Meta ประกาศลบบัญชี IO จีน ออกจากเฟซบุ๊ก 7,700 บัญชี พบกระจายตัวกว่า 50 แพลตฟอร์ม

Loading

  บริษัทแม่ของเฟซบุ๊กจัดการปฏิบัติการ IO ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยพบมา มีพฤติกรรมอวยจีน-ด่าตะวันตก พบเชื่อมโยงกับผู้บังคับใช้กฎหมายในจีน   รายงานด้านความปลอดภัยประจำไตรมาสที่ 2 ของ Meta เจ้าของเฟซบุ๊กและอินสตาแกรม เผยว่า ได้มีการตรวจพบปฏิบัติการข่าวสาร หรือ ไอโอ (IO) ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยพบมา และได้ทำการลบบัญชีปลอมบนเฟซบุ๊กไปราว 7,700 บัญชี และบัญชีปลอมบนอินสตาแกรมอีก 15 บัญชี   สำหรับพฤติกรรมของบัญชีเหล่านี้ จะมีเนื้อหาเชิงบวกต่อจีนและเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ มีการวิพากษ์วิจารณ์การนโยบายด้านการต่างประเทศของสหรัฐฯ และชาติตะวันตก อีกทั้งยังโจมตีผู้วิจารณ์รัฐบาลจีน รวมไปถึงสื่อมวลชนและนักวิชาการ   ปฏิบัติการโฆษณาชวนเชื่อของจีนในลักษณะนี้ ได้รับการตั้งชื่อว่า สแปมมูฟลาจ (Spamouflage) ที่บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่หลายแห่งพยายามจัดการมาตั้งแต่ปี 2019 โดยเครือข่ายนี้มีการเล็งเป้าไปยังหลายพื้นที่ เช่น ไต้หวัน สหรัฐฯ ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น และประชากรที่ใช้ภาษาจีนทั่วโลก   Meta ยังพบว่าปฏิบัติการดังกล่าวกระจายตัวไปกว่า 50 แพลตฟอร์ม ทั้งแพลตฟอร์มหลักอย่าง Facebook, Instagram, TikTok,…

โจรไซเบอร์ ใช้เครื่องหมายติ๊กถูกบน X บัญชีปลอม-ลวงเหยื่อ

Loading

  อาชญากรไซเบอร์ ใช้เครื่องหมายติ๊กถูกบน X สร้างความน่าเชื่อถือ-หลอกลวงเหยื่อ   ก่อนหน้านี้ ทาง X ออกมาเปลี่ยนนโยบายของบัญชีที่มี “X Premium” (Twitter Blue ในชื่อเดิม) หรือเครื่องหมายติ๊กถูกสีฟ้า จากแต่เดิมคือ ต้องเป็นบุคคลสาธารณะหรือบัญชีทางการของบริษัทหรือองค์กรต่าง ๆ เท่านั้นถึงจะสามารถมีเครื่องหมายดังกล่าวได้ เปลี่ยนมาเป็นทุกบัญชีสามารถมีเครื่องหมายติ๊กถูกสีฟ้าได้ เพียงจ่าย 11 ปอนด์ต่อเดือนเท่านั้น (ราว 488 บาท)     ทำให้ ลิซ่า เวบบ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายขององค์กร Which? องค์กรรณรงค์การคุ้มครองผู้บริโภคกล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดของบัญชีที่มี X Premium ทำให้มีโอกาสการเกิดอาชญากรรมไซเบอร์บนแพลตฟอร์ม X เพิ่มขึ้น เนื่องจากทุกบัญชีที่จ่ายค่า X Premium สามารถสร้างความน่าเชื่อถือให้ตนเองได้ทุกบัญชี   เดอะการ์เดียน สื่อดังจากอังกฤษ รายงานกรณีตัวอย่างว่า พบผู้เสียหายรายหนึ่งที่ถูกอาชญากรไซเบอร์เล็งโจรกรรมข้อมูลผ่านบัญชี X (ทวิตเตอร์ในชื่อเดิม) ที่อาศัยเครื่องหมายติ๊กถูกสีน้ำเงิน ซึ่งเป็นเครื่องหมายที่ยืนยันบัญชีของบุคคลหรือบริษัทอย่างเป็นทางการ แอบอ้างเป็นบริษัทจองโรงแรมและเที่ยวบินอย่าง…

DISCORD.IO ข้อมูลรั่วไหลกว่า 760,000 ไอดี ใครเล่น DISCORD เช็กด่วนก่อนถูกแฮ็ก

Loading

อ้างอิง bleepingcomputer     DISCORD.IO ข้อมูลรั่วไหลกว่า 760,000 ไอดี ใครใช้บริการดังกล่าวรีบตรวจสอบบัญชี DISCORD ของคุณด่วน   ทั้งนี้ DISCORD.IO ไม่ใช่ไซต์ Discord อย่างเป็นทางการ แต่เป็นบริการ Third Party ที่ช่วยให้เจ้าของเซิร์ฟเวอร์สามารถสร้างคำเชิญกำหนดชื่อช่อง DISCORD ให้ง่ายขึ้นได้   ล่าสุดเว็บไซต์ DISCORD.IO ประกาศปิดให้บริการ โดยแสดงข้อความว่า “เรากำลังหยุดการดำเนินการทั้งหมดในอนาคตอันใกล้”   และนี่คือสิ่งที่ข้อมูลกว่า 760,000 ID ใน DISCORD.IO ถูกขายใน Dark Web โดยแฮ็กเกอร์     ผู้ใช้ DISCORD ควรทำอย่างไร   •   หากคุณใช้ DISCORD แต่ไม่ใด้ใช้ DISCORD.IO โชคดีคุณยังปลอดภัย แต่ดีสุดก็เปลี่ยนรหัสด้วยจะดีมาก   •   หากคุณใช้…

เผยประชาชนกังวลหนัก ความไม่ปลอดภัยทางไซเบอร์ จี้ผู้มีอำนาจเร่งดูแลแก้ไข

Loading

  ผศ.ดร.นพดล กรรณิกา ผู้ก่อตั้งสำนักวิจัยซูเปอร์โพล เผยผลสำรวจเรื่อง ความไม่ปลอดภัยทางไซเบอร์ต่อความมั่นคงของชาติและประชาชน ระบุความมั่นคงของชาติและประชาชนกำลังเสี่ยงวิกฤตหนัก จี้ผู้มีอำนาจเร่งป้องกันและแก้ไข   เมื่อวันที่ 27 ส.ค. ผศ.ดร.นพดล กรรณิกา ผู้ก่อตั้งสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เสนอผลสำรวจ เรื่อง ความไม่ปลอดภัยทางไซเบอร์ต่อความมั่นคงของชาติและประชาชน กรณีศึกษาตัวอย่างเจ้าหน้าที่รัฐในหน่วยงานเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยทางไซเบอร์ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) รวมเจ้าหน้าที่รัฐด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์จำนวนทั้งสิ้น 223 ราย ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1 – 26 สิงหาคม พ.ศ.2566 ที่ผ่านมา   พบประเด็นที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือ เจ้าหน้าที่รัฐด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์เกินครึ่งหรือร้อยละ 51.2 เคยตกเป็นเหยื่อ ได้แก่ คลิกลิงก์ล่อเหยื่อ (Phishing) เข้าใช้งานบริการออนไลน์ไม่ได้ (DDos) ถูกหลอกดูดเงิน ถูกขโมยชื่อผู้ใช้งานและรหัส เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 48.8 ไม่เคย   ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งเช่นกัน…

อาจารย์กลับไปสอบด้วยการเขียนลงกระดาษหรือสอบปากเปล่า เพื่อสู้การใช้ ChatGPT ของนักศึกษา

Loading

  การมาของ ChatGPT หรือ Generative AI ได้สร้างความปวดหัวกับภาคการศึกษาเป็นอย่างมากที่นักศึกษาหาคำตอบในข้อสอบจาก ChatGPT แล้วส่งให้อาจารย์ทันที การแก้ไขปัญหาดังกล่าวคือ หันไปสอบโดยใช้กระดาษ และเขียนคำตอบด้วยลายมือ   แม้ว่าประโยชน์ของ ChatGPT จะนำไปใช้กับงานหลากหลายประเภททั้ง การหาความรู้ ช่วยสรุปเนื้อหา ช่วยเขียนโค้ด ตรวจทานโค้ดที่ถูกต้อง และอื่น ๆ แต่การนำ ChatGPT ไปใช้งานแบบไม่ถูกต้องอย่างการถามหาคำตอบในข้อสอบ และช่วยเขียนเรียงความก็ทำให้คุณครู และอาจารย์มหาวิทยาลัยไม่ถูกใจกับสิ่งนี้     นับตั้งแต่การเปิดตัวของ ChatGPT เมื่อปลายปี 2022 จนถึงปัจจุบัน AI ตัวนี้ก็มีความเก่งกาจมากขึ้นเรื่อย ๆ จากผลทดสอบวิชา AP Biology และผ่านการเรียนในปีแรกของมหาวิทยาลัย Harvard ด้วยเกรดเฉลี่ย 3.34   สำหรับวิธีการแก้เกมนักศึกษามหาวิทยาลัยใช้ ChatGPT มาโกงข้อสอบคือ อาจารย์มหาวิทยาลัยต่าง ๆ กลับไปใช้วิธีการสอบแบบใช้กระดาษ ให้นักศึกษาเขียนคำตอบด้วยลายมือของตัวเอง และสอบในชั้นเรียน รวมถึงการสอบแบบพูดตอบปากเปล่า เพื่อจะได้เห็นคำตอบที่ได้ความคิด…

ทำลายยาก ลายน้ำแบบใหม่ ถอดรหัสผ่านคลาวด์

Loading

  เมื่อเร็ว ๆ นี้ บริษัท CastLabs จากเยอรมนีได้เปิดตัว “ลายน้ำทางนิติเวชแบบเฟรมเดียว หรือ single-frame forensic watermarking ซึ่งเป็นวิธีการใหม่ที่ทำงานผ่านระบบคลาวด์เพื่อให้สามารถระบุ ภาพหรือวีดีโอที่ละเมิดลิขสิทธิ์ได้ง่าย ๆ   สำหรับ “ลายน้ำ” คือการระบุรูปแบบที่ซ่อนอยู่ในกระดาษ รูปภาพ หรือเนื้อหาประเภทอื่นๆ ที่ผู้ผลิตและผู้ให้บริการสามารถใช้เพื่อตรวจจับของปลอมหรือการละเมิดลิขสิทธิ์   แนวทางใหม่นี้ จะช่วยให้บริษัทสามารถฝัง “ลายน้ำในระดับที่มีความทนทาน” แม้กับไฟล์ที่มีบิทเรตเพียงน้อยนิด ในเนื้อหาดิจิทัล เช่น รูปภาพ วิดีโอ เอกสาร หรือไฟล์ดิจิทัลประเภทอื่น ๆ ได้   ขั้นเริ่มต้น อัลกอริธึมของ CastLabs จะฝังลายน้ำลงไปในไฟล์พร้อม ๆ กับขั้นตอนการเข้ารหัส จากนั้น หากต้องการจะตรวจสอบ สามารถทำได้ผ่านระบบคลาวด์ที่สามารถถอดรหัสลายน้ำที่ฝังไว้ออกมาได้ครับ   วิธีการดังกล่าวถูกเรียกว่า “blind extraction” สามารถดึงรูปแบบที่ซ่อนอยู่จากเนื้อหาที่มีลายน้ำ ในกรณีที่ไม่สามารถเข้าถึงลายน้ำต้นฉบับได้อีกต่อไป ซึ่งเป็นการซ่อนลายน้ำอีกชั้นหนึ่ง และไม่สามารถนำออกไปได้    …