ธ.เครดิตสวิสฟ้องคนปล่อยข้อมูลบัญชีฐาน ‘จารกรรม’ พร้อมเอาผิดสื่อ 39 ประเทศที่ร่วม ‘SuisseSecret’

Loading

ภาพปกโดย alex.ch   ธนาคารเครดิตสวิสเตรียมดำเนินคดีข้อหาจารกรรมข้อมูลทางเศรษฐกิจกับผู้ปล่อยข้อมูลบัญชีลูกค้าธนาคารกว่า 30,000 ชื่อ หลังจากรัฐสภาสวิสมีมติไม่ปฏิรูปกฎหมายการธนาคารที่ละเมิดเสรีภาพสื่อ และสื่อมวลชนจาก 39 ประเทศอาจโดนหางเลขจากการเปิดโปงข้อมูลธุรกรรมน่าสงสัยของบุคคลผู้ทรงอิทธิพลทั่วโลกในโครงการ SuisseSecrets   สำนักข่าวของประเทศสวิตเซอร์แลนด์รายงานเมื่อต้นเดือน ก.พ. ที่ผ่านมาว่าธนาคารเครดิตสวิส (Credit Suisse Bank) ธนาคารที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์เตรียมฟ้องดำเนินคดีกับบุคคลผู้ให้ข้อมูลบัญชีลูกค้าของธนาคารกว่า 30,000 บัญชีที่นำไปสู่การเผยแพร่รายงานข่าว ‘สวิสซีเคร็ตส์’ (SuisseSecrets) หรือโครงการข่าวสืบสวนสอบสวนข้ามชาติเพื่อเปิดโปงข้อมูลการทำธุรกรรมที่น่าสงสัยในธนาคารเครดิตสวิส ซึ่งธุรกรรมเหล่านั้นอาจเชื่อมโยงกับการทำธุรกิจผิดกฎหมาย การทุจริต หรือการกระทำที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยมีข้อมูลของนักธุรกิจและอดีตข้าราชการชาวไทยบางคนที่เคยมีประวัติทางการเงินหรืออาชญากรรมปรากฏร่วมอยู่ในรายงานดังกล่าว   โครงการรายงานอาชญากรรมและการทุจริต (Organized Crime and Corruption Reporting Project: OCCRP) ผู้เปิดเผยรายงานข่าวสืบสวนสอบสวนดังกล่าวร่วมกับสื่อจาก 39 ประเทศทั่วโลก รวมถึงประชาไท เปิดเผยว่าอัยการสวิสเริ่มต้นการสืบสวนสอบสวนหาผู้กระทำความผิดฐานเผยแพร่ข้อมูลทางบัญชีของธนาคารเครดิตสวิส รวมถึงเตรียมฟ้องดำเนินคดีกับผู้สื่อข่าวและสำนักข่าวที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคล แม้ว่าข้อมูลบางส่วนจะสามารถบ่งชี้ได้ว่าบุคคลนั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมหรือการกระทำความผิดด้านอื่นๆ เช่น การฟอกเงิน การหลบเลี่ยงภาษี หรือการนำเงินที่อาจเกี่ยวกับการกระทำความผิดไปฝากในดินแดนภาษีต่ำ (Tax Haven) ที่ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีและธุรกิจ เป็นต้น  …

คณะกรรมาธิการยุโรปสั่งแบน “TikTok” บนอุปกรณ์ของหน่วยงาน

Loading

    คณะกรรมาธิการยุโรป สั่งแบนการใช้งานแอปพลิเคชัน TikTok บนอุปกรณ์ของทางการทั้งหมด เนื่องจากกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยทางไซเบอร์   คำสั่งดังกล่าวกำหนดให้เจ้าหน้าที่ของคณะกรรมธิการยุโรปซึ่งเป็นองค์กรฝ่ายบริหารของสหภาพยุโรป ต้องทำการลบแอปพลิเคชัน TikTok ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันชื่อดังที่ขึ้นชื่อเรื่องวิดีโอสั้น ๆ ของจีน ออกจากอุปกรณ์ของที่ทำงาน รวมทั้งอุปกรณ์ส่วนตัวที่ใช้ทำงาน ภายในวันที่ 15 มี.ค.นี้ เนื่องจากกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยทางไซเบอร์   ด้านโฆษกคณะกรรมาธิการยุโรป เปิดเผยว่า มาตรการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อปกป้องคณะกรรมธิการจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ และการกระทำใด ๆ ที่อาจเปิดทางให้เกิดการโจมตีทางไซเบอร์ได้ พร้อมทั้งระบุด้วยว่า เป็นเพียงมาตรการชั่วคราว และจะมีการตรวจสอบอย่างต่อเนื่องและอาจมีการพิจารณาใหม่อีกครั้ง     ขณะที่ทาง TikTok ออกมาเคลื่อนไหวแล้ว โดยแสดงความผิดหวังต่อการตัดสินใจดังกล่าว และระบุว่า เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากความเข้าใจผิด แม้ว่าก่อนหน้านี้ TikTok จะออกมาเปิดเผยต่อผู้ใช้งานในยุโรปว่า พนักงานในจีนอาจเข้าถึงข้อมูลได้ก็ตาม   โฆษกของบริษัท เปิดเผยว่า ได้ติดต่อไปชี้แจงข้อเท็จจริงกับคณะกรรมาธิการยุโรปแล้ว พร้อมทั้งอธิบายว่าทางบริษัทปกป้องข้อมูลของผู้ใช้งาน 125 ล้านคนทั่วสหภาพยุโรปที่เข้ามาใช้ TikTok ทุก ๆ เดือนได้อย่างไร   นอกจากนี้…

แคนาดาเผยพบทุ่นสังเกตการณ์ หลักฐานบ่งชี้จีน “พยายามสอดแนม” พื้นที่อาร์กติก

Loading

  แคนาดาเผยพบทุ่นสังเกตการณ์ หลักฐานบ่งชี้จีน “พยายามสอดแนม” ภูมิภาคอาร์กติก   แคนาดาเผยพบทุ่นสังเกตการณ์ – วันที่ 23 ก.พ. บีบีซี รายงานว่า กองทัพแคนาดา แถลงพบหลักฐานที่บ่งชี้ว่าทางการจีนพยายามสอดแนม ภูมิภาคอาร์กติก หรือบริเวณขั้วโลกเหนือ ซึ่งประกอบไปด้วยพื้นที่บางส่วนของประเทศต่าง ๆ ครอบคลุมถึงแคนาดา กรีนแลนด์ ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ สวีเดน ฟินแลนด์ และสหรัฐอเมริกา   หลังทีมเจ้าหน้าที่ในภารกิจ “โอเปอเรชั่นลิมปิด” ภารกิจสืบภัยคุกคามต่อความมั่นคงของประเทศด้วยการตรวจตราทางอากาศ ทางบก และทางทะเลของกองทัพแคนาดา ค้นพบทุ่นสังเกตการณ์ช่วงปลายปีก่อน     นายดาเนียล เลอ บูติลิเยร์ โฆษกสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติ กล่าวว่ากองทัพตระหนักดีถึงความพยายามของจีนในการสอดแนมน่านฟ้าและเส้นทางการเดินเรือของแคนาดา จีนทำสิ่งนี้โดยใช้เทคโนโลยีเพื่อจุดประสงค์ 2 ด้าน หมายความว่าอุปกรณ์ที่จีนใช้สอดแนมสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเพื่อการวิจัยและการทหาร   พร้อมเสริมว่ากองทัพได้ยับยั้งการเข้าสอดแนมในแคนาดาตั้งแต่ปี 2565 แต่ไม่ได้ระบุรายละเอียดว่าจีนพยายามล้วงข้อมูลลับด้วยวิธีใด ทั้งนี้ ในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมาจีนส่งเจ้าหน้าที่ระดับสูงเข้าไปในพื้นที่ขั้วโลกเหนือมากถึง 33 ครั้ง หนำซ้ำยังส่งเรือตัดน้ำแข็งและเรือขนาดใหญ่…

สื่อเผยจีนห้ามยักษ์ใหญ่เทคโนฯให้บริการ “ChatGPT” หวั่นถูกสหรัฐใช้เป็นเครื่องมือ

Loading

    หน่วยงานกำกับดูแลกฎระเบียบจีนสั่งห้ามบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ของจีนให้บริการแชตจีพีที (ChatGPT) ต่อสาธารณชนท่ามกลางกระแสความวิตกกังวลในจีน เกี่ยวกับกรณีที่ ChatGPT ตอบคำถามผู้ใช้งานแบบไม่มีการเซ็นเซอร์คำตอบ   สำนักข่าวนิกเกอิเอเชีย รายงานโดยอ้างอิงข้อมูลจากแหล่งข่าวว่า เทนเซ็นต์ โฮลดิงส์ และแอนท์ กรุ๊ป ซึ่งเป็นบริษัทฟินเทคในเครืออาลีบาบา กรุ๊ป โฮลดิง ถูกทางการจีนสั่งห้ามเสนอบริการ ChatGPT บนแพลตฟอร์มของทางบริษัท ไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงแบบโดยตรงหรือผ่านบุคคลที่สามก็ตาม   ขณะเดียวกันแหล่งข่าวระบุว่า บริษัทเทคโนโลยีในจีนต้องรายงานให้หน่วยงานกำกับดูแลกฎระเบียบจีนรับทราบ ก่อนที่จะดำเนินการเปิดตัวบริการแชตบอตสไตล์ ChatGPT ของตนเอง   รายงานระบุว่า ChatGPT ที่พัฒนาโดยโอเพ่นเอไอ (OpenAI) และได้รับการสนับสนุนจากไมโครซอฟท์นั้นไม่ได้มีการเปิดบริการอย่างเป็นทางการในจีน แต่ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตบางรายสามารถเข้าใช้บริการ ChatGPT ผ่านเครือข่ายส่วนตัวเสมือน (VPN) ขณะเดียวกันยังมี “โปรแกรมขนาดเล็ก” (Mini Program) หลายสิบโปรแกรม ที่บรรดานักพัฒนาบุคคลที่สามเปิดตัวบนแอปพลิเคชันสื่อสังคมออนไลน์วีแชท (WeChat) ของเทนเซ็นต์ ซึ่งอ้างว่าสามารถให้บริการ ChatGPT ได้   ภายใต้แรงกดดันด้านกฎระเบียบ เทนเซ็นต์จึงแก้ปัญหาด้วยการระงับบริการของบุคคลที่สาม ไม่ว่าบริการเหล่านี้จะเชื่อมโยงกับ ChatGPT หรือเป็นเพียงโปรแกรมลอกเลียนแบบก็ตาม…

1 ปีที่โลกวุ่น สายสืบออสซี่งานรุม เพราะสายลับต่างประเทศเกลื่อน

Loading

    “ไมค์ เบอร์เกส” อธิบดีองค์กรข่าวกรองความมั่นคงแห่งออสเตรเลีย (เอเอสไอโอ) เผยว่า ภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้นจากการแทรกแซงต่างประเทศ ในรัฐบาลออสเตรเลีย และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ทำให้องค์กรสายลับงานล้นมากกว่าเหตุก่อการร้าย 9/11 หรือเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ ในช่วงสงครามเย็น   สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานถ้อยแถลงการประเมินภัยคุกคามประจำปีของเบอร์เกส ระบุว่า ออสเตรเลียเผชิญกับความท้าทายอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน จากหน่วยสืบราชการลับและการแทรกแซงของต่างประเทศ     ตลอด 12 เดือนที่ผ่านมา เอเอสไอโอเข้าสลายรังสายลับที่ทำงานให้กับปฏิบัติการแทรกแซงต่างประเทศ บางคนได้รับหน้าที่ปฏิบัติงานเมื่อหลายปีก่อน   นั่นหมายความว่า เอเอสไอโองานรุมเร้าอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน งานยุ่งกว่าช่วงเวลาอื่น ๆ ในประวัติศาสตร์ 74 ปี งานมากกว่าช่วงสงครามเย็น และเหตุก่อการร้าย 9/11   เอเอสไอโอได้ทำลายแผนรัฐบาลต่างประเทศ ที่สอดแนมนักข่าวออสเตรเลียระดับอาวุโส ผ่านการศึกษาดูงานปลอม ๆ และตรวจสอบแนวทางที่น่าสงสัยให้กับสมาชิกตุลาการ   ทั้งนี้ เบอร์เกสไม่ได้ระบุชื่อประเทศที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานแทรกแซงต่างประเทศ เพียงแต่ทิ้งปมไว้ว่า ความหลากหลายของหน่วยสืบราชการลับในหลายรัฐบาล อาจทำให้ทุกคนต้องเซอร์ไพรส์        …

เอกสารหลุดเผยรัสเซียวางแผนควบคุม – ผนวกดินแดนเบลารุส

Loading

    เว็บไซต์ยาฮู รายงานวันนี้ (21 ก.พ.) ว่า เอกสารกลยุทธ์ภายในที่รั่วไหลออกมาจากสำนักงานบริหารของประธานาธิบดีวลาดีมีร์ ปูติน ผู้นำรัสเซียได้แสดงให้เห็นถึงแผนการอย่างละเอียดของรัสเซียที่จะเข้าควบคุมเบลารุสซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านอย่างเต็มที่ภายในทศวรรษหน้าภายใต้ข้ออ้างด้านการรวมตัวกันระหว่างสองประเทศ   เอกสารดังกล่าวระบุถึงรายละเอียดของการผนวกดินแดนด้วยวิธีการทางการเมือง เศรษฐกิจ และทางทหารโดยรัสเซีย ซึ่งกำลังทำสงครามเพื่อครอบครองยูเครนด้วยกำลังทหารอย่างเต็มที่   นายไมเคิล คาร์เพนเตอร์ เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำองค์การความมั่นคง และความร่วมมือในยุโรป (OSCE) กล่าวว่า “เป้าหมายของรัสเซียในเบลารุสนั้นเหมือนกันกับยูเครน ต่างกันเพียงแค่ว่าจะใช้การบีบบังคับแทนที่การทำสงครามกับเบลารุส โดยเป้าหมายในท้ายที่สุดก็คือ การรวมตัวกันครั้งใหญ่”   ข้อมูลในเอกสารดังกล่าว ซึ่งระบุวันออกเอกสารเมื่อฤดูใบไม้ร่วงปี 2564 ระบุว่า เป้าหมายสุดท้ายคือ การจัดตั้งรัฐสหภาพรัสเซีย และเบลารุสภายในปี 2573 ทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการรวมตัวของทั้งสองชาติได้ผ่านการพิจารณาแล้ว   รวมทั้งการประสานกันของกฎหมายเบลารุสเข้ากับกฎหมายของสหพันธรัฐรัสเซีย ไปจนถึงนโยบายการต่างประเทศ และกลาโหม ที่ร่วมมือกัน และความร่วมมือทางการค้า และเศรษฐกิจบนพื้นฐานของรัสเซีย และผลประโยชน์ของรัสเซียที่ต้องมาก่อน และเน้นย้ำถึงอิทธิพลที่เหนือกว่าของสหพันธรัฐรัสเซียในด้านสังคม และการเมือง การค้า และเศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์และการศึกษา ตลอดจนวัฒนธรรมสารสนเทศ   ในทางปฏิบัติแล้ว การผนวกรวมดังกล่าว จะเป็นการลบล้างอำนาจอธิปไตยของเบลารุส และทำให้ประเทศนี้กลายเป็นประเทศบริวารของรัสเซีย…