สหรัฐฯ และอังกฤษ แจ้งข้อกล่าวหาเจ้าหน้าที่รัสเซียในข้อหาการแฮ็กป่วนโลก

Loading

  กระทรวงยุติธรรมของสหรัฐอเมริกาและกระทรวงการต่างประเทศของสหราชอาณาจักรแถลงว่า ได้แจ้งข้อกล่าวหาต่อเจ้าหน้าที่ของรัสเซีย 4 คน และเหล่าแฮ็กเกอร์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับหน่วยข่าวกรองของรัสเซียด้วยข้อหาการแฮ็กโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทั่วโลก โดยเฉพาะในองค์กรด้านพลังงานและการบิน ในช่วงระหว่างปี 2555 จนถึง 2561 ตามข้อกล่าวหาดังกล่าว แฮ็กเกอร์ของรัสเซียได้โจมตีคอมพิวเตอร์หลายพันเครื่องใน 135 ประเทศ หนึ่งในนั้นคือโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ในรัฐแคนซัสของสหรัฐฯ และโรงผลิตปิโตรเคมีของซาอุดีอาระเบีย จนสร้างความเสียหายที่ปั่นป่วนไปทั่วโลก นอกจากนี้ จำเลยยังถูกกล่าวหาว่า ได้ติดตั้งมัลแวร์ยังกว่า 17,000 อุปกรณ์ทั่วโลก ที่มุ่งเน้นโจมตีบริษัทน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ โรงผลิตไฟฟ้า และแหล่งผลิตพลังงานสำคัญ ๆ อีกทั้งยังมีการผสมผสานการโจมตีด้วยวิธีการสเปียร์ฟิชชิ่งหรือการฟิชชิ่งโดยเน้นเป้าหมาย ทั้งต่อหน่วยงานภาครัฐและบริษัทเอกชนทั่วโลก ทางสหราชอาณาจักรระบุว่า ปฏิบัติการโจมตีโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานทั่วโลกของรัสเซียเกี่ยวพันโดยตรงกับ ‘สงครามผิดกฎหมายที่ปราศจากการยั่วยุในยูเครน’ ของวลาดีมีร์ ปูติน (Vladimir Putin) ประธานาธิบดีของรัสเซีย อย่างไรก็ดี จำเลยทั้ง 4 คนไม่ได้อยู่ในการควบคุมตัวของทั้งสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร แต่ก็มีการประกาศมอบเงินรางวัลให้แก่ผู้ที่แจ้งเบาะแสที่อยู่ของบุคคลเหล่านี้ ที่มา AP News     ที่มา : beartai / วันที่เผยแพร่ 26 มี.ค.65…

กลุ่มแฮ็กเกอร์ Lapsus$ อ้างสามารถขโมยข้อมูลของ Microsoft และ Okta ออกมาได้

Loading

credit : BleepingComputer   เมื่อไม่กี่วันก่อนกลุ่มแฮ็กเกอร์ Lapsus$ ได้แผลงฤทธิ์กับบริษัทยักษ์ใหญ่อีกแล้ว คราวนี้เป็นคิวของ Microsoft และ Okta โดยฝ่ายแรกนั้นออกมายืนยันแล้วว่าถูกแทรกแซงจริง   ในกรณีของ Okta ทีมงาน Lapsus$ ได้โพสต์โชว์เหนือว่าตนนั้นเข้าถึงข้อมูลลูกค้าของ Okta ได้ ซึ่งเป็นรูปหน้าจอที่ทำเหมือนว่าตนสามารถเข้าไปเปลี่ยนรหัสผ่านของผู้ใช้งานได้ แต่เมื่อทีมงาน Okta สืบแล้วพบว่าเป็นรูปเก่าที่ช่วงมกราคมที่ผ่านมา มีเครื่องทีมงานของทีมงานดูแลลูกค้าถูกแทรกแซง แต่ก็ไม่มีสัญญาณอื่นที่ชี้ว่าคนร้ายจะมีอะไรมากกว่านี้เหมือนที่คุย   [Update] ล่าสุด Okta ออกมายอมรับแล้วว่ามีข้อมูลลูกค้าถูกเข้าถึงได้จริง https://www.techtalkthai.com/okta-admits-attack-impact-on-customer-data/?   แต่ในมุมของ Microsoft ทีมงาน Lapsus$ ได้เผยแพร่ข้อมูลที่อ้างว่าเป็นโปรเจ็คภายในของ Microsoft Bing, Cortana และ Bing Maps โดยคุยว่าสามารถเข้าไปถึงเซิร์ฟเวอร์ DevOps ทั้งนี้จากการสืบสวนพบว่าเป็นเรื่องจริงโดยคนร้ายสามารถแทรกแซงเครื่องพนักงานคนในรายหนึ่งได้ หลังจากนั้น Microsoft ก็จัดการป้องกันพร้อมทั้งยังยืนยันว่าไม่กระทบถึงข้อมูลลูกค้า และตนก็ไม่ได้อ่อนไหวจากการที่ซอร์สโค้ดถูกเปิดเผยแล้วจะเป็นภัยใหญ่อะไ   ทั้งนี้ Microsoft ได้จัดทำข้อมูลพฤติกรรมของคนร้าย…

iOS ก็โดนด้วย พบการโจมตีใหม่ CryptoRom ใช้ช่องโหว่ทดสอบแอป

Loading

  บริษัทซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัย Sophos ออกรายงานแคมเปญการหลอกลวงที่มีชื่อว่า CryptoRom ใช้ iOS TestFlight ในทางที่ผิดเพื่อหลอกให้ผู้ใช้ติดตั้งมัลแวร์   CryptoRom ถูกใช้ครั้งแรกในเอเชีย แต่ได้โจมตีเหยื่อในสหรัฐอเมริกาและยุโรปตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 และคาดว่าจนถึงตอนนี้ น่าจะมีผู้เสียมูลค่ารวมมากกว่าหลายล้านเหรียญ   ตามข้อมูลที่ Sophos ระบุไว้ TestFlight ของ iOS มีไว้สำหรับใช้ทดสอบแอปเวอร์ชั่นเบต้าก่อนจะส่งไปขึ้นบน Appstore แต่แฮกเกอร์ได้ใส่มัลแวร์เข้าไปกับแอปที่แสร้งพัฒนาขึ้นแล้วส่งให้กับกลุ่มคนที่มีสิทธิ์ได้ทดลองแอปเวอร์ชั่นเบต้า โดยอาจมีสูงสุดถึง 1 หมื่นคน   ซึ่งการทดสอบแอปเนี่ยแหละ ทำให้ไม่ต้องผ่านการตรวจสอบความปลอดภัยบน Appstore ซึ่งก็เข้าทางแฮกเกอร์เลย   ในขณะที่บริษัท Sophos กำลังตรวจสอบ ก็ดันไปพบเข้ากับ IP ที่เกี่ยวข้องกับ CryptoRom ซึ่งพบว่ามีการทำ App Store เลียนแบบขึ้นมาลักษณะที่มีเทมเพลจที่คล้ายกัน แต่มีชื่อแอปและไอคอนต่างกัน รวมถึงยังมีแอปเลียนแบบและใช้โลโก้ที่คล้ายกับแอปจริง ซึ่งเดาว่าน่าจะถูกใช้เพื่อหลอกนักทดสอบแอปครับ   ทั้งนี้ ผู้ใช้ iOS ที่ไม่ได้ใช้งานแอปรุ่นเบต้าก็ไม่ต้องกังวลไป เพราะช่องโหว่นี้เกิดขึ้นเฉพาะกับนักทดสอบแอปที่ใช้รุ่นเบต้า…

คณะกรรมาธิการยุโรปแนะอียูตั้งกฎความมั่นคงทางไซเบอร์สำหรับองค์กร

Loading

    คณะกรรมาธิการยุโรป (อีซี) ประกาศคำแนะนำสำหรับประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป (อียู) ในวันอังคาร(22มี.ค.) ระบุว่า ควรมีการจัดตั้งกรอบการทำงานเพื่อบริหารความเสี่ยงด้านความมั่นคงทางไซเบอร์   คณะกรรมาธิการยุโรป (อีซี) ประกาศคำแนะนำสำหรับประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป (อียู) ในวันอังคาร(22มี.ค.) ระบุว่า ควรมีการจัดตั้งกรอบการทำงานเพื่อบริหารความเสี่ยงด้านความมั่นคงทางไซเบอร์ ท่ามกลางความวิตกกังวลที่เพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับการโจมตีทางไซเบอร์ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญและข้อมูลอ่อนไหวได้   ข้อเสนอดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของร่างนโยบายการป้องกันประเทศทางไซเบอร์ของอียูซึ่งมีจุดประสงค์ในการจัดตั้งคณะกรรมการความมั่นคงทางไซเบอร์ (Cybersecurity Board) เพื่อกำกับดูแลการบังคับใช้นโยบายเหล่านี้   “ในสภาพแวดล้อมที่ทุกอย่างเชื่อมถึงกัน การโจมตีทางไซเบอร์เพียงครั้งเดียวก็อาจส่งผลกระทบต่อทั้งองค์กร การสร้างเกราะป้องกันที่แข็งแกร่งต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์และเหตุการณ์ที่อาจกระทบการทำงานของเราจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งยวด” นายโจฮันส์ ฮาห์น ประธานคณะกรรมาธิการด้านงบประมาณ กล่าวในแถลงการณ์   ภายใต้นโยบายดังกล่าว สถาบัน, องค์กร และหน่วยงานต่าง ๆ ในอียูจะต้องวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านความมั่นคงทางไซเบอร์ พัฒนาแผนเพื่อเสริมความมั่นคงทางไซเบอร์ ตลอดจนมีการประเมินอย่างต่อเนื่องและเปิดเผยข้อมูลเมื่อเกิดเหตุโจมตี   สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา รัฐบาลประเทศต่าง ๆ ได้ประกาศเตือนว่า รัสเซียและพันธมิตรอาจปฏิบัติการโจมตีทางไซเบอร์เพื่อตอบโต้มาตรการคว่ำบาตรของชาติตะวันตก ส่งผลให้ธนาคารต่าง ๆ ยกระดับการตรวจสอบและการวางแผน รวมถึงจ้างพนักงานเพิ่มขึ้นเพื่อเตรียมรับมือกรณีเกิดเหตุโจมตี     ———————————————————————————————————————————————————-…

Microsoft ยอมรับ แฮ็กเกอร์ Lapsus$ ขโมยซอร์สโค้ดบางส่วนจริง ยืนยันไม่ใช่ข้อมูลสำคัญ

Loading

  กลุ่มแฮ็กเกอร์ Lapsus$ ซึ่งระยะหลังเริ่มมีการลงมืออย่างต่อเนื่อง โดยได้เข้าไปโจมตี ซัมซุง, อินวิเดีย, ยูบิซอฟต์ ล่าสุดไมโครซอฟท์ ยอมรับว่าพวกเขาเป็นเหยื่อรายล่าสุดของแฮ็กเกอร์กลุ่มนี้จริง   Lapsus$ กลุ่มแฮ็กเกอร์หน้าใหม่ ซึ่งกำลังเร่งสร้างชื่อเสียงในขณะนี้ ได้ออกมาเปิดเผยเมื่อ 1-2 วันก่อนว่า พวกเขาได้เข้าถึงข้อมูลภายในของไมโครซอฟท์ โดยข้อมูลที่พวกเขาได้ไปนั้น เป็นซอร์สโค้ดของบิง (Bing) และคอร์ทานา (Cortana) มีขนาดไฟล์ทั้งสิ้น 37GB   วันอังคารตามเวลาท้องถิ่นสหรัฐอเมริกา ไมโครซอฟท์ (Microsoft) ออกมายอมรับว่า แฮ็กเกอร์ได้ขโมยซอร์สโค้ดบางส่วนไปจริง ทั้งนี้ ไมโครซอฟท์ได้ติดตามกลุ่ม Lapsus$ มาสักระยะหนึ่งแล้ว เพื่อดูวิธีการทำงาน ไปจนถึงการโจมตีของกลุ่มดังกล่าว   ไมโครซอฟท์ กล่าวด้วยว่า ข้อมูลที่รั่วไหลไปนั้นไม่ได้เป็นข้อมูลที่รุนแรง หรือน่าเป็นห่วงที่จะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อบริษัท อีกทั้งยังไม่มีข้อมูลสำคัญของลูกค้าใดๆ หลุดออกไป อย่างไรก็ตาม บริษัทได้ทำการปิดช่องทางต่างๆ เพื่อเป็นการป้องกันเอาไว้เรียบร้อยแล้ว   ช่วงที่ผ่านมา ต้องบอกว่า Lapsus$ เริ่มถูกพูดถึงบนหน้าข่าวเทคโนโลยีมากขึ้น จากการที่พวกเขาทำผลงานด้วยการแฮ็กระบบของอินวิเดีย (Nvidia), ซัมซุง…

เตือนแอปอันตรายบน Android หลอกขโมยรหัสผ่าน Facebook

Loading

credit : Pradeo   ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยบนมือถือ Pradeo ได้ออกเตือนพบแอปพลิเคชันอันตรายบน Play Store ที่มีการดาวน์โหลดไปแล้วกว่าแสนครั้ง   แอปพลิเคชัน ‘Craftsart Cartoon Photo Tools’ โฆษณาตัวเองว่าใช้สำหรับแปลงรูปภาพให้เป็นการ์ตูน ซึ่งเราจะเห็นได้ว่ารูปภาพโปรไฟล์แบบนี้ได้รับความนิยมอย่างยิ่ง แต่นักวิจัยจาก Pradeo พบว่าแอปกลับแฝงมาด้วยโทรจัน FaceStealer โดยที่คนร้ายอาศัยการแก้ไขแพ็กเกจและ inject โค้ดอันตรายไปยังแอปอื่นๆด้วย เพื่อให้รอดพ้นจากการตรวจตราของ Play Store   เมื่อติดตั้งแล้วแอปจะไม่ทำงานอะไรให้จนกว่าผู้ใช้จะผ่านหน้าล็อกอินของ Facebook หากเหยื่อหลงเชื่อคนร้ายก็จะได้ Credentials ของเราไปนั่นเองโดยการอัปโหลดไปยังเซิร์ฟเวอร์ควบคุม หากล็อกอินเสร็จแล้วแอปก็จะมีความสามารถเพียงแค่รับรูปผู้ใช้ส่งไปยัง URL ‘http://color.photofuneditor.com/’ ซึ่งแปลงภาพส่งกลับมาแสดงในแอปให้ผู้ใช้ดาวน์โหลดหรือส่งให้เพื่อน ด้วยความที่ไม่ได้มีอะไรดีเลย รีวิวใน Play Store จึงมีแต่คนต่อว่า   จุดสังเกตของแอปมีหลายจุดคือโดยฟังก์ชันแล้วไม่จำเป็นต้องขอให้ล็อกอิน Facebook ก็ได้ แต่แอปกลับยืนกรานให้เป็นขั้นแรก ซึ่งเหยื่อหลายคนคงหลงเชื่อ อีกด้านคือคอมเม้นต์จากผู้ใช้ว่าห่วยมาก แถมข้อมูลนักพัฒนายังน่าสงสัยหลายส่วน สุดท้ายแล้ว Pradeo ได้แจ้งไปยัง Google…