กองทัพญี่ปุ่นเล็งใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตดาวเทียมของ “อีลอน มัสก์” ไม่กี่วันหลังโดนโยงเข้ากับเรือดำน้ำชมไททานิก

Loading

    รอยเตอร์/เอเจนซีส์ – กองทัพญี่ปุ่นมีเป้าหมายเตรียมใช้เทคโนโลยีดาวเทียมของอีลอน มัสก์ ในงบประมาณปีหน้า ระหว่างที่ปัจจุบันกำลังทดสอบการใช้งาน เกิดขึ้นท่ามกลางมัสก์โดนเผือกร้อนโดนโยงชื่อเกี่ยวกับเรือดำน้ำชมเรือไททานิกที่หายไป จนเจ้าตัวต้องออกมาตอบไม่กี่วันก่อนหน้า   รอยเตอร์รายงานวันนี้ (25 มิ.ย.) ว่า กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นนั้นปัจจุบันสามารถเข้าถึงดาวเทียมสื่อสารระดับวงโคจรค้างฟ้า (geostationary orbit) ได้ แต่ทว่าการที่จะเพิ่มการเข้าถึงเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตดาวเทียมบริษัทสตาร์ลิงค์ของมหาเศรษฐีอเมริกัน อีลอน มัสก์ จะช่วยทำให้ญี่ปุ่นเพิ่มความสามารถการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตระดับดาวเทียมวงโคจรระดับต่ำ   แหล่งข่าวใกล้ชิดในรัฐบาลโตเกียวเปิดเผยว่า กองทัพญี่ปุ่นในปัจจุบันกำลังทำการทดสอบระบบอินเทอร์เน็ตดาวเทียมของมัสก์ ซึ่งโตเกียวมีเป้าหมายจะเริ่มใช้เทคโนโลยีสตาร์ลิงค์ที่ว่านี้ในงบประมาณปีหน้า   ทั้งนี้ พบว่ากองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นนั้นเริ่มการทดสอบระบบอินเทอร์เน็ตดาวเทียมมาตั้งแต่เดือนมีนาคมสำหรับระบบที่ถูกใช้ใน 10 จุด และในการฝึกซ้อม หนังสือพิมพ์ญี่ปุ่นกล่าว   ซึ่งในเวลานี้ในหลายประเทศทั่วโลกต่างกำลังสร้างความยืดหยุ่นเพื่อป้องกันความเสี่ยงระบบการสื่อสารถูกรบกวนสัญญาณ หรือมีการโจมตีในกรณีดาวเทียมโดนทำลายหากเกิดความขัดแย้ง ซึ่งเมื่อต้นเดือนนี้เพนตากอนลงนามเซ็นสัญญายอมจ่ายค่าอินเทอร์เน็ตดาวเทียมให้ยูเครน หลังเมื่อตุลาคมปีที่แล้ว มัสก์ออกมาเปิดเผยว่า ทางบริษัทของเขาไม่สามารถแบกรับต้นทุนค่าใช้จ่ายสำหรับยูเครนตก 20 ล้านดอลลาร์ต่อเดือนต่อไปไหว   ซึ่งนอกเหนือจากยูเครนแล้ว มัสก์ยังแจกซับสคริปชันอินเทอร์เน็ตดาวเทียมฟรีให้ทั้งการประท้วงอิหร่าน และมีรายงานกลุ่มต่อสู้ชนกลุ่มน้อยแนวพรมแดนพม่าติดไทยเพื่อสู้รบกับรัฐบาลทหารพม่าอีกด้วย   เกิดขึ้นไม่กี่วันหลังจากชื่อบริษัทสตาร์ลิงค์ตกเป็นข่าวโยงประเด็นเรือดำน้ำ Titan Submersible ของบริษัทโอเชียนเกตสูญหายและล่าสุดมีรายงานว่า คาดว่าผู้โดยสารทั้ง 5 รายเสียชีวิตทั้งหมดหลังเกิดระเบิด…

นายกฯ ออสเตรเลียแนะนำ “ปิดมือถือวันละ 5 นาที” ลดความเสี่ยงการถูกโจมตีทางไซเบอร์ได้

Loading

  Anthony Albanese นายกรัฐมนตรีของออสเตรเลียแถลง ในระหว่างการประกาศแต่งตั้งหัวหน้าหน่วยงานดูแลด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ของประเทศ โดยพูดถึงปัญหาและความสำคัญที่มากขึ้น ของการดูแลความปลอดภัยทางไซเบอร์ในประเทศ   เนื้อหาตอนหนึ่งเขาบอกว่าการดูแลความปลอดภัยนี้ เป็นสิ่งที่ประชาชนและองค์กรทุกภาคส่วนต้องให้ความร่วมมือ ซึ่งเขาแนะนำวิธีการง่าย ๆ ที่ทำได้ทุกวันนั่นคือ ปิดโทรศัพท์ทุกคืน เป็นเวลา 5 นาที เขาแนะนำว่าอาจทำระหว่างไปแปรงฟันก่อนเข้านอนก็ได้   คำแนะนำนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แม้ไม่ได้การันตีว่าโทรศัพท์จะปลอดภัยจากการถูกโจมตี แต่มัลแวร์จำนวนมากไม่ได้ฝังอยู่ในหน่วยความจำถาวร แต่ทำงานอยู่ในหน่วยความจำเท่านั้น เมื่อบูตเครื่องใหม่มัลแวร์จึงหายไป ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์บอกว่า ก็ทำให้ต้นทุนในการดึงข้อมูลของแฮ็กเกอร์ผ่านมัลแวร์ที่มักรันอยู่เบื้องหลัง มีมูลค่าสูงขึ้น และทำได้ลำบากมากขึ้นนั่นเอง     ที่มา: 7News Australia       ————————————————————————————————————————- ที่มา :                    Blognone by arjin         …

รัฐบาลมาเลเซียขู่ดำเนินคดีกับเมตา (Meta)

Loading

โลโก้ของเมตา (Meta) ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของเฟซบุ๊ก (Facebook), อินสตาแกรม (Instagram) และวอทแอปส์ (WhatsApp) (Photo by Chris DELMAS / AFP)   มาเลเซียขู่ว่าจะดำเนินการทางกฎหมายกับเมตา (Meta) โดยกล่าวหาว่ายักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีไม่สามารถลบเนื้อหาที่ “ไม่พึงปรารถนา” ออกจากเฟซบุ๊กได้   เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันศุกร์ที่ 23 มิถุนายน 2566 กล่าวว่า หน่วยงานกำกับดูแลด้านการสื่อสารของมาเลเซียเตรียมดำเนินคดีทางกฎหมายกับเมตา (Meta) ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของเฟซบุ๊ก (Facebook)   หน่วยงานภายใต้การกำกับของรัฐบาลกล่าวว่า แพลตฟอร์มเฟซบุ๊กถูกรบกวนด้วยปริมาณที่มากมายของโพสต์ที่เป็นอันตรายในประเด็นต่าง ๆ เช่น เชื้อชาติ, ราชวงศ์, ศาสนา และการพนันออนไลน์ และเมตาล้มเหลวในการคัดกรองเนื้อหาดังกล่าวแม้ว่าจะมีการร้องขอซ้ำแล้วซ้ำเล่า จึงเตรียมดำเนินคดีทางกฎหมายกับบริษัทสหรัฐฯ   “เนื่องจากเมตาไม่ได้ให้ความร่วมมืออย่างเพียงพอ คณะกรรมาธิการจึงไม่มีทางเลือกนอกจากต้องดำเนินการขั้นเด็ดขาดทางกฎหมาย” คณะกรรมาธิการการสื่อสารและมัลติมีเดียของมาเลเซียกล่าวในแถลงการณ์   อย่างไรก็ดี มูลฟ้องยังไม่ได้รับการเปิดเผยว่าเมตาจะถูกดำเนินคดีข้อหาอะไร   ฟาห์มี ฟาดซิล รัฐมนตรีกระทรวงสื่อสารของมาเลเซีย แสดงความคิดเห็นต่อคำแถลงของหน่วยงานกำกับดูแล…

ทนายสหรัฐที่ใช้ตัวอย่างคดีปลอมในชั้นศาล ถูกศาลตัดสินสั่งปรับ 5,000 ดอลลาร์

Loading

  หลังจากการพิจารณาคดี ที่ทนายความ Steven Schwartz ใช้หลักฐานและตัวอย่างคดีปลอมจาก ChatGPT ในคดีฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายกับสายการบิน Avianca ของโคลอมเบีย   ล่าสุด ศาลแขวงแมนแฮตตัน สหรัฐอเมริกา มีคำสั่งให้ Steven Schwartz, Peter LoDuca (ผู้รับช่วงต่อคดีจาก Steven) และ สำนักงานกฎหมายต้นสังกัด Levidow, Levidow & Oberman ถูกปรับ 5,000 ดอลลาร์   ผู้พิพากษาให้เหตุผลว่า Steven จงใจให้ข้อมูลเท็จกับศาลโดยการใช้หลักฐานและคดีปลอมจาก AI ขณะที่สำนักงานกฎหมายของฝั่ง Steven โต้แย้งว่าเป็นความผิดโดยบริสุทธิ์ใจ   ในคดีระหว่าง Steven และสายการบิน Avianca ซึ่งเป็นที่มาของเหตุการณ์ครั้งนี้ สายการบินขอให้ศาลยกฟ้อง ขณะที่ Steven รวบรวมหลักฐานคดีต่าง ๆ จาก ChatGPT ซึ่งเป็นข้อมูลปลอมมาใช้สู้คดี แต่กลับไม่สามารถหาที่มาของทั้ง 6 คดีที่นำมาอ้างได้เมื่อถูกทีมกฎหมายของสายการบินทวงถาม…

ดีอีเอสบี้ ‘แฟลตฟอร์มดิจิทัล’ แสดงตัวคาดเข้าข่ายพันราย

Loading

  เตรียมตัวให้พร้อม! “ดีอีเอส” ขีดเส้น 21 ส.ค.-18 พ.ย. 2566 บี้ผู้ให้บริการแฟลตฟอร์มดิจิทัลที่เข้าข่ายกว่า 1 พันราย ทยอยรายงานตัว หลังกฎหมาย DPS ปักหมุดบังคับใช้ ขู่เมินพร้อมงัดโทษจำคุก 1 ปี ปรับ 1 แสนบาท ยันแม่ค้าออนไลน์-อินฟลูเอ็นเซอร์ไม่กระทบ ดีเดย์ 26 มิ.ย. นี้ เดินเครื่องรับฟังความคิดเห็นเรื่องการยืนยันตัวตนของผู้ให้บริการ ปิดช่องมิจฉาชีพหลอกลวง   22 มิ.ย. 2566 – นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวภายหลังการประชุมทำความเข้าใจสร้างการรับรู้ถึงความสำคัญของ พ.ร.ฎ.การประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. 2565 หรือ กฎหมาย DPS (Digital Platform Services) ที่จะมีผลใช้บังคับในวันที่ 21 ส.ค. นี้ ว่า ตามที่มีการประกาศ พ.ร.ฎ.ฉบับนี้ส่งผลให้ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลตามเกณฑ์ต้องมาแจ้งกับสำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA)…

“สำนักนายกฯ” จ้าง 10 ล้าน ออกแบบพัฒนา “บิ๊กดาต้า” รองรับภารกิจ สร.1 ด้านต่างประเทศ

Loading

  เปิดสเปก “บิ๊กดาต้า” มูลค่ากว่า 10 ล้าน เน้นระบบ AI พัฒนาภารกิจนายกรัฐมนตรี ด้านการต่างประเทศ “สำนักนายกฯ” จัดงบฯ ออกแบบรองรับรัฐบาลใหม่ ใช้ทำรายงานวิเคราะห์สถานการณ์ระหว่างประเทศ ภารกิจเยือน-เข้าร่วมประชุมระหว่างประเทศ-ต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง-หารือข้อราชการเต็มคณะ รวมถึงจัดทำข้อมูลประกอบการสนทนากับประมุขและบุคคลสำคัญจากต่างประเทศ   วันนี้ (22 มิ.ย.) มีรายงานจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (สลน.) เผยแพร่ ประกาศประกวดราคาจ้างจัดทำ “ฐานข้อมูล “บิ๊กดาต้า” ภารกิจนายกรัฐมนตรี ด้านการต่างประเทศ” จำนวน 1 ระบบ ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding)   พบว่า เป็นโครงการของ กองการต่างประเทศ สลน. กำหนดราคากลาง วงเงิน 9,232,634 บาท จากงบประมาณ ปี 2566 ที่ได้รับจัดสรร 9,849,700 บาท เพื่อว่าจ้างคณะทำงานเพื่อออกแบบและพัฒนา “บิ๊กดาต้า” ในระยะเวลา 300 วัน…