คำแนะนำในการสังเกตวัตถุต้องสงสัยที่คาดว่าอาจจะเป็นวัตถุระเบิด

Loading

โดยปกติแล้วระเบิดแสวงเครื่องมีลักษณะเหมือนกับวัสดุหรือของใช้ทั่วไป ทำให้การสังเกตุ หรือการพิสูจน์ว่าเป็นระเบิดแสวงเครื่องนั้นทำได้ยาก แต่ประชาชนทั่วไปสามารถสังเกตเบื้องต้นได้จากลักษณะ ดังนี้ 1. เป็นวัตถุที่ไม่มีเจ้าของ หรือหาเจ้าของไม่พบ 2. เป็นวัตถุที่มีลักษณะภายนอกผิดไปจากรูปเดิม เช่น กล่องมีร่องรอยเปรอะเปื้อน, มีรอยยับหรือมีสีที่เปลี่ยนแปลงไป 3. เป็นวัตถุที่ควรจะอยู่ในที่อื่นมากกว่าจะอยู่ตรงนั้น 4. เป็นวัตถุที่ไม่เคยพบเห็น ณ ที่ตรงนั้นมาก่อน ถ้ามีข้อผิดสังเกตดังกล่าวให้นึกไว้เสมอว่า “วัตถุดังกล่าวนั้นอาจจะเป็นระเบิดแสวงเครื่อง”           เมื่อพบวัตถุต้องสงสัยดังกล่าวให้ปฏิบัติดังนี้ 1. ห้ามจับต้อง หยิบยกเครื่อนย้าย ทำให้สั่นสะเทือนหรือเคลื่อนไหวโดยเด็ดขาด 2. สอบถามหาเจ้าของหรือวัตถุต้องสงสัย หากไม่มีผู้ใดแสดงตนเป็นเจ้าของให้สันนิษฐานก่อนว่าวัตถุต้องสงสัยอาจจะเป็นวัตถุระเบิด 3. จดจําลักษณะทั่วไปของวัตถุต้องสงสัย เช่น ขนาด รูปร่าง มีเสียงการทํางาน มีสายไฟฟ้าและบริเวณที่พบเห็นเพื่อเป็นข้อมูลแก่เจ้าหน้าที่เก็บกู้วัตถุระเบิด 4. แจ้งผู้รับผิดชอบสถานที่ที่พบเห็นวัตถุต้องสงสัยทราบเพื่อแจ้งเจ้าหน้าที่บ้านเมืองต่อไป 5. อพยพผู้คนออกจากอาคารสถานที่นั้นโดยด่วน ด้วยวิธีนุ่มนวลเพื่อไม่ให้เกิดการตื่นกลัว 6. กําหนดเขตอันตรายและป้องกันบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องโดยประมาณจากขนาดของวัตถุต้องสงสัยโดยปิดกั้นระยะ ตั้งแต่ 100-400 เมตร 7. ผู้พบเห็นวัตถุต้องสงสัยให้รอให้ข้อมูลกับเจ้าหน้าที่เก็บกู้วัตถุระเบิด

แนวทางการปฏิบัติเมื่อเกิดกรณีฉุกเฉิน

Loading

แนวทางปฏิบัติ : กรณีโทรศัพท์ลึกลับหรือถูกข่มขู่ทางโทรศัพท์ โทรศัพท์ลึกลับหรือการข่มขู่ทางโทรศัพท์ มักมุ่งที่จะทำให้เราเสียขวัญ หรือก่อความรำคาญ หากสามารถวิเคราะห์ที่มาของโทรศัพท์นั้นได้ จะช่วยให้สามารถทราบร่องรอยและเป็นประโยชน์ในการสืบสวน เพื่อแก้ไขปัญหาต่อไปได้ แต่โดยทั่วไปผู้ที่ได้รับโทรศัพท์ประเภทนี้มักจะเกิดความกลัวและรีบวางหูโทรศัพท์ ซึ่งเป็นวิธีการที่ผิด แนวทางปฏิบัติ จัดเตรียมอุปกรณ์เครื่องบันทึกเสียงไว้ให้พร้อมเสมอ และต่อเครื่องโทรศัพท์พ่วงไว้ให้ผู้อื่นร่วมฟังได้ด้วย พยายามชวนผู้ที่โทรศัพท์มา ให้พูดต่อไปเรื่อย ๆ นานเท่าที่จะทำได้ พยายามพิสูจน์ทราบจากเสียงที่ได้ยินมาว่า ผู้ที่โทรศัพท์มานั้นเพศอะไร อายุประมาณเท่าใด สำเนียงการพูดเป็นอย่างไร ฯลฯ ประเมินสภาพทางจิตใจของผู้ที่โทรศัพท์มาว่าเป็นคนอย่างไร สติสมประกอบหรือไม่ พยายามสอบถามให้รู้ถึงความมุ่งหมาย หรือความตั้งใจในการโทรศัพท์มาขู่ หรือให้รู้ว่าเป็นภัยคุกคามประเภทใด พยายามจดบันทึกรายละเอียดให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ อาทิ วันที่ เวลา โทรมาจากตู้สาธารณะหรือส่วนตัว เป็นต้น พยายามฟังเสียงอื่น ๆ ประกอบเท่าที่สามารถได้ยินจากทางโทรศัพท์ เช่น เสียงรถไฟ เสียงเรือ เสียงเครื่องจักร เสียงเพลง เสียงสัตว์ ฯลฯ เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนต่อไป เมื่อวางโทรศัพท์แล้ว ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจทันที โดยเฉพาะถ้าเป็นการ ขู่วางระเบิด ดังนี้ 8.1 หมายเลขโทรศัพท์ 191 8.2 กลุ่มงานเก็บกู้และตรวจพิสูจน์วัตถุระเบิด…