รัฐบาลชวนผู้ใช้บริการโมบายแบงก์กิ้งเร่งไปติดต่อสแกนใบหน้าเพื่อสกัดภัยออนไลน์

Loading

  ธปท.ประสานธนาคารรัฐ-เอกชนดึงผู้ใช้ Mobile Banking ที่โอนเงินตั้งแต่ 5 หมื่นบาทต่อครั้ง 2 แสนบาทต่อวัน ติดต่อสาขาธนาคารเพื่อสแกนใบหน้าตัดวงจรภัยออนไลน์ ชี้แอปพลิเคชัน 7 แบงก์พร้อมบริการแล้ว   31 พ.ค.2566 – น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ปัจจุบันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ระหว่างผลักดันมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีหรือภัยออนไลน์ ซึ่งในส่วนของภาคการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ประสานสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐและธนาคารพาณิชย์เอกชน เพื่อยกระดับมาตรการเพื่อความปลอดภัย โดยมีหลายมาตรการที่ดำเนินการไปแล้ว อาทิ การยกเลิกการแนบลิงค์เพื่อส่งข้อความสั้น (SMS) หรืออีเมลไปยังลูกค้า   สำหรับอีกมาตรการที่จะเข้ามาช่วยให้ตัดวงจรภัยออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และขณะนี้ธนาคารต่างๆ อยู่ระหว่างดำเนินการ คือ การปรับปรุงระบบความปลอดภัยในบริการผ่านแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือหรือ Mobile Banking ซึ่งตั้งแต่ต้นเดือน พ.ค. เป็นต้นมาธนาคารแต่ละแห่งได้ประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าที่ใช้บริการ Mobile Banking ที่จะมีการโอนเงินต่อครั้งตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป และโอนยอดรวมต่อวันตั้งแต่ 200,000 บาทขึ้นไป และกรณีการเปลี่ยนวงเงินการทำธุรกรรมต่อวันเป็นตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป จะต้องไปทำการสแกนใบหน้าเพื่อยืนยันตัวตน…

โปรตุเกสเป็นประเทศล่าสุดที่แบนอุปกรณ์ 5G ของ Huawei

Loading

  รัฐบาลโปรตุเกสได้ประกาศ ห้ามซื้ออุปกรณ์เครือข่ายไร้สาย 5G จากซัพพลายเออร์จากรัฐที่อยู่นอกสหภาพยุโรป (EU) ,ไม่ได้เป็นสมาชิกของ NATO หรือ องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) โดยบริษัทที่นอกเหนือจากองค์กรเหล่านี้จะถูกจัดอยู่ในกลุ่ม “ความเสี่ยงสูง” ต่อความมั่นคงเครือข่ายระดับชาติ   ดังนั้นซัพพลายเออร์อุปกรณ์และบริการ 5G ของจีน อย่าง Huawei จึงถูกแบนเช่นกัน   ในช่วงปี 2019 บริษัทโทรคมนาคมที่ใหญ่ที่สุดของโปรตุเกสอย่าง “Altice Portugal” จะเคยประกาศว่าร่วมกับ Huawei เพื่อพัฒนาเทคโนโลยี 5G ก่อนที่ต้นปีที่ผ่านมาจะประกาศเลือก Nokia ให้เป็นผู้ให้บริการอุปกรณ์สำหรับเครือข่ายหลัก 5G   อย่างไรก็ตามแถลงการณ์นี้ไม่ได้ระบุชื่อซัพพลายเออร์รายใดที่ถูกแบนและไม่ได้ระบุวันที่ที่บริษัทโทรคมนาคมในโปรตุเกสจะต้องถอดอุปกรณ์ของซัพพลายเออร์ที่ถูกแบน     ที่มา : ประกาศรัฐบาลโปรตุเกส via Bloomberg         ——————————————————————————————————————————————————————- ที่มา :         …

พบมัลแวร์ Daam บน Android ขโมยข้อมูลได้หลากหลาย

Loading

  CERT-IN องค์กรความปลอดภัยทางไซเบอร์แห่งชาติของอินเดียได้ออกมาเตือนเกี่ยวกับมัลแวร์ตัวใหม่ของ Android ที่มีความอันตรายชื่อว่า Daam   รายงานระบุว่า Daam สามารถหลบหลีกการตรวจจับจากซอฟต์แวร์ได้ สามารถขโมยข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อน หรือแม้แต่ติดตั้ง Ransomware บนอุปกรณ์เป้าหมายก็สามารถทำได้เหมือนกัน   เมื่อไหร่ก็ตามที่มัลแวร์ Daam สามารถเข้าถึงเครื่องเป้าหมายได้แล้ว มันจะสามารถเข้าถึงและดึงข้อมูลที่เป็นความลับได้หลากหลาย เช่น ประวัติการท่องเว็บ บันทึกการโทร ข้อมูลติดต่อ ภาพและวิดีโอที่ถ่าย ข้อความ SMS และไฟล์ต่าง ๆ   มันทำงานโดยหลบเลี่ยงมาตรการรักษาความปลอดภัย ทำให้ระบบตรวจจับและถอนการติดตั้งได้ยาก จากนั้นข้อมูลที่ถูกขโมยจะถูกส่งไปยังเซิร์ฟเวอร์ของแฮ็กเกอร์ ส่วนเนื้อหาของอุปกรณ์จะถูกเข้ารหัสโดยใช้การเข้ารหัส AES โดยทิ้งไฟล์ “.enc” และไฟล์สำหรับเรียกค่าไถ่ที่มีชื่อว่า “readme_now.txt” เอาไว้ที่เครื่องด้วย   CERT-IN ได้ให้คำแนะนำวิธีป้องกันมัลแวร์ดังกล่าวโดยการไม่ติดตั้งแอปพลิเคชันจากแหล่งที่ไม่มีความน่าเชื่อถือ พยายามหลีกเลี่ยงการ Side load แอปเอง รวมถึงตรวจสอบให้ดีว่าแอปที่ติดตั้งมีการร้องขอ Permission อะไรบ้าง     ที่มา Gizmochina    …

สหรัฐชี้แฮ็กเกอร์จีน จ้องโจมตีเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ

Loading

    รัฐบาลวอชิงตันกล่าวว่า แฮ็กเกอร์จีนในนาม “โวลต์ ไทฟูน” มีศักยภาพสูงเพียงพอ ที่จะโจมตีทางไซเบอร์ต่อระบบโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 26 พ.ค. ว่า นายแมทธิว มิลเลอร์ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ กล่าวเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาว่า ผลการประเมินโดยประชาคมข่าวกรองสหรัฐบ่งชี้ “มีความเป็นไปได้มาก” ว่ากลุ่มแฮ็กเกอร์ของจีนสามารถโจมตีทางไซเบอร์ ซึ่งสามารถสร้างความปั่นป่วน และรบกวนการทำงานของระบบโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของสหรัฐ รวมถึง น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และระบบราง พร้อมทั้งเน้นย้ำให้ทุกภาคส่วน “ตื่นตัว”   Volt Typhoon, a Chinese state-sponsored actor, uses living-off-the-land (LotL) and hands-on-keyboard TTPs to evade detection and persist in an espionage campaign targeting critical infrastructure…

จีนกวาดล้างโพสต์โซเชียลมีเดียกว่า 1.4 ล้านรายการ

Loading

    หน่วยงานกำกับดูแลไซเบอร์สเปซของจีนกล่าวว่า โพสต์บนสื่อสังคมออนไลน์ 1.4 ล้านโพสต์ถูกลบ หลังจากการสอบสวนเกี่ยวกับการเผยแพร่ข้อมูลที่บิดเบือน การแสวงหาผลกำไรที่ผิดกฎหมาย และการแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นเวลา 2 เดือน   หน่วยงานกำกับดูแลบริหารไซเบอร์สเปซของจีน หรือ ซีเอซี กล่าวในแถลงการณ์เมื่อวันศุกร์ว่า ได้ปิดบัญชีโซเชียลมีเดีย 67,000 บัญชี และลบโพสต์หลายแสนรายการระหว่างวันที่ 10 มีนาคม ถึง 22 พฤษภาคม โดยนับตั้งแต่ปี 2564 จีนได้กำหนดเป้าหมายบัญชีโซเชียลมีเดียหลายพันล้านบัญชี เพื่อพยายาม “ทำความสะอาด” พื้นที่ไซเบอร์สเปซของตน และทำให้ทางการสามารถควบคุมได้ง่ายขึ้น   การปราบปรามครั้งล่าสุดมุ่งเป้าไปที่บัญชีบนแอปโซเชียลมีเดียยอดนิยมของจีน เช่น วีแชต (WeChat), โต่วอิน (Douyin) และ เว่ยป๋อ (Weibo) ที่จัดอยู่ในหมวดหมู่ของสื่อที่เผยแพร่ข่าวสารและข้อมูลทั่วไป แต่ไม่ได้ดำเนินการ หรือได้รับการอนุมัติโดยรัฐบาลหรือรัฐ   ทางการมักจับกุมพลเมืองและเซนเซอร์บัญชีสำหรับการเผยแพร่หรือแบ่งปันข้อมูลและข้อเท็จจริง ที่มีความละเอียดอ่อน หรือวิพากษ์วิจารณ์พรรคคอมมิวนิสต์ รัฐบาล หรือกองทัพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อข้อมูลดังกล่าวถูกเผยแพร่ในวงกว้าง   ตามรายงานของซีเอซี…

เช็กตำรวจจริง-ปลอม ผ่านแอป ‘แทนใจ’ รู้เลยภายใน 3 วินาที

Loading

    พัฒนาแอปพลิเคชัน “แทนใจ” ยกเครื่องปรับโฉม เปิดตัว 5 ฟีเจอร์ใหม่ แถมประชาชนเช็กตำรวจจริง-ปลอม ได้ภายใน 3 วินาที   พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. มีนโยบายพัฒนาแอปพลิเคชัน “แทนใจ” ให้มีประสิทธิภาพและตอบโจทย์ผู้ใช้งาน จึงได้ตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการแอปพลิเคชันแทนใจ โดย ผบ.ตร. มอบหมายให้ พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ รอง ผบ.ตร. เป็นหัวหน้าคณะทำงาน และ พล.ต.ท.ยิ่งยศ เทพจำนงค์ ผบช.สกพ. ทำหน้าที่หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการขับเคลื่อนการพัฒนาแอปพลิเคชัน (Chief Operating Officer) เพื่อยกระดับให้แอปฯแทนใจ เป็นเครื่องมือที่อำนวยความสะดวกให้แก่พี่น้องข้าราชการตำรวจทุกคน   สำหรับ แอปพลิเคชันแทนใจ นวัตกรรมเพื่อการสื่อสารภายในองค์กรของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในเวอร์ชันแรกเปิดตัวใช้งานเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.2564 โดย พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข อดีต ผบ.ตร. เป็นผู้ริเริ่มพัฒนาแอปฯนี้ขึ้น เพื่อให้องค์กรก้าวหน้าและขับเคลื่อนไปอย่างทันสมัย ในยุคเทคโนโลยี 5G   จึงได้นำข้อมูลด้านกำลังพล…