สภา ม.รามคำแหง ปลด“สืบพงษ์”พ้นอธิบการบดี-ปมใช้วุฒิปริญญาเอกปลอม

Loading

  สภา ม.รามคำแหง ปลด “สืบพงษ์” พ้นอธิบการบดี-ปมใช้วุฒิปริญญาเอกปลอม พบอีกข้อกล่าวหาคัดลอกผลงาน ส่อขัดจรรยาบรรณทางวิชาการ   ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สภามหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้เผยเเพร่เอกสารข่าว เรื่อง การเผยแพร่ผลงานซ้ำซ้อนและการมีชื่อในผลงานที่ตนไม่มีส่วนร่วมของอดีตอธิการบดี ใจความว่า ผู้ช่วยศาสตรจารย์ สืบพงษ์ ปราบใหญ่ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง ถูกตั้งข้อกล่าวหาเพิ่ม เกิดจากกรณีถูกกล่าวหาฝ่าฝืนจรรยาวิชาชีพวิจัยและแนวปฏิบัติของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ พ.ศ. 2555 และมีพฤติกรรมในทางวิชาการที่ขัดต่อบทบัญญัติในกฎหมายและระเบียบหรือข้อบังคับมหาวิทยาลัยรามคำแหงหลายกรรมหลายบทด้วยการคัดลอกผลงานตนเองและมีชื่อปรากฏในบทความทางวิชาการที่ตนเองไม่มีส่วนร่วม   ภายหลังจากที่ผู้ช่วยศาสตราจารย์สืบพงษ์ถูกสภามหาวิทยาลัยรามคำแหงถอดถอนจากตำแหน่งอธิการบดีเมื่อวันที่ 8พฤศจิกายน 2565ด้วยข้อหาการใช้วุฒิการศึกษาปริญญาเอกที่ไม่ได้รับการรับรองจากก.พ. ,การปกปิดหรือไม่รายงานต่อสภามหาวิทยาลัยกรณีการรับโอนทรัพย์สินจากนายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ที่ถูกกล่าวหาว่าร่ำรวยผิดปกติและต่อมาศาลฎีกาได้พิพากษาให้ทรัพย์ดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดิน และการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาด้วยข้อความอันเป็นเท็จ   ปรากฏว่าในการประชุมสภามหาวิทยาลัยรามคำแหง (วันที่ 21พฤศจิกายน 2565) สภามหาวิทยาลัยรามคำแหงได้พิจารณารายงานจากคณะกรรมการตรวจสอบความไม่ชอบด้วยกฏหมายฯ ที่สภามหาวิทยาลัยรามคำแหงได้แต่งตั้งขึ้นเพื่อตรวจสอบข้อร้องเรียนผู้ช่วยศาสตราจารย์สืบพงษ์ กรณีเข้าข่ายการคัดลอกผลงานตนเองโดยไม่มีการอ้างอิงผลงานเดิมของตน   โดยคณะกรรมการได้สรุปว่า ข้อกล่าวหาดังกล่าวมีมูล โดยพิจารณาจากหลักฐานบทความทางวิชาการสองชิ้นของผู้ช่วยศาสตราจารย์สืบพงษ์ และคณะ ผลงานทางวิชาการทั้งสองชิ้นได้ถูกนำไปเผยแพร่ซ้ำซ้อนกันในวารสารทางวิชาการมากกว่าหนึ่งฉบับโดยไม่มีการอ้างอิง และมีเนื้อหาที่เหมือนกันกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ การเผยแพร่บทความในลักษณะดังกล่าวถือว่าเป็นการขัดต่อจรรยาบรรณทางวิชาการ ทำให้ผู้อื่นอาจเข้าใจผิดว่าเป็นผลงานใหม่และทำให้เกิดปัญหาการอ้างอิงและส่งผลกระทบต่อคุณภาพทางวิชาการ   คณะกรรมการตรวจสอบความไม่ชอบด้วยกฎหมายฯ ยังรายงานด้วยว่าพฤติการณ์ดังกล่าวยังส่งผลต่อความไม่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ช่วยศาสตราจารย์สืบพงษ์…

สื่อแฉ! ทหารไต้หวันถูก ‘จีน’ ซื้อตัวเป็นสายลับ-ทำสัญญาให้ ‘ยอมแพ้’ หากเกิดสงคราม

Loading

  ไต้หวันกำลังสอบสวนทหารยศนายพันผู้หนึ่งฐานต้องสงสัยว่ารับเงินเดือนจาก “จีน” มาเป็นเวลาหลายปี แลกกับการรวบรวมข่าวกรองส่งให้ปักกิ่ง และให้ “ยอมแพ้” หากสงครามระหว่างจีนกับไต้หวันปะทุขึ้น   สำนักข่าวกลางไต้หวัน (CNA) รายงานโดยไม่อ้างอิงแหล่งข่าวเมื่อวันอังคาร (22 พ.ย.) ว่า เซี่ยง เต๋อเอิน (向德恩) ซึ่งเป็นอดีตหัวหน้าแผนกปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาในสังกัดกองบัญชาการฝึกทหารราบประจำเมืองเกาสง ถูกว่าจ้างให้เป็น “สายลับ” ตั้งแต่ปี 2019 และรับเงินจากรัฐบาลจีนจำนวน 40,000 ดอลลาร์ไต้หวัน (ราว 46,000 บาท) ต่อเดือน   ทหารนายนี้ยังเคยถ่ายรูปขณะถือจดหมายลงนามสัญญาว่าจะ “ยอมแพ้” ต่อจีนหากเกิดสงครามขึ้น   กรณีที่เกิดขึ้นสะท้อนถึงภัยคุกคามด้านการจารกรรมที่ไต้หวันกำลังเผชิญอยู่ ขณะที่สหรัฐฯ เองก็มีความกังวลมานานแล้วว่า ไต้หวันจะสามารถเก็บรักษาความลับทางเทคโนโลยีและอื่น ๆ ไม่ให้ตกไปถึงมือปักกิ่งได้หรือไม่   สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า ก่อนหน้านี้ จาง เจ๋อผิง (張哲平) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมไต้หวัน เคยถูกสอบสวนเมื่อปี 2021 ฐานต้องสงสัยว่ามีการติดต่อกับเครือข่ายจารชนจีน ทว่าต่อมาถูกประกาศให้พ้นข้อหา และทำหน้าที่เป็นพยานในคดีจนสามารถเอาผิดกับนายพลเกษียณและทหารยศพันโทนายหนึ่งได้เมื่อเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา  …

Meta ลงโทษพนักงานและไล่ออกกว่า 20 ราย พบขายบัญชีผู้ใช้ให้แฮ็กเกอร์

Loading

  เอกสารภายในบริษัทและแหล่งข่าวของ Wall Street Journal ระบุว่า Meta ได้จัดการกับพนักงานกว่า 20 รายด้วยการไล่ออกหรือลงโทษทางวินัยเมื่อปีที่แล้ว หลังพบว่าพนักงานควบคุมบัญชีผู้ใช้งาน Facebook และ Instagram ขายบัญชีผู้ใช้ให้กับแฮ็กเกอร์   พนักงานที่ถูกลงโทษบางส่วนทำงานเป็นผู้ดูแลศูนย์บริการของ Meta และได้นำข้อมูลบัญชีผู้ใช้ออกไปให้บุคคลที่สามผ่านทางระบบที่เรียกเป็นการภายในบริษัทว่า Oops ย่อมาจาก Online Operations ที่ Meta อนุญาตให้พนักงานสามารถเข้าสู่ระบบเพื่อจัดการกับข้อมูลผู้ใช้ได้ในกรณีที่ผู้ใช้ต้องการความช่วยเหลือ เช่น ต้องการรีเซ็ตรหัสผ่าน หรือเมื่อบัญชีถูกแฮก   การขโมยข้อมูลผู้ใช้มีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการติดสินบนและขายบัญชีให้แฮกเกอร์นำไปขายต่อซึ่งมีมูลค่าเป็นหมื่นเหรียญสหรัฐ หรือในรูปแบบบริษัทกลางหรือคนกลางรับจ้างรีเซ็ตบัญชีที่ไปจ้างพนักงานภายใน Meta อีกทอดหนึ่ง บางกรณีเป็นคนใกล้ตัวที่พนักงานไว้ใจที่มาจ้างให้รีเซ็ตบัญชีของบุคคลที่สามให้ นอกจากนี้ ยังมีการปรับเปลี่ยนวิธีการขโมยข้อมูลเพื่อหลบหลีกการตรวจสอบจาก Meta ด้วย   สาเหตุสำคัญเกิดจากที่ Meta มีข้อมูลผู้ใช้กว่า 3 พันล้านคนแต่กลับไม่มีฝ่ายบริการลูกค้าทางออนไลน์ เมื่อผู้ใช้พบปัญหาก็ต้องติดต่อผ่านพนักงานทางโทรศัพท์หรืออีเมลและให้พนักงานเป็นผู้จัดการบัญชีให้ ซึ่งเป็นช่องโหว่ให้มีการขายบัญชีผู้ใช้     ที่มา: Wall Street Journal  …

เจ้าหน้าที่สถานทูตอังกฤษส่งข้อมูลลับให้รัสเซีย อ้างไม่พอใจที่ทำงาน

Loading

  เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยสถานทูตอังกฤษในกรุงเบอร์ลิน ส่งเอกสารลับให้ทูตทหารรัสเซีย อ้างไม่พอใจในหน้าที่การงาน   เดวิด สมิธ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยวัย 58 ปีที่ทำงานให้กับสถานทูตอังกฤษในกรุงเบอร์ลิน สารภาพแล้วว่า ได้ก่อคดีจารกรรม โดยส่งเอกสารลับไปให้ พล.อ.เซอร์เกย์ ชูคูรอฟ ทูตทหารรัสเซีย และอาจถูกตัดสินโทษจำคุก 14 ปี   มีรายงานว่า ระหว่างเดือน พ.ค. 2020 ถึง ส.ค. 2021 เขาได้ส่งเอกสารข้อมูลเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ จำพวกข้อมูลส่วนตัว ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ และยังมีผังของสถานทูตอังกฤษ ตลอดจนเอกสารลับอื่น ๆ ให้กับเจ้าหน้าที่รัสเซีย     เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยรายนี้ถูกส่งตัวกลับมายังสหราชอาณาจักรจากเยอรมนีในเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา เพื่อดำเนินการสอบสวนโดยหน่วยรักษาความปลอดภัยของเยอรมนีและอังกฤษ และได้ข้อสรุปว่า เขาขายข้อมูลให้กับรัสเซียจริง หลังจากที่สายลับ MI5 และหน่วยงานสายลับในยุโรปเฝ้าติดตามพฤติกรรมของเขาเป็นเวลาหลายเดือน   ตำรวจได้บุกเข้าไปในแฟลตของสมิธ และพบว่าเขาได้ถ่ายรูปบัตรพนักงานของเจ้าหน้าที่ในสถานทูต แผนผังองค์กร โปสเตอร์ และกระดานไวต์บอร์ดในสถานทูต และยังได้ถ่ายวิดีโอในสถานทูตโดยเปิดเผยแผนผังบางส่วนของอาคารด้วย   เจ้าหน้าที่ยังพบอีเมลและเอกสารที่ระบุว่า…

นอร์เวย์จับสายลับรัสเซีย ปลอมตัวเป็นนักวิชาการมหาวิทยาลัย

Loading

  หน่วยความมั่นคงนอร์เวย์จับกุมนักวิชาการมหาวิทยาลัยชาวบราซิล ซึ่งเชื่อว่าแท้จริงแล้วเขาเป็น “สายลับรัสเซีย”   เมื่อวันจันทร์ (24 ต.ค.) หน่วยความมั่นคงนอร์เวย์จับกุม โฆเซ แอสซิส เกียมมาเรีย นักวิชาการมหาวิทยาลัยชาวบราซิลซึ่งเป็นนักวิจัยอยู่ที่มหาวิทยาลัยทรอมโซทางเหนือของนอร์เวย์ เพราะพบว่าเขาไม่ใช่นักวิชาการ ไม่ใช่ชาวบราซิล แต่เป็น “สายลับจากรัสเซีย”   เฮ็ดวิก โม รองหัวหน้าตำรวจความมั่นคง (PST) กล่าวว่า “เราได้ขอให้มีการขับไล่นักวิจัยชาวบราซิลที่มหาวิทยาลัยทรอมโซออกจากนอร์เวย์ เพราะเราเชื่อว่าเขาเป็นภัยคุกคามต่อผลประโยชน์ของชาติเรา”     เขาเสริมว่า “หน่วยงานความมั่นคงกังวลว่าเขาอาจได้รับเครือข่ายและข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายต่าง ๆ ของนอร์เวย์ แม้ว่าสิ่งนี้จะไม่ใช่ภัยคุกคามต่อความมั่นคงของอาณาจักร แต่เรากังวลว่ารัสเซียจะนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ในทางที่ผิด”   ด้านเพื่อนร่วมงานของเกียมมาเรีย ศ.กุนฮิลด์ ฮูเกนเซน ยอร์ฟ จากภาควิชาการศึกษาความมั่นคง กล่าวว่า เกียมมาเรียเข้ามาทำงานที่มหาวิทยาลัยเมื่อเดือน ธ.ค. 2021 หลังเขาติดต่อมายังภาควิชาของเธอว่า มีความสนใจในการศึกษาเรื่องความมั่นคงของภูมิภาคอาร์กติก   “เกียมมาเรียติดต่อฉันมาทางอีเมล บอกว่าเขาสนใจที่จะเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับความมั่นคงในภูมิภาคอาร์กติก … มีศาสตราจารย์ในแคนาดาที่ฉันรู้จักให้การแนะนำเขามา และเราก็ได้ตรวจสอบประวัติของเขาด้วย”   ยอร์ฟบอกว่า จากข้อมูลที่ได้มาก เกียมมาเรียสำเร็จการศึกษาจากศูนย์การศึกษาด้านการทหาร…

งามไส้! จับ “พ.ต.ท.-จนท.กระทรวง” ขายข้อมูลคนไทยให้แก๊งคอลฯ ได้เดือนละ 6 แสนบาท

Loading

  งามไส้! จับ “พ.ต.ท.-จนท.กระทรวง” ขายข้อมูลคนไทยให้แก๊งคอลฯ ได้เดือนละ 6 แสนบาท   วันที่ 28 ต.ค.65 ที่กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) เมืองทองธานี พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รองผบ.ตร., พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท., พล.ต.ต.วิวัฒน์ คำชำนาญ รอง ผบช.สอท., พล.ต.ต.วริศร์สิริภ์ ลีละสิริ ผบก.สอท.2, พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองผบก.สอท.1 ร่วมกันเปิดเผยกรณีตรวจพบว่ามีเจ้าหน้าที่รัฐให้ข้อมูลส่วนบุคคลกับขบวนการคอลเซ็นเตอร์ โดยได้มีการจับกุมดำเนินคดีไปแล้ว   พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ กล่าวว่า จากปฏิบัติการ “เด็ดปีกมังกร” จับเครือข่ายแก๊งคอลเซ็นเตอร์เมื่อต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมาของทาง บช.สอท. สามารถจับกุมผู้ต้องหาได้ 16 ราย เป็นกลุ่มรับจ้างเปิดบัญชีม้า 8 ราย กลุ่มรวบรวมบัญชีม้าเพื่อส่งต่อให้นายทุนชาวจีน 1 ราย และกลุ่มที่ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลผู้เสียหายเพื่อนำไปใช้ในการหลอกลวง 2 ราย   โดยระบุว่า ผู้ที่ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลของผู้เสียหายเพื่อนำไปใช้ในการหลอกลวง…