เครื่องมือใหม่ CMRA แผนที่สภาพอากาศเรียลไทม์ เช็คได้ ก่อนเจอภัยธรรมชาติ

Loading

  ปัจจุบัน สหรัฐฯ กำลังประสบภัยธรรมชาติอย่างหนัก ไม่ว่าคลื่นความร้อนที่รุนแรงจากแคลิฟอร์เนียถึงเท็กซัส อุทกภัยครั้งใหญ่ในรัฐเคนตักกี้และมิสซูรี ไฟป่าในอลาสก้าที่เผาพื้นที่ที่ใหญ่กว่าคอนเนตทิคัต และยังมีไฟป่าอีกหลายร้อยจุด แต่เครื่องมือตัวใหม่นี้ จะทำให้ผู้บริหารของเมืองแต่ละเมือง และผู้อยู่อาศัยสามารถเข้าใจความเสี่ยงได้ดีขึ้น และสามารถหยืดหยุ่นได้มากหากต้องเผชิญกับความเครียดจากสถานการณ์เหล่านี้ เครื่องมือชุดใหม่นี้สร้างจากรัฐบาลกลาง โดยบริษัททำแผนที่ Esri มันชื่อ Climate Mapping for Resilience and Adaptation (CMRA) ซึ่งจะแสดงให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกับแต่ละเมืองอย่างไรได้แบบเรียลไทม์ พร้อมทั้งบอกได้ว่าจะเกิดภัยพิบัติอะไรขึ้น แผนที่จะทำงานโดยให้เราใส่ Location ของเมืองที่เราอาศัยอยู่ลงไป จะมีตัวเลือกที่แสดงให้เห็นถึงคลื่นความร้อน ไฟป่า ภัยแล้ง รวมถึงน้ำท่วมในแผ่นดินและชายฝั่ง โดยระบบจะแสดงความเสี่ยงที่มีอยู่ในปัจจุบัน จากนั้นจะระบุอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตภายใต้สองสถานการณ์ที่เปรียบเทียบกันเช่น จะเกิดอะไรขึ้นหากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลงอย่างรวดเร็ว และจะเกิดอะไรขึ้นหากก๊าซเหล่านี้ยังถูกปล่อยเรื่อย ๆ และมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ตัวอย่างเช่น ในไมอามี แผนที่แสดงได้ให้เห็นว่า แนวชายฝั่งจะจมอยู่ใต้น้ำมากขึ้นเพียงใด หากยังมีการปล่อยมลพิษสูง แดชบอร์ดยังแสดงให้เห็นว่า ความร้อนจัดและอันตรายอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้น นอกจากนี้ เว็บไซต์ยังมีลิงก์เพื่อช่วยให้เมืองต่างๆ ค้นหาทุนสนับสนุนจากรัฐบาลกลางเพื่อนำมาใช้สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถรับมือกับภัยต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นอนาคต ซึ่งทั้งหมดนี้จะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้การบริการจัดการ การรับมือกับภัยพิบัติต่าง…

นักวิจัยพัฒนาระบบค้นหาและระบุตำแหน่งกับระเบิดด้วยภาพถ่ายทางอากาศจากโดรน

Loading

  Demining Research Community คือองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่พยายามพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการเก็บกู้กับระเบิด ซึ่งในปัจจุบันทีมวิจัยขององค์กรได้พัฒนาระบบค้นหาและระบุตำแหน่งกับระเบิดด้วยภาพถ่ายทางอากาศที่ได้จากการบินถ่ายภาพด้วยโดรน เป้าหมายขององค์กรคือช่วยให้ภารกิจการเก็บกู้กับระเบิดในประเทศต่างๆ ทั่วโลกที่ยังคงหลงเหลืออยู่แม้สงคราบจะจบไปนานแล้วสามารถทำได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น   ขั้นตอนการค้นหาและระบุตำแหน่งกับระเบิดที่ทำโดยทั่วไปในปัจจุบันนั้นจะเน้นการใช้เจ้าหน้าที่เดินค้นหาโดยอาศัยเครื่องตรวจโลหะเพื่อค้นหากับระเบิดที่อาจยังคงหลงเหลือซุกซ่อนอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ หลังการสู้รบ ซึ่งวิธีดังกล่าวนอกจากจะต้องใช้แรงงานและเวลาเป็นอย่างมากแล้ว ยังเป็นการเสี่ยงต่อเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานที่จะต้องพาตัวเองเข้าสู่ดงกับระเบิดอีกด้วย   ด้วยเหตุนี้ทีมงาน Demining Research Community จึงคิดว่าหากสามารถใช้โดรนบินค้นหาและระบุตำแหน่งกับระเบิดได้โดยใช้คนคอยควบคุมจากระยะไกลก็จะช่วยให้การปฏิบัติงานในภาพรวมมีความปลอดภัยต่อเจ้าหน้าที่มากยิ่งขึ้น   พวกเขาใช้โดรนบินถ่ายภาพพื้นที่ซึ่งมีกับระเบิดวางเอาไว้อยู่ในพื้นที่ จากนั้นก็ป้อนข้อมูลเพื่อสอนให้ระบบปัญญาประดิษฐ์รู้จักกับระเบิดประเภทต่างๆ ด้วยข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศหลากหลายประเภทที่ได้มาจากโดรน ทั้งภาพถ่ายแบบปกติ ,  ภาพถ่ายด้วยกล้องอินฟราเรด รวมทั้งภาพถ่าย multispectral ซึ่งเป็นเทคนิคการถ่ายภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าด้วยคลื่นที่มีความถี่แตกต่างกันหลายคลื่น ทั้งนี้เพื่อให้การค้นหาและระบุตำแหน่งกับระเบิดสามารถทำได้แม้ว่าตัวกับระเบิดนั้นจะถูกบดบังด้วยต้นไม้หรือดินทรายและหิมะที่อาจฝังกลบมันจนทำให้หลุดรอดจากการค้นหาด้วยภาพถ่ายแบบปกติ   สำหรับความคืบหน้าล่าสุดของทีมวิจัยนั้น พวกเขาได้ทำการทดสอบภาคสนามในการใช้โดรนบินเพื่อค้นหาและระบุตำแหน่งของกับระเบิดชนิดต่างๆ ทั้งแบบทุ่นระเบิดสังหารบุคคล , ทุ่นระเบิดดักรถถัง รวมทั้งกับระเบิดลูกปราย ซึ่งมีหน้าตาหลากหลายรูปแบบ โดยตอนนี้ระบบสามารถระบุข้อมูลได้ถูกต้องแม่นยำ 92%     ทีมงานของ Demining Research Community วางแผนจะไปทดสอบระบบของพวกเขาที่ประเทศกัมพูชาเร็วๆ นี้ เพื่อทดสอบการค้นหากับระเบิดในสถานที่ซึ่งมีความซับซ้อนและยากต่อการระบุตำแหน่งมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ระบบปัญญาประดิษฐ์ได้เรียนรู้ข้อมูลให้มีความฉลาดยิ่งขึ้นกว่าเดิม ซึ่งพวกเขาหวังว่าวันหนึ่งระบบที่พวกเขาพัฒนาขึ้นนี้จะถูกนำไปใช้งานเพื่อการเก็บกู้กับระเบิดในสถานที่ต่างๆ ทั่วโลกและช่วยให้ชีวิตของผู้คนปลอดภัยยิ่งขึ้น   ทั้งนี้ในแต่ละปีมีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจากกับระเบิดที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในพื้นที่ต่างๆ แม้ว่าการสู้รบที่เคยเกิดขึ้นในพื้นที่เหล่านั้นจะจบไปนานหลายปีแล้วก็ตาม…

ไอเออีเอร้องตั้ง ‘เขตความปลอดภัย’ ที่ซาปอริซเซีย หลังถูกระหน่ำยิงบ่อยครั้ง

Loading

International Atomic Energy Agency (IAEA)/Handout via REUTERS   สำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (ไอเออีเอ) เรียกร้องเมื่อวันที่ 6 กันยายน ให้มีการจัดตั้งเขตความปลอดภัยรอบๆ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซาปอริซเซียของยูเครน ที่ปัจจุบันอยู่ภายใต้การยึดครองของรัสเซีย ท่ามกลางความหวั่นวิตกถึงความเสี่ยงต่อวิกฤตการณ์นิวเคีลยร์ที่อาจเกิดขึ้นจากการกระหน่ำยิงด้านนอกของโรงไฟฟ้าบ่อยครั้ง   ไอเออีเอกล่าวในรายงานที่จัดทำขึ้นหลังจากตรวจสอบความเสียหายและประเมินด้านความปลอดภัยของโรงไฟฟ้าว่า “สถานการณ์ปัจจุบันไม่สามารถต้านทานได้ จะต้องสร้างมาตรการชั่วคราวเพื่อป้องกันอุบัติเหตุนิวเคลียร์ ซึ่งทำได้ด้วยการก่อตั้งเขตป้องกันความปลอดภัยและความมั่นคงทางนิวเคลียร์”   ด้านรัสเซียออกมาแสดงความเสียใจที่รายงานดังกล่าวไม่มีการตำหนิยูเครนในเรื่องการโจมตีโรงไฟฟ้าดังกล่าว ในการประชุมคณะมนตรีความมั่นคง ซึ่งนายราฟาเอล กรอสซี ผู้อำนวยการใหญ่ไอเออีเอ เข้าร่วมการประชุมด้วยผ่านระบบออนไลน์ โดยนายวาสซิลี เนเบนเวีย เอกอัครราชทูตและหัวหน้าคณะผู้แทนถาวรรัสเซียประจำสหประชาชาติ (ยูเอ็น) กล่าวว่า ยูเอ็นควรจะกล้าที่จะพูดถึงตัวผู้กระทำผิด   ขณะที่ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกีของยูเครนเห็นชอบกับรายงานดังกล่าว โดยระบุว่า หากข้อเสนอเรื่องเขตความปลอดภัยมีเป้าหมายในการทำให้อาณาบริเวณของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เป็นเขตปลอดทหาร ยูเครนก็จะสนับสนุนอย่างเต็มที่   อย่างไรก็ดี ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐอเมริกา ได้ปฏิเสธข้อเรียกร้องจากยูเครนในการประณามรัสเซียว่า เป็นรัฐผู้ก่อการร้าย สอดคล้องกับที่แครีน ฌ็อง-ปิแอร์ โฆษกทำเนียบขาวกล่าวว่า การประณามไม่ใช่แนวทางที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการทำให้รัสเซียแสดงความรับผิดชอบ   ทั้งนี้ ไอเออีเอ…

หมู่เกาะโซโลมอนแบน ‘เรือรบทุกชาติ’ จนกว่ากฎระเบียบใหม่จะเสร็จ

Loading

  รัฐบาลหมู่เกาะโซโลมอนประกาศปิดท่าเรือจากเรือรบ “ของทุกประเทศ” เป็นการชั่วคราว เพราะจะมีการจัดทำ “กฎระเบียบใหม่” ท่ามกลางความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดกับสหรัฐ หลังประเทศหมู่เกาะขนาดเล็กในมหาสมุทรแปซิฟิกแห่งนี้ ลงนามร่วมมือด้านความมั่นคงกับจีน สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงแคนเบอร์รา ประเทศออสเตรเลีย เมื่อวันที่ 30 ส.ค. ว่า ทำเนียบนายกรัฐมนตรีของหมู่เกาะโซโลมอน เผยแพร่แถลงการณ์เมื่อวันอังคาร เรื่องการไม่อนุญาตให้เรือรบของประเทศใดก็ตามเข้าจอดเทียบท่าในทุกกรณี จนกว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของหมู่เกาะโซโลมอนจะเสร็จสิ้นการกำหนดมาตรการใหม่ เพื่อให้มีผลบังคับใช้ในระดับเดียวกันกับทุกประเทศ การประกาศดังกล่าวของรัฐบาลหมู่เกาะโซโลมอนเกิดขึ้นเพียงไม่กี่ชั่วโมง หลังสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำออสเตรเลีย เปิดเผยเกี่ยวกับการที่ได้รับแจ้งข้อมูลนี้ เมื่อวันที่ 29 ส.ค. ที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี เรือพยาบาล “ยูเอสเอ็นเอส เมอร์ซี” ของกองทัพเรือสหรัฐฯ ได้รับอนุญาตให้จอดเทียบท่าที่หมู่เกาะโซโลมอน เนื่องจากเดินทางมาถึงก่อนคำสั่งมีผลบังคับใช้ แต่กำหนดการเข้าจอดเทียบท่าของเรือตรวจการณ์ยามฝั่ง “ยูเอสซีจีซี โอลิเวอร์ เฮนรี” ต้องเลื่อนออกไปก่อน โดยรัฐบาลหมู่เกาะโซโลมอนให้เหตุผลว่า สหรัฐฯ ดำเนินการขออนุญาต “ช้าเกินไป” ทั้งนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างหมู่เกาะโซโลมอนกับสหรัฐฯ และพันธมิตรอีกหลายประเทศ รวมถึงออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ทวีความตึงเครียดเป็นลำดับ นับตั้งแต่หมู่เกาะโซโลมอนกับจีนลงนามร่วมกันในข้อตกลง ว่าด้วยการยกระดับการเป็นหุ้นส่วนด้านความมั่นคงระดับทวิภาคี เมื่อเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา  …

AI อาชญากรรม ใช้ในงานอาชญากรรม คาดการณ์แม่นยำ ก่อนเกิดเหตุ

Loading

  ต้องยอมรับว่าในปัจจุบัน เหตุอาชญากรรมมีอัตราถี่มากขึ้น โดยเฉพาะในสหรัฐฯ จากวิกฤติด้านเศรษฐกิจและปัญหาเกี่ยวกับยาเสพติด ทำให้ตอนนี้นักวิจัยได้พัฒนา AI อาชญากรรม เพื่อคาดการณ์เหตุอาชญากรรมที่อาจจะเกิดขึ้น มีความแม่นยำมากกว่า 80-90 เปอร์เซ็นต์ และตอนนี้ได้นำทดลองใช้ในหลายเมืองของสหรัฐฯ แล้ว . ในบทความล่าสุดที่ตีพิมพ์ใน Nature Human Behaviour ศาสตราจารย์ Ishanu Chattopadhyay และเพื่อนร่วมงานได้สาธิตโมเดล AI เชิงทำนายในแปดเมืองใหญ่ของสหรัฐฯ . แนวคิดการทำงานของ AI นั่นเรียบง่ายครับ โดยจะมีการนำข้อมูลบันทึกเหตุการณ์สำหรับอาชญากรรมแต่ละประเภท รวมถึงสถานที่และเวลาที่อาชญากรรมเกิดขึ้นไปป้อนเข้าสู่อัลกอริธึม และ Machine Learning ซึ่งจะทำให้ได้ข้อมูลแยกออกมาเป็นตารางของผังเมืองแต่ละที่ และบันทึกเหตุการณ์จะถูกรวมเข้ากับพื้นที่นั้น ๆ เพื่อสร้างสิ่งที่นักวิจัยเรียกว่า “อนุกรมเวลา” จากนั้น AI จะใช้อนุกรมเวลาเหล่านี้เพื่อทำนายอาชญากรรมโดยพิจารณาจากสถานที่และเวลาที่มักเกิดขึ้น . แต่บางคนอาจเกิดความกังวลว่า หากคนที่ใส่ข้อมูลในอัลกอริธึมมีอัคติล่ะ เช่น อาจไม่ชอบคนผิวสี อย่างที่เคยเป็นข่าวเหยีดผิวในสหรัฐบ่อย ๆ หรือบางคนจะถูกจับขังเข้าคุกหรือเปล่า ๆ ทั้ง ๆ ที่เขาอาจยังไม่ได้ทำความผิดใด ๆ…

นอร์เวย์-อังกฤษเตรียมบริจาค “ไมโครโดรน” ช่วยยูเครน

Loading

  นอร์เวย์และสหราชอาณาจักรร่วมกันบริจาคโดรนขนาดเล็ก “แบล็กฮอร์เน็ต” ให้กับยูเครนจำนวน 850 ลำ   เมื่อวานนี้ (24 ส.ค.) กระทรวงกลาโหมนอร์เวย์ออกแถลงการณ์ ระบุว่า นอร์เวย์และสหราชอาณาจักรจะร่วมกันบริจาคความช่วยเหลือทางทหารให้กับยูเครน เป็นโดรนขนาดเล็ก “แบล็กฮอร์เน็ต (Black Hornet)” ที่ผลิตในนอร์เวย์   “นอร์เวย์และสหราชอาณาจักรกำลังร่วมมือกันเพื่อซื้อแบล็กฮอร์เน็ต โดรนขนาดเล็กของนอร์เวย์ เพื่อบริจาคให้กับยูเครน โดยงบประมาณอยู่ที่ 90 ล้านโครนนอร์เวย์ (ราว 333 ล้านบาท)” คำแถลงระบุ     โดรนขนาดเล็กหรือไมโครโดรนแบล็กฮอร์เน็ตนี้ มีขนาดเพียง 6 นิ้ว (15 ซม.) หน้าตาจะคล้ายกับเฮลิคอปเตอร์ของเล่น มีวัตถุประสงค์หลักคือการลาดตระเวนและการระบุเป้าหมาย นิยมใช้ในสงครามในเมือง และการสอดส่องพื้นที่ในอาคาร   ความช่วยเหลือร่วมของนอร์เวย์และสหราชอาณาจักรนี้ จะประกอบด้วย โดรนแบล็กฮอร์เน็ต 850 ลำ อะไหล่ชิ้นส่วน โดยนอร์เวย์บอกว่า ยูเครนเป็นผู้เรียกร้องขอยุทโธปกรณ์ประเภทนี้เพื่อใช้ในการสู้กับรัสเซีย นอกจากนี้ความช่วยเหลือจะรวมถึงบริการขนส่งและฝึกอบรมการใช้งานโดยสหรอาชอาณาจักรด้วย   บยอร์น อาริลด์ แกรม…