FBI – หากคุณโดนแรมซัมแวร์ รีบโทรหาเรา

Loading

  กระทรวงยุติธรรมกำลังเตือนผู้ที่ตกเป็นเหยื่อแรนซัมแวร์ให้รายงานการโจมตีต่อเจ้าหน้าที่โดยชี้ให้เห็นว่ามีโอกาสที่หน่วยงานจะสามารถกู้คืนเงินค่าไถ่กลับมาได้ โดยมีสถิติการกู้เงินค่าไถ่คืนแล้วกว่า 2,300,000 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับปีที่ผ่านมา เหตุการณ์ล่าสุด ผู้ให้บริการทางการแพทย์ในแคนซัส โทรหา FBI จนนำไปสู่ภารกิจการกู้เงินค่าไถ่คืนจำนวน 500,000 เหรียญสหรัฐฯ ผู้สืบสวนกลางของรัฐบาลกลางได้ออกมาแนะนำให้ผู้ที่ถูกภัยคุกคามจากแรนซัมแวร์และโดนเรียกค่าไถ่ โดยการทำงานร่วมกับ FBI เพียงแค่โทรหาและให้ข้อมูลเพื่อทำงานร่วมกัน เพื่อโอกาสที่จะสามารถกู้เงินค่าไถ่คืนกลับมา เล่าถึงเหตุการณ์ที่ศูนย์การแพทย์ (ไม่ขอเปิดเผยชื่อ) ในแคนซัส ซึ่งได้รับการโจมตีจากแรนซัมแวร์เมื่อปีที่ 2021 จากมัลแวร์เรียกค่าไถ่ของเกาหลีเหนือที่เรียกว่า Maui โดยเข้ารหัสข้อมูลทั้งหมดภายในและปิดการดำเนินงานด้านไอที และทิ้งข้อความเรียกร้องให้จ่ายค่าไถ่ และขู่ว่าจะเพิ่มเป็นสองเท่าภายใน 48 ชั่วโมง ซึ่งในขณะนั้น ผู้นำของโรงพยาบาลไม่มีทางเลือกอื่นที่จะต่อรองกลับไป จึงยอมจำนนต่อค่าไถ่หรือทำให้การดำเนินงานของแพทย์และพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยเดินหน้าต่อไปได้ หลังจากที่ศูนย์การแพทย์ตัดสินใจจ่ายค่าไถ่เป็นสกุลเงินดิจิทัล ได้แจ้งให้ FBI ทราบโดยทันที ส่งผลให้หน่วยงานรัฐบาลกลางสามารถติดตามการจ่ายค่าไถ่ให้กับแฮกเกอร์ชาวเกาหลีเหนือที่ต้องสงสัยผ่านบล็อคเชนของสกุลเงินดิจิทัล ในที่สุดก็สามารถแกะรอย crypto-breadcrumbs โดยทางทีม FBI ระบุว่าผู้ฟอกเงินในจีน ซึ่งให้การช่วยเหลือชาวเกาหลีเหนือในการ ‘จ่ายเงิน’ ค่าไถ่เป็นสกุลเงิน fiat เป็นประจำ และยังทำการวิเคราะห์บล็อคเชนนี้เพิ่มเติมจนทราบข้อมูลว่าบัญชีเดียวกันนี้มีการจ่ายเงินค่าไถ่อื่นๆ ด้วยเช่นกัน FBI ยังติดตามแกะรอยไปยังผู้ให้บริการทางการแพทย์รายอื่นในโคโลราโดและผู้ที่อาจตกเป็นเหยื่อในต่างประเทศเพิ่มเติมต่อไป FBI สามารถเรียกค่าไถ่คืนจากแฮกเกอร์ชาวเกาหลีเหนือได้ 500,000…

ดีอีเอสแนะ 3 ช่องทางช่วยประชาชนถูกแอบอ้างชื่อสร้างโซเชียลปลอม

Loading

ดีอีเอสแนะประชาชน-คนดังพบถูกแอบอ้างชื่อ/รูปภาพไปสร้างบัญชีโซเชียลปลอม รีบแจ้งด่วนผ่าน 3 ช่องทาง ได้แก่ กดรายงานไปที่เจ้าของแพลตฟอร์ม แจ้งผ่านโทร.1212 และแจ้งความได้ทั้งเว็บไซต์แจ้งความออนไลน์/ตำรวจ ยืนยันดีอีเอสพร้อมประสานทุกภาคส่วนเร่งปิดบัญชีปลอม และติดตามผู้กระทำผิดเข้ามาดำเนินคดี น.ส.นพวรรณ หัวใจมั่น โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฝ่ายการเมือง (ดีอีเอส) กล่าวว่า ที่ผ่านมายังพบแนวโน้มปัญหามิจฉาชีพแอบอ้างนำชื่อและรูปภาพคนอื่นไปสร้างบัญชีโซเชียลปลอม ทั้งเฟซบุ๊ก เพจปลอม ไลน์ปลอม และ IG เพื่อนำไปหลอกลวงในรูปแบบต่างๆ สร้างความเดือดร้อนให้ประชาชน ทั้งสูญเสียทรัพย์สินเงินทอง เสียชื่อเสียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าผู้ที่ถูกแอบอ้างชื่อและโปรไฟล์เป็นดารา หรือคนมีชื่อเสียง ความเสียหายจะยิ่งขยายวงกว้าง เนื่องจากมักมีแฟนคลับหรือผู้ติดตามจำนวนมาก โอกาสที่จะมีเหยี่อหลงเชื่อก็ยิ่งเพิ่มจำนวนเช่นกัน ขณะที่เจ้าตัวเสี่ยงต่อการสูญเสียชื่อเสียง สำหรับรูปแบบการหลอกลวงที่พบบ่อยจากบัญชีโซเชียลสวมรอยเหล่านี้ ได้แก่ หลอกยืมเงิน หลอกขายของ หลอกลงทุน หลอกร่วมทุน โดยเหยื่อที่หลงเชื่อจะสูญเงินโดยไม่ได้รับสินค้าหรือผลตอบแทนใดๆ นอกจากนี้ ยังมีการหลอกลวงที่เป็น Romance Scam หรือหลอกให้หลงรักและสูบเงินเหยื่อผ่านทางออนไลน์ ขณะที่บางกรณีจะเป็นการแอบอ้างตัวตนคนดังสร้างเฟซบุ๊กปลอมเพื่อใช้เป็นพื้นที่โพสต์เนื้อหา หรือแสดงความคิดเห็นเพื่อหมิ่นประมาทผู้อื่น เป็นต้น น.ส.นพวรรณ กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหานี้ รวมถึงอำนวยความสะดวกให้ผู้เสียหายซึ่งถูกแอบอ้างชื่อไปสร้างบัญชีโซเชียลปลอมเข้าถึงช่องทางความช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว เพื่อเร่งยุติการขยายวงของความเสียหาย เร่งประสานงานเพื่อปิดบัญชีปลอม และติดตามมิจฉาชีพมาดำเนินคดี อย่างไรก็ตาม ประเด็นสำคัญคือ…

เสี่ยงโดนปิด! อินโดฯ จี้ กูเกิล-เฟซบุ๊ก ลงทะเบียนกฎใหม่เปิดทางรัฐสั่งลบเนื้อหา

Loading

เสี่ยงโดนปิด! อินโดฯ จี้ กูเกิล-เฟซบุ๊ก ลงทะเบียนกฎใหม่เปิดทางรัฐสั่งลบเนื้อหา ชี้เส้นตาย 20 ก.ค.นี้ สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า รัฐบาลอินโดนีเซีย เตือนเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม ให้บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ที่ให้บริการในอินโดนีเซีย ลงทะเบียนตามกฎหมายใหม่ที่จะเปิดทางให้รัฐบาลสั่งลบเนื้อหาในแพลตฟอร์มต่างๆ ไม่เช่นนั้นจะถูกปิดบริการในอินโดนีเซีย ขณะที่รายงานล่าสุดระบุว่ายังมีหลายบริษัทเช่นกูเกิล และ เมต้า เจ้าของเฟซบุ๊ก ที่ยังไม่ได้ลงทะเบียน โดยกฎหมายดังกล่าวมีเส้นตายในการลงทะเบียนในวันที่ 20 กรกฎาคมนี้แล้ว ทั้งนี้การลงทะเบียนดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายใหม่ของอินโดนีเซียที่ประกาศออกมาในเดือนพฤศจิกายนปี 2020 โดยกฎหมายดังกล่าวเปิดทางให้รัฐบาลสั่งให้แพลตฟอร์มต่างๆ ลบเนื้อหาที่ผิดกฎหมาย หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยของสังคมได้ โดยหากเป็นกรณีเร่งด่วนต้องทำภายใน 4 ชั่วโมง หรือถ้าไม่เร่งด่วนก็ต้องดำเนินการภายใน 24 ชั่วโมง นอกจากนี้รัฐบาลยังเคยชี้แจงว่ากฎหมายใหม่นั้นจะทำให้แน่ใจว่าผู้ให้บริการจะปกป้องข้อมูลของผู้ใช้งาน ขณะที่เนื้อหาในโลกออนไลน์นั้นจะถูกใช้ในเชิงบวกและสร้างสรรค์ จอห์นนี จี. เพลต รัฐมนตรีสื่อสารอินโดนีเซีย ระบุกับรอยเตอร์ เรียกร้องให้บริษัทต่างๆลงทะเบียนก่อนที่จะถูกคว่ำบาตร ขณะที่กระทรวงสื่อสารอินโดนีเซียเคยระบุเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาแล้วว่า แพลตฟอร์มใดที่ไม่ลงทะเบียนจะต้องถูกปิดกั้นการใช้งานในอินโดนีเซีย ทั้งนี้จากข้อมูลของกระทรวงสื่อสารอินโดนีเซียพบว่า หากนับถึงวันที่ 18 กรกฎาคมมีบริษัทท้องถิ่น 5,900 บริษัท และบริษัทต่างชาติ 108 บริษัทที่ลงทะเบียนภายใต้กฎหมายดังกล่าวแล้ว ในจำนวนนั้นรวมไปถึง…

สภาแห่งหนึ่งในอังกฤษออกมาขอโทษกรณีที่ลิงก์บนเว็บไซต์ทางการเชื่อมต่อไปยังเว็บโป๊

Loading

สภาเขตบอลโซเวอร์ ในมณฑลเดอร์บิเชอร์ของสหราชอาณาจักร แถลงขอโทษจากกรณีที่เว็บไซต์ของสภาลิงก์ไปยังเว็บโป๊
สภาฯ ระบุว่าเดิมทีนั้นลิงก์ดังกล่าวเชื่อมต่อไปยังเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูดินแดนที่เคยเป็นที่ตั้งของโรงงานถ่านโค้ก แต่เชื่อว่าเจ้าของโดเมนดังกล่าวไม่ได้ต่อสัญญาเช่า จนมีบริษัทจากกัวลาลัมเปอร์ซื้อไปและนำไปใช้เป็นที่ตั้งของเว็บโป๊แทน ซึ่งทางสภาไม่รู้มาก่อนจนเกิดเรื่องขึ้น

นักวิจัยเตือน ! รถยนต์แบรนด์ดัง มีช่องโหว่ให้แฮ็กเกอร์ปลดล็อค โดยใช้การโจมตี “Rolling-PWN”

Loading

ทีมนักวิจัยด้านความปลอดภัย “Kevin2600” และ “Wesley Li” จาก “Star-V Lab” ที่มีการอ้างว่าพบช่องโหว่ ‘Rolling Code’ (CVE-2021-46145) ในระบบกุญแจโมเดลรถยนต์สมัยใหม่ของ Honda ซึ่งสามารถใช้แฮกปลดล็อครถยนต์ หรือ สตาร์ทรถยนต์ได้ โดยการโจมตีที่มีชื่อว่า “Rolling-PWN”

ยืนยันแล้ว! Bandai Namco เจอแรนซัมแวร์ ALPHV แฮ็ก โดน Data Leak ไปอีกราย

Loading

  ล่าสุดยักษ์ใหญ่วงการเกมอย่าง Bandai Namco ได้ออกมายืนยันว่าพวกเขาโดนโจมตีทางไซเบอร์ (Cyberattack) ที่ส่งผลกระทบทำให้ข้อมูลรั่วไหล (Data Leak) ซึ่งเป็นข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าของบริษัทที่ถูกโดนขโมยออกไป   เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ทาง BlackCat แรนซันแวร์ (aka AlphV) ได้ออกมาเคลมว่าได้ดำเนินการโจมตี Bandai Namco และสามารถขโมยข้อมูองค์กรออกมาได้ระหว่างการโจมตีด้วย ซึ่งล่าสุดนี้ Bandai Namco ก็ได้ออกมายืนยันแล้วว่าเกิดเหตุดังกล่าวขึ้นจริงเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2022 ที่ผ่านมา โดยแฮ็กเกอร์สามารถทะลวงช่องโหว่เข้ามาที่ระบบภายในของออฟฟิศในภูมิภาคเอเชียที่ไม่ใช่ญี่ปุ่นได้สำเร็จ   Credit : BleepingComputer   ในขณะที่ Bandai Namco ไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดทางเทคนิคเกี่ยวกับการโจมตีทางไซเบอร์ดังกล่าว แต่ข้อมูลบนเว็บไซต์ข้อมูลรั่วไหลของ BlackCat นั้นได้แสดงรายการข้อมูลของ Bandai Namco ขึ้นมาแล้ว ทั้งนี้ ยังไม่ได้มีการแสดงผลข้อมูลที่ขโมยมาได้สำเร็จบนเว็บแต่อย่างใด   อย่างไรก็ดี กลุ่มแรนซัมแวร์มักจะมีการชะลอการเปิดเผยข้อมูลที่ขโมยมาได้สำเร็จก่อนจนกว่าพวกเขาจะมั่นใจว่าบริษัทจะไม่ได้จ่ายค่าไถ่แล้วจริง ๆ แต่ด้วยสถานการณ์ตอนนี้ที่ Bandai Namco ได้ออกมายืนยันอย่างเป็นทางการกับสาธารณะแล้ว…