปยังแพทย์นอกเวลา” ระบบที่ว่านี้เป็นระบบที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขท้องถิ่นใช้ในการประสานงานเพื่อขนส่งผู้ป่วย ความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อระบบนี้กระทบต่อระบบสาธารณสุขทั้งประเทศ รวมถึงในเวลส์ ไอร์แลนด์เหนือ และสกอตแลนด์ NHS ได้ดำเนินแผนบริหารแผนบริหารความต่อเนื่องเพื่อให้ระบบการให้บริการผู้ป่วยสามารถดำเนินต่อไปได้ โดยย้ำให้ผู้ป่วยวางใจและเชื่อมั่นต่อ NHS ต่อไป ที่มา scmagazine พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส     ที่มา : beartai    /   วันที่เผยแพร่ 10 ส.ค.65 Link : https://www.beartai.com/news/itnews/1131521

เตือนอย่าแชร์ ภัยออนไลน์ ปลอมเสียง ปลอมแชต ปลอมคลิป สร้างจาก AI อย่าง Deepfake, Social Maker และ Fake voice

Loading

เตือนอย่าแชร์ ภัยออนไลน์ ปลอมเสียง ปลอมแชต ปลอมคลิป สร้างจาก AI หลอกลวงประชาชน โดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เตือนอย่าหลงเชื่อ อย่าแชร์ “คลิปเสียงปลอม” สร้างเรื่องเสมือนจริง หลอกลวงประชาชน โดยใช้ AI อย่าง Deepfake , Social Maker และ Fake voice นางสาวนพวรรณ หัวใจมั่น โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฝ่ายการเมือง (ดีอีเอส) เปิดเผยว่า ขณะนี้มีเทคโนโลยีปลอมเสียง ปลอมแชต ปลอมคลิป (Deepfake,Social Maker และ Fake voice) ซึ่งเป็นการปลอมแปลงข้อมูล การตัดต่อภาพ ตัดต่อข้อความ ตกแต่งเสียงพูด หรือแม้แต่การตัดต่อวิดีโอคลิปให้เหมือนเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งประชาชนควรรู้ เพื่อให้เข้าใจ รู้เท่าทัน และป้องกันการถูกใช้เป็นเครื่องมือของมิจฉาชีพ หรือพฤติกรรมที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต และทรัพย์สินของผู้อื่น “จากเทคโนโลยีดังกล่าว ทำให้กลุ่มมิจฉาชีพนำมาใช้ในการแชตปลอม โพสต์ปลอม ผ่าน”Social Maker” ที่สร้างโพสต์ปลอม,ข้อความปลอม,ความคิดเห็นปลอม…

ตกเป็นเป้า ไต้หวันโดนโจมตีทางไซเบอร์ ก่อนการมาเยือนของสหรัฐ

Loading

  ในขณะที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรแห่งสหรัฐอเมริกา Nancy Pelosi ได้ไปเยือนไต้หวันในช่วงสั้น ๆ ในสัปดาห์นี้ แน่นอนว่ามันทำให้จีนขุ่นเคืองมาก ซึ่งไม่ใช่แค่รัฐบาล แต่รวมถึงประชาชนจีนบางส่วนด้วยเช่นกัน . สิ่งที่เกิดขึ้นคือ จู่ ๆ หน้าจอแคชเชียร์ในร้านสะดวกซื้อ 7-11 บางสาขาในไต้หวันก็ขึ้นแจ้งเตือนคำว่า “Warmonger Pelosi, get out of Taiwan!” ซึ่งเป็นความพยายามที่จะให้ประชาชนชาวไต้หวันขับไล่ Pelosi ออกไป . นอกจากร้านสะดวกซื้อ เว็บไซต์รัฐบาล ทำเนียบประธานาธิปบดี กระทรวงต่างประเทศ และกระทรวงกลาโหม ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐาน เช่น หน้าจอที่สถานีรถไฟ ก็ชึ้นข้อความดังกล่าวเพื่อประท้วงการมาเยือนของเปโลซี . ออเดรย์ ทัง รัฐมนตรีดิจิทัลของไต้หวัน กล่าวว่า ปริมาณการโจมตีทางไซเบอร์ต่อหน่วยงานของรัฐบาลไต้หวันเมื่อวันอังคารที่ผ่านมานั้น สูงกว่าสถิติรายวันก่อนหน้านี้ถึง 23 เท่า โดยคิดเป็นปริมาณการโจมตีเกิน 15,000 กิกะบิต ครับ . ต้องยอมรับว่า การเยือนของเจ้าหน้าทีระดับสูงของสหรัฐฯในครั้งนี้ทำให้เกิดปฏิกิริยาตอบโต้อย่างแรงจากประชาชนชาวจีนและปักกิ่ง โดยถือว่าสหรัฐฯ กำลังละเมิดอำนาจอธิปไตยของจีน ซึ่งรัฐบาลจีนเองก็ได้ตอบโต้โดยการยิงขีปนาวุธรอบ…

แอคหลุมมีร้อง! Twitter ออกแถลงการณ์ถึงช่องโหว่ที่ทำให้ข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้หลุดออกมา!

Loading

  ในวันที่ 5 สิงหาคม 2022 Twitter ได้ออกมาแถลงการณ์ถึงเหตุการณ์ที่อาจกระทบถึงข้อมูลส่วนตัวของบัญชีผู้ใช้ Twitter บางราย โดยมีการอธิบายถึงสาเหตุที่ข้อมูลของผู้ใช้หลุดออกไป แนวทางแก้ปัญหา และการป้องกันที่ผู้ใช้สามารถทำได้   เกิดอะไรขึ้น? ทำไมข้อมูลส่วนตัวถึงหลุดออกไปได้?   Twitter เผยว่า ในเดือนมกราคม 2022 บริษัทได้รับรายงานจากช่องทางแจ้งช่องโหว่ด้านความปลอดภัย (security vulnerabilities) ระบุว่า มีการค้นพบช่องโหว่ที่หากใครก็ตามส่งอีเมลหรือเบอร์โทรศัพท์เข้าไปที่ระบบของ Twitter ระบบจะบอกชื่อบัญชี Twitter ของอีเมลหรือเบอร์โทรนั้น ๆ กลับไปที่ผู้ส่ง   ปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากการอัปเดตโค้ดในเดือนมิถุนายน 2021 ซึ่งหลังจาก Twitter พบช่องโหว่ก็ได้สืบหาข้อเท็จจริงและทำการแก้ไขทันที ซึ่ง ณ ตอนนั้นบริษัทยังไม่พบว่า มีผู้ค้นพบช่องโหว่นี้และแอบใช้ประโยชน์จากมัน จนกระทั่งในเดือนมิถุนายน 2022 บริษัทถึงทราบว่า มีผู้ที่ใช้ช่องโหว่ดังกล่าวในการขโมยข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ และได้พยายามประกาศขายข้อมูลที่ถูกค้นพบ     Twitter มีแนวทางการแก้ปัญหาอย่างไร? นอกจากการแก้ไขโค้ดที่ทำให้เกิดช่องโหว่ในระบบแล้ว ในเบื้องต้น Twitter จะแจ้งเตือนเจ้าของบัญชีที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาดังกล่าว และได้โพสต์แถลงการณ์เพื่อยืนยันกับเจ้าของบัญชีทุกรายที่อาจได้รับผลกระทบ…

VirusTotal เผยแอปยอดฮิตที่แฮ็กเกอร์มักแอบอ้างเพื่อกระจายมัลแวร์

Loading

credit : Wikimedia   ผู้เชี่ยวชาญจาก VirusTotal ได้ออกมาเปิดเผยรายชื่อของแอปยอดนิยมที่คนร้ายมักใช้แอบอ้างเพื่อใช้แพร่กระจายมัลแวร์ให้เหยื่อ   กลเม็ดหลัก ๆ ที่คนร้ายใช้กันมี 3 วิธี   1.) ปลอมตัวเป็นแอปที่ถูกต้องโดยการแทนที่ไอคอนเหมือนแอปจริงเพื่อหลอกให้เหยื่อหลงเชื่อเข้าไปใช้ โดยจุดประสงค์ก็เพื่อ Bypass การดูแลจาก Firewall ที่พิจารณาเฉพาะไอพีและโดเมนบนอุปกรณ์ผ่านทางโดเมนที่ถูกเชื่อถือ 2.) ใช้ Certificate ที่ขโมยมาจาก Vendor เพื่อ Sign ให้มัลแวร์ของตน 3.) รวมตัวติดตั้งปกติเข้ากับมัลแวร์ให้ทำงานด้วยกัน   ผู้เชี่ยวชาญของ VirusTotal ยังฉายภาพให้เห็นโดเมนที่เกี่ยวข้องกับการแพร่กระจายไฟล์ต้องสงสัยจำนวนมากก็คือ 10% ของโดเมน Alexa ที่ได้รับความนิยม 1,000 ลำดับแรก ซึ่งกลเม็ดเช่นนี้จะช่วยให้หลีกเลี่ยงการถูกตรวจพบได้     สถิติอื่นที่น่าสนใจมีดังนี้   – มัลแวร์มักเลียนแบบแสร้งว่าตนเป็นแอปที่ถูกต้องโดยแอปเป้าหมายยอดฮิต 3 อันดับแรกคือ Adobe Acrobat, VLC Media player…