LockBit ปล่อยข้อมูลลับของหน่วยความมั่นคงสหราชอาณาจักรจำนวนหลายพันหน้า

Loading

  LockBit แฮ็กเกอร์รัสเซียปล่อยสิ่งที่เชื่อว่าเป็นข้อมูลลับทางทหารและข่าวกรองด้านความมั่นคงบนดาร์กเว็บ ข้อมูลมีจำนวนหลายพันหน้า   ข้อมูลนี้มีทั้งรายละเอียดการจัดซื้อของฐานทัพเรือ HMNB Clyde และหน่วยข่าวกรอง GCHQ ไปจนถึงข้อมูลระบบการป้องกันภัยไซเบอร์ และแผนผังหน่วยทหาร   ถัดมาคือข้อมูลอุปกรณ์ด้านความมั่นคงของฐานทัพอากาศ Waddington และฐานทัพบก Cawdor ที่ใช้ในการทำสงครามอิเล็กทรอนิกส์   นอกจากหน่วยความมั่นคงแล้ว ข้อมูลของเรือนจำความปลอดภัยสูงอย่าง Long Lartin และ Whitemoor รวมถึงศูนย์เทคโนโลยีวิทยาศาสตร์และการป้องกันประเทศ Porton Down ก็หลุดรั่วออกมาด้วย   เมื่อเดือนที่แล้ว LockBit โจมตีฐานข้อมูลของ Zaun บริษัทจากสหราชอาณาจักรที่ให้บริการมาตรการด้านความมั่นคงไซเบอร์กับเว็บไซต์ความเสี่ยงสูง   ทางบริษัทระบุกับสำนักข่าว The Mirror ว่า LockBit น่าจะนำข้อมูลเหล่านี้มาจากอีเมล คำสั่งซื้อ ภาพวาด และไฟล์เก่า ไม่เชื่อว่าข้อมูลที่หลุดมานี้เป็นข้อมูลลับ และไม่เชื่อว่าระบบฐานข้อมูลของบริษัทถูกเจาะได้จริง   Zaun ระบุว่าได้รับการติดต่อจากศูนย์ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (NCSC) แล้ว โดยได้รับคำแนะนำว่าบริษัทตกเป็นเหยื่อการโจมตีไซเบอร์ที่ซับซ้อนและได้ดำเนินมาตรการที่จำเป็นในการลดความเสียหายต่อระบบ    …

ร้านค้าแอปในจีนเริ่มบังคับให้เจ้าของแอปทำข้อมูลรายงานรัฐบาล ตามกฎหมายใหม่

Loading

  ร้านแอปออนไลน์ของ Tencent, Xiaomi และเจ้าอื่น ๆ ของจีนเริ่มห้ามไม่ให้นำแอปที่ไม่ได้เปิดเผยข้อมูลตามที่รัฐบาลระบุมาขายในร้าน   มาตรการใหม่นี้เป็นการปฏิบัติตามกฎใหม่ที่รัฐบาลจีนนำมาใช้ตั้งแต่เดือนสิงหาคมเป็นต้นมา เพื่อเพิ่มความเข้มงวดในอุตสาหกรรมแอปของจีน ทำให้หลายแอปจะหายไปจากตลาด   กฎหมายใหม่บังคับให้ผู้จัดจำหน่ายแอปต้องส่งรายละเอียดการดำเนินธุรกิจให้กับรัฐบาล และบังคับให้ร้านค้าแอปตั้งระบบการรายงานการทำตามกฎของรัฐบาล   ริช บิชอบ (Rich Bishop) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ AppInChina เผยว่ากฎใหม่บังคับให้แอปต่างชาติที่อยู่ในร้านค้าแอปเหล่านี้จะต้องตั้งสำนักงานภายในประเทศหรือทำงานร่วมกับหุ้นส่วนในจีน   เมื่อสัปดาห์ที่แล้วร้านค้าแอปที่บริหารโดย Tencent, Huawei, Xiaomi, Oppo และ Vivo แจ้งไปยังบรรดาผู้ขายแอปว่าจะไม่ให้วางแอปใหม่หากไม่มีการดำเนินเอกสารที่เพียงพอ     ที่มา   Reuters         ————————————————————————————————————————————————— ที่มา :                   แบไต๋         …

Bitkom ประเมินว่าภัยไซเบอร์อาจสร้างความเสียหายให้เยอรมนีสูงถึง 7 ล้านล้านบาท

Loading

  Bitkom สมาคมดิจิทัลเยอรมันเผยว่าการอุปกรณ์ไอที ข้อมูล และปฏิบัติการที่สร้างความเสียหายทางดิจิทัล จะสร้างความเสียหายให้แก่เยอรมนีถึง 206,000 ล้านยูโร (ราว 7.8 ล้านล้านบาท) ในปี 2023   จากการสำรวจมากกว่า 1,000 บริษัท พบว่ามูลค่าความเสียหายที่ Bitkom คาดการณ์ไว้นี้จะต่อเนื่องไปเป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน   รัลฟ์ วินเทอร์เกอร์สต์ (Ralf Wintergerst) ประธาน Bitkom ชี้ว่าเศรษฐกิจเยอรมนีเป็นเป้าหมายที่ดึงดูดอาชญากรและรัฐศัตรูมาก อีกทั้งเส้นแบ่งระหว่างผู้คุกคามที่เป็นกลุ่มอาชญากรรมกับรัฐก็ค่อนข้างเลือนราง   อย่างไรก็ดี ตัวเลขของบริษัทที่ถูกโจมตีในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมานั้นลดลงเหลือเพียงราว 75% จาก 84% ของปีก่อนหน้า ซึ่งรัลฟ์เชื่อว่าเกิดจากมาตรการป้องกันที่ได้ผล และการที่บริษัทต่าง ๆ ยอมรับผลกระทบจากการโจมตีไซเบอร์มากขึ้น (จากที่มีเพียง 9% ยอมรับเมื่อ 2 ปีก่อน มาเป็น 52% ในปีนี้)   สำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้น บริษัทส่วนใหญ่เผยว่าถูกขโมยข้อมูล…

ESET เผยแฮ็กเกอร์จีนให้แอป Signal และ Telegram ปลอมล้วงข้อมูลเหยื่อ

Loading

  ผู้เชี่ยวชาญจาก ESET เผยแฮ็กเกอร์จีนใช้แอปแชตปลอมแฝงมัลแวร์สอดแนมผู้ใช้งาน Android ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2020 เป็นต้นมา   ESET เชื่อว่าผู้อยู่เบื้องหลังคือกลุ่มแฮ็กเกอร์ที่มีชือเรียกว่า Gref ซึ่งปฏิบัติการสอดคล้องกับกลุ่มอื่นอย่าง APT15, Vixen Panda และ Ke3Chang   แอปที่ Gref ใช้ในการโจมตีเป็นแอปที่ทำเลียนแบบ Signal และ Telegram ด้วยการตั้งชื่ออย่าง Signal Plus Messenger และ FlyGram แฝงไว้ใน Google Play และ Samsung Galaxy Store   แอปเหล่านี้ซ่อนสปายแวร์ที่ชื่อ BabBazaar ซึ่งเป็นตัวเดียวกันที่เคยใช้สอดแนมชาวอุยกูร์ และชนกลุ่มน้อยชาวเตอร์กิกในจีน   การวิเคราะห์ชี้ว่าเป้าหมายของ Greg คือผู้ลี้ภัยชาวอุยกูร์ที่อยู่ในโปแลนด์และเยอรมนีเป็นหลัก แต่ขยายวงไปถึงบราซิลและออสเตรเลียด้วย   วิธีการที่ใช้ลวงเหยื่อให้ดาวน์โหลดแอปปลอมคือการโปรโมตแอปในกลุ่ม Telegram ของชาวอุยกูร์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนแอป Android   ข้อมูลที่ดูดออกไปจากเหยื่อมีทั้งข้อมูลรายชื่อผู้ติดต่อ…

ช่องโหว่ในระบบรถไฟใต้ดินนิวยอร์กทำให้มิจฉาชีพดูประวัติการเดินทางเหยื่อได้

Loading

  ช่องโหว่ในระบบการใช้จ่ายแบบไร้สัมผัสของรถไฟใต้ดินในนครนิวยอร์กทำให้คนที่มีข้อมูลบัตรเครดิตของผู้โดยสารสามารถเข้าไปดูประวัติการเดินทางของคนนั้นได้   ช่องโหว่นี้อยู่ในฟีเจอร์หนึ่งบนเว็บไซต์ OMNY ของสำนักงานการคมนาคมมหานคร (MTA) ซึ่งทำให้ผู้ใช้เข้าชมประวัติการเดินทางใน 1 สัปดาห์ของใครก็ได้ เพียงแค่มีข้อมูลบัตรเครดิต   ไม่เพียงแค่บัตรเครดิตเท่านั้น หากมีข้อมูลใช้จ่ายบน Apple Pay หรือ Google Pay ก็ดูได้เช่นกัน   เอวา กัลเพริน (Eva Galperin) ผู้อำนวยการฝ่ายไซเบอร์ของ Electronic Frontier Foundation (EFF) ชี้ว่าช่องโหว่นี้เอื้อประโยชน์ให้ผู้ไม่หวังดีที่มีข้อมูลเหล่านี้ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่อาศัยกับเหยื่อ   ด้าน ยูจีน เรสนิก (Eugene Resnick) โฆษกของ MTA ระบุว่าทางองค์กรพร้อมปรับปรุงความเป็นส่วนตัวอยู่เสมอและจะให้ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยเข้ามาให้คำแนะนำ   ที่มา finextra     ——————————————————————————————————————————————————– ที่มา :             …

“เอ็กซ์” จ่อเก็บข้อมูลอัตลักษณ์บุคคล, ประวัติการทำงาน และการศึกษาของผู้ใช้งาน

Loading

  สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า “เอ็กซ์” (X) หรือชื่อเดิมทวิตเตอร์ ได้ปรับปรุงนโยบายความเป็นส่วนตัวเพื่อเก็บข้อมูลผู้ใช้งานประเภทใหม่ ได้แก่ ข้อมูลอัตลักษณ์บุคคลที่ใช้พิสูจน์ตัวตนบุคคล   เอ็กซ์ระบุในนโยบายที่ปรับปรุงใหม่ว่า “เมื่อได้รับความยินยอมจากผู้ใช้งาน เราอาจเก็บรวบรวมและใช้ข้อมูลอัตลักษณ์บุคคลของคุณเพื่อวัตถุประสงค์ด้านความปลอดภัย ความมั่นคง และการระบุตัวตน” แม้เอ็กซ์ไม่ได้ให้คำจำกัดความที่ชัดเจนเกี่ยวกับข้อมูลอัตลักษณ์บุคคล แต่บริษัทอื่นมักใช้คำดังนี้เพื่ออธิบายถึงข้อมูลที่ดึงมาจากลักษณะใบหน้า ดวงตา และลายนิ้วมือของแต่ละบุคคล   นอกจากนี้ เอ็กซ์กล่าวเสริมว่า บริษัทยังมีความตั้งใจที่จะรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพและประวัติการศึกษาของผู้ใช้งานด้วยเช่นกัน   นโยบายความเป็นส่วนตัวที่ปรับปรุงใหม่ระบุว่า “เราอาจเก็บและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของคุณ เช่น ประวัติการทำงาน ประวัติการศึกษา งานที่ชอบ ทักษะและความสามารถ กิจกรรมการค้นหางานและการมีส่วนร่วม และอื่น ๆ เพื่อแนะนำงานที่เหมาะสำหรับคุณ ตลอดจนแบ่งปันข้อมูลกับผู้ที่อาจมาเป็นนายจ้างของคุณ เพื่อที่นายจ้างจะสามารถค้นหาผู้สมัครงานที่มีศักยภาพ และเพื่อแสดงโฆษณาที่เกี่ยวข้องแก่คุณมากขึ้น”   ทั้งนี้ บรรดาบริษัทโซเชียลมีเดียต่างถูกวิพากษ์วิจารณ์จากผู้ใช้งานและหน่วยงานกำกับดูแลกฎระเบียบทั่วโลกเกี่ยวกับการเก็บข้อมูลและวิธีการที่นำข้อมูลไปใช้ รวมถึงการขายโฆษณาที่มีการปรับให้เหมาะกับความสนใจของบุคคลและประวัติการค้นหา       ——————————————————————————————————————————————————– ที่มา :                 …