ผลการสืบสวนระบุว่า ไม่พบผู้ต้องสงสัย กรณีพบโคเคนในทำเนียบขาว

Loading

ภาพจาก CNN   หน่วยอารักขาประธานาธิบดีสหรัฐฯ (The United States Secret Service – USSS) สรุปผลการสอบสวนกรณีพบโคเคนบรรจุถุงขนาดเล็กน้ำหนักไม่ถึงหนึ่งกรัมในตู้เก็บของหมายเลข 50 ซึ่งใกล้กับทางเข้าชั้นล่างบริเวณพื้นที่ปีกตะวันตกในทำเนียบขาว ว่า ไม่สามารถระบุตัวผู้ต้องสงสัยได้ เนื่องจากไม่มีหลักฐานเพียงพอ   ผู้เยี่ยมชมทำเนียบขาว รวมถึงเจ้าหน้าที่บางส่วนที่ไม่ได้รับอนุญาตให้นำโทรศัพท์มือถือเข้าไปในพื้นที่ที่มีข้อมูลลับจะต้องฝากโทรศัพท์มือถือไว้ในตู้เก็บของดังกล่าว ซึ่งอยู่ใกล้กับห้องยุทธการ (Situation Room) ที่กำลังปรับปรุงและไม่ได้เปิดใช้งานมาหลายเดือนแล้ว   USSS ทำการตรวจสอบภาพจากกล้องวงจรปิดพร้อมกับบัญชีรายชื่อผู้เยี่ยมชมทำเนียบขาวหลายร้อยคนที่เข้ามาวันก่อนหน้าการค้นพบ แต่เนื่องจากพื้นที่ที่พบโคเคนอยู่ในจุดบอดของรัศมีกล้องวงจรปิด จึงไม่สามารถเปรียบเทียบหลักฐานกับกลุ่มบุคคลที่ทราบได้ และผลจากห้องปฏิบัติการของ FBI ระบุว่า บรรจุภัณฑ์ไม่สามารถตรวจสอบลายนิ้วมือได้ เพราะมี DNA ไม่เพียงพอ นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ก็ยังไม่สามารถระบุช่วงเวลาหรือวันที่โคเคนนั้นถูกวางทิ้งไว้   โฆษก USSS กล่าวว่า เมื่อปี 2565 เจ้าหน้าที่เคยตรวจพบกัญชาจำนวนเล็กน้อยที่ทำเนียบขาวจำนวน 2 ครั้ง แต่ไม่มีการจับกุม เนื่องจากน้ำหนักของกัญชาที่ยึดได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด จึงไม่สามารถตั้งข้อหาหรือดำเนินคดีได้ และกัญชาเหล่านี้ได้ถูกนำไปทำลาย       ————————————————————————————————————————-…

สหราชอาณาจักรออกพระราชบัญญัติความมั่นคงแห่งชาติ

Loading

ภาพจาก freepik   ร่างพระราชบัญญัติความมั่นคงแห่งชาติของสหราชอาณาจักรผ่านมติเห็นชอบจากรัฐสภาและการลงพระปรมาภิไธยรับรองของพระมหากษัตริย์ เมื่อ 11 ก.ค.66 เพื่อรับมือต่อภัยคุกคามความมั่นคงของประเทศ โดยเฉพาะจากรัฐต่างประเทศ   ปัจจุบันสหราชอาณาจักรตกเป็นเป้าหมายในการจารกรรม การแทรกแซงของต่างชาติ การบ่อนทำลาย การบิดเบือนข้อมูล การโจมตีทางไซเบอร์ การก่อวินาศกรรม การโจมตีด้วยอาวุธเคมี และก่อเหตุรุนแรงที่เป็นอันตรายต่อชีวิต เช่น การลอบสังหาร ทั้งนี้ สหราชอาณาจักรถือว่ารัสเซียเป็นภัยคุกคามที่ร้ายแรงที่สุด แม้จะมีการแทรกแซงจากจีน หรือการสังหารหรือลักพาตัวชาวอังกฤษจากอิหร่านก็ตาม   พระราชบัญญัติความมั่นคงแห่งชาติ (The National Security Act) มีการปรับปรุงเนื้อหากฎหมายเกี่ยวกับจารกรรมให้ทันต่อสถานการณ์ภัยคุกคามที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ในการยับยั้ง ตรวจจับ และขัดขวางภัยคุกคามยุคใหม่ของหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายและหน่วยข่าวกรอง   นอกจากนี้ กฎหมายยังระบุถึงการลงทะเบียนผู้มีอิทธิพลจากต่างชาติ (Foreign Influence Registration Scheme – FIRS) ซึ่งมีเป้าหมายต่อประเทศที่มีความเสี่ยงต่อความปลอดภัยหรือผลประโยชน์ของสหราชอาณาจักร เพื่อสามารถนำผู้กระทำความผิดมาลงโทษกรณีทำผิดข้อตกลง ทั้งเป็นการเสริมสร้างความหยืดยุ่น และความโปร่งใสในระบอบประชาธิปไตย       —————————————————————————————————————————————- ที่มา :     …

ฮ่องกงใช้หุ่นยนต์ลาดตระเวนช่วยงานรักษาความปลอดภัยในสนามบินฮ่องกง

Loading

หุ่นยนต์รักษาความปลอดภัยของบริษัท Hactl ที่ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง ภาพจาก Hactl   บริษัทขนส่งสินค้าทางอากาศ Hong Kong Air Cargo Terminals Ltd. (Hactl) ประกาศว่าจะนำหุ่นยนต์รักษาความปลอดภัยมาใช้เฝ้าระวังและลาดตระเวน บริเวณพื้นที่จอดรถและโซนขนถ่ายสินค้าส่งออกที่ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง ในช่วงเวลากลางคืนที่มีนักท่องเที่ยวหนาแน่นและเวลากลางวันหากมีความจำเป็น เพื่อยกระดับมาตรการรักษาความปลอดภัยจากเดิมซึ่งใช้กล้องวงจรปิด เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยและสุนัขดมกลิ่น ทั้งนี้ บริษัท Hactl ตั้งเป้าจะเพิ่มหุ่นยนต์อีก 2-3 ตัวภายในปีหน้า   หุ่นยนต์ดังกล่าวติดกล้องถ่ายภาพความร้อน กล้องความละเอียดสูงพร้อมที่ปัดน้ำฝน เซนเซอร์ LiDAR (Light Detection and Ranging) ซึ่งใช้แสงตรวจจับและคาดคะเนระยะทางของวัตถุสำหรับการนำทาง และเซนเซอร์อัลตราโซนิกส์หลายตัวสำหรับการหลีกเลี่ยงการชน   นอกจากหุ่นยนต์จะทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยแล้ว ยังทำหน้าที่ตรวจสอบสภาพของสินค้าในคลังสินค้าขนาดใหญ่ 4.2 ล้านตารางฟุต (ประมาณ 24 ไร่) และบันทึกวิดีโอเหตุการณ์หากเกิดความเสียหายกับสินค้าเพื่อช่วยในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนด้วย       —————————————————————————————————————————————- ที่มา :         …

ผลสำรวจของ Pew พบว่าชาวอเมริกันเกินครึ่งมองว่า TikTok เป็นภัยความมั่นคงของชาติ

Loading

    ผลการสำรวจของสำนักวิจัยของสหรัฐฯ Pew Research Center ในช่วงกลางเดือน พ.ค.66 หลังจากที่นาย Greg Gianforte ผู้ว่าการรัฐมอนแทนา ได้ประกาศลงนามในกฎหมายสั่งแบนแอปพลิเคชัน TikTok ของจีน ซึ่งเป็นรัฐแห่งแรกในสหรัฐฯ ที่แบนอย่างเป็นทางการ พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามชาวอเมริกันร้อยละ 59 จากชาวอเมริกันจำนวน 5,100 คน มองว่า TikTok เป็นภัยความมั่นคงของประเทศสหรัฐฯ จำนวนร้อยละ 17 คิดว่าแพลตฟอร์มนี้ไม่ได้เป็นภัยคุกคาม และอีกร้อยละ 23 ตอบว่าไม่แน่ใจ   นอกจากนี้ ผลการสำรวจพบว่า อายุมีผลต่อความคิดที่แตกต่างกัน โดยผู้ที่มีอายุ 18-29 ปี คิดว่า TikTok เป็นภัยคุกคามสำคัญเพียงร้อยละ 13 ในขณะที่ผู้มีอายุ 65 ปีขึ้นไปมองว่าเป็นภัยคุกคามสำคัญมากถึงร้อยละ 46   อย่างไรก็ตาม เมื่อ มี.ค.66 TikTok เปิดเผยว่า ชาวอเมริกันที่ใช้งานแอปพลิเคชัน TikTok มีจำนวน…

รัฐสภาสิงคโปร์ผ่านร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยอาชญากรรมทางออนไลน์ที่เป็นอันตราย

Loading

    เมื่อ 5 ก.ค.66 รัฐสภาสิงคโปร์ผ่านร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยอาชญากรรมทางออนไลน์ที่เป็นอันตราย (The Online Criminal Harms Act – OCHA) กำหนดให้รัฐบาลมีอำนาจสั่งลบเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน และบัญชีออนไลน์ที่ต้องสงสัยว่าใช้ในกิจกรรมทางไซเบอร์ที่เป็นอันตราย เช่น การหลอกลวง การให้กู้ยืมเงินที่ผิดกฎหมาย การพนันที่ผิดกฎหมาย ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด รวมถึงความผิดอื่น ๆ ที่กระทบต่อความมั่นคงของชาติ ความปรองดองของคนในชาติ และความปลอดภัยของบุคคล   หากมีข้อสงสัยหรือมีเหตุให้เชื่อว่ากิจกรรมออนไลน์นั้นกำลังดำเนินการเพื่อเตรียมการหรือเป็นส่วนหนึ่งในการกระทำความผิด แม้ว่าความผิดจะยังไม่เกิดขึ้น รัฐบาลสามารถออกคำสั่งให้บุคคลหรือบริการออนไลน์หยุดการสื่อสารเนื้อหาออนไลน์ที่ผิดกฎหมาย อาทิ ปิดกั้นการใช้งานหรือการเข้าถึงเนื้อหา ระงับบัญชี บล็อกการเข้าถึงโดเมนเว็บไซต์ หรือลบแอปพลิเคชันออกจากร้านค้าออนไลน์ หรือกรณีเว็บไซต์ที่มีโดเมนคล้ายกับธนาคารอาจถูกลบออกหากมีเหตุอันควรสงสัยว่าจะถูกใช้เพื่อปลอมแปลงเป็นธนาคาร โดยภารกิจดังกล่าวจะใช้กลไกของศูนย์ต่อต้านการหลอกลวง (Anti-Scam Center) ซึ่งสามารถปฏิบัติงานทั้งในเชิงรับและเชิงรุกอย่างรวดเร็วเพื่อลดผลกระทบและป้องกันไม่ให้มีผู้ที่ตกเป็นเหยื่อเพิ่มมากขึ้น   รัฐบาลจะสร้างสมดุลระหว่างการป้องกันอันตรายและความเป็นส่วนตัว เช่น ยังคงอนุญาตให้บริษัทออนไลน์ใช้การเข้ารหัสจากต้นทางถึงปลายทางในการส่งข้อความส่วนตัว รวมถึงให้เสรีภาพในการพูด ซึ่งจะต้องไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อบุคคลและสังคม หรือใช้คำพูดแสดงความเกลียดชัง   อย่างไรก็ตาม ร่างกฎหมายมีผลบังคับใช้เฉพาะกับเนื้อหาออนไลน์และกิจกรรมที่ถือเป็นความผิดทางอาญาในสิงคโปร์เท่านั้น แต่ยังอนุญาตให้รัฐบาลออกคำสั่งแก่หน่วยงานและบุคคล แม้จะไม่ได้อยู่ในสิงคโปร์ แต่มีข้อจำกัดที่บางประเทศอาจเลือกที่จะไม่ปฏิบัติตาม    …

ออสเตรเลียจัดตั้งศูนย์ต่อต้านการหลอกลวงแห่งชาติ

Loading

  ออสเตรเลียเปิดตัวศูนย์ต่อต้านการหลอกลวงแห่งชาติ (National Anti-Scam Centre) เมื่อ 3 ก.ค.66 ซึ่งบริหารงานภายใต้คณะกรรมาธิการด้านการแข่งขันและผู้บริโภคแห่งออสเตรเลีย (ACCC)   โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ เป็นคณะทำงานซึ่งทำหน้าที่ควบคุมและกำกับดูแล ได้แก่ กรมสรรพากร (ATO) กระทรวงมหาดไทยของออสเตรเลีย องค์การสื่อและการสื่อสารแห่งออสเตรเลีย (ACMA) และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และการลงทุนของออสเตรเลีย (ASIC) ส่วนผู้ปฏิบัติงานนั้นประกอบไปด้วยผู้เชี่ยวชาญจากทั้งภาครัฐ หน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย และภาคเอกชน ซึ่งจะใช้ความรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ รวมถึงด้านข่าวกรอง เพื่อต่อสู้กับการหลอกลวง   จุดมุ่งหมายในการจัดตั้งศูนย์ฯ เพื่อสร้างความตระหนักรู้แก่ผู้บริโภคเกี่ยวกับการหลอกลวงและทราบถึงกลโกงหรือวิธีการของมิจฉาชีพ ตรวจจับและขัดขวางการกระทำของมิจฉาชีพ รวมถึงช่วยเหลือผู้ที่ตกเป็นเหยื่อได้รับเงินที่สูญเสียไปกลับคืน โดยเฉพาะการหลอกลวงให้ลงทุน ซึ่งมากกว่าร้อยละ 50 ของการหลอกลวงประเภทอื่น ส่งผลให้ชาวออสเตรเลียสูญเสียเงินถึง 1 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (ประมาณ 23,450 ล้านบาท) ต่อปี   ACCC กำลังดำเนินการจัดสร้างระบบเชื่อมโยงและแบ่งปันข้อมูลระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน สำหรับการแจ้งเตือนข้อมูลการหลอกลวง อย่างไรก็ดี ในปี 2565 ชาวออสเตรเลียสูญเสียเงินมากกว่า 3.1 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย…