ExpressVPN จะย้ายเซิร์ฟเวอร์ออกจากอินเดีย หลังกฎหมายบังคับให้เปิดเผยข้อมูลผู้ใช้

Loading

  ผู้ให้บริการ VPN เจ้าดัง “ExpressVPN” แถลงผ่าน Blog ของเว็บไซต์ว่า กำลังจะนำเซิร์ฟเวอร์ออกจากอินเดีย เพราะไม่สามารถปฏิบัติตามกฎหมายอินเดียที่ให้เปิดข้อมูลตัวตนและการใช้งานของผู้ใช้ได้   ในแถลงการณ์ยังระบุว่า ด้วยหลักการทำงานและการให้บริการ VPN ที่จะปกปิดข้อมูลของผู้ใช้ ทำให้ ExpressVPN ไม่สามารถที่จะตามข้อบังคับของรัฐบาลอินเดียได้ เพราะว่าพวกเขาไม่เคยเก็บข้อมูลของผู้ใช้บริการเอาไว้ในระบบ และตัวกฎหมายยังขัดกับหลักการพื้นฐานของ VPN อีกด้วย   นอกจากนี้ ExpressVPN ยังระบุอีกด้วยว่า จะไม่ร่วมกับการกระทำใด ๆ ที่ส่งผลต่อเสรีภาพในการใช้อินเทอร์เน็ต   ผู้ใช้งาน ExpressVPN ในอินเดียยังสามารถใช้งานเซิร์ฟเวอร์อินเดียได้ตามเดิม แต่จะเปลี่ยนที่ตั้งของเซิร์ฟเวอร์เป็น สิงคโปร์ และ อังกฤษ แทน     ที่มา – The Register, Blog ของ ExpressVPN       —————————————————————————————————————————- ที่มา :     …

Meta เผย บริษัทจะไม่เก็บข้อมูลผู้ใช้ ‘ในวิธีการใหม่’ แต่มันหมายความว่าอย่างไร?

Loading

บริษัท Meta ของ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ได้เปลี่ยนแปลงข้อกำหนดในการให้บริการ (Term of Service) ใหม่ ซึ่งแน่นอนว่า นโยบายความเป็นส่วนตัวของ Meta ก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปด้วย อย่างไรก็ตาม Meta ระบุว่า บริษัทจะไม่เก็บข้อมูลผู้ใช้ ‘ในวิธีการใหม่’ (in new ways) อ้างอิงจาก Meta การเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดการให้บริการที่ถูกเขียนขึ้นใหม่ มีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถทำความเข้าใจและวิเคราะห์เกี่ยวกับสินค้าและบริการของ Meta ได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งในตอนนี้ศูนย์ความเป็นส่วนตัว (Privacy Center) ของ Meta ก็มีอินเตอร์เฟซที่เป็นมิตรกับผู้ใช้มากขึ้น แต่คำถามก็คือ ที่ Meta บอกว่า ‘จะไม่เก็บข้อมูลผู้ใช้ในวิธีการใหม่’ มันหมายความว่าอะไร? อันดับแรกเลย Meta ก็ยังคงเป็น Facebook อยู่วันยังค่ำ ดังนั้นเราจึงไม่ควรคาดหวังอะไรมากในเรื่องความเป็นส่วนตัวจาก Meta ทั้งนี้ The Verge ได้เปรียบเทียบนโยบายเก่าและนโยบายใหม่ของบริษัท ซึ่งยืนยันแล้วว่า Meta จะไม่เก็บข้อมูลผู้ใช้ด้วยวิธีการใหม่จริง แต่นั่นก็ไม่ได้เปลี่ยนความจริงที่ว่า…

ทวิตเตอร์เสียค่าปรับ 5 พันล้านบาท หลังเปิดเผยข้อมูลผู้ใช้โดยมิชอบ

Loading

  หน่วยงานสหรัฐฯ ประกาศให้ทวิตเตอร์จ่ายค่าปรับ 5 พันล้านบาท หลังเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งาน   เมื่อวานนี้ (25 พ.ค.) กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ และคณะกรรมาธิการการค้าแห่งสหรัฐฯ ประกาศว่า ทวิตเตอร์จะต้องจ่ายค่าปรับเป็นเงิน 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 5.1 พันล้านบาท) และกำหนดมาตรการป้องกันใหม่ เพื่อยุติข้อกล่าวหาที่ว่า ทวิตเตอร์ปล่อยให้ผู้โฆษณาเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้แพลตฟอร์มโดยมิชอบ   ทั้งสองหน่วยงานเปิดเผยว่า ตั้งแต่เดือน พ.ค. 2013 ถึง ก.ย. 2019 ทวิตเตอร์ได้แจ้งแก่ผู้ใช้งานแพลตฟอร์มว่า จะขอข้อมูลหมายเลขโทรศัพท์และอีเมลของผู้ใช้ไปด้วยเหตุผลเพื่อความปลอดภัยของบัญชี     แต่กลายเป็นเรื่อง เมื่อทวิตเตอร์กลับไม่แจ้งผู้ใช้ว่า จะให้ข้อมูลเหล่านั้นแก่บริษัทต่าง ๆ เพื่อให้สามารถ “ยิงแอด” ส่งโฆษณาออนไลน์ไปยังผู้ใช้ได้   กระทรวงฯ และคณะกรรมาธิการฯ ยังบอกว่า ทวิตเตอร์ได้อ้างว่า ปฏิบัติตามข้อตกลงความเป็นส่วนตัวของสหรัฐฯ กับสหภาพยุโรปและสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งห้ามไม่ให้บริษัทนำข้อมูลผู้ใช้งานไปใช้ในลักษณะที่ขัดแย้งกับวัตถุประสงค์ที่แจ้งหรือได้รับอนุญาตจากผู้ใช้   โดยโทษปรับ 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และข้อกำหนดใหม่ภายใต้ข้อตกลง ต้องได้รับการอนุมัติจากศาลรัฐบาลกลางในแคลิฟอร์เนียด้วย…

กลโกงใหม่! อ้างเป็นจนท.โทรแจ้งตัดสัญญาณโทรศัพท์ ลวงข้อมูลส่วนตัว

Loading

  “NT เปิดรูปแบบกลลวงแบบใหม่แอบอ้างเป็นจนท.รัฐแจ้งตัดสัญญาณโทรศัพท์มือถือ หวังเหยื่อให้ข้อมูลส่วนตัว วอนประชาชนอย่าหลงเชื่อ” วันนี้ ( 26 พ.ค. 65 ) นางสาวโชติกา ไพจ์ศรี ผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT เปิดเผยว่า ขณะนี้แก๊งคอลเซ็นเตอร์กำลังระบาดหนักทั้งช่องทางออนไลน์และการโทรมาแอบอ้างในลักษณะต่างๆ ล่าสุดได้เปิดกลลวงใหม่ โดยอ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่ NT แจ้งจะระงับสัญญาณโทรศัพท์ NT จึงขอแจ้งให้ทราบว่า บริษัทไม่มีนโยบายโทรแจ้งเพื่อตัดสัญญาณโทรศัพท์แต่อย่างใด และขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อและห้ามแจ้งข้อมูลส่วนตัวโดยเด็ดขาด ซึ่งกรณีที่ผู้ใช้บริการของ NT เจอมิจฉาชีพหลอกลวงในลักษณะดังกล่าว สามารถโทรแจ้งได้ที่สายด่วน NT 02 401 2222 (ผู้ใช้บริการ NT ไม่มีค่าใช้จ่าย) NT จะดำเนินการตรวจสอบและระงับการโทรจากหมายเลขต้นทาง พร้อมแจ้งไปยังโครงข่ายประเทศต้นทางให้ระงับหมายเลขของมิจฉาชีพภายใน 72 ชั่วโมง ทั้งนี้ NT มีความห่วงใย และต้องการร่วมแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน ในกรณีที่เป็นมิจฉาชีพที่มีหมายเลขโทรศัพท์เรียกเข้าจากต่างประเทศ โดยเมื่อพบความผิดปกติจะระงับการโทรจากหมายเลขต้นทางดังกล่าวและแจ้งไปยังผู้ให้บริการในต่างประเทศตรวจสอบทันที ซึ่งพบว่าหมายเลขโทรศัพท์เรียกเข้าที่มีลักษณะผิดปกติเข้าข่ายแก๊งคอลเซ็นเตอร์จะมีรูปแบบหมายเลขต้นทางไม่ถูกต้อง หรือมีลักษณะการเรียกติดต่อไปยังหมายเลขปลายทางที่ผิดปกติ เช่น…

DuckDuckGo โดนแฉ ไม่บล็อคการตามรอยจากไมโครซอฟท์ เพราะมีสัญญาระหว่างกัน

Loading

  Zach Edwards นักวิจัยความปลอดภัย ค้นพบว่า เบราว์เซอร์ของ DuckDuckGo ที่โฆษณาว่าไม่เก็บข้อมูลใดๆ ของผู้ใช้งาน โดยบล็อคการตามรอย (tracker) ของเว็บไซต์ต่างๆ ให้ด้วย กลับอนุญาตให้ตัวตามรอยของไมโครซอฟท์ทำงานได้ตามปกติ Edwards ทดสอบกับเบราว์เซอร์ DuckDuckGo ทั้งบน iOS/Android พบว่ามันบล็อคตัวตามรอยของ Google/Facebook ได้จริงๆ แต่ไม่บล็อคตัวตามรอยของ Bing หรือ LinkedIn ที่ปัจจุบันอยู่ในเครือไมโครซอฟท์ หลังจาก Edwards โพสต์เรื่องนี้แล้ว ทาง Gabriel Weinberg ผู้ก่อตั้ง DuckDuckGo เข้ามาตอบใต้โพสต์ และยอมรับว่าบริษัทมีข้อตกลงเชิงพาณิชย์กับไมโครซอฟท์ ทำให้บริษัทไม่สามารถบล็อคการตามรอยของไมโครซอฟท์ในเบราว์เซอร์ของตัวเองได้ ส่วนบริการ search engine ของ DuckDuckGo เองยังการันตีว่าไม่ตามรอยใดๆ การเปิดเผยข้อมูลของ Weinberg ทำให้ DuckDuckGo ถูกวิจารณ์ว่าไม่โปร่งใส เพราะไม่เคยประกาศเรื่องสัญญากับไมโครซอฟท์ต่อสาธารณะมาก่อน ซึ่งบริษัทก็ออกแถลงการณ์ตามหลังว่า ไม่เคยสัญญาว่าการใช้ DuckDuckGo จะทำให้นิรนามอย่างสมบูรณ์ เพียงแต่บอกว่าการใช้…

ยูเครนใช้เทคโนโลยีระบบจดจำใบหน้าช่วยระบุตัวทหารรัสเซีย

Loading

ในภาวะสงคราม การทราบข้อมูล พร้อมทั้งสามารถระบุว่าใครเป็นใครได้นั้นถือเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นทหารที่เสียชีวิต ผู้ที่ถูกจับกุมตัว ขโมย คนที่เข้า-ออกเขตชายแดน หรือกระทั่งการบันทึกข้อมูลอาชญากรรมสงครามต่าง ๆ รัฐบาลและหน่วยงานของประเทศยูเครนจึงนำเทคโนโลยีใหม่ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์จดจำใบหน้า (facial recognition) สุดล้ำสมัยจากสหรัฐฯ เข้ามาใช้เพื่อตอบโจทย์ข้างต้น โดยเทคโนโลยีดังกล่าวสามารถระบุตัวทหารรัสเซีย ทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่และเสียชีวิต ลีโอนิด ทิมเชนโก (Leonid Tymchenko) หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการและสนับสนุนข้อมูลของตำรวจแห่งชาติยูเครน บอกกับผู้สื่อข่าว วีโอเอ ว่า เทคโนโลยีจดจำใบหน้าคือเครื่องมือที่มีประโยชน์มากสำหรับยูเครน ซึ่งมีการนำมาใช้ใน 5 หน่วยงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติของยูเครนแล้ว และ ระบบนี้ก็ทำงานได้ตามเป้าประสงค์อย่างไม่มีที่ติ   Clearview.ai – Screenshot Clearview AI บริษัทผู้ผลิตเทคโนโลยีจดจำใบหน้าจากรัฐนิวยอร์ก ซึ่งเป็นบริษัทที่ตกเป็นเป้าการถกเถียงกันอยู่ในเวลานี้ คือ ผู้ที่อนุมัติให้รัฐบาลยูเครนใช้ฐานข้อมูลใบหน้าผู้คนนับพันล้านคนเพื่อใช้ในการระบุตัวทหารรัสเซียนั้น ทั้งนี้ Clearview AI เพิ่งสิ้นสุดกระบวนการไกล่เกลี่ยคดีฟ้องร้องในชั้นศาล เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลจากซอฟต์แวร์ที่สามารถระบุและให้ข้อมูลตัวส่วนตัว โดยที่เจ้าตัวไม่ได้ยินยอม ซึ่งทางบริษัทอ้างว่า ตนเก็บข้อมูลส่วนบุคคลจากโซเชียลมีเดียและเว็บไซต์สาธารณะต่าง ๆ รวมทั้งสื่อสังคมออนไลน์ในประเทศรัสเซียอย่าง VKontakte (VK) อย่างไรก็ตาม บริษัทดังกล่าวจบคดีโดยการตกลงว่า จะขายซอฟต์แวร์ของตนให้แก่ตำรวจและหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายเท่านั้น…