ดูท่าทีย้อนแย้งของโดนัลด์ ทรัมป์ กรณีรัสเซียโจมตีไซเบอร์แทรกแซงเลือกตั้งสหรัฐฯ

Loading

  สื่อตั้งข้อสังเกตท่าทีของประธานาธิบดีสหรัฐฯ กรณีรัสเซียแทรกแซงเลือกตั้งสหรัฐฯ เมื่อปี 2559 ระบุ ว่าก่อนหน้าการเข้ารับตำแหน่งทรัมป์ เองก็เคยแฉพฤติการณ์ดังกล่าว แต่หลังจากที่ตัวเองได้ตำแหน่งแล้วก็เริ่มกลับคำและพูดถึงเรื่องนี้แบบไม่เต็มปากเท่าเดิม เมื่อไม่นานนี้มีการพบปะหารือระหว่างโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐฯ กับ วลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย รวมถึงมีการสั่งลงโทษเจ้าหน้าที่ทหารของรัสเซียที่ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งปี 2559 ของสหรัฐฯ ทำให้ประเด็นข้อกล่าวหาเรื่องการแทรกแซงของรัสเซียกลับมาเป็นที่สนใจอีกครั้ง สื่อนิวยอร์กไทม์นำเสนอในเรื่องนี้โดยตั้งข้อสังเกตย้อนไปตั้งแต่ช่วงก่อนทรัมป์เข้ารับตำแหน่งว่า ทรัมป์เคยนำเสนอหลักฐานด้านข่าวกรองที่แสดงให้เห็นว่าปูตินเป็นผู้สั่งโจมตีทางไซเบอร์เพื่อปั่นป่วนการเลือกตั้งสหรัฐฯ ในปี 2559 หลักฐานที่ทรัมป์นำเสนอในครั้งนั้นมีทั้งเอกสารและอีเมลจากเจ้าหน้าที่กองทัพรัสเซียและข้อมูลลับสุดยอดอื่นๆ จากแหล่งที่ใกล้ชิดกับปูติน โดยในข้อมูลเหล่านี้เปิดเผยว่ารัสเซียพยายามแฮ็กระบบและใช้วิธีการใส่ร้ายป้ายสีในการป่วนการเลือกตั้งสหรัฐฯ อย่างไร แต่หลังจากนั้นทรัมป์ก็ไม่ได้พูดถึงข้อค้นพบข้างต้นอย่างชัดเจนและหลังจากการประชุมร่วมกับรัสเซียในช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาที่ฟินแลนด์ก็ตอบคำถามนักข่าวเรื่องการแทรกแซงของรัสเซียโดยบอกว่ารัสเซียไม่ได้ตั้งเป้าหมายกับสหรัฐฯ ซึ่งฟังดูขัดแย้งกับสิ่งที่ผู้อำนวยการหน่วยข่าวกรองแห่งชาติ แดน โคท กล่าวไว้หลายวันก่อนหน้านี้ แม้ว่าเขาจะนั่งห่างจากทรัมป์ออกไปไม่มากนักในห้องทำงานคณะรัฐมนตรี อีกไม่กี่ชั่วโมงต่อมาทรัมป์ก็ให้สัมภาษณ์กับสื่อซีบีเอสในแบบที่กลับคำอีกครั้ง โดยบอกว่าโดยส่วนตัวแล้วเขาโทษปูตินในเรื่องการแทรกแซงการเลือกตั้งสหรัฐฯ แต่ก็เชื่อว่าปูตินมีส่วนเกี่ยวข้องในทางอ้อมในฐานะ “ผู้เป็นผู้นำประเทศ” เท่านั้นไม่ใช่ในทางตรง รวมถึงอาจจะมีคนกลุ่มอื่นก็ได้ที่ก่อเหตุ สำหรับสาเหตุที่ทรัมป์ต้องกลับคำไปมาเช่นนี้ มีผู้ช่วยประธานาธิบดีที่ใกล้ชิดกับทรัมป์แต่ไม่ประสงค์ออกนามบอกกับสื่อนิวยอร์กไทม์ว่าเป็นเพราะถ้าหากทรัมป์ยอมรับว่ามีการพยายามแทรกแซงการเลือกตั้งปี 2559 จากรัสเซียแล้ว ถึงแม้ว่าจะบอกว่าเป็นการแทรกแซงที่ไม่สำเร็จก็ตาม มันก็จะทำให้เกิดการตั้งคำถามต่อความชอบธรรมในการตำรงตำแหน่งปัจจุบันของทรัมป์ ตัวอย่างที่ดีที่สุดสำหรับเรื่องนี้ต้องย้อนไปเมื่อวันที่ 6 ม.ค. 2560 มีการประชุมสรุปประเมินสถานการณ์ย่อๆ จากเจ้าหน้าที่ระดับสูงฝ่ายความมั่นคงหลายคนของสหรัฐฯ เจ้าหน้าที่ผู้ที่เข้าร่วมประชุมด้วยในวันนั้นบอกว่ามีการนำเสนอข้อมูลข่าวกรองจำนวนมากที่แสดงให้เห็นว่าปูตินมีบทบาทในการแทรกแซงการเลือกตั้งสหรัฐฯ เช่น อีเมลที่ฝ่ายข่าวกรองกองทัพรัสเซียฉกมาได้จากพรรคเดโมแครตและวางแผนร่วมกับวิกิลีคส์ว่าจะเผยแพร่อีเมลนี้อย่างไรดี…

ดูท่าทีย้อนแย้งของโดนัลด์ ทรัมป์ กรณีรัสเซียโจมตีไซเบอร์แทรกแซงเลือกตั้งสหรัฐฯ

Loading

  สื่อตั้งข้อสังเกตท่าทีของประธานาธิบดีสหรัฐฯ กรณีรัสเซียแทรกแซงเลือกตั้งสหรัฐฯ เมื่อปี 2559 ระบุ ว่าก่อนหน้าการเข้ารับตำแหน่งทรัมป์ เองก็เคยแฉพฤติการณ์ดังกล่าว แต่หลังจากที่ตัวเองได้ตำแหน่งแล้วก็เริ่มกลับคำและพูดถึงเรื่องนี้แบบไม่เต็มปากเท่าเดิม เมื่อไม่นานนี้มีการพบปะหารือระหว่างโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐฯ กับ วลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย รวมถึงมีการสั่งลงโทษเจ้าหน้าที่ทหารของรัสเซียที่ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งปี 2559 ของสหรัฐฯ ทำให้ประเด็นข้อกล่าวหาเรื่องการแทรกแซงของรัสเซียกลับมาเป็นที่สนใจอีกครั้ง สื่อนิวยอร์กไทม์นำเสนอในเรื่องนี้โดยตั้งข้อสังเกตย้อนไปตั้งแต่ช่วงก่อนทรัมป์เข้ารับตำแหน่งว่า ทรัมป์เคยนำเสนอหลักฐานด้านข่าวกรองที่แสดงให้เห็นว่าปูตินเป็นผู้สั่งโจมตีทางไซเบอร์เพื่อปั่นป่วนการเลือกตั้งสหรัฐฯ ในปี 2559 หลักฐานที่ทรัมป์นำเสนอในครั้งนั้นมีทั้งเอกสารและอีเมลจากเจ้าหน้าที่กองทัพรัสเซียและข้อมูลลับสุดยอดอื่นๆ จากแหล่งที่ใกล้ชิดกับปูติน โดยในข้อมูลเหล่านี้เปิดเผยว่ารัสเซียพยายามแฮ็กระบบและใช้วิธีการใส่ร้ายป้ายสีในการป่วนการเลือกตั้งสหรัฐฯ อย่างไร แต่หลังจากนั้นทรัมป์ก็ไม่ได้พูดถึงข้อค้นพบข้างต้นอย่างชัดเจนและหลังจากการประชุมร่วมกับรัสเซียในช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาที่ฟินแลนด์ก็ตอบคำถามนักข่าวเรื่องการแทรกแซงของรัสเซียโดยบอกว่ารัสเซียไม่ได้ตั้งเป้าหมายกับสหรัฐฯ ซึ่งฟังดูขัดแย้งกับสิ่งที่ผู้อำนวยการหน่วยข่าวกรองแห่งชาติ แดน โคท กล่าวไว้หลายวันก่อนหน้านี้ แม้ว่าเขาจะนั่งห่างจากทรัมป์ออกไปไม่มากนักในห้องทำงานคณะรัฐมนตรี อีกไม่กี่ชั่วโมงต่อมาทรัมป์ก็ให้สัมภาษณ์กับสื่อซีบีเอสในแบบที่กลับคำอีกครั้ง โดยบอกว่าโดยส่วนตัวแล้วเขาโทษปูตินในเรื่องการแทรกแซงการเลือกตั้งสหรัฐฯ แต่ก็เชื่อว่าปูตินมีส่วนเกี่ยวข้องในทางอ้อมในฐานะ “ผู้เป็นผู้นำประเทศ” เท่านั้นไม่ใช่ในทางตรง รวมถึงอาจจะมีคนกลุ่มอื่นก็ได้ที่ก่อเหตุ สำหรับสาเหตุที่ทรัมป์ต้องกลับคำไปมาเช่นนี้ มีผู้ช่วยประธานาธิบดีที่ใกล้ชิดกับทรัมป์แต่ไม่ประสงค์ออกนามบอกกับสื่อนิวยอร์กไทม์ว่าเป็นเพราะถ้าหากทรัมป์ยอมรับว่ามีการพยายามแทรกแซงการเลือกตั้งปี 2559 จากรัสเซียแล้ว ถึงแม้ว่าจะบอกว่าเป็นการแทรกแซงที่ไม่สำเร็จก็ตาม มันก็จะทำให้เกิดการตั้งคำถามต่อความชอบธรรมในการตำรงตำแหน่งปัจจุบันของทรัมป์ ตัวอย่างที่ดีที่สุดสำหรับเรื่องนี้ต้องย้อนไปเมื่อวันที่ 6 ม.ค. 2560 มีการประชุมสรุปประเมินสถานการณ์ย่อๆ จากเจ้าหน้าที่ระดับสูงฝ่ายความมั่นคงหลายคนของสหรัฐฯ เจ้าหน้าที่ผู้ที่เข้าร่วมประชุมด้วยในวันนั้นบอกว่ามีการนำเสนอข้อมูลข่าวกรองจำนวนมากที่แสดงให้เห็นว่าปูตินมีบทบาทในการแทรกแซงการเลือกตั้งสหรัฐฯ เช่น อีเมลที่ฝ่ายข่าวกรองกองทัพรัสเซียฉกมาได้จากพรรคเดโมแครตและวางแผนร่วมกับวิกิลีคส์ว่าจะเผยแพร่อีเมลนี้อย่างไรดี นอกจากนี้ยังมีการพูดถึงแหล่งข่าวกรองที่เป็นบุคคลยึนยันบทบาทของปูตินในกรณีนี้เช่นกัน…

นักวิจัยสามารถทำการโจมตีแบบ GPS Spoofing ได้สำเร็จกับระบบนำทาง

Loading

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Virginia Tech, มหาวิทยาลัย Electronic Science และ Technology of China และทีมวิจัยของ Microsoft ได้ร่วมกันค้นพบวิธีการโจมตีแบบ GPS Spoofing ที่ทดสอบแล้วว่าสามารถใช้ได้ผลจริงกับระบบนำทางบนถนน GPS Spoofing ถูกพูดถึงมาหลายปีแล้วแต่ไม่สามารถใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรมเพราะมีปัญหาเรื่องทำได้ไม่ตรงกับถนนจริง แต่ทีมนักวิจัยที่ผนึกกำลังกันครั้งนี้ได้คิดค้นวิธีการที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิมและสังเกตได้ยาก โดยวิธีการนี้ผู้โจมตีสามารถหลอกล่อให้เหยื่อหลงตามไปกับเส้นทางที่ถูกเลือกมาอย่างไม่ถูกต้อง อย่างไรก็ตามสิ่งที่ผู้โจมตีต้องทราบคือจุดหมายปลายทางคร่าวๆ ของเหยื่อและตัวเหยื่อเองต้องไม่ใช่ผู้ที่คุ้นกับเส้นทางในพื้นที่ โดยนักวิจัยได้ใช้ข้อมูลจริงของแท๊กซี่ใน แมนแฮตตัน และ บอสตัน กว่า 600 เส้นทางเพื่อคิดค้นอัลกอริธึมที่สร้างเส้นทางเสมือนที่เลียนแบบรูปร่างของถนนจริง ซึ่งเหมาะกับเมืองที่มีถนนหนาแน่น วิธีการคือผู้โจมตีจะสร้างสัญญาณ GPS แบบผิดๆ เพื่อพยายามตั้งค่าสุดท้ายให้เข้าใกล้จุดที่ต้องการ (Ghost Location) ระบบนำทางจะมีการคำนวณค่าเส้นทางใหม่ที่นักวิจัยให้ชื่อว่า Ghost Route และนำทางเหยื่อไปทีละทิศทางจนไปจบยังจุดหมายที่ต้องการ นอกจากนี้เพื่อให้สังเกตได้ยาก Ghost Route ถูกสร้างขึ้นจากการเก็บเส้นทางของแท๊กซี่ โดยอัลกอริธึมถูกรันในแต่ละส่วนของถนนเพื่อหา Ghost Location ที่เป็นไปได้ ซึ่งจากการทดสอบมีค่าเฉลี่ยของ Ghost Route ได้ถึง 1,500 ครั้งของการวิ่งแต่ละรอบ…

อุทธรณ์ยกฟ้อง “วัฒนา เมืองสุข” ให้สัมภาษณ์นักข่าวหน้าบันไดศาล ไม่ละเมิดอำนาจ

Loading

MGR Online – อุทธรณ์ยกฟ้อง “วัฒนา เมืองสุข” ยืนแถลงข่าวบริเวณหน้าบันไดศาลอาญา เมื่อปี 60 ระหว่างค้านฝากขังคดีผิด พ.ร.บ.คอมพ์ ชี้ตอบคำถามเหมือนกับบุคคลทั่วไป และไม่ได้เกี่ยวข้องกับการพิจารณาคดีหรือมีผลกระทบต่อคดีจึงไม่ละเมิดอำนาจศาลวันนี้ (17 ก.ค.) เมื่อเวลา 10.00 น. ที่ห้องพิจารณา 909 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ศาลนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีละเมิดอำนาจศาล หมายเลขดำที่ ล.14/2560 ที่ผู้อำนวยการศาลอาญา เป็นผู้กล่าวหานายวัฒนา เมืองสุข อายุ 60 ปี อดีต รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และสมาชิกพรรคเพื่อไทย เป็นผู้ถูกกล่าวหา  กรณีเมื่อวันที่ 28 ส.ค. 2560 นายวัฒนา ผู้ถูกกล่าวหา พร้อมด้วยนายนรินทร์พงศ์ จินาภักดิ์ ทนายความของนายวัฒนา ได้มายื่นคำร้องอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งฝากขังของพนักงานสอบสวนกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) ในคดีกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 ต่อศาลอาญา หลังจากนั้นได้ไปยืนแถลงข่าวบริเวณหน้าบันไดศาลอาญาต่อสื่อมวลชน โดยไม่ได้ขออนุญาตจากอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาเพื่อเผยแพร่ข่าว อันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติ…

สุดแสบ! FBI รวบอดีตวิศวกร ‘แอปเปิล’ ฉกข้อมูลลับโครงการ ‘รถยนต์ไร้คนขับ’ ก่อนชิ่งไปซบบริษัทจีน

Loading

เอเจนซีส์ – ทางการสหรัฐฯ ตั้งข้อหาอดีตวิศวกรซึ่งขโมยข้อมูลลับในโครงการพัฒนารถยนต์ไร้คนขับ (self-driving car) ของ ‘แอปเปิล อิงค์’ ก่อนจะยื่นใบลาออกเพื่อไปทำงานกับบริษัทสตาร์ทอัปของจีน จาง เสี่ยวหลาง (Xiaolang Zhang) ถูกเจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลางสหรัฐฯ (เอฟบีไอ) จับกุมข้อหาขโมยความลับทางการค้าในโครงการของแอปเปิล ซึ่งมีระวางโทษจำคุกสูงสุด 10 ปี และปรับอีกไม่เกิน 250,000 ดอลลาร์ บริษัทไอทียักษ์ใหญ่ซึ่งมีฐานอยู่ที่รัฐแคลิฟอร์เนียยืนยันกับเอเอฟพีว่า “แอปเปิล ให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา และการเก็บข้อมูลเหล่านี้เป็นความลับ” “เราได้ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ในประเด็นนี้ และจะทำทุกวิถีทางเพื่อให้มั่นใจว่า บุคคลคนนี้และคนอื่นๆ ที่อาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องถูกนำตัวมารับผิดชอบในสิ่งที่พวกเขาทำ” เอกสารคำฟ้องที่เอฟบีไอยื่นต่อศาลแขวงแคลิฟอร์เนีย ระบุว่า จาง ได้รับการว่าจ้างเมื่อปี 2015 ให้เข้าร่วมทีมพัฒนาฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์สำหรับใช้ในรถยนต์ไร้คนขับ ซึ่งถือเป็นโครงการ “ลับสุดยอด” ของ แอปเปิล เมื่อเดือน เม.ย. เขาได้ใช้สิทธิ์ยื่นใบลาในฐานะบิดาเพื่อดูแลภรรยาหลังคลอดบุตร (paternity leave) และพาครอบครัวเดินทางกลับจีน เมื่อกลับเข้าทำงานกับอีกครั้งในช่วงปลายเดือน เม.ย. จาง ก็บอกกับเจ้านายที่ แอปเปิล ว่าต้องการลาออกเพื่อกลับไปดูแลมารดาที่ป่วย โดยมีแผนจะสมัครงานกับ เสี่ยวเผิง มอเตอร์ส…