รัฐสภายุโรปผ่านร่างกฎหมายปัญญาประดิษฐ์ของยุโรป (EU AI Act)

Loading

    เว็บไซต์ The New York Times รายงานเมื่อ 14 มิ.ย.66 ว่า รัฐสภายุโรปได้ผ่านร่างกฎหมายปัญญาประดิษฐ์เมื่อ 14 มิ.ย.66 เพื่อเข้าสู่การพิจารณาในวาระสุดท้ายก่อนมีผลบังคับใช้ เพื่อปกป้องผู้บริโภคของสหภาพยุโรปจากการใช้ปัญญาประดิษฐ์ที่อาจเป็นอันตราย ทั้งนี้ กฎหมาย AI ของสหภาพยุโรปจะใช้วิธีการอิงตามความเสี่ยง (Risk-Based Approach) จากศักยภาพสูงสุดที่จะสามารถทำอันตรายต่อมนุษย์ และให้ความสำคัญกับระบบ AI ที่นำมาใช้ในโครงสร้างพื้นฐานสำคัญด้านน้ำและพลังงาน และในระบบกฎหมาย นอกจากนี้ยังกำหนดข้อบังคับต่าง ๆ เช่น ห้ามใช้ระบบการจดจำใบหน้า (facial recognition) ตามเวลาจริง และห้ามใช้ชุดข้อมูลชีวมาตรจากสื่อสังคมออนไลน์เพื่อสร้างฐานข้อมูล รวมถึงการใช้ข้อมูลที่มีลิขสิทธิ์ซึ่งมิใช่ของตนในการฝึกระบบ AI นอกจากนี้ ผู้สร้างระบบ AI จะต้องทำการประเมินความเสี่ยงก่อนการให้บริการ ซึ่งคล้ายกับกระบวนการอนุมัติยา และต้องวางมาตรการเพื่อป้องกันไม่ให้ AI สร้างเนื้อหาที่ผิดกฎหมาย เป็นต้น อย่างไรก็ดี ปัจจุบัน สหรัฐฯ ได้ออกนโยบายและมาตรการทดสอบระบบ AI ก่อนเผยแพร่สู่สาธารณะเพื่อปกป้องสิทธิความเป็นส่วนตัวของชาวอเมริกัน ขณะที่จีนกำลังร่างกฎหมายควบคุมผู้ผลิต AI ในจีนให้ประเมินความปลอดภัยผลิตภัณฑ์ก่อนนำออกสู่สาธารณะ…

รัฐสภาสหรัฐฯ อาจไม่ต่ออายุ กม.สอดแนมต่างชาติ ที่กำลังจะสิ้นสุดลงในปี 2566

Loading

    เว็บไซต์ Washington post รายงานเมื่อ 13 มิ.ย.66 ว่า รัฐสภาของสหรัฐฯ กำลังพิจารณาการต่ออายุมาตรา 702 ของกฎหมายการเฝ้าระวังข่าวกรองต่างประเทศ (the Foreign Intelligence Surveillance Act – FISA) ที่ให้อำนาจหน่วยงานความมั่นคงสอดแนมเป้าหมายชาวต่างชาติที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของสหรัฐฯ ซึ่งจะสิ้นสุดลงในปี 2566 ทั้งนี้ ฝ่ายนิติบัญญัติไม่สนับสนุนการต่ออายุมาตรา 702 โดยให้ความเห็นว่าเพื่อปกป้องชาวอเมริกันจากการดักฟัง เนื่องจากพบว่าบางครั้งมีการรวบรวมข้อมูลการสื่อสารของชาวอเมริกันด้วย ทั้งยังไม่อาจรับประกันได้ว่าการสอดแนมจะทำให้งานข่าวกรองประสบความสำเร็จ และเสนอว่าควรปฏิรูปกฎหมายมาตรา 702 โดยเฉพาะในประเด็นการเข้าถึงข้อมูลชาวอเมริกันว่าควรต้องมีหมายค้นก่อนปฏิบัติการเพื่อป้องกันการละเมิดข้อมูลโดยมิชอบ รวมถึงมีการกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพโดยรัฐสภาและศาล ซึ่งก่อนหน้านี้เอกสารของศาลได้เปิดเผยว่า สำนักงานสอบสวนกลางของสหรัฐฯ (FBI) ใช้ฐานข้อมูลในทางที่ผิดมากกว่า 278,000 ครั้งในปี 2563 ถึงต้นปี 2564 อย่างไรก็ตาม ฝ่ายบริหารเสนอให้มีการต่ออายุมาตราดังกล่าว โดยแย้งว่า มาตรา 702 ทำให้สามารถต่อสู้กับภัยคุกคาม เช่น การแพร่ระบาดของยาเฟนทานิล ซึ่งคร่าชีวิตชาวอเมริกันเกือบ 100,000 คนต่อปี และระบุตัวแฮ็กเกอร์ที่อยู่เบื้องหลังการโจมตีด้วยแรนซัมแวร์ในเหตุการณ์ Colonial…

กฎหมายสหรัฐฯ ระบุให้บริษัทจำหน่ายซอฟต์แวร์ต้องรับรองความปลอดภัยซอฟต์แวร์ของตน

Loading

    เว็บไซต์ Security Week รายงานเมื่อ 12 มิ.ย.66 ว่า สำนักการจัดการและการงบประมาณของสหรัฐฯ (The Office of Management and Budget – OMB) ได้ออกคำแนะนำเกี่ยวกับมาตรการที่ให้บริษัทจำหน่ายซอฟต์แวร์ในสหรัฐฯ ต้องรับรองความปลอดภัยซอฟต์แวร์ของตน ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนาตั้งแต่ 14 ก.ย.65 เป็นต้นไป รวมถึงซอฟต์แวร์ที่เผยแพร่ก่อนวันดังกล่าวด้วย หากมีการอัปเดตครั้งใหญ่หรือยังมีการใช้บริการและได้รับการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งส่งแบบฟอร์มรับรองดังกล่าวให้กับหน่วยงานของรัฐบาลกลางเป็นผู้รวบรวม เพื่อรับประกันว่าซอฟต์แวร์นั้นปลอดภัย ทั้งนี้ การรับรองจะต้องระบุรายการส่วนประกอบที่สำคัญ (Software Bill of Materials – SBOM) และสิ่งประดิษฐ์อื่น ๆ หรือผู้ขายอาจได้รับการร้องขอให้ใช้โปรแกรมตรวจสอบและเปิดเผยช่องโหว่ของซอฟต์แวร์ โดยระยะเวลาการยื่นแบบฟอร์มรับรองกำหนดให้ซอฟต์แวร์ที่สำคัญควรยื่นภายใน 3 เดือนและซอฟต์แวร์อื่นภายใน 6 เดือนหลังจากแบบฟอร์มการรับรองทั่วไปของสำนักความมั่นคงโครงสร้างพื้นฐานและการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Cybersecurity and Infrastructure Security Agency – CISA) ได้รับการอนุมัติโดย OMB ทั้งนี้ ร่างแบบฟอร์มรับรองตนเองยังอยู่ในขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะเป็นระยะเวลา…

เนเธอร์แลนด์เตรียมออกกฎหมายคัดกรองนักศึกษาต่างชาติที่เข้าถึงเทคโนโลยีขั้นสูง

Loading

    เว็บไซต์ Financial Times รายงานเมื่อ 12 มิ.ย.66 ว่า หลายมหาวิทยาลัยในเนเธอร์แลนด์ไม่อนุมัติปริญญาบัณฑิตสาขาเทคโนโลยีขั้นสูงให้กับนักศึกษาของจีนบางคน ลดจำนวนนักศึกษาจีน และลดความร่วมมือด้านการวิจัยกับมหาวิทยาลัยในจีน เนื่องจากเกรงว่าอาจเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของชาติ โดยเฉพาะนักศึกษาที่ได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาลจีน (China Scholarship Council : CSC) ซึ่งผู้รับทุนต้องสาบานว่าจะจงรักภักดีต่อพรรคคอมมิวนิสต์จีน และเดินทางกลับจีนภายใน 2 ปีหลังจากสำเร็จการศึกษา รวมถึงรายงานตัวต่อสถานทูตจีนในประเทศที่ศึกษา ด้านนาย Robbert Dijkgraaf รมว.ศธ.ของเนเธอร์แลนด์ กล่าวว่า รัฐบาลไม่ต้องการให้บุคคลที่ได้รับทุนด้านเทคโนโลยีขั้นสูงจากจีนเข้ารับการศึกษา และได้ทำการตรวจสอบว่ามีนักวิจัยจาก CSC กี่คนและทำงานอยู่ในสาขาใดในเนเธอร์แลนด์ รวมทั้งกำลังเตรียมออกกฎหมายคัดกรองบุคลากรทางการศึกษาเพื่อความมั่นคงของชาติ โดยเฉพาะบุคคลที่เข้าถึงพื้นที่หวงห้ามและเทคโนโลยีละเอียดอ่อน ซึ่งเป็นเป้าหมายในการจารกรรม นอกจากนี้ เนเธอร์แลนด์ยังได้รับแรงกดดันจากสหรัฐฯ ในการจำกัดการถ่ายทอดเทคโนโลยีขั้นสูงไปยังจีนด้วย       —————————————————————————————————————————————— ที่มา :                     …

สหราชอาณาจักรเตรียมปรับปรุงกฎหมายจัดซื้อจัดจ้างเพื่อความมั่นคงของชาติ

Loading

    เว็บไซต์รัฐบาลสหราชอาณาจักร รายงานเมื่อ 7 มิ.ย.66 ว่า สหราชอาณาจักรเตรียมปรับปรุงกฎหมายจัดซื้อจัดจ้างเพื่อปกป้องประเทศจากภัยคุกคามที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะภัยคุกคามผสมผสาน (hybrid threats)  ที่ใช้ช่องทางเศรษฐกิจเพื่อบ่อนทำลายและก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อความมั่นคงของชาติ ทั้งนี้ จะเพิ่มมาตรการเชิงรุก 3 ประการ ประการแรก จัดตั้งหน่วยงานรักษาความปลอดภัยแห่งชาติสำหรับการจัดซื้อจัดจ้าง สังกัดสำนักงานคณะรัฐมนตรี ทำหน้าที่ตรวจสอบความเสี่ยงและประเมินบริษัทจัดจำหน่ายสินค้า ประการที่สอง รัฐบาลมีอำนาจในการห้ามบริษัทจัดจำหน่ายสินค้าบางบริษัททำสัญญาจัดซื้อจัดจ้างกับหน่วยงานเฉพาะของรัฐบาล ประการสุดท้าย รัฐบาลจะถอดอุปกรณ์เฝ้าระวังที่ผลิตโดยบริษัทภายใต้รัฐบาลจีนออกจากสถานที่ราชการที่มีความละเอียดอ่อน นอกจากนี้ ร่างกฎหมายดังกล่าวจะสนับสนุนธุรกิจขนาดเล็ก ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ให้ชนะสัญญา และเสริมสร้างให้ระบบการจัดซื้อจัดจ้างโปร่งใสมากขึ้น       —————————————————————————————————————————————— ที่มา :                               เว็บไซต์รัฐบาลสหราชอาณาจักร         …

ญี่ปุ่นเตรียมออกกฎหมายคัดกรองบุคคลที่เข้าถึงความลับทางเทคโนโลยีขั้นสูงก่อนการปฏิบัติงาน

Loading

    เว็บไซต์ Nikkei Asia รายงานเมื่อ 7 มิ.ย.66 ว่า ญี่ปุ่นจะใช้มาตรการตรวจสอบภูมิหลังกับเจ้าหน้าที่รัฐและเอกชนที่เข้าถึงข้อมูลละเอียดอ่อนเกี่ยวกับความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ซึ่งต้องผ่านการรับรองความปลอดภัยก่อนการปฏิบัติงาน และเพื่อให้บริษัทที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงซึ่งประยุกต์ใช้งานได้ทั้งในเชิงพาณิชย์และด้านการทหาร (dual-use advanced technology) สามารถแข่งขันในระดับสากล และเข้าถึงข้อมูลลับที่แบ่งปันกันระหว่างญี่ปุ่นและประเทศอื่น ๆ รวมถึงเข้าร่วมในโครงการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐบาลต่างประเทศได้ เนื่องจากบางประเทศมีมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวด ปัจจุบันญี่ปุ่นเป็นประเทศเดียวในกลุ่ม G7 ที่ยังขาดมาตรการรักษาความปลอดภัยดังกล่าว ทั้งนี้ ญี่ปุ่นตั้งเป้าออกกฎหมายเกี่ยวกับการคัดกรองบุคคลในปี 2567 โดยมีสหรัฐฯ และยุโรปเป็นต้นแบบ กฎหมายเดิมซึ่งออกในปี 2557 นั้น ใช้กับประเด็นที่เกี่ยวกับการป้องกัน การทูต การต่อต้าน การจารกรรม และการต่อต้านการก่อการร้าย แต่ยังคลุมเครือถึงประเด็นเทคโนโลยีของพลเรือน เช่น อวกาศ ไซเบอร์ และปัญญาประดิษฐ์         —————————————————————————————————————————————— ที่มา :               …