Bitkom ประเมินว่าภัยไซเบอร์อาจสร้างความเสียหายให้เยอรมนีสูงถึง 7 ล้านล้านบาท

Loading

  Bitkom สมาคมดิจิทัลเยอรมันเผยว่าการอุปกรณ์ไอที ข้อมูล และปฏิบัติการที่สร้างความเสียหายทางดิจิทัล จะสร้างความเสียหายให้แก่เยอรมนีถึง 206,000 ล้านยูโร (ราว 7.8 ล้านล้านบาท) ในปี 2023   จากการสำรวจมากกว่า 1,000 บริษัท พบว่ามูลค่าความเสียหายที่ Bitkom คาดการณ์ไว้นี้จะต่อเนื่องไปเป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน   รัลฟ์ วินเทอร์เกอร์สต์ (Ralf Wintergerst) ประธาน Bitkom ชี้ว่าเศรษฐกิจเยอรมนีเป็นเป้าหมายที่ดึงดูดอาชญากรและรัฐศัตรูมาก อีกทั้งเส้นแบ่งระหว่างผู้คุกคามที่เป็นกลุ่มอาชญากรรมกับรัฐก็ค่อนข้างเลือนราง   อย่างไรก็ดี ตัวเลขของบริษัทที่ถูกโจมตีในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมานั้นลดลงเหลือเพียงราว 75% จาก 84% ของปีก่อนหน้า ซึ่งรัลฟ์เชื่อว่าเกิดจากมาตรการป้องกันที่ได้ผล และการที่บริษัทต่าง ๆ ยอมรับผลกระทบจากการโจมตีไซเบอร์มากขึ้น (จากที่มีเพียง 9% ยอมรับเมื่อ 2 ปีก่อน มาเป็น 52% ในปีนี้)   สำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้น บริษัทส่วนใหญ่เผยว่าถูกขโมยข้อมูล…

ESET เผยแฮ็กเกอร์จีนให้แอป Signal และ Telegram ปลอมล้วงข้อมูลเหยื่อ

Loading

  ผู้เชี่ยวชาญจาก ESET เผยแฮ็กเกอร์จีนใช้แอปแชตปลอมแฝงมัลแวร์สอดแนมผู้ใช้งาน Android ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2020 เป็นต้นมา   ESET เชื่อว่าผู้อยู่เบื้องหลังคือกลุ่มแฮ็กเกอร์ที่มีชือเรียกว่า Gref ซึ่งปฏิบัติการสอดคล้องกับกลุ่มอื่นอย่าง APT15, Vixen Panda และ Ke3Chang   แอปที่ Gref ใช้ในการโจมตีเป็นแอปที่ทำเลียนแบบ Signal และ Telegram ด้วยการตั้งชื่ออย่าง Signal Plus Messenger และ FlyGram แฝงไว้ใน Google Play และ Samsung Galaxy Store   แอปเหล่านี้ซ่อนสปายแวร์ที่ชื่อ BabBazaar ซึ่งเป็นตัวเดียวกันที่เคยใช้สอดแนมชาวอุยกูร์ และชนกลุ่มน้อยชาวเตอร์กิกในจีน   การวิเคราะห์ชี้ว่าเป้าหมายของ Greg คือผู้ลี้ภัยชาวอุยกูร์ที่อยู่ในโปแลนด์และเยอรมนีเป็นหลัก แต่ขยายวงไปถึงบราซิลและออสเตรเลียด้วย   วิธีการที่ใช้ลวงเหยื่อให้ดาวน์โหลดแอปปลอมคือการโปรโมตแอปในกลุ่ม Telegram ของชาวอุยกูร์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนแอป Android   ข้อมูลที่ดูดออกไปจากเหยื่อมีทั้งข้อมูลรายชื่อผู้ติดต่อ…

ช่องโหว่ในระบบรถไฟใต้ดินนิวยอร์กทำให้มิจฉาชีพดูประวัติการเดินทางเหยื่อได้

Loading

  ช่องโหว่ในระบบการใช้จ่ายแบบไร้สัมผัสของรถไฟใต้ดินในนครนิวยอร์กทำให้คนที่มีข้อมูลบัตรเครดิตของผู้โดยสารสามารถเข้าไปดูประวัติการเดินทางของคนนั้นได้   ช่องโหว่นี้อยู่ในฟีเจอร์หนึ่งบนเว็บไซต์ OMNY ของสำนักงานการคมนาคมมหานคร (MTA) ซึ่งทำให้ผู้ใช้เข้าชมประวัติการเดินทางใน 1 สัปดาห์ของใครก็ได้ เพียงแค่มีข้อมูลบัตรเครดิต   ไม่เพียงแค่บัตรเครดิตเท่านั้น หากมีข้อมูลใช้จ่ายบน Apple Pay หรือ Google Pay ก็ดูได้เช่นกัน   เอวา กัลเพริน (Eva Galperin) ผู้อำนวยการฝ่ายไซเบอร์ของ Electronic Frontier Foundation (EFF) ชี้ว่าช่องโหว่นี้เอื้อประโยชน์ให้ผู้ไม่หวังดีที่มีข้อมูลเหล่านี้ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่อาศัยกับเหยื่อ   ด้าน ยูจีน เรสนิก (Eugene Resnick) โฆษกของ MTA ระบุว่าทางองค์กรพร้อมปรับปรุงความเป็นส่วนตัวอยู่เสมอและจะให้ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยเข้ามาให้คำแนะนำ   ที่มา finextra     ——————————————————————————————————————————————————– ที่มา :             …

“เอ็กซ์” จ่อเก็บข้อมูลอัตลักษณ์บุคคล, ประวัติการทำงาน และการศึกษาของผู้ใช้งาน

Loading

  สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า “เอ็กซ์” (X) หรือชื่อเดิมทวิตเตอร์ ได้ปรับปรุงนโยบายความเป็นส่วนตัวเพื่อเก็บข้อมูลผู้ใช้งานประเภทใหม่ ได้แก่ ข้อมูลอัตลักษณ์บุคคลที่ใช้พิสูจน์ตัวตนบุคคล   เอ็กซ์ระบุในนโยบายที่ปรับปรุงใหม่ว่า “เมื่อได้รับความยินยอมจากผู้ใช้งาน เราอาจเก็บรวบรวมและใช้ข้อมูลอัตลักษณ์บุคคลของคุณเพื่อวัตถุประสงค์ด้านความปลอดภัย ความมั่นคง และการระบุตัวตน” แม้เอ็กซ์ไม่ได้ให้คำจำกัดความที่ชัดเจนเกี่ยวกับข้อมูลอัตลักษณ์บุคคล แต่บริษัทอื่นมักใช้คำดังนี้เพื่ออธิบายถึงข้อมูลที่ดึงมาจากลักษณะใบหน้า ดวงตา และลายนิ้วมือของแต่ละบุคคล   นอกจากนี้ เอ็กซ์กล่าวเสริมว่า บริษัทยังมีความตั้งใจที่จะรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพและประวัติการศึกษาของผู้ใช้งานด้วยเช่นกัน   นโยบายความเป็นส่วนตัวที่ปรับปรุงใหม่ระบุว่า “เราอาจเก็บและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของคุณ เช่น ประวัติการทำงาน ประวัติการศึกษา งานที่ชอบ ทักษะและความสามารถ กิจกรรมการค้นหางานและการมีส่วนร่วม และอื่น ๆ เพื่อแนะนำงานที่เหมาะสำหรับคุณ ตลอดจนแบ่งปันข้อมูลกับผู้ที่อาจมาเป็นนายจ้างของคุณ เพื่อที่นายจ้างจะสามารถค้นหาผู้สมัครงานที่มีศักยภาพ และเพื่อแสดงโฆษณาที่เกี่ยวข้องแก่คุณมากขึ้น”   ทั้งนี้ บรรดาบริษัทโซเชียลมีเดียต่างถูกวิพากษ์วิจารณ์จากผู้ใช้งานและหน่วยงานกำกับดูแลกฎระเบียบทั่วโลกเกี่ยวกับการเก็บข้อมูลและวิธีการที่นำข้อมูลไปใช้ รวมถึงการขายโฆษณาที่มีการปรับให้เหมาะกับความสนใจของบุคคลและประวัติการค้นหา       ——————————————————————————————————————————————————– ที่มา :                 …

Google เปิดตัวเครื่องมือใส่ลายน้ำจากรูปที่สร้างโดย AI

Loading

  Google เปิดตัวเครื่องมือที่เพิ่มความสามารถในการใส่ลายน้ำให้กับรูปภาพที่ถูกสร้างขึ้นโดย AI เพื่อป้องกันการโดนปลอมแปลงรูปภาพและแชร์ข้อมูลเท็จ   เทคโนโลยีนี้ถูกเรียกว่า SynthID ซึ่งจะฝังลายน้ำลงในรูปภาพที่สร้างโดย Imagen ซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องมือสร้างรูปภาพจากข้อความตัวล่าสุดของ Google โดย SynthID จะฝังลายน้ำผ่านสัญญาณดิจิทัล ปรับสี และเพิ่มฟิลเตอร์ลงไป ทำให้การลบลายน้ำออกเป็นเรื่องยาก นอกจากนี้การสแกนภาพเพื่อตรวจจับลายน้ำยังแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ตรวจพบ ตรวจไม่พบ และคาดว่าตรวจพบ   ปัจจุบัน รูปภาพและวิดีโอถูกปลอมแปลงและตัดต่อให้มีความสมจริงมากขึ้น บริษัทเทคโนโลยีต่าง ๆ จึงพยายามดิ้นรนเพื่อหาวิธีในการระบุและทำเครื่องหมายเนื้อหาที่ถูกดัดแปลงในรูปแบบที่แม่นยำและเชื่อถือได้   Google เผยว่า “แม้เทคโนโลยีนี้จะยังไม่สมบูรณ์แบบ แต่จากการทดสอบภายในของเราแสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีนี้มีความแม่นยำเมื่อเทียบกับการปรับแต่งภาพทั่ว ๆ ไป”   ขณะนี้ SynthID เวอร์ชันเบต้าพร้อมใช้งานแล้วสำหรับลูกค้าบางส่วนของ Vertex AI ซึ่งเป็นแพลตฟอร์ม generative-AI สำหรับนักพัฒนาของ Google ขณะที่บริษัทกล่าวว่า SynthID ถูกสร้างขึ้นโดย Google DeepMind ซึ่งร่วมมือกับ Google…

“ดีอีเอส”ยกระดับทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ เปิดใช้แล้ว 8,390 ชุดจาก 276 หน่วยงาน

Loading

  ยกระดับ จีดี แคตตาล็อก สมาร์ตพลัส ให้บัญชีข้อมูลภาครัฐรองรับปริมาณชุดข้อมูลที่เพิ่มมากขึ้น เปิดให้ใช้งานแล้ว 8,390 ชุดข้อมูล จาก 276 หน่วยงานรัฐ   นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เปิดเผยว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการบูรณาการข้อมูลข้ามหน่วยงาน จึงได้จัดทำโครงการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ (จีดี แคตตาล็อก) เพื่อนำไปสู่การขับเคลื่อนการทำงานของภาครัฐ ให้มีขีดสมรรถนะสูงและทันสมัย เพื่อเป็นรัฐบาลดิจิทัล อย่างแท้จริง โดยล่าสุดได้เพิ่มฟีเจอร์ใหม่และประสิทธิภาพของ กัฟเวิร์นเมนต์ ดาต้า แคตตาล็อก ให้ชาญฉลาดยิ่งขึ้น เรียกว่า จีดี แคตตาล็อก สมาร์ตพลัส   “ด้วยระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาเพื่อรองรับปริมาณชุดข้อมูลที่เพิ่มมากขึ้น โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ หรือ สสช. ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ และระบบนามานุกรม และได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนทั้งส่วนราชการ องค์การมหาชน รัฐวิสาหกิจ สถาบันการศึกษา รวมไปถึงหน่วยงานระดับจังหวัด จนส่งผลให้มีผลการดำเนินงานสูงกว่าเป้าหมาย เป็นแรงสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลสู่ความยั่งยืน”   ด้าน น.ส.ปิยนุช วุฒิสอน ผู้อำนวยการ สสช. กล่าวว่า ได้ขับเคลื่อนการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ ตั้งแต่ปี 63 โดยมีหน่วยงานนำร่อง 31 หน่วยงาน และ 3 จังหวัด ต่อมาได้ขยายผลกับหน่วยงานและจังหวัดทั่วประเทศ โดยกำหนดเป้าหมายให้หน่วยงานภาครัฐ 268 หน่วยงาน และ 76 จังหวัด ต้องมีระบบบัญชีข้อมูลหน่วยงานให้ครบถ้วนภายในปี 68 ซึ่งขณะนี้มีหน่วยงานติดตั้งและใช้งานระบบแล้วถึง 200 หน่วยงาน และ 76 จังหวัด มีชุดข้อมูลกว่า 18,000 ชุดข้อมูล กระจายอยู่แต่ละระบบบัญชีข้อมูลหน่วยงาน และได้มีการนำมาลงทะเบียนที่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐแล้ว 8,400 ชุดข้อมูล ถือเป็นผลการดำเนินงานเกินเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ เปิดให้ผู้สนใจเข้าสืบค้นข้อมูล และใช้ประโยชน์จากข้อมูลภาครัฐถึง 8,390 ชุดข้อมูล จาก 276 หน่วยงานรัฐ ได้แล้วที่ https://gdcatalog.go.th/       ——————————————————————————————————————————————————– ที่มา :                  เดลินิวส์ออนไลน์             …