พระราชบัญญัติล้างมลทินกับผลการตรวจสอบประวัติและพฤติการณ์บุคคล

Loading

ในกรณีที่ผลการตรวจสอบประวัติและพฤติการณ์บุคคลด้วยพิมพ์ลายนิ้วมือ และพบประวัติอาชญากรรมของบุคคล การที่หน่วยงานของรัฐจะรับบุคคลนั้นบรรจุ แต่งตั้ง หรือว่าจ้างให้เข้ามาปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ เหล่านี้ขึ้นอยู่กับการใช้ดุลพินิจถึงคุณสมบัติหรือความมีศีลธรรมอันดีตามแต่ที่หน่วยงานของรัฐนั้นกำหนดไว้เป็นการภายใน สำหรับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผลการตรวจสอบประวัติและพฤติการณ์บุคคล ที่ควรทราบ เพื่อนำมาใช้ประกอบการพิจารณาของหน่วยงานของรัฐมีดังนี้ พระราชบัญญัติล้างมลทิน จุดประสงค์ของพระราชบัญญัติล้างมลทิน คือ ให้บุคคลที่เคยรับโทษจากคำพิพากษาของศาล และได้พ้นโทษมาแล้ว หรือผู้ที่เคยอยู่ในหน่วยงาน ของกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ซึ่งถูกลงโทษหรือลงทัณฑ์ ในกรณีความผิดต่างๆ โดยเป็นการกระทำก่อนหรือในวันที่ที่ได้ประกาศพระราชบัญญัติล้างมลทินแล้ว ให้บุคคลนั้นได้พ้นจากมลทิน เสมือนว่าไม่เคยต้องโทษตามที่ได้กระทำความผิดนั้นๆ มาก่อน แต่พระราชบัญญัติล้างมลทิน ไม่ใช่การลบล้างโทษหรือความผิดที่กระทำไว้ ฉะนั้น การล้างมลทิน จึงไม่ก่อให้เกิดสิทธิต่างๆ ผลลัพธ์ที่เกิดจากพระราชบัญญัติฉบับนี้ 1.1 สำหรับหน่วยงานของรัฐ บุคคลที่ล้างมลทินแล้ว สามารถสอบเข้ารับราชการได้ เพราะตามคุณสมบัติของผู้สอบเข้ารับราชการ ต้องไม่เป็นผู้ที่ถูกศาลพิพากษาว่าต้องโทษมาก่อน แต่ในทางปฏิบัติ การตีความของแต่ละหน่วยงานของรัฐอาจแตกต่างกัน และประวัติการกระทำผิดก็ยังคงปรากฏอยู่ แต่มีบันทึกต่อท้ายว่า ได้ล้างมลทินแล้ว 1.2 ผู้ที่กระทำผิดและถูกสั่งให้ออกจากราชการ เมื่อได้รับการล้างมลทินแล้ว ไม่น่าจะกลับเข้ารับตำแหน่งหน้าที่เดิมได้ เพราะมีข้อจำกัดหลายประการ ตั้งแต่ตำแหน่งที่รองรับ หรือการยอมรับตามข้อเท็จจริง หากกระทำผิดร้ายแรง ยิ่งเป็นการยากที่จะได้รับการบรรจุเข้ากลับรับราชการอีก 1.3…

ทะเบียนประวัติอาชญากรและระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

Loading

ในกรณีที่การดำเนินการตรวจสอบประวัติและพฤติกรรมบุคคลพบข้อมูลการกระทำผิดในทะเบียนประวัติอาชญากรของบุคคลที่หน่วยงานของรัฐจะรับบรรจุ แต่งตั้ง หรือว่าจ้าง หรืออยู่ระหว่างทดลองปฏิบัติราชการ หน่วยงานของรัฐนั้นอาจเปิดโอกาสให้มีการนำผลการสิ้นสุดคดีความหรือให้มีการติดตามผลคดีที่ชัดเจน เพื่อมาประกอบการพิจารณาด้วย เพราะ ตามระเบียบของสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วยประมวลระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี ลักษณะที่ 32 การพิมพ์ลายนิ้วมือ พ.ศ.2554 ลงวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ.2554 บทที่ 4 การคัดแยกและทำลายแผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือ และรายการประวัติหรือบัญชีประวัติ ข้อ 1 โดยการแสดงข้อมูลผลคดีความนี้ อาจแจ้งให้เจ้าของประวัตินำผลคดีมาแสดงเองหรือโดยการขอรับการสนับสนุนผลคดีไปยังหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบก็ได้ หากผลคดีเป็นไปตามระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วยการพิมพ์ลายนิ้วมือแล้ว ถือได้ว่าบุคคลนั้นมิได้ขาดคุณสมบัติใดๆ ทางราชการในการบรรจุ แต่งตั้ง หรือว่าจ้างได้ ข้อมูลตามทะเบียนประวัติอาชญากร เมื่อมีการจัดทำขึ้นแล้ว จะถูกจัดเก็บไว้ เมื่อมีการสั่งฟ้องดำเนินคดี มีคำพิพากษา ก็จะทำการลงบันทึกถึงผลการดำเนินคดี ได้แก่ ศาลสั่งยกฟ้อง หรือสั่งลงโทษ ก็จะลงต่อท้ายไว้ กรณีที่จะถูกจัดทำทะเบียนประวัติอาชญากรมาจาก 2.1 การทำความผิดทางอาญาทุกชนิด เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาดำเนินคดี จะต้องมีการทำประวัติอาชญากรรม 2.2 ประวัติอาชญากรรมจะจัดทำเมื่อตั้งข้อกล่าวหาตั้งแต่ในชั้นตำรวจ หรือผู้เสียหายดำเนินการฟ้องร้องเอง จะจัดทำในชั้นที่ศาลสั่งว่าคดีมีมูล บุคคลหรือหน่วยงานที่มีส่วนได้เสียกับเจ้าของประวัติ สามารถขอตรวจสอบข้อมูลประวัติอาชญากรรมจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ โดยเฉพาะที่เป็นหน่วยงานของรัฐต้นสังกัด เพราะมีหน้าที่ต้องจัดเก็บข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลของเจ้าหน้าที่ให้ถูกต้องตามความเป็นจริง เพื่อมิให้เกิดความเสื่อมเสียหรือเสียหายแก่เจ้าของประวัติ ถึงแม้จะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับประวัติอาชญากรก็ตาม ทั้งนี้…