ผู้เชี่ยวชาญเตือน! อเมริกาต้องเตรียมรับมือการโจมตีทางไซเบอร์จากจีน

Loading

    เจ้าหน้าที่ด้านไซเบอร์ของสหรัฐฯ เตือนว่า อเมริกาอาจยังไม่แข็งแกร่งพอที่จะป้องกันและรอดจากการโจมตีทางไซเบอร์จากจีนที่มุ่งเป้าไปที่โครงสร้างพื้นฐานของสหรัฐฯ หากว่าการแข่งขันขยายอำนาจของสองประเทศนี้ยกระดับไปเป็นความขัดแย้งจริง ๆ   นับตั้งแต่รัสเซียเริ่มบุกรุกยูเครนเมื่อปีที่แล้ว สหรัฐฯ ได้พยายามเพิ่มการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์เพื่อปกป้องระบบโครงสร้างพื้นฐานสาธารณูปโภค เช่น เครือข่ายไฟฟ้าและน้ำประปา ซึ่งส่วนใหญ่บริหารจัดการโดยบริษัทเอกชน   แต่ เจน อีสเตอร์ลีย์ ผู้อำนวยการสำนักงานความปลอดภัยทางไซเบอร์และความมั่นคงของโครงสร้างพื้นฐาน หรือ CISA (Cybersecurity and Infrastructure Security Agency) เตือนในวันจันทร์ว่า จำเป็นต้องเพิ่มการระแวดระวังมากขึ้นในกรณีที่จีนตัดสินใจโจมตีจริง ๆ   “ในกรณีที่เกิดความขัดแย้ง ค่อนข้างแน่นอนว่า จีนจะใช้ปฏิบัติการทางไซเบอร์อย่างรุนแรงโดยมุ่งเป้าไปที่โครงสร้างพื้นฐานสำคัญต่าง ๆ รวมถึงท่อส่งน้ำมันและรางรถไฟเพื่อชะลอการระดมกำลังทหารของสหรัฐฯ และเพื่อก่อให้เกิดความตื่นตระหนกในหมู่ประชาชน” ผอ.CISA กล่าวที่สถาบันแอสเพน (Aspen Institute) ในกรุงวอชิงตัน     ผู้เชี่ยวชาญผู้นี้ชี้ด้วยว่า “เมื่อพิจารณาจากรูปแบบของภัยคุกคามจากรัฐบาลจีน ศักยภาพและทรัพยากร ตลอดจนความพยายามที่จีนจะนำมาใช้ จะทำให้เป็นเรื่องยากอย่างยิ่งที่เราจะสามารถป้องกันไม่ให้เกิดการชะงักงันขึ้นได้” นอกจากนี้ เธอยังแสดงความกังวลต่อความสามารถของอเมริกาในการซ่อมแซมความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น   ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐฯ ออกมาเตือนถึงภัยคุกคามทางไซเบอร์จากจีน โดยคำเตือนส่วนใหญ่มุ่งเป้าไปยังกรณีที่จีนพยายามใช้กำลังทหารยึดครองไต้หวัน  …

‘บิ๊กป้อม’ หนุน พัฒนาแพลตฟอร์มแชร์ข้อมูล ภัยคุกคามไซเบอร์ หวังป้อง-ลดเสี่ยงความมั่นคง

Loading

    ‘บิ๊กป้อม’ หนุน พัฒนาแพลตฟอร์มแชร์ข้อมูล ภัยคุกคามไซเบอร์ ปท. หวังป้อง-ลดเสี่ยงความมั่นคง   เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน ที่ห้องประชุม มูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (กมช.) ครั้งที่ 3/2566 โดยประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์   ​พล.อ.ต.อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ในฐานะกรรมการและเลขานุการการประชุม กล่าวว่า ที่ประชุมได้พิจารณาเห็นชอบ (ร่าง) ข้อตกลงในการเชื่อมต่อระบบแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนข้อมูลภัยคุกคาม (Threat Information Sharing Platform) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยให้หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานควบคุมหรือกำกับดูแล และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับภัยคุกคามได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเห็นชอบในบันทึกความร่วมมือระหว่าง สกมช. กับสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และสถาบันคุณวุฒวิชาชีพ โดยมุ่งเน้นการแลกเปลี่ยนความรู้ และยกระดับทักษะความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พร้อมทั้งรับทราบรายงานผลการปฏิบัติของศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์แห่งชาติและรายงานเหตุการณ์ภัยคุกคามและผลการดำเนินการเหตุการณ์ที่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ในห้วง 6 เดือนที่ผ่านมา รวมทั้งทราบผลการปฏิบัติ…

นักวิจัยสร้างเครื่องถอดแรมจากคอมพิวเตอร์ที่เปิดอยู่ ดึงข้อมูลเข้ารหัสได้

Loading

    ทีมวิจัยจากบริษัท Red Balloon Security นำเสนอแนวทางการเจาะระบบด้วยการนำคอมพิวเตอร์ถอดแรมออกจากเครื่องขณะรันโดนโดยตรง ทำให้สามารถดึงข้อมูลที่ปกติจะเข้ารหัสบนดิสก์แต่ถอดรหัสบนแรมออกมาได้ โดยการสร้างหุ่นยนต์ที่ทำให้สามารถถอดแรมออกมาอ่านได้ทันที ทำให้อ่านข้อมูลในแรมที่ไม่เข้ารหัสแล้วได้ทั้งหมด   ก่อนหน้านี้มีการโจมตีด้วยการอ่านข้อมูลที่ค้างอยู่ในแรมมาแล้วหลายครั้ง ทั้งแบบที่พยายามอ่านข้อมูลที่หลงเหลืออยู่จากการบูตครั้งก่อน หรือการอ่านข้อมูลโดยถอดโมดูลแรมออกมา ซึ่งไม่สามารถโจมตีในกรณีที่เครื่องติดตั้งแรมแบบบัดกรีเข้ากับบอร์ดโดยตรง แต่ทีมวิจัยของ Red Balloon Security สร้างหุ่นยนต์ที่ถอดชิปจากบอร์ดโดยตรงได้ จากนั้นนำชิปเข้าไปวางในบอร์ดที่มีชิป FPGA เฉพาะทางสำหรับการอ่านข้อมูลในแรมทันที ทีมงานสาธิตการเจาะระบบด้วยการอ่านค่าในแรมของเครื่อง Siemens SIMATIC S7-1500 PLC จนอ่านโค้ดเฟิร์มแวร์ได้ และทดสอบกับ CISCO IP Phone 8800 ที่อ่านโค้ดที่รันใน Arm TrustZone ได้อีกเช่นกัน   หุ่นยนต์อ่านแรมของ Red Balloon Security สามารถอ่านแรมแบบ DDR1/2/3 ได้ค่อนข้างนิ่ง และต้นทุนรวมก็อยู่ระดับพันดอลลาร์เท่านั้น โดยตัวเครื่องหลักดัดแปลงจากเครื่อง CNC ที่ซื้อจาก Aliexpress มาราคา 500 ดอลลาร์เท่านั้น ทีมงานคาดว่าการอ่านแรม…

เดนมาร์กเล็งเพิ่มอายุขั้นต่ำของเยาวชนที่บริษัทเทคโนโลยีเก็บข้อมูลได้

Loading

    รัฐบาลเดนมาร์กตั้งเป้าเพิ่มอายุจำกัดของประชาชนที่บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่จะสามารถเก็บข้อมูลได้ เพื่อควบคุมการเก็บข้อมูลเยาวชน   เดิมทีเดนมาร์กกำหนดอายุขั้นต่ำของเยาวชนที่สามารถยินยอมให้บริษัทเทคโนโลยีเก็บข้อมูลได้ที่ 13 ปี แต่ต้องการจะขยายไปเป็น 15 – 16 ปี และยังจะกำหนดให้บริษัทที่ต้องการใช้ข้อมูลเยาวชนที่อายุต่ำกว่านี้ต้องขอความยินยอมจากผู้ปกครองด้วย   มอร์เตน บอดสคอฟ (Morten Bødskov) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงธุรกิจของเดนมาร์กเผยว่ายักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีต้องมีความรับผิดชอบที่มากขึ้น และรัฐบาลต่าง ๆ ต้องร่วมกันยุติอัลกอริทึมเก็บข้อมูลที่ไม่โปร่งใส   ก่อนหน้านี้ เยอรมนีก็เพิ่งกำหนดอายุขั้นต่ำที่ 16 ปี เช่นเดียวกับหลายประเทศในยุโรปอย่าง ฮังการี ลิธัวเนีย และเนเธอร์แลนด์ ที่ก็กำลังพิจารณากฎหมายในลักษณะคล้าย ๆ กัน         ที่มา Reuters         —————————————————————————————————————————————— ที่มา :               …

เว็บไซต์หน่วยงานรัฐบาลกลางสวิสล่ม หลังถูกโจมตีแบบ DDoS

Loading

    เว็บไซต์ของหน่วยงานรัฐบาลกลางสวิตเซอร์แลนด์จำนวนหนึ่งใช้งานไม่ได้ หลังถูกโจมตีแบบ DDoS   สถานีวิทยุ SRF รายงานว่ากลุ่มแฮ็กเกอร์ที่ชื่อว่า NoName อ้างว่าอยู่เบื้องหลังการโจมตีในครั้งนี้ และยังอ้างว่าได้โจมตีเว็บไซต์รัฐสภาสวิตเซอร์แลนด์ด้วย   โดยกระทรวงการคลังเผยว่าผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีของรัฐบาลกลางสามารถตรวจพบเหตุโจมตีได้เร็วและกำลังเร่งกู้เว็บไซต์ที่ล่มอยู่   ก่อนหน้านี้ในเดือนพฤษภาคม หน่วยงานรัฐบาลกลางและรัฐบาลระดับรัฐหลายแห่งก็เพิ่งจะถูกขโมยข้อมูลจากการที่มีแฮ็กเกอร์โจมตี Xplain บริษัทไอทีที่ให้บริการหน่วยงานรัฐบาล         ที่มา SWI swissinfo.ch         —————————————————————————————————————————————— ที่มา :                               beartai               …

ตำรวจไซเบอร์ เตือนนักท่องเน็ต ระวังมัลแวร์ตัวใหม่ ภัยร้ายบนแอนดรอยด์

Loading

    ตำรวจไซเบอร์ เตือนระวังมัลแวร์ตัวใหม่ “DogeRAT” ภัยร้ายบนระบบแอนดรอยด์ เผย 7 แอปฯ ที่มัลแวร์ชอบฝังตัว เช็กที่นี่   กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) โพสต์เพจเฟซบุ๊ก เตือนภัยมัลแวร์มาใหม่ DogeRAT แฝงตัวบนแอปพลิเคชันระบบแอนดรอยด์ โดยระบุว่า   DogeRAT มัลแวร์ตัวใหม่ ภัยร้ายบนระบบ Android   หลักการทำงานของมัลแวร์ DogeRAT จะมีการโฆษณาบนเว็บไซต์ปลอม หรือแอปฯ ปลอมต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ใช้ดาวน์โหลด เมื่อเผลอทำการติดตั้ง ก็จะทำให้เข้าถึงข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลทางการเงิน และเข้าควบคุมโทรศัพท์มือถือที่มัลแวร์ฝังตัวอยู่     7 แอปพลิเคชันที่มัลแวร์ DogeRAT มักนิยมฝังตัว   1. Opera Mini-fast web browser   2. Android VulnScan   3. Youtube…