นักวิเคราะห์ชี้ จีนขยายอิทธิพลทางวัฒนธรรมในแอฟริกาด้วย ‘สถาบันขงจื๊อ’

Loading

Confucius Institute’s presence at University of the Western Cape, South Africa   เป็นเวลาเกือบสองทศวรรษแล้วที่รัฐบาลจีนได้ขยายอิทธิพลทางวัฒนธรรม หรือ soft culture ผ่าน “สถาบันขงจื๊อ” ตามมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วโลก แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา สถาบันดังกล่าวในมหาวิทยาลัย ทั้งในสหรัฐฯ และประเทศตะวันตกอื่น ๆ ได้ปิดตัวลงอย่างต่อเนื่อง ยกเว้นแต่ในแอฟริกาที่มีการเปิดสถาบันขงจื๊อเพิ่มมากขึ้น   สถาบันขงจื๊อแห่งใหม่ล่าสุดในเมืองเคปทาวน์ ประเทศแอฟริกาใต้ เป็นหนึ่งในสถาบันขงจื๊อประมาณ 60 แห่งที่ตั้งในทวีปแอฟริกา โดยสถาบันเหล่านี้ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลจีน และนักเรียนจะได้เรียนภาษาจีน วัฒนธรรม รวมถึงชั้นเรียนต่าง ๆ อย่างเช่น ศิลปะการป้องกันตัว “ไทเก็ก” และการแพทย์แผนจีน อีกทั้งนักเรียนยังมีโอกาสที่จะเดินทางไปยังประเทศจีนด้วย   เจเดน บิทเทอร์บอส นักศึกษาวัย 20 ปี ที่เรียนภาษาจีนมาตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย รู้สึกตื่นเต้นกับโอกาสที่จะได้เดินทางไปต่างประเทศมาก   Jaden Bitterbos,…

อิหร่านประหารชีวิต 4 พลเมือง ฐานเป็น ‘สายลับ’ ให้อิสราเอล

Loading

  ชายชาวอิหร่าน 4 คนถูกประหารชีวิต จากความผิดฐานเป็นสายลับให้อิสราเอล   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงเตหะราน ประเทศอิหร่าน เมื่อวันที่ 4 ธ.ค. ว่า จากรณีสำนักข่าวแห่งชาติของอิหร่านรายงานเมื่อวันพุธที่ผ่านมาว่า ศาลฎีกามีคำพิพากษายืน ให้ชายชาวอิหร่าน 4 คน รับโทษประหารชีวิต ฐานสมคบคิดกับหน่วยข่าวกรองของมอสสาดของ “รัฐไซออนิสต์” ซึ่งหมายถึงอิสราเอล เพื่อก่อการร้าย ที่รวมถึงการลักพาตัวนั้น   สำนักข่าวแห่งชาติของอิหร่านรายงานเพิ่มเติมว่า การประหารชีวิตชายทั้งสี่คนเกิดขึ้นแล้ว เมื่อวันอาทิตย์ ขณะเดียวกัน ยังมีจำเลยร่วมอีก 3 คน รับโทษจำคุกมากน้อยลดหลั่นกันไประหว่าง 5-10 ปี ฐาน “ก่ออาชญากรรมที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ” การครอบครองอาวุธที่ผิดกฎหมาย และการสมคบคิดกับการลักพาตัว โดยเจ้าหน้าที่ของกระทรวงข่าวกรองและกองกำลังพิทักษ์ปฏิวัติอิหร่าน ( ไออาร์จีซี ) สนธิกำลังกันจับกุมกลุ่มผู้กระทำผิดทั้งหมด   Iran executes four men convicted of cooperating with Israel – state…

อิหร่านจับกุม ‘สายลับ’ เอี่ยวหน่วยข่าวกรองสหรัฐฯ

Loading

(แฟ้มภาพซินหัว : ผู้คนสวมหน้ากากอนามัยเดินบนสะพานในเมืองโทเนกาบอนของอิหร่าน วันที่ 26 เม.ย. 2021)   เตหะราน, 30 พ.ย. (ซินหัว) — เมื่อวันอังคาร (29 พ.ย.) สำนักข่าวกึ่งทางการเมห์ร (Mehr) ของอิหร่าน อ้างอิงอาลี ฟาดาวี รองผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งกองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิสลามของอิหร่าน (IRGC) ซึ่งเปิดเผยระหว่างการชุมนุมของผู้บัญชาการหน่วยแพทย์แห่งกองกำลังฯ ในกรุงเตหะราน ว่ามีประชาชนจำนวนหนึ่งถูกจับกุมในข้อหาติดต่อกับหน่วยข่าวกรองสหรัฐฯ ระหว่างการจลาจลครั้งล่าสุดในประเทศ   ฟาดาวีกล่าวว่าหน่วยข่าวกรองแห่งกองกำลังฯ ได้จับกุม “สายลับ” หลายคนที่เชื่อมโยงกับหน่วยข่าวกรองของสหรัฐฯ ระหว่างการจลาจลครั้งล่าสุด ก่อนจะส่งตัวพวกเขาให้กับหน่วยงานตุลาการ พร้อมเสริมว่าพวกเขาทำหน้าที่เป็น “ผู้นำเครือข่ายของศัตรู” ในการจลาจลครั้งนี้   ฟาดาวีระบุว่ากลุ่มคนเหล่านี้ไม่เพียงมีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานีโทรทัศน์อิหร่าน อินเตอร์เนชันแนล (Iran International) ซึ่งดำเนินงานภายใต้หน่วยสอดแนมของศัตรูเท่านั้น ทว่ายังเกี่ยวข้องกับหน่วยข่าวกรองและหน่วยสอดแนมของสหรัฐฯ ด้วย   อย่างไรก็ดี รายงานข้างต้นไม่ได้ลงรายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนและรายชื่อของผู้ถูกจับกุม       —————————————————————————————————————————————————————- ที่มา :   …

สภา ม.รามคำแหง ปลด“สืบพงษ์”พ้นอธิบการบดี-ปมใช้วุฒิปริญญาเอกปลอม

Loading

  สภา ม.รามคำแหง ปลด “สืบพงษ์” พ้นอธิบการบดี-ปมใช้วุฒิปริญญาเอกปลอม พบอีกข้อกล่าวหาคัดลอกผลงาน ส่อขัดจรรยาบรรณทางวิชาการ   ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สภามหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้เผยเเพร่เอกสารข่าว เรื่อง การเผยแพร่ผลงานซ้ำซ้อนและการมีชื่อในผลงานที่ตนไม่มีส่วนร่วมของอดีตอธิการบดี ใจความว่า ผู้ช่วยศาสตรจารย์ สืบพงษ์ ปราบใหญ่ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง ถูกตั้งข้อกล่าวหาเพิ่ม เกิดจากกรณีถูกกล่าวหาฝ่าฝืนจรรยาวิชาชีพวิจัยและแนวปฏิบัติของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ พ.ศ. 2555 และมีพฤติกรรมในทางวิชาการที่ขัดต่อบทบัญญัติในกฎหมายและระเบียบหรือข้อบังคับมหาวิทยาลัยรามคำแหงหลายกรรมหลายบทด้วยการคัดลอกผลงานตนเองและมีชื่อปรากฏในบทความทางวิชาการที่ตนเองไม่มีส่วนร่วม   ภายหลังจากที่ผู้ช่วยศาสตราจารย์สืบพงษ์ถูกสภามหาวิทยาลัยรามคำแหงถอดถอนจากตำแหน่งอธิการบดีเมื่อวันที่ 8พฤศจิกายน 2565ด้วยข้อหาการใช้วุฒิการศึกษาปริญญาเอกที่ไม่ได้รับการรับรองจากก.พ. ,การปกปิดหรือไม่รายงานต่อสภามหาวิทยาลัยกรณีการรับโอนทรัพย์สินจากนายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ที่ถูกกล่าวหาว่าร่ำรวยผิดปกติและต่อมาศาลฎีกาได้พิพากษาให้ทรัพย์ดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดิน และการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาด้วยข้อความอันเป็นเท็จ   ปรากฏว่าในการประชุมสภามหาวิทยาลัยรามคำแหง (วันที่ 21พฤศจิกายน 2565) สภามหาวิทยาลัยรามคำแหงได้พิจารณารายงานจากคณะกรรมการตรวจสอบความไม่ชอบด้วยกฏหมายฯ ที่สภามหาวิทยาลัยรามคำแหงได้แต่งตั้งขึ้นเพื่อตรวจสอบข้อร้องเรียนผู้ช่วยศาสตราจารย์สืบพงษ์ กรณีเข้าข่ายการคัดลอกผลงานตนเองโดยไม่มีการอ้างอิงผลงานเดิมของตน   โดยคณะกรรมการได้สรุปว่า ข้อกล่าวหาดังกล่าวมีมูล โดยพิจารณาจากหลักฐานบทความทางวิชาการสองชิ้นของผู้ช่วยศาสตราจารย์สืบพงษ์ และคณะ ผลงานทางวิชาการทั้งสองชิ้นได้ถูกนำไปเผยแพร่ซ้ำซ้อนกันในวารสารทางวิชาการมากกว่าหนึ่งฉบับโดยไม่มีการอ้างอิง และมีเนื้อหาที่เหมือนกันกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ การเผยแพร่บทความในลักษณะดังกล่าวถือว่าเป็นการขัดต่อจรรยาบรรณทางวิชาการ ทำให้ผู้อื่นอาจเข้าใจผิดว่าเป็นผลงานใหม่และทำให้เกิดปัญหาการอ้างอิงและส่งผลกระทบต่อคุณภาพทางวิชาการ   คณะกรรมการตรวจสอบความไม่ชอบด้วยกฎหมายฯ ยังรายงานด้วยว่าพฤติการณ์ดังกล่าวยังส่งผลต่อความไม่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ช่วยศาสตราจารย์สืบพงษ์…

สื่อแฉ! ทหารไต้หวันถูก ‘จีน’ ซื้อตัวเป็นสายลับ-ทำสัญญาให้ ‘ยอมแพ้’ หากเกิดสงคราม

Loading

  ไต้หวันกำลังสอบสวนทหารยศนายพันผู้หนึ่งฐานต้องสงสัยว่ารับเงินเดือนจาก “จีน” มาเป็นเวลาหลายปี แลกกับการรวบรวมข่าวกรองส่งให้ปักกิ่ง และให้ “ยอมแพ้” หากสงครามระหว่างจีนกับไต้หวันปะทุขึ้น   สำนักข่าวกลางไต้หวัน (CNA) รายงานโดยไม่อ้างอิงแหล่งข่าวเมื่อวันอังคาร (22 พ.ย.) ว่า เซี่ยง เต๋อเอิน (向德恩) ซึ่งเป็นอดีตหัวหน้าแผนกปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาในสังกัดกองบัญชาการฝึกทหารราบประจำเมืองเกาสง ถูกว่าจ้างให้เป็น “สายลับ” ตั้งแต่ปี 2019 และรับเงินจากรัฐบาลจีนจำนวน 40,000 ดอลลาร์ไต้หวัน (ราว 46,000 บาท) ต่อเดือน   ทหารนายนี้ยังเคยถ่ายรูปขณะถือจดหมายลงนามสัญญาว่าจะ “ยอมแพ้” ต่อจีนหากเกิดสงครามขึ้น   กรณีที่เกิดขึ้นสะท้อนถึงภัยคุกคามด้านการจารกรรมที่ไต้หวันกำลังเผชิญอยู่ ขณะที่สหรัฐฯ เองก็มีความกังวลมานานแล้วว่า ไต้หวันจะสามารถเก็บรักษาความลับทางเทคโนโลยีและอื่น ๆ ไม่ให้ตกไปถึงมือปักกิ่งได้หรือไม่   สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า ก่อนหน้านี้ จาง เจ๋อผิง (張哲平) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมไต้หวัน เคยถูกสอบสวนเมื่อปี 2021 ฐานต้องสงสัยว่ามีการติดต่อกับเครือข่ายจารชนจีน ทว่าต่อมาถูกประกาศให้พ้นข้อหา และทำหน้าที่เป็นพยานในคดีจนสามารถเอาผิดกับนายพลเกษียณและทหารยศพันโทนายหนึ่งได้เมื่อเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา  …

Meta ลงโทษพนักงานและไล่ออกกว่า 20 ราย พบขายบัญชีผู้ใช้ให้แฮ็กเกอร์

Loading

  เอกสารภายในบริษัทและแหล่งข่าวของ Wall Street Journal ระบุว่า Meta ได้จัดการกับพนักงานกว่า 20 รายด้วยการไล่ออกหรือลงโทษทางวินัยเมื่อปีที่แล้ว หลังพบว่าพนักงานควบคุมบัญชีผู้ใช้งาน Facebook และ Instagram ขายบัญชีผู้ใช้ให้กับแฮ็กเกอร์   พนักงานที่ถูกลงโทษบางส่วนทำงานเป็นผู้ดูแลศูนย์บริการของ Meta และได้นำข้อมูลบัญชีผู้ใช้ออกไปให้บุคคลที่สามผ่านทางระบบที่เรียกเป็นการภายในบริษัทว่า Oops ย่อมาจาก Online Operations ที่ Meta อนุญาตให้พนักงานสามารถเข้าสู่ระบบเพื่อจัดการกับข้อมูลผู้ใช้ได้ในกรณีที่ผู้ใช้ต้องการความช่วยเหลือ เช่น ต้องการรีเซ็ตรหัสผ่าน หรือเมื่อบัญชีถูกแฮก   การขโมยข้อมูลผู้ใช้มีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการติดสินบนและขายบัญชีให้แฮกเกอร์นำไปขายต่อซึ่งมีมูลค่าเป็นหมื่นเหรียญสหรัฐ หรือในรูปแบบบริษัทกลางหรือคนกลางรับจ้างรีเซ็ตบัญชีที่ไปจ้างพนักงานภายใน Meta อีกทอดหนึ่ง บางกรณีเป็นคนใกล้ตัวที่พนักงานไว้ใจที่มาจ้างให้รีเซ็ตบัญชีของบุคคลที่สามให้ นอกจากนี้ ยังมีการปรับเปลี่ยนวิธีการขโมยข้อมูลเพื่อหลบหลีกการตรวจสอบจาก Meta ด้วย   สาเหตุสำคัญเกิดจากที่ Meta มีข้อมูลผู้ใช้กว่า 3 พันล้านคนแต่กลับไม่มีฝ่ายบริการลูกค้าทางออนไลน์ เมื่อผู้ใช้พบปัญหาก็ต้องติดต่อผ่านพนักงานทางโทรศัพท์หรืออีเมลและให้พนักงานเป็นผู้จัดการบัญชีให้ ซึ่งเป็นช่องโหว่ให้มีการขายบัญชีผู้ใช้     ที่มา: Wall Street Journal  …