จับตา! รัสเซียส่งดาวเทียมอิหร่านขึ้นสู่อวกาศ ตะวันตกกังวลใช้เล็งเป้าหมายทางทหารในยูเครน

Loading

  รัสเซียส่งดาวเทียมดวงหนึ่งของอิหร่าน ทะยานขึ้นจากคาซัคสถานในวันอังคาร (9 ส.ค.) และพุ่งสู่วงโคจร ท่ามกลางประเด็นถกเถียงว่ามอสโกอาจใช้ดาวเทียมดวงนี้สอดแนมเป้าหมายทางทหารต่างๆ ในยูเครน หลังจากถูกนานาชาติโดดเดี่ยวมากขึ้นเรื่อยๆ ตามหลังตะวันตกกำหนดมาตรการคว่ำบาตรตอบโต้กรณีรุกรานยูเครน ทางรัสเซียกำลังหาทางปักหมุดเข้าหาตะวันออกกลาง เอเชียและแอฟริกา รวมถึงเสาะหาลูกค้าใหม่ในโครงการอวกาศของพวกเขา ยูริ โบริซอฟ หัวหน้าขององค์การอวกาศสหพันธรัฐรัสเซีย (Roscosmos) กล่าวที่ศูนย์ปล่อยอวกาศยานไบโคนูร์ คอสโมโดรม ในทุ่งหญ้าสเตปป์ ประเทศคาซัคสถาน ซึ่งบริหารงานโดยมอสโก ยกย่องมันในฐานะ “หลักชัยแห่งประวัติศาสตร์ในความร่วมมือทวิภาคีระหว่างรัสเซียกับอิหร่าน เปิดทางสู่การเกิดโครงการใหม่ๆ หรือแม้กระทั่งโครงการที่ใหญ่กว่านี้” อิสซา ซาเรปูร์ รัฐมนตรีคมนาคมของอิหร่าน ซึ่งร่วมเป็นสักขีพยานการปล่อยดาวเทียม Khayyam เรียกมันว่า เป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ และจุดเปลี่ยนสำหรับการเริ่มต้นการปฏิสัมพันธ์ใหม่ๆ ในขอบเขตทางอวกาศระหว่าง 2 ประเทศ ส่วน นาสเซอร์ คานานิ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของอิหร่าน เขียนบนทวิตเตอร์ว่า “มันคือเส้นทางอันน่าอัศจรรย์แห่งความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน แม้เผชิญมาตรการคว่ำบาตรและแรงกดดันขั้นสูงสุดของศัตรู” อิหร่าน ซึ่งคงความสัมพันธ์กับมอสโก และละเว้นวิพากษ์วิจารณ์รัสเซียต่อกรณีรุกรานยูเครน พยายามกลบความสงสัยต่างๆ หลังจากมีหลายฝ่ายกังวลว่ามอสโกอาจใช้ Khayyam สอดแนมยูเครน วอชิงตัน พูดถึงการปล่อยจรวดครั้งนี้ว่า ความร่วมมือที่เพิ่มมากขึ้นระหว่างรัสเซียกับอิหร่าน สามารถถูกมองในฐานะเป็นภัยคุกคาม…

รัฐสภาอังกฤษปิดบัญชี TikTok หวั่นรัฐบาลจีนใช้สืบข้อมูล

Loading

  ในวันพุธที่ผ่านมา รัฐสภาอังกฤษได้ปิดบัญชี TikTok ที่เปิดใช้ได้เพียงหนึ่งสัปดาห์ หลังจากกลุ่มสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและเจ้าหน้าที่คนอื่น ๆ ที่ถูกรัฐบาลจีนคว่ำบาตรได้แสดงความกังวลว่า รัฐบาลจีนจะสืบข้อมูลผ่านทางแอปพลิเคชันดังกล่าว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระดับอาวุโสหลายคนได้เขียนจดหมายถึงโฆษกสภาสามัญชนในเดือนที่ผ่านมา เพื่อเตือนถึงความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของข้อมูลที่อาจจะรั่วไหลผ่านทางบริษัทสัญชาติจีน ByteDance ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ TikTok ทั้งนี้ TikTok ได้ปฏิเสธว่าไม่ได้ส่งต่อข้อมูลของสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรให้กับเจ้าหน้าที่รัฐบาลจีนแต่อย่างใด แต่ได้รับความกดดันอย่างมากจากรัฐบาลของทั้ง 2 ประเทศในการพิสูจน์ว่ามีกระบวนการป้องกันข้อมูลอย่างไรบ้าง ก่อนหน้านี้ TikTok ได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่สภาชิกสภาผู้แทนราษฎรอังกฤษ พรรคการเมืองส่วนใหญ่มีบัญชี TikTok และนักการเมืองคนสำคัญบางคนรวมถึงอดีตนายกรัฐมนตรี Boris Johnson ก็มีบัญชีส่วนตัวด้วย ที่มา: Financial Times     ที่มา : blognone    /   วันที่เผยแพร่ 4 ส.ค.65 Link : https://www.blognone.com/node/129672

รัสเซียโรงงานสร้างเลเซอร์ ใช้ทำลายการมองเห็นชั่วคราวของดาวเทียม

Loading

“รัสเซียสร้างโรงงานเลเซอร์ชื่อ “คาลินา” ใช้ส่งลำแสงเลเซอร์พลังงานสูงไปยังดาวเทียมสอดแนม เพื่อทำลายการมองเห็นชั่วคราวของดาวเทียมนั้น ๆ” จากรายงานของเดอะ สเปซ รีวิว (The Space Review) เผยว่า รัสเซียกำลังสร้างโรงงานที่มีชื่อว่าคาลินา (Kalina) อันเป็นโรงงานเลเซอร์ภาคพื้นดิน เพื่อรบกวนการทำงานของดาวเทียมในวงโคจร โดยเป็นแนวคิดพื้นฐานในการรบกวนเซ็นเซอร์ออปติคัลของดาวเทียมสอดแนมของประเทศอื่น ๆ ด้วยการใช้แสงเลเซอร์ส่อง ซึ่งหากรัฐบาลรัสเซียสามารถสร้างเลเซอร์ได้สำเร็จ ก็จะสามารถป้องกันประเทศส่วนใหญ่จากมุมมองการมองเห็นของดาวเทียมด้วยเซ็นเซอร์ออปติคัลได้ แต่ทั้งนี้ การจะบรรลุเป้าหมายนี้ จำเป็นต้องส่งแสงเลเซอร์ในปริมาณที่เพียงพอไปยังเซ็นเซอร์ดาวเทียมอย่างแม่นยำ ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เมื่อพิจารณาจากระยะทางที่ไกลมาก และความจริงที่ว่าลำแสงเลเซอร์ต้องเดินทางผ่านชั้นบรรยากาศของโลกก่อน โดยคาลินาสามารถผลิตเลเซอร์ชนิดพัลซิ่ง (Pulsed laser) ได้ที่ 1,000 จูลต่อตารางเซนติเมตร นอกจากนี้ รายงานยังเปิดเผยอีกว่า คาลินาสามารถกำหนดเป้าหมายดาวเทียมเหนือศีรษะได้เป็นระยะทางหลายร้อยไมล์ ซึ่งจะสามารถป้องกันการมองเห็นพื้นที่ขนาดใหญ่ได้มากประมาณ 100,000 ตารางกิโลเมตร เทียบเท่ากับรัฐเคนตักกี้ ในสหรัฐอเมริกาเลยทีเดียว ไม่เพียงแต่ความสามารถในการทำให้ดาวเทียมสูญเสียการมองเห็นชั่วคราว เซนเซอร์ที่มีระดับพลังงานสูง อาจนำไปสู่การทำให้อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์บนดาวเทียมเสียหายถาวร อย่างไรก็ตามในขณะที่การพัฒนาเทคโนโลยีเลเซอร์กำลังมุ่งไปในทิศทางนั้น มีการพิจารณานโยบายที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการใช้เลเซอร์ในลักษณะนี้โดยนานาชาติ การทำลายอย่างถาวรของเซ็นเซอร์ตามอวกาศโดยประเทศอาจถือได้ว่าเป็นการกระทำที่ก้าวร้าวซึ่งนำไปสู่ความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ ในปี 2019 รัสเซียเคยออกมายอมรับการมีอยู่ของเพอเรสเวท (Peresvet) ซึ่งเป็นอาวุธเลเซอร์ของรัสเซียสำหรับการป้องกันทางอากาศและการทำสงครามต่อต้านดาวเทียม แต่ไม่มีการยืนยันว่าอาวุธดังกล่าวถูกใช้สำเร็จหรือไม่ ข้อมูลจาก…

IBM ออกรายงาน เหตุการณ์ Data Breach นั้นมีค่าความเสียหายสูงขึ้นกว่าเมื่อก่อนมาก

Loading

  IBM ออกรายงาน พบว่าเหตุการณ์ Data Breach ในปัจจุบันส่งผลให้เกิดค่าใช้จ่ายสำหรับความเสียหายสูงขึ้นกว่าเมื่อก่อนมาก   IBM Security ออกรายงาน 2022 Cost of a Data Breach Report โดยเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลในด้านการรั่วไหลของข้อมูลหรือ Data Breach จากองค์กรกว่า 550 องค์กรทั่วโลก ในช่วงเดือนมีนาคม 2021 ถึงเดือนมีนาคม 2022 พบว่าค่าใช้จ่ายที่เกิดจากความเสียหายนั้นสูงแตะระดับที่ไม่เคยมีมาก่อน โดยมีค่าเสียหายเฉลี่ยอยู่ที่ 4.35 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือกว่า 159 ล้านบาท   ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์เพิ่มขึ้นประมาณ​ 13% เมื่อเทียบกับสองปีก่อน องค์กรกว่า 83% นั้นเกิดเหตุการณ์ Data Breach มากกว่า 2 ครั้ง และ 50% มีค่าใช้จ่ายในการจัดการเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นยาวนานกว่า 1 ปี ขณะที่บริษัทที่ลงทุนในระบบ Cybersecurity สมัยใหม่…

สหรัฐไต่สวนการรักษาข้อมูลการทำงานผ่านอุปกรณ์สื่อสารในกลุ่มพนักงานยูบีเอส

Loading

  ยูบีเอส กรุ๊ป ธนาคารของสวิตเซอร์แลนด์ระบุในรายงานผลประกอบการไตรมาส 2/2565 วันนี้ (26 ก.ค.) ว่า หน่วยงานกำกับดูแลกฎระเบียบของสหรัฐกำลังตรวจสอบว่า ยูบีเอส กรุ๊ป จัดเก็บข้อมูลการติดต่อสื่อสารในกลุ่มพนักงานได้อย่างเหมาะสมหรือไม่ ภายใต้การไต่สวนภาคธนาคารในวงกว้าง ทั้งนี้ สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานเมื่อปีที่ผ่านมาว่า คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐฯ (SEC) อยู่ระหว่างการตรวจสอบว่า บรรดาธนาคารในตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ เก็บรักษาข้อมูลการติดต่อสื่อสารของพนักงานในช่วงที่ต้องทำงานที่บ้านเพราะโรคระบาดได้อย่างเพียงพอหรือไม่ เช่น ข้อความและอีเมล ในเดือน ธ.ค. SEC และคณะกรรมาธิการซื้อขายสัญญาล่วงหน้าสินค้าโภคภัณฑ์ (CFTC) ได้ทำการสั่งปรับเจพี มอร์แกน ซีเคียวริตี้ส์ เป็นเงิน 200 ล้านดอลลาร์ โทษฐานล้มเหลวเป็นวงกว้างในการรักษาข้อมูลพนักงานบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ส่วนบุคคล แอปพลิเคชัน เช่น วอตส์แอปป์ และอีเมล “SEC และ CFTC กำลังไต่สวนยูบีเอสและสถาบันการเงินแห่งอื่น ๆ เรื่องการปฏิบัติตามข้อบังคับการเก็บรักษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารทางธุรกิจที่ส่งผ่านช่องทางข้อความอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ได้รับการอนุมัติ โดยยูบีเอสสมัครใจให้ความร่วมมือกับการไต่สวนครั้งนี้” ยูบีเอสระบุในรายงานประจำไตรมาส แบงก์ ออฟ อเมริกาเปิดเผยในสัปดาห์ที่ผ่านมาว่าได้กันเงินสำรองเอาไว้ประมาณ 200 ล้านดอลลาร์ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการสะสางประเด็นด้านกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการใช้โทรศัพท์ส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับอนุญาต โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์…

T-Mobile ยอมจ่ายชดเชย 12,800 ลบ. ให้ลูกค้าโทรคมนาคม หลังถูกแฮ็กพาข้อมูลรั่ว

Loading

T-Mobile ผู้ให้บริการโทรคมนาคมในสหรัฐฯ ยอมจ่ายชดเชย 12,800 ลบ. ให้ลูกค้า หลังถูกแฮ็กพาข้อมูลของกว่า 76 ล้านคน รั่ว T-Mobile ยอมจ่ายเงิน 350 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 12,800 ล้านบาท เพื่อเป็นเงินชดเชยในการยุติคดีจากลูกค้าที่ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากการที่บริษัทปล่อยให้ข้อมูลของตนเองรั่วไหลออกมา ราว 76.6 ล้านคน พร้อมกับลงทุนเพิ่มอีก 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 5,400 ล้านบาท ในระบบความปลอดภัยไซเบอร์ โดยในการฟ้องร้อง T-Mobile ให้การปฎิเสธว่า ตนเองละเลยการปกป้องข้อมูลของลูกค้าและปฎิเสธข้อกล่าวหาที่ว่าบริษัทมีระบบความปลอดภัยที่ไม่เพียงพอ จากรายงานของ T-Mobile ระบุว่า มีการเจาะเข้าระบบฐานข้อมูลของบริษัท เมื่อเดือนสิงหาคม 2564 ซึ่ง ณ ขณะนั้นระบุว่ามีข้อมูลลูกค้ารั่วไหลไปประมาณ 47 ล้านราย แต่ยอดข้อมูลของลูกค้าที่รั่วไหลออกไปกลับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเป็น 50 ล้านคน และในเดือนพฤศจิกายน บริษัทก็รายงานตัวเลขอีก 26 ล้านคน ที่ถูกโจรกรรมข้อมูลไป T-Mobile ได้กล่าวว่าข้อมูลดังกล่าวรวมถึงชื่อ ที่อยู่ วันเกิด…