โผล่ YouTube แฮ็กเกอร์แอบติดมัลแวร์ ซ่อนลิงก์แจกโปรแกรมโกงเกม

Loading

  เกมในเกมกันเลย หลังมีการพบช่อง YouTube ที่ชอบทำคลิปสอนวิธีใช้โปรแกรมโกงเกม แล้วแจกลิงก์โหลดโปรแกรมดังกล่าวไว้ใต้คลิป (ที่อาจฝังโฆษณาในลิงก์แบบจัดเต็ม) ล่าสุดช่องเหล่านั้น แอบมีแฮ็กเกอร์ปลอมตัวมา เนียนแจกลิงก์โหลดโปรแกรมโกง แต่แท้จริงแล้วคือมัลแวร์ !!   รายงานจาก Kaspersky เผยกลวิธีเผยแพร่มัลแวร์ใหม่ ที่มุ่งเป้าไปที่เกมเมอร์ที่ชอบโหลดโปรแกรมโกงมาใช้ ซึ่งหาได้จากคลิปแนะนำใน YouTube บางช่องนี้เอง ซึ่งมีการกล่าวถึงเกมต่าง ๆ เช่น Final Fantasy XIV, Forza, Lego Star Wars, Rust, Spider-Man, Stray, VRChat, DayZ, F1 22, Farming Simulator และอีกมากมาย   ส่วนกลวิธีนั้น แฮ็กเกอร์จะทำเนียน เปิดช่องทำคลิปแนะนำวิธีใช้โปรแกรมโกงเกม หรือไม่ก็ไปแฮ็กช่องนั้นมาเลย จากนั้นก็ทำการใส่ลิงก์โหลดโปรแกรมดังกล่าวในช่อง Description หรือใต้คลิป YouTube แน่นอนว่าลิงก์โหลดนั้นไม่ใช้โปรแกรมโกงเกม หากแต่เป็น ‘RedLine’ มัลแวร์สุดอันตราย    …

Uber โดนแฮ็กผ่านพนักงานสัญญาจ้าง เข้าไม่ถึงข้อมูลลูกค้า แฮ็กเกอร์อาจเกี่ยว Lapsus$

Loading

  Uber ออกรายงานชี้แจงการถูกแฮ็กครั้งใหญ่เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว จุดเริ่มต้นเกิดจากบัญชีพนักงานสัญญาจ้าง (Uber EXT) ถูกแฮ็กก่อน โดยคาดว่าแฮ็กเกอร์ใช้วิธีซื้อรหัสผ่านรั่วมาจากแหล่งใต้ดิน dark web อีกที   ระบบของ Uber มีการยืนยันตัวตน 2FA ช่วยป้องกันอยู่ แฮ็กเกอร์จึงพยายามล็อกอินอยู่หลายครั้ง และมีครั้งที่พนักงานรายนี้เผลอกดยืนยันการล็อกอิน (ของแฮ็กเกอร์) เลยเข้าระบบได้   จากนั้น แฮ็กเกอร์เข้าถึงบัญชีของพนักงานคนอื่น ๆ ได้ และสุดท้ายได้สิทธิเข้า G-Suite กับ Slack และโพสต์ข้อความประกาศการแฮ็กใน Slack ของบริษัท   ตอนนี้ Uber กำลังอยู่ระหว่างการตรวจสอบว่าแฮ็กเกอร์เข้าถึงระบบภายในใดบ้าง ผลการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่าไม่ได้เข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้, ระบบ production ที่ให้บริการแอป, ซอร์สโค้ดไม่ถูกแก้ไข   สิ่งที่แฮ็กเกอร์เข้าถึงได้คือ ข้อความใน Slack, เอกสารที่ทีมบัญชีใช้ออกใบแจ้งหนี้, ฐานข้อมูลช่องโหว่ที่ใช้บริการของบริษัท HackerOne แต่ช่องโหว่ทั้งหมดถูกแก้ไขไปเรียบร้อยก่อนหน้าแล้ว   หลังตรวจพบการแฮ็ก ทีมความปลอดภัยของ Uber ปิดการทำงานของระบบภายในบางอย่าง,…

FBI ออกโรงเตือนภัยไซเบอร์ต่อสถาบันทางการแพทย์ที่อันตรายถึงตาย

Loading

  ภัยคุกคามทางไซเบอร์ต่อสถาบันทางการแพทย์ มีแนวโน้มอันตรายและแพร่หลายขึ้นเรื่อย ๆ   ในตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา สำนักงานสืบสวนกลางของสหรัฐอเมริกา หรือ FBI ออกคำเตือนสถาบันทางการแพทย์หลายต่อหลายครั้งว่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ไม่ได้รับการอัปเดตซอฟแวร์มานานอาจเสี่ยงต่อการแฮ็กได้   ตัวอย่างของการแฮ็กโรงพยาบาลผ่านอุปกรณ์ทางการแพทย์คือการแฮ็กศูนย์การแพทย์ OakBend ในรัฐเท็กซัส ทำให้แฮ็กเกอร์ได้ข้อมูลประวัติลูกค้าไปมากกว่า 1 ล้านร้าย   องค์กรด้านการแพทย์ในปัจจุบันต่างพึ่งพาการใช้อุปกรณ์การแพทย์ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อใช้ในงานด้านต่าง ๆ ตั้งแต่จัดเก็บข้อมูลคนไข้และส่งยาที่ใช้ในการรักษา เทคโนโลยีเหล่านี้นำมาซึ่งความเสี่ยงในการแฮ็ก โดยเฉพาะการใช้มัลแวร์เรียกค่าไถ่ ซึ่งสามารถขโมยข้อมูลและปิดระบบไปพร้อม ๆ กันด้วย   รายงานข่าวจาก NBC ในช่วงต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมาอ้างรายงานจากสถาบันวิจัย Ponemon Institute ในสหรัฐฯ ระบุว่าองค์กรทางการแพทย์ที่ต้องประสบกับการโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่จะมีตัวเลขการเสียชีวิตของผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้น   ทั้งนี้ ทาง FBI และสภาครองเกรสได้ยื่นเสนอกฎหมายที่บังคับให้สำนักงานอาหารและยา (FDA) ออกแนวทางด้านการป้องกันภัยทางไซเบอร์ต่ออุปกรณ์ทางการแพทย์ ซึ่งทาง FDA นอกจากจะไม่ขัดข้องแล้วยังขออำนาจในการสร้างกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมด้วย   นอกจากนี้ สถาบันวิจัยต่าง ๆ อย่างมหาวิทยาลัยเวอร์มอนต์ ต่างก็ร่วมกันสร้างความตระหนักรู้และพิสูจน์ให้เห็นว่าภัยทางไซเบอร์ก่อให้เกิดผลกระทบต่อทั้งสถาบันทางการแพทย์และคนไข้ที่มารับบริการอย่างร้ายแรงเพียงใด   อย่างไรก็ดี การแพร่ระบาดของโควิด-19…

แฮ็กเกอร์แฝงลิงก์หลอกเสียเงินใน News Feed ของ Microsoft Edge

Loading

  Malwarebytes บริษัทด้านไซเบอร์เผยว่ามีกลุ่มผู้ไม่หวังดีใช้ฟีเจอร์ News Feed ซึ่งใช้สำหรับเผยแพร่ลิงก์ข่าวและโฆษณาของเว็บเบราว์เซอร์ Microsoft Edge ในการแฝงลิงก์โฆษณาปลอมที่พาผู้ใช้งานไปยังเว็บไซต์หลอกลวง   แฮ็กเกอร์กลุ่มนี้ใช้ Taboola ซึ่งเป็นเครือข่ายโฆษณาในการกระจายลิงก์โฆษณา โฆษณาเหล่านี้แฝงไว้ด้วยเครื่องมือตรวจสอบว่าผู้ใช้งานเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งใจจะหลอกหรือไม่ อาทิ โซนเวลา และระบบตรวจจับบอต หากไม่ได้อยู่ในกลุ่มเป้าหมาย ผู้ใช้รายนั้นก็จะถูกลิงก์พาไปยังหน้าหลอกที่ไม่มีพิษภัยอะไร   ตัวอย่างหน้าหลอก (ที่มา: Malwarebytes/Bleeping Computer)   แต่หากเป็นเหยื่อที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ลิงก์นั้นพาไปยังหน้า Tech Support (หน้าให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิก) ปลอม และจะมีข้อความปลอมขึ้นมาว่าคอมพิวเตอร์ของเหยื่อถูกล็อก โดยแฮ็กเกอร์จะปลอมตัวเป็นเจ้าหน้าที่ที่จะมาคอยหลอกให้ซื้อเครื่องมือที่จะช่วยแก้ล็อกได้   สำหรับกรณีนี้ ทาง Microsoft ออกมาระบุว่าได้ร่วมกับผู้ให้บริการโฆษณาในการลบเนื้อหาและบล็อกแฮ็กเกอร์เหล่านี้ออกไปจากระบบเครือข่ายของบริษัทแล้ว     ที่มา Bleeping computer         —————————————————————————————————————— ที่มา :    แบไต๋       …

คู่รักเวียดนามแสบ ลบข้อมูลเครือโรงแรมอินเตอร์คอนฯ เอาสนุก

Loading

REUTERS/Evgenia Novozhenina/File Photo   คู่รักเวียดนามแสบ ลบข้อมูลเครือโรงแรมอินเตอร์คอนฯ เอาสนุก   เมื่อวันที่ 17 กันยายน สำนักข่าวบีบีซีรายงานว่า แฮ็กเกอร์ที่ใช้ชื่อว่าทีพี (TeaPea) ซึ่งอ้างว่าเป็นคู่สามี-ภรรยาชาวเวียดนาม ได้ออกมาเปิดเผยกับสำนักข่าวบีบีซีว่า พวกเขาได้ทำการโจมตีทางไซเบอร์ใส่เครือโรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล ซึ่งมีโรงแรมในเครือ เช่น โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์, โรงแรมคราวน์พลาซ่า และโรงแรมรีเจนท์ เหตุเพราะทำเอาสนุก   ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 6 กันยายนที่ผ่านมา บีบีซีรายงานว่า บรรดาลูกค้าของเครือโรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัลพบปัญหาว่าไม่สามารถจองโรงแรม หรือเข้าเช็กอินกับทางโรงแรมในเครือได้ ซึ่งแต่เดิมเครือโรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัลออกมาประกาศผ่านทางสื่อโซเชียลว่า ตอนนี้ระบบคอมพิวเตอร์ของโรงแรมกำลังปิดปรับปรุง แต่ในวันต่อมา โรงแรมได้ออกมายอมรับกับบรรดานักลงทุน ผู้ถือหุ้นโรงแรม ว่าขณะนี้เครือข่ายไซเบอร์ของโรงแรมกำลังถูกแฮก   โดยคู่สามี-ภรรยาชาวเวียดนาม ผู้ก่อเหตุ ได้บอกกับบีบีซีว่า “การโจมตีของเรามีเจตนาเดิมคือต้องการเรียกค่าไถ่ข้อมูล แต่ทีมแอดมินของเครือโรงแรมสามารถปิดเซิร์ฟเวอร์ได้ก่อนที่เราจะทำสำเร็จ เราเลยคิดหาอะไรสนุก ๆ ทำ โดยการลบข้อมูลภายในระบบโรงแรมแทน” โดยผู้ก่อเหตุสามารถเข้าถึงอีเมล์ Outlook, Microsoft Team และเซิร์ฟเวอร์ภายในอื่น ๆ ของทางเครือโรงแรม…

แฮ็กเกอร์แสบ! โพสต์ขายข้อมูลของลูกค้าร้านกาแฟชื่อดัง สตาร์บัคส์ (สิงคโปร์) กว่า 219,000 รายชื่อ

Loading

  ร้านกาแฟชื่อดัง “สตาร์บัคส์” ที่ประเทศสิงคโปร์ ยอมรับว่าพวกเขากับประสบปัญหาเกี่ยวกับข้อมูลรั่วไหล ซึ่งกระทบกับผู้ใช้ราว 219,000 ราย   สาเหตุที่เป็นประเด็นนั้นเกิดราว ๆ ประมาณเมื่อวันที่ 10 กันยายนที่ผ่านมา เมื่อมีผู้ไม่ประสงค์ดีได้ออกมาประกาศขายข้อมูล ซึ่งในนั้นระบุว่าเป็นข้อมูลสำคัญของลูกค้า สตาร์บัคส์ จำนวนประมาณ 219,675 ราย ผ่านทางเว็บฟอรั่มที่เกี่ยวกับการแฮ็กชื่อดังแห่งหนึ่ง   และล่าสุดทางสตาร์บัคส์ ก็ได้ออกจดหมายเพื่อแจ้งลูกค้าต่าง ๆ ถึงข้อมูลที่รั่วไหล โดยระบุว่าแฮกเกอร์นั้นขโมยข้อมูลต่าง ๆ ไปประกอบด้วย ชื่อ, เพศ, วันเกิด, เบอร์มือถือ, อีเมล์ และที่อยู่   ช่องโหว่ดังกล่าวส่วนใหญ่จะเป็นรายชื่อของลูกค้าที่ใช้งานโมบายแอปของ สตาร์บัคส์ ในการสั่งหรือใช้ในร้านค้าออนไลน์ของทางร้านในการซื้อสินค้าต่าง ๆ โดยส่วนใหญ่เป็นร้านและสาขาต่างๆ กว่า 125 แห่งทั่วประเทศสิงคโปร์   อย่างไรก็ตามบริษัทแจ้งว่าข้อมูลที่รั่วนั้นไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับด้านการเงินเช่นบัตรเครดิต โดยข้อมูลนั้นมีการั่วไหลจริง ๆ ไม่ใช่ว่าสตาร์บัคส์นำข้อมูลนั่นไปขาย!     อ่านเพิ่มเติมที่นี่ – Bleepingcomputer  …