อัปเดตพลาด เซิร์ฟเวอร์มหาลัยเกียวโต ทำข้อมูลวิจัยหายกว่า 77 TB

Loading

เคยหงุดหงิดเพราะไฟล์งานหายไหม ? . เชื่อเถอะว่าแค่ไฟล์ไม่กี่ไฟล์ก็อาจเปลี่ยนชีวิตคนหนึ่ง ๆ ได้เลย แต่ถ้าเทียบกับเคสนี้แล้ว คงอาจเปลี่ยนชีวิตของใครหลายคน เมื่อมหาลัยวิทยาลัยเกียวโต ทำข้อมูลการวิจัยกว่า 77 TB หายไป จากการอัปเดตซอฟต์แวร์ภายในเซิร์ฟเวอร์ . เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นกับซูเปอร์คอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยที่ได้รับการอัปเดตซอฟต์แวร์ที่ผิดพลาดสำหรับระบบสำรองข้อมูล โดยบังเอิญไปลบไฟล์ 34 ล้านไฟล์ในระยะเวลาสองวัน . ต้นเหตุของการสูญเสียข้อมูลมาจากสคริปต์ที่ผิดพลาด ซึ่งเดิมที่ตั้งใจจะลบไฟล์บันทึกเก่าที่ไม่จำเป็นออกจากซูเปอร์คอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการอัปเดตซอฟต์แวร์ แต่มันจบลงด้วยการลบข้อมูลการวิจัยกว่า 77 TB และมีข้อมูลบางส่วนที่ไม่สามารถกู้คืนกลับมาได้ . อย่างไรก็ตาม ซัพพลายเออร์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยเกียวโต Hewlett Packard Japan (HPE) ได้ออกมายอมรับความรับผิดชอบ 100 เปอร์เซ็นต์สำหรับเหตุการณ์นี้และได้ออกจดหมายขอโทษไปให้กับมหาวิทยาลัยแล้วครับ . งานนี้ได้แต่ภาวนาให้พวกเขากู้ข้อมูลกลับมาได้หรือมีการ Backup ข้อมูลไว้บ้างแล้วนะ… . ที่มาข้อมูล https://www.techspot.com/news/92822-japanese-university-loses-77tb-research-data-following-buggy.html     ที่มา : techhub        /  วันที่เผยแพร่ 4 ม.ค.2565…

ช็อก!รวบเจ้าของรพ.วัย42 ออกใบรับรอง ‘ไม่ติดโควิดปลอม’ กว่า 6 พันใบ

Loading

ช็อก! รวบเจ้าของรพ.วัย 42 ออกใบรับรอง ‘ไม่ติดโควิดปลอม’ กว่า 6 พันใบ หลังหนีไปกบดานที่อินเดีย เผยออกใบรับรองปลอมแล้วกว่า 1 หมื่นใบ แต่ตรวจจริง 4.2 พันใบ เมื่อวันที่ 16 ก.ค. ทางการบังกลาเทศจับกุม นายโมฮัมเหม็ด ชาเฮด เจ้าของโรงพยาบาล ที่ถูกกล่าวหาว่าออกใบรับรองว่าไม่ติดเชื้อโควิด-19 ปลอม เป็นจำนวนกว่า 6,000 ใบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขณะพยายามหลบหนีไปยังประเทศอินเดีย นับเป็นการสิ้นสุดการไล่ล่าตัวระยะเวลายาวนาน 9 วันลง รายงานข่าวระบุว่า นายชาเฮด วัย 42 ปี เป็น 1 ในผู้ต้องหากว่า 10 ราย ที่เกี่ยวข้องกับการออกใบรับรองปลอมดังกล่าว ที่ทางการเข้าควบคุมตัวในช่วงหลายวันที่ผ่านมา โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจบังกลาเทศระบุว่า คลินิคของนายชาเฮด 2 แห่ง ออกใบรับรองการไม่ติดเชื้อโควิด-19 ปลอมไปแล้วถึง 10,500 ใบ ในจำนวนนี้ 4,200 ใบ มีการตรวจเชื้อจริง…

ปลอมลายเซ็นขโมยเงินหลวง 33 ล้าน ข้องใจเข้าระบบได้ไง

Loading

รวบลูกจ้างสำนักงานจังหวัดแสบ ปลอมลายเซ็นยักยอกเงินหลวง 33 ล้านบาท เล่นการพนันออนไลน์ ด้านพ่อเมืองประจวบ ข้องใจเป็นแค่พนักงานจ้างสัญญา 2 ปีแต่เข้าถึงระบบได้ เมื่อวันที่ 21 มิ.ย. นายพัลลภ สิงหเสนี ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้ลงนามมอบอำนาจพร้อมสั่งการให้ นางกัลยารัตน์ นิลอ่อน หัวหน้าสำนักงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เข้าแจ้งความร้องทุกข์ที่ สภ.เมืองประจวบคีรีขันธ์ ภายหลังมีการตรวจสอบพบพนักงานวิชาการการเงินและบัญชี ที่สำนักงานจังหวัด ยักยอกเงินงบประมาณของทางราชการรวม 33 ล้านบาท จากนั้นได้นำเอกสารหลักฐานเข้าแจ้งความร้องทุกข์ ต่อมาพนักงานสอบสวนได้นำหลักฐานขอศาลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ออกหมายจับที่ จ. 47 /63 ลงวันที่ 20 มิ.ย. 2563 ข้อหายักยอกทรัพย์ ปลอมเอกสารของทางราชการ และใช้เอกสารปลอม พร้อมแจ้งให้เจ้าหน้าที่ชุดสอบสวน จับกุม นางสาวขนิษฐาหอยทอง อายุ 28 ปี บุตรสาวของอดีตกำนัน ต.คลองวาฬรายหนึ่ง พนักงานวิชาการการเงินและบัญชี สำนักงานจังหวัด อยู่บ้านเลขที่ 82/21 หมู่ 8 ต.คลองวาฬ อ.เมืองประจวบคีรีขันธ์ จากนั้นเจ้าหน้าที่ได้เดินทางไปที่สำนักงานจังหวัดชั้น…

ว่าด้วยเอกสารราชการที่กำหนดชั้นความลับ

Loading

  จากวิทยาการสมัยใหม่ที่ผ่านมา โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร ส่งผลต่อรูปแบบของข้อมูลข่าวสารที่สามารถแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ ข้อมูลข่าวสารที่จับต้องได้ เช่น ข้อมูลข่าวสารในหนังสือ กับข้อมูลข่าวสารที่จับต้องไม่ได้ คือ ข้อมูลข่าวสารที่บันทึกด้วยสัญญาณ ต้องมีเครื่องมืออุปกรณ์แปลงสัญญาณนั้นก่อน จึงจะสื่อความเข้าใจได้ เช่น ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น จากการนำมาใช้งานของส่วนราชการ ข้อมูลข่าวสารทั้ง 2 รูปแบบดังกล่าวจึงถูกแบ่งลักษณะออกเป็นข้อมูลข่าวสารทั่วไป และข้อมูลข่าวสารที่กำหนดชั้นความลับหรือมีความสำคัญ จากลักษณะการใช้งานนี้จึงเป็นผลให้ต้องกำหนดระเบียบราชการ เพื่อเป็นแนวทางบริหารและปฏิบัติ กับเป็นแนวทางดูแล คุ้มครองและป้องกันการสูญหาย ถูกปรับเปลี่ยน แก้ไขเนื้อความไปจากเดิม หรือถูกนำไปเปิดเผยก่อนเวลาอันควร หรือรั่วไหลไปสู่ผู้ที่ไม่มีอำนาจหน้าที่ สำหรับรูปแบบข้อมูลข่าวสารของหน่วยงานของรัฐที่ใช้ปฏิบัติงานอยู่ขณะนี้ ส่วนใหญ่เป็นเอกสารบันทึกบนกระดาษ นับเป็นประเภทหนึ่งของข้อมูลข่าวสารที่จับต้องได้ จำเป็นต้องกำหนดระเบียบปฏิบัติสำหรับเอกสารราชการ เพื่อให้หน่วยงานทุกประเภทของรัฐอยู่บนบรรทัดฐานเดียวกัน ที่สำคัญคือ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ ซึ่งเป็นแนวทางบริหารจัดการงานเอกสารราชการ สำหรับการดูแล คุ้มครอง และป้องกันนั้น แต่เดิมถือปฏิบัติตามบทการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับเอกสารของระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ.2517 แต่ภายหลังการประกาศใช้พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 และเพื่อให้รองรับมาตรา 16 และมาตรา 26 ของพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงกำหนดระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ.2544 ซึ่งเนื้อความของระเบียบการรักษาความลับของทางราชการนั้นปรับมาจากบทการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับเอกสารของระเบียบการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ.2517…

ปล่อยน้ำเน่า เข้าบ่อปลา

Loading

คอลัมน์ ข้าราษฎร โดย สายสะพาย ชาวบ้านใน 3 อำเภอ ในจังหวัดอุบลราชธานีได้รับความเดือดร้อนจากโรงงานผลิตเอทานอล ได้มอบอำนาจให้นายตัวแทนขอข้อมูลข่าวสารจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม รวม 4 รายการ เพื่อนำไปฟ้องร้องดำเนินคดี ได้แก่ 1.รูปแสดงพื้นที่ แผนผังโรงงานของบริษัทอุบลและบริษัทในเครืออีก 2 บริษัท 2.รายงานการศึกษาและมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมฉบับเดือนกรกฎาคม 2552 3.มาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม มาตรการติดตามตรวจสอบ รายงานการวิเคราะห์ที่บริษัทต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัดที่จัดทำขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2558 และ 4.ใบอนุญาตให้ตั้งโรงงาน ต่อมากรมโรงงานอุตสาหกรรมมีหนังสือแจ้งเปิดเผยข้อมูลข่าวสารรายการที่ 4 คือใบอนุญาต แต่ปฏิเสธเปิดเผยรายการที่ 1-3 นายตัวแทนจึงมีหนังสืออุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร นายตัวแทนชี้แจงต่อคณะกรรมการวินิจฉัยฯ ว่ากลุ่มบริษัทนี้ได้ขออนุญาตจัดตั้งโรงงานซึ่งในใบอนุญาตไม่ระบุว่าบ่อบำบัดน้ำเสียอยู่ติดแม่น้ำลำโดมใหญ่ ต่อมาคันดินกั้นบ่อน้ำเสียพัง น้ำเสีย 400,000 ลูกบาศก์เมตรไหลลงแม่น้ำ ปลาที่ชาวบ้านเลี้ยงไว้มากมายตาย จากนั้นในช่วงเดือนกรกฎาคมทุกปีจะเปิดเขื่อนที่กั้นแม่น้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วม ปลาก็จะตายอีกครั้งหนึ่ง ชาวบ้านจึงรวมตัวร้องเรียน ซึ่งสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ให้กลุ่มบริษัททำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมใหม่และได้ให้ความเห็นชอบแล้ว แต่ชาวบ้านทราบว่าก่อนการก่อสร้างโรงงานได้มีรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่จัดทำเมื่อเดือนกรกฎาคม 2552 ฉบับหนึ่งแล้วจึงต้องการได้ข้อมูลนี้ เพราะได้แจ้งความดำเนินคดีกับบริษัทต่อพนักงานสอบสวน และฟ้องกรมควบคุมมลพิษต่อศาลปกครองแล้ว ส่วนผู้แทนกรมโรงงานอุตสาหกรรมชี้แจงว่า ข้อมูลข่าวสาร 3 รายการที่ไม่เปิดเผยนั้น เพราะเป็นเอกสารที่ส่งไปประกอบการพิจารณาและบริษัทไม่ประสงค์ให้เปิดเผย เนื่องจากจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจ ประกอบกับเห็นว่ามีข้อมูลกระบวนการผลิตและเทคโนโลยีของบริษัทที่เป็นความลับตามมาตรา…