T-mobile ตกเป็นเหยื่อรายล่าสุดของกลุ่มแฮกเกอร์ Lapsus$

Loading

Lapsus$ หรือกลุ่มคนร้ายที่เคยขโมยซอร์สโค้ดของยักษ์ใหญ่ด้านไอทีอย่าง Nvidia , Microsoft , Okta และ Samsung มาแล้ว ได้แทรกแซงเข้าถึงระบบของ T-mobile ได้ การโจมตีครั้งนี้คนร้ายอ้างว่าตนสามารถเข้าไปขโมยข้อมูลได้กว่า 30,000 ซอร์สโค้ดในระบบของ T-mobile ในช่วงเดือนก่อน กลับกันฝั่งของ T-mobile กล่าวว่า เครื่องมือมอนิเตอร์ของตนสามารถตรวจจับพบความพยายามเข้าถึงที่ไม่ได้รับอนุญาตด้วยการใช้ Credential ที่ถูกขโมยไป จากรายงานชี้ว่า Lapsus$ น่าจะหาซื้อ Credential มาจากตลาดใต้ดินหรืออื่นๆ นอกจากคนร้ายจะแทรกแซง Credential ของพนักงานได้แล้ว ยังพบว่า คนร้ายสามารถเข้าถึงระบบภายในอย่าง CMS หรือ Atlas ซึ่งอย่างหลังคือระบบที่ T-mobile ใช้บริหารจัดการบัญชีลูกค้า และพยายามเรียกดูบัญชีที่เกี่ยวกับ FBI และ DoD (Department of Defense) แต่ไปต่อไม่ได้เพราะบัญชีสำคัญเช่นนี้มีการตรวจสอบอีกชั้นหนึ่ง ทั้งนี้ T-mobile ยืนยันว่าคนร้ายไม่ได้ข้อมูลของลูกค้าหรือรัฐบาลออกไป T-mobile เป็นผู้ให้บริการโครงข่ายมือถือที่มีลูกค้ากว่า 104 ล้านบัญชี…

พบ Octo มัลแวร์มือถือ Android สุดอันตราย ควบคุมเครื่องเป้าหมายได้จากระยะไกล

Loading

  นักวิจัยพบมัลแวร์ banking ชนิดใหม่ระบาดบน Android ซึ่งโจมตีอุปกรณ์ด้วยการเข้ายึดเครื่องเป้าหมาย มัลแวร์ตัวนี้มีชื่อว่า Octo เป็นรูปแบบมัลแวร์โทรจันถูกพบโดยนักวิจัยจาก ThreatFabric ที่ตรวจสืบทราบการสั่งซื้อมัลแวร์จากฟอรัม Darknet (เครือข่ายหนึ่งใน Deep Web) และมีการนำมาปล่อยในแอปพลิเคชันบน Google Play หรือเครือข่าย Android ซึ่งความสามารถของมันคือ การฝังตัวอยู่ในอุปกรณ์ของเหยื่อ แล้วสร้างช่องโหว่ให้แฮกเกอร์เข้าถึงอุปกรณ์เหล่านั้นได้จากระยะไกลโดยที่เหยื่อไม่รู้ตัว โดยระบบของมัลแวร์สามารถควบคุมระบบของอุปกรณ์ได้ดังนี้     – สอดส่องมอนิเตอร์การใช้งานต่าง ๆ ของเหยื่อที่ติดมัลแวร์ – ระบบ keylogger ตรวจจับรหัสบนอุปกรณ์เช่น การใส่ PIN หรือรหัสบนเว็บไซต์ต่าง ๆ – บล็อกการแจ้งเตือนบนอุปกรณ์ – สกัดกั้นข้อความ SMS ของเหยื่อ – ปิดเสียงและล็อกหน้าจอของอุปกรณ์ชั่วคราว – เปิดแอปพลิเคชันบนเครื่องได้ตามใจ – อัปเดตรายชื่อ C2s – เปิด URL เฉพาะในเครื่อง…

เว็บไซต์ของการท่าฯ อิสราเอลถูกแฮกเกอร์อิรักโจมตีจนล่ม

Loading

เว็บไซต์การท่าอากาศยานของอิสราเอล (Israel Airports Authority) ถูกโจมตีทางไซเบอร์ด้วยวิธีการ Distributed Denial of Service (DDoS) หรือการส่งข้อมูลจำนวนมหาศาลไปยังเซิร์ฟเวอร์เป้าหมายในเวลาเดียวกัน จนล่มไปราว 30 นาที โดยคาดว่าผู้อยู่เบื้องหลังการโจมตีคือกลุ่มแฮกเกอร์สนับสนุนรัฐบาลอิหร่านที่มีฐานที่มั่นอยู่ในอิรัก โอเฟอร์ เลฟเลอร์ (Ofer Lefler) โฆษกประจำการท่าอากาศยานฯ เผยว่า ในช่วงเพียงไม่กี่นาที เว็บไซต์ขององค์กรประสบกับการโจมตีของแฮกเกอร์จำนวนหนึ่ง แต่ยืนยันว่าไม่มีความเสียหายเกิดขึ้นต่อระบบ ก่อนหน้าการโจมตีนี้จะเกิดขึ้น แฮกเกอร์นิรนามก็เพิ่งจะโจมตีเว็บไซต์ของสื่อโทรทัศน์ Channel 9 และ Kan ซึ่งเป็นบริษัทกระจายเสียงและเผยแพร่ภาพสาธารณะของอิสราเอลจนล่มไป แฮกเกอร์ที่เป็นผู้ลงมือโจมตี Channel 9 และ Kan อ้างว่า ทำไปเพื่อแก้แค้นให้กับ กาเซม โซไลมานี (Qassem Soleimani) ผู้บัญชาการคุดส์ฟอร์ซแห่งกองพิทักษ์การปฏิวัติอิสลามของอิหร่าน (Quds Force of the Iranian Revolutionary Guard Corps) ที่ถูกกองทัพสหรัฐอเมริกาลอบสังหารเมื่อ 2 ปีที่แล้ว อ้างอิง…

เตือนอย่าโหลดแอพนี้! มุกใหม่แก๊งคอลฯ โหดอันตราย ดูดเงินจากบัญชีได้โดยไม่ถามเลข

Loading

  พ.ต.ท.อังกูร เตือนมุกใหม่แก๊งคอลเซ็นเตอร์ โหดอันตรายกว่าเดิม ให้โหลดแอพ แล้วแอบโอนเงินจากแอพธนาคารได้เอง โดยไม่ได้บอกเลขบัญชี   “แก๊งคอลเซนเตอร์” ปัจจุบันนี้คงกลายเป็นเรื่องขำขันกันไปแล้ว หลายคนรู้ทันมุกก็อัดคลิปมาลงโซเชี่ยลขำ ๆ หรือเตือนภัย แต่มิจฉาชีพก็พัฒนาการหลอกเรื่อยมา จนบางคนหลงเชื่อทำให้สูญเงินจนเกลี้ยงบัญชี ล่าสุด (22 เม.ย. 65) พ.ต.ท.อังกูร อนุวงศ์ เป็นศัลยแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านการผ่าตัดส่องกล้อง โพสต์เตือนภัย ระวังแก๊งคอลเซนเตอร์มุขหลอกใหม่ โหด อันตรายกว่าเดิม   โดยระบุว่า วันนี้มีเบอร์แปลกเข้ามาฟังแล้วรู้เลย ว่าแก๊งคอลเซนเตอร์โทรมาหลอกแน่นอน ช่วงแรก ก็คลาสสิคมีพัสดุติดด่านศุลกากรมีของผิดกฎหมาย และแนะนำให้ไปแจ้งความ ที่ สภ.เมืองเชียงราย ถ้าไม่สะดวกไป จนท.จะประสานให้ตามสูตรปกติ   ตัดมาที่ ตำรวจ สภ.เมืองเชียงราย สอบถามโน่นนี่นั่น ทำเสียงดุ ๆ สุดท้าย สอบปากคำประกอบสำนวน โดยการแอดไลน์ แต่ไม่ใช่มุกวิดีโอคอล แบบเดิมแล้ว แต่โหดกว่าเดิม ทีนี้จะเป็นการโทรทางไลน์ ก็สอบถามข้อมูลส่วนตัว พอบอกชื่อเลขบัตรประชาชนมั่ว ๆ ไป…

กองทัพสหรัฐฯ ชม SpaceX รับมือรัสเซียแฮก Starlink ได้อย่างรวดเร็ว

Loading

    C4ISRNet สื่อสำหรับการทหารและงานข่าวกรองยุคใหม่ได้นำเสนอการสนทนาในเรื่อง “Instruments of electronic warfare” หรือเครื่องมือในการทำสงครามอิเล็กทรอนิกส์ โดยกล่าวถึงการเรียนรู้สิ่งที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับสงครามอิเล็กทรอนิกส์ของรัสเซียในการโจมตียูเครน ซึ่ง เดฟ เทรมเปอร์ (Dave Tremper) ผู้อำนวยการฝ่ายสงครามอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ได้กล่าวชมสเปซเอ็กซ์ (SpaceX) ที่สามารถปกป้องบริการบรอดแบนด์ผ่านดาวเทียมสตาร์ลิงก์ (Starlink) จากการแฮกและโจมตีของรัสเซียได้อย่างรวดเร็ว   นาทาน สเตราต์ (Nathan Strout) พิธีกรของ C4ISRNet ได้สนทนาผ่านวิดีโอทางไกลกับ พลจัตวา แทด คลาร์ก (Brig. Gen. Tad Clark) ผู้อำนวยการฝ่ายคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สำนักงานใหญ่กองทัพอากาศสหรัฐฯ และ เดฟ เทรมเปอร์ โดยพูดคุยกันถึงข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสงครามอิเล็กทรอนิกส์ในการบุกยูเครนของรัสเซีย   ในการสนทนา เทรมเปอร์ ได้กล่าวชมทีมวิศวกรของสเปซเอ็กซ์ที่สามารถเขียนโค้ดคำสั่งปล่อยขึ้นไปแค่หนึ่งบรรทัดก็สามารถแก้ไขปัญหาการแฮกและบุกโจมตีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในบริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ผ่านดาวเทียมสตาร์ลิงก์ได้อย่างรวดเร็ว วิธีการแก้ปัญหาเหล่านี้เป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจและกองทัพสามารถเรียนรู้   24 กุมภาพันธ์ รัสเซียได้ส่งกำลังทหารบุกถล่มยูเครนอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งการโจมตีได้ทำลายสายไฟเบอร์ออปติก สายเคเบิ้ลและเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์ส่งผลกระทบต่อการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ดังนั้นกองทัพยูเครนจึงต้องสื่อสารทางการทหารผ่านดาวเทียม…

[แจ้งเตือน] ออราเคิลปล่อยอัพเดตจาวา อุดช่องโหว่ตรวจสอบลายเซ็น ECDSA ผิดพลาด คนร้ายปลอมโทเค็น JWT ได้

Loading

ออราเคิลปล่อยอัพเดตตามรอบปกติเดือนเมษายน มีการแก้ไขช่องโหว่ในซอฟต์แวร์จำนวนมากนับร้อยรายการ แต่ช่องโหว่หนึ่งที่กระทบคนจำนวนมากและค่อนข้างร้ายแรง คือ CVE-2022-21449 เป็นบั๊กการตรวจสอบลายเซ็นดิจิทัลแบบ EDSDA ทำให้คนร้ายสามารถปลอมลายเซ็นและเซิร์ฟเวอร์ตรวจสอบไม่ได้ กระบวนการเซ็นลายเซ็นดิจิทัลแบบ ECDSA ได้รับความนิยมสูงมากในช่วงหลังเพราะมีขนาดลายเซ็นเล็ก มีการใช้งานเป็นวงกว้าง เช่น JWT สำหรับการล็อกอินเว็บ , SAML/OIDC สำหรับการล็อกอินแบบ single sign-on , และ WebAuthn สำหรับการล็อกอินแบบหลายขั้นตอนหรือการล็อกอินแบบไร้รหัสผ่าน หากเว็บใดใช้การล็อกอินเพื่อตรวจสอบลายเซ็นเช่นนี้ก็เสี่ยงจะถูกแฮกเกอร์ปลอมตัวเป็นผู้ใช้สิทธิ์ระดับสูงได้ ช่องโหว่กระทบตั้งแต่ Java 8 ขึ้นไป ออราเคิลให้ระดับความร้ายแรงที่ระดับสูง แต่ถ้ามีการใช้งานตรงกับแนวทางที่กล่าวมาแล้วก็นับว่าร้ายแรงมาก ควรเร่งอัพเดตโดยเร็ว ที่มา – Oracle , ForgeRock     ที่มา : blognone    /   วันที่เผยแพร่ 20 เม.ย.65 Link : https://www.blognone.com/node/128122