นักวิจัยพบวิธีแฮ็กสมองแมลงวัน และสั่งให้มันกางปีกผ่านรีโมตระยะไกล

Loading

  คงประหลาดไม่น้อยถ้าวันนึงมนุษย์สามารถเข้าไปในสมองแมว แล้วสั่งให้มันเห่าโฮ่งได้ แต่เรื่องดังกล่าวอาจไม่เพ้อเจ้อไปนัก เมื่อทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยไรซ์ ในเท็กซัส สหรัฐอเมริกาประสบความสำเร็จในการแฮ็กเข้าไปในสมองของแมลงวันและควบคุมการขยับของปีกพวกมันได้แล้ว ทีมนักวิจัยที่รวมตัวกันด้วยนักวิศวะพันธุกรรมศาสตร์ , นักวิศวะไฟฟ้า และนักพัฒนานาโนเทคโนโลยี ได้ตีพิมพ์งานร่วมกันลงในวารสารวิทยาศาสตร์ Nature Materials ระบุว่า พวกเขาประสบความสำเร็จในการทดลองฝังยีนส์ที่กระตุ้นความร้อนในสมองแมลงวัน และเมื่อกดหนึ่งคลิ๊กผ่านรีโมตระยะไกล จะบังคับให้แมลงวันกางปีกได้ตามสั่ง คล้ายเวลายกมือให้สุนัขสวัสดีนั่นแหละ ทีมนักวิจัยเชื่อว่า นี่จะเป็นจุดเปลี่ยนในการศึกษาการทำงานของสมองมนุษย์ และอาจนำไปสู่การรักษาโรคทางระบบประสาท หรือคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่สามารถทำงานกับสมองของมนุษย์ได้โดยตรง “วงการวิทยาศาสตร์พยายามที่จะหาเครื่องมือที่ทั้งแม่นยำและมีผลข้างเคียงน้อยที่สุด เพื่อศึกษาสมองและรักษาความผิดปกติทางระบบประสาทของมนุษย์” จาคอบ โรบินสัน หนึ่งในนักวิจัยในโครงการดังกล่าวและหนึ่งในทีมวิจัยในโครงการศึกษาการสื่อสารระหว่างสมองของมนุษย์ DARPA ที่ได้รับทุนจากกองทัพสหรัฐฯ กล่าว จาคอบเปรียบผลงานของทีมเขากับ “จอกศักดิ์สิทธิ์” สำหรับวงการเทคโนโลยีทางระบบประสาท “ความสำเร็จของพวกเราเป็นก้าวสำคัญของเทคโนโลยีทางระบบประสาท เพราะคำสั่งจากรีโมตรวดเร็วเกือบเท่ากับความเร็วโดยธรรมชาติของสมอง” สำหรับอีกโปรเจคท์ที่จาคอบทำร่วมกับ DARPA มีชื่อว่า MOANA ซึ่งกำลังพัฒนาเฮดโฟนที่เมื่อสวมแล้วคนสองคนสามารถรับรู้ความคิดได้กันได้ในทันที คล้ายๆ ทักษะการอ่านใจของจีน เกรย์ ในภาพยนต์เรื่องเอ็กซ์เมน อย่างไรก็ตาม จาคอบยอมรับว่าพวกเขายังห่างไกลจากจุดที่ต้องการไปถึงมากนัก “เพื่อไปถึงจุดที่สมองของมนุษย์เราทำงาน พวกเราอาจต้องลดช่องว่างในการสื่อสารให้เหลือเพียงไม่กี่ 0.01 วินาที” อ้างอิง: https://futurism.com/scientists-fruit-fly-brains-remote-control https://www.nature.com/articles/s41563-022-01281-7…

สถานีวิทยุยูเครนถูกแฮ็ก เผยแพร่ข่าวปลอม ปธน.ยูเครนกำลังป่วยหนัก

Loading

  สถานีวิทยุของยูเครน 2 แห่งถูกมือปริศนาแฮ็กให้เผยแพร่ข่าวปลอมว่า ปธน.ยูเครนกำลังป่วยหนัก เมื่อวันที่ 21 ก.ค. สถานีวิทยุ 2 แห่งของ TAVR Media ซึ่งเป็นสื่อแพร่ภาพกระจายเสียงรายใหญ่ที่สุดของยูเครน ถูกมือดีแฮ็กเพื่อเผยแพร่ข้อความปลอมที่ระบุว่า ประธานาธิบดียูเครน โวโลดิเมียร์ เซเลนสกี กำลังเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและอยู่ในอาการโคม่า TAVR Media เป็นเจ้าของสถานีวิทยุยอดนิยม 9 แห่งในยูเครน บอกว่า เมื่อเวลาประมาณ 13.00 น. ตามเวลาท้องถิ่นของวันเกิดเหตุ ช่องรายการเพลง Melodia FM และ Radio Bayraktar ถูกแฮ็กเกอร์เจาะเข้ามาในระบบ     อ็อกซานา ชาเวล โฆษกของบริษัท เล่าว่า แฮกเกอร์พยายามแฮ็กสถานีวิทยุทั้ง 9 แห่ง แต่การโจมตีส่วนใหญ่ถูกสกัดกั้นโดยทีมรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ของบริษัท ทำให้มีเพียง 2 แห่งเท่านั้นที่โดนแฮ็กไป หลังจากถูกแฮ็ก สถานีวิทยุทั้ง 2 แห่ง ก็เริ่มรายงานข่าวปลอม โดยประกาศว่า…

ชมรม TDJ ร่วมกับ สกมช. จัดเวทีสนทนาแลกเปลี่ยนปัญหาความมั่นคงไซเบอร์

Loading

  ชมรมเครือข่ายนักสื่อสารข้อมูลเชิงลึกแห่งประเทศไทย Thailand Data Journalism Network (TDJ) ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) จัดเวทีสนทนากลุ่ม (Focus group) หัวข้อ “การสร้างเครือข่ายความร่วมมือสื่อมวลชนระดับผู้บริหารเพื่อความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์” เมื่อวันที่ 21 ก.ค.65 ชมรมเครือข่ายนักสื่อสารข้อมูลเชิงลึกแห่งประเทศไทย Thailand Data Journalism Network (TDJ) หรือ ดาต้าเจ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) จัดเวทีสนทนากลุ่ม (Focus group) หัวข้อ “การสร้างเครือข่ายความร่วมมือสื่อมวลชนระดับผู้บริหารเพื่อความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์” ที่ห้องอิศรา อมันตกุล ชั้น 3 สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย     ซึ่งเป็นเวทีสนทนาเพื่อระดมสมองระหว่างตัวแทนองค์กรวิชาชีพสื่อ อาทิ นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี ประธานสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ นายมงคล บางประภา นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย นายระวี ตะวันธรงค์ นายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ดร.พรรณี อมรวิพุธพนิช…

ศาลพิพากษา จำคุก 1 ปี 6 เดือน ‘ช่างซ่อมคอม’ อายุ 52 ปี คดี พ.ร.บ.คอมฯ

Loading

ภาพปกจาก ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำคุก 1 ปี 6 เดือน ‘ช่างซ่อมคอม’ อายุ 52 ปี คดี พ.ร.บ.คอมฯ ก่อนถูกคุมตัวไปเรือนจำ รอคำสั่งศาลฎีกา หลังถูกกล่าวหาเป็นแอดมินเพจ “รับสมัคร นักรบ กองทัพประชาชน ล้มล้างสถาบันกษัตริย์ไทยและสมุนเผด็จการ” ช่างซ่อมคอมคนดังกล่าวถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบ 10 นาย เข้าล้อมจับกุม เมื่อวันที่ 11 ก.ย. 2562 โดยไม่มีการแสดงหมายค้นและหมายจับแต่อย่างใด 22 ก.ค.2565 เมื่อวันที่ 21 ก.ค. ที่ผ่านมา ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานว่า ศาลอาญานัดอ่านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ในคดีความของ บุญมา (นามสมมติ) ช่างซ่อมคอมพิวเตอร์ อายุ 52 ปี ในข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3) เหตุจากการถูกกล่าวหาเป็นแอดมินเพจเฟซบุ๊ก “รับสมัคร นักรบ กองทัพประชาชน ล้มล้างสถาบันกษัตริย์ไทยและสมุนเผด็จการ”…

‘แคสเปอร์สกี้’ เปิดข้อมูลฟิชชิ่งไทย ‘ร้านค้าออนไลน์’ เป้าหมายหลักหลอกขโมยข้อมูลส่วนตัว (Cyber Weekend)

Loading

เปิดรายงานความพยายามฟิชชิ่งลูกค้าแคสเปอร์สกี้ในไทยครั้งแรก พบร้านค้าออนไลน์ตกเป็นเป้าหมายของฟิชเชอร์มากที่สุด ทั้งในประเทศไทยและอาเซียน เหตุคนไทยใช้โซเชียลมีเดียสูงสุดในภูมิภาค ทำให้กลุ่มแฮกเกอร์จับพฤติกรรมการใช้งานชอปปิ้งออนไลน์ผ่านโซเชียลมีเดีย เป็นเหตุสุ่มส่งลิงก์ร้านค้าปลอมหวังหลอกนำข้อมูลส่วนบุคคลให้มิจฉาชีพ ***ฟิชชิ่งอาเซียนพบอีเมลโจมตีระบบชำระเงินสูงสุด แคสเปอร์สกี้ เปิดเผยรายงานภัยคุกคามที่มาจากการถูกความพยายามฟิชชิ่งของลูกค้าแคสเปอร์สกี้ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ระหว่างเดือน ก.พ.- เม.ย.2565 พบว่าอีเมลอันตรายซึ่งกำหนดเป้าหมายโจมตีไปยังระบบการชำระเงิน (payment system) มากที่สุด 32.11% รองลงมาคือร้านค้าออนไลน์ (e-shop) 10.80% และธนาคาร 5.03% กล่าวสรุปได้ว่า ความพยายามโจมตีด้วยฟิชชิ่งทุก 1 ใน 2 ครั้ง หรือคิดเป็น 47.94% เกี่ยวข้องกับการเงิน ในช่วงเดือน ก.พ. – เม.ย.2565 ฟิลิปปินส์ประสบปัญหาฟิชชิ่งที่เกี่ยวข้องกับการเงินมากที่สุด 68.95% อันดับ 2 สิงคโปร์ 55.67% ตามด้วยไทย 55.63% มาเลเซีย 50.58% อินโดนีเซีย 42.81% และเวียดนาม 36.12% ขณะที่สัดส่วนการโจมตีด้วยฟิชชิ่งที่เกี่ยวข้องกับการเงินทั่วโลกในช่วงเวลาเดียวกันอยู่ที่ 48.22% ตัวเลขที่น่าสังเกตคือ ขณะที่ฟิชชิ่งโจมตีผ่านระบบการชำระเงินมีสัดส่วนสูงสุดสำหรับทุกประเทศในอาเซียน…

“สปายแวร์” หาซื้อง่าย พบใช้กลุ่มสามีภรรยา หัวหน้ากับลูกน้อง

Loading

  ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ชี้สปายแวร์ “เพกาซัส” จะใช้กับกลุ่มผู้ก่อการร้าย ประชาชนทั่วไปไม่ต้องกังวล พร้อมระบุปัจจุบันมีสปายแวร์ขายในอินเทอร์เน็ตหลายร้อยตัว พบสามีใช้ติดตามภรรยา และหัวหน้าติดตามลูกน้อง วันนี้ (20 ก.ค. 2565) นายปริญญา หอมเอนก ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ กล่าวว่า ปัจจุบันสปายแวร์ไม่ได้เข้าถึงเพียงหน่วยงานรัฐเท่านั้น แต่สามารถเข้าถึงได้ทุกคนทุกกลุ่ม เพราะมีขายในอินเทอร์เน็ตแบบผิดกฎหมาย สปายแวร์ “เพกาซัส” เป็นหนึ่งในสปายแวร์กว่าร้อยตัวที่เข้าถึงง่าย ซึ่งทุกคนต้องระวังตัวตลอด “มันใกล้ตัว กว่าที่เราคิด” สำหรับขั้นตอนการใช้สปายแวร์กับโทรศัพท์มือถือเป้าหมาย ผู้ไม่หวังดีจำเป็นต้องมีปฏิสัมพันธ์กับโทรศัพท์มือถือ เพื่อเปิดเข้าไปกดลิงค์ให้ระบบทำงาน ขณะเดียวกันผู้ไม่หวังดีอาจจะใช้วิธีส่งลิงค์ด้วยการหลอกลวงว่าได้เงินรางวัลจากการชิงโชค หรือกดลิงค์เพื่อรับสวัสดิการของรัฐ เพื่อให้เป้าหมายยอมกดลิงค์เข้าไป ดังนั้นเพื่อไม่ให้สปายแวร์เข้ามาในโทรศัพท์มือถือได้ ทุกคนต้องเก็บโทรศัพท์มือถือไว้กับตัวตลอดเวลา ไม่วางทิ้งไว้ และต้องใส่รหัสผ่านที่หน้าจอเสมอ เพื่อป้องกันการติดตั้งสปายแวร์ “ปัจจุบันสปายแวร์ ไม่สามารถส่งผ่านเข้าโทรศัพท์มือถือโดยตรง จะต้องผ่านการกดลิงค์ ดังนั้นพยายามอย่ากดลิงค์” นายปริญญา กล่าวว่า ประชาชนทั่วไปไม่ต้องกังวลสปายแวร์ “เพกาซัส” เพราะส่วนใหญ่หน่วยงานจะใช้กับผู้ก่อการร้าย ขณะที่ในกลุ่มประชาชนนิยมใช้สปายแวร์ตัวอื่น เพื่อติดตามสามีภรรยา รวมถึงหัวหน้ากับลูกน้อง ทั้งนี้ จุดสังเกตโทรศัพท์มือถือโดนสปายแวร์ คือ แบตเตอรี่จะหมดเร็วกว่าปกติ เครื่องร้อน และพื้นที่ในดิสของเครื่องจะค่อย…