สิทธิความเป็นส่วนตัวทางดิจิทัลกำลังเป็นประเด็นพิจารณาในศาลสูงสุดสหรัฐฯ

Loading

  ศาลสูงสุดแห่งสหรัฐฯ กำลังทบทวนอำนาจของตำรวจในการดูข้อมูลในโทรศัพท์มือถือโดยไม่มีหมายค้น ศาลสูงสุดแห่งสหรัฐฯ เเสดงท่าทีเมื่อเร็วๆ นี้ว่าอาจจะออกกฏระเบียบใหม่เพื่อควบคุมอำนาจของหน่วยงานบังคับใช้กฏหมายของสหรัฐฯ ในการติดตามการเคลื่อนไหวของปัจเจกบุคคลด้วยการเข้าไปดูข้อมูลในโทรศัพท์มือถือของคนที่ตกเป็นเป้าสงสัย การไต่สวนคำร้องในศาลสูงสุดของสหรัฐฯ ครั้งนี้ อาจนำไปสู่การตัดสินใจที่สำคัญในประเด็นที่ถกเถียงกันมาตลอด เกี่ยวกับการปกป้องเสรีภาพประชาชนในยุคที่เทคโนโลยีกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ประเด็นที่ถกกันคือ ควรหรือไม่ที่ตำรวจมีอำนาจจะเข้าถึงข้อมูลในโทรศัพท์มือถือ ที่ช่วยระบุว่าผู้ใช้อยู่ที่ไหนได้โดยไม่ต้องขอหมายค้นจากศาล การทบทวนเรื่องนี้สืบเนื่องมาจากการตัดสินให้ชายอเมริกัน นายทิโมธี คาร์เพนเตอร์ (Timothy Carpenter) มีความผิดในข้อหาการปล้นหลายครั้ง ย้อนไปในปี 2010 กับ 2011 เพราะคณะอัยการได้ข้อมูลในโทรศัพท์มือถือของนายคาร์เพนเตอร์ที่ระบุว่าเขาอยู่ที่ใดในช่วงระยะเวลาหลายเดือนที่เกิดเหตุ ข้อมูลนี้มีส่วนสำคัญที่นำไปสู่การตัดสินว่าเขามีความผิดตามข้อกล่าวหา เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ทีมทนายความของ American Civil Liberties Union หรือ ACLU ได้เเสดงข้อโต้เเย้งต่อศาลสูงสุดของสหรัฐฯ ว่าควรมีข้อกำหนดว่าตำรวจจะต้องได้รับหมายค้นจากศาลเสียก่อนที่จะสามารถเข้าไปดูข้อมูลบันทึกการใช้โทรศัพท์มือถือของผู้ต้องหา ทีมทนายความดังกล่าวยังโต้เเย้งด้วยว่า การอนุญาตให้ตำรวจเข้าไปดูข้อมูลการใช้โทรศัพท์มือถือของผู้ต้องสงสัยโดยไม่มีหมายค้น ถือว่าละเมิดสิทธิส่วนบุคคลตามที่ระบุไว้ในกฏหมายรัฐธรรมนูญ ในบทบัญญัติฉบับเเก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 4 ที่ห้ามตำรวจทำการค้นตัวเเละยึดของใช้ส่วนตัวของผู้ต้องหาอย่างไม่มีเหตุผล เนธาน ฟรีด วีสสเล่อร์ (Nathan Freed Wessler) ทนายความของเอซีเอลยู (ACLU) กล่าวกับบรรดาผู้สื่อข่าวด้านนอกศาลสูงสุดของสหรัฐฯ ในกรุงวอชิงตัน หลังการไต่สวนของศาลว่า เป็นไปไม่ได้ที่ประชาชนจะใช้ชีวิตประจำวันโดยไม่ทิ้งร่องรอยของการใช้โทรศัพท์มือถือที่ชี้ว่า ณ…

จีนสั่งปิดเว็บไซต์กว่าหมื่นแห่งในช่วงสามปี ด้วยเหตุผลด้านความมั่นคง

Loading

                       ตั้งแต่ต้นปี 2558 เป็นต้นมา ทางการจีนได้สั่งปิดเว็บไซต์ไปแล้วกว่า 13,000 แห่ง ด้วยเหตุผลเรื่องการละเมิดกฎหมายหรือกฎเกณฑ์เกี่ยวกับความมั่นคงแห่งชาติ ความสงบเรียบร้อยของสังคม และการเผยแพร่เนื้อหาลามกอนาจารและความรุนแรงทางอินเทอร์เน็ต                      ตั้งแต่ประธานาธิบดี สีจิ้นผิง ขึ้นรับตำแหน่งเมื่อ 5 ปีที่แล้ว รัฐบาลจีนได้เพิ่มมาตรการควบคุมอินเทอร์เน็ต                      นักวิเคราะห์กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นความพยายามของทางการจีนเพื่อจำกัดเสรีภาพของการแสดงออก และการวิพากษ์ตำหนิพรรคคอมมิวนิสต์จีน            …

ศาลพม่าฝากขังต่อ 2 นักข่าวรอยเตอร์ เจอข้อหาเผยความลับทางการ เจ้าตัวยันทำหน้าที่สื่อ

Loading

นายจ่อ โซ อู เข้ากอดน้องสาว ขณะลงจากรถเมื่อเดินทางมาถึงศาล ชานกรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม (รอยเตอร์) เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า นายวา โลน อายุ 31 ปี และนายจ่อ โซ อู อายุ 27 ปี สองผู้สื่อข่าวพม่าของสำนักข่าวรอยเตอร์ ปรากฏตัวเป็นครั้งแรกนับจากถูกทางการพม่าจับกุมตัวภายใต้รัฐบัญญัติว่าด้วยความลับทางราชการเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน โดยทั้งสองถูกนำตัวขึ้นศาลพม่าในวันเดียวกันนี้ ซึ่งศาลได้มีคำสั่งให้ฝากขังต่อเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ในระหว่างรอการพิจารณาคดี รอยเตอร์รายงานว่า ผู้สื่อข่าวรอยเตอร์ทั้งสองคนที่ถูกควบคุมขึ้นรถตู้มายังที่ทำการศาล ที่ตั้งอยู่ชานเมืองนครย่างกุ้ง ได้รับอนุญาตให้ได้พบหน้ากับครอบครัวและทนายความเป็นครั้งแรกนับจากถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมตัวไปตั้งแต่เมื่อค่ำวันที่ 12 ธันวาคมที่ผ่านมา ในข้อกล่าวหาครอบครองเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการปราบปรามทางทหารในรัฐยะไข่ของกองทัพพม่า ซึ่งขัดต่อรัฐบัญญัติว่าด้วยความลับทางราชการ สองผู้สื่อข่าวรอยเตอร์เปิดเผยว่า พวกเขาไม่ได้รับการปฏิบัติที่ไม่ดีในระหว่างที่ถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมตัวอยู่สำนักงานตำรวจแต่อย่างใด “สถานการณ์ตอนนี้โอเคอยู่ เราจะเผชิญหน้ากับมันให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะเราไม่ได้ทำผิด เราไม่เคยละเมิดกฎหมายหรือจรรยาบรรณสื่อ” นายวา โลน กล่าวภายหลังขึ้นศาล ที่มีครอบครัวและทนายความของผู้สื่อข่าวรอยเตอร์ทั้งสองคนได้รับอนุญาตให้เข้าไปในศาลเท่านั้น โดยมีผู้สื่อข่าวและช่างภาพหลายสิบคนที่มารอทำข่าวอยู่หน้าศาล นายถั่น…

“สโนว์เดน” โชว์แอปใหม่เปลี่ยนสมาร์ทโฟนเป็นกล้องวงจรปิด ป้องกันภัยสอดแนม

Loading

เอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน (Edward Snowden) อดีตเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯหรือ NSA ที่กลายเป็นผู้เปิดโปงภารกิจลับสุดยอดของ NSA จนโด่งดังทั่วโลก ประกาศเปิดตัวแอปพลิเคชันสมาร์ทโฟนใหม่ชื่อ “แฮเวน” (Haven) จุดเด่น คือ การเปลี่ยนสมาร์ทโฟนให้เป็นกล้องวงจรปิดพกพาที่สามารถป้องกันการถูกสอดแนม เบื้องต้น Haven พร้อมเปิดให้ทุกคนทดลองใช้ฟรี โดยเฉพาะนักข่าวที่อาจถูกผู้มีอิทธิพลคุกคามEdward Snowden นั้น เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะจอมแฉที่เปิดเผยโครงการสอดแนมของสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา สิ่งที่ Snowden กำลังทำในขณะนี้ คือ การพัฒนาตัวช่วยให้ประชาชนทั่วโลกรู้สึกปลอดภัยมากขึ้น ด้วยการพัฒนาแอปพลิเคชันชื่อ Haven ซึ่ง Snowden การันตีว่าสามารถเปลี่ยนโทรศัพท์ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ (Android) ให้เป็นระบบป้องกันการสอดแนมแบบออลอินวันครบวงจรSnowden บอกเล่าถึงแอปพลิเคชันนี้โดยเปรียบเทียบกับสุนัขเฝ้ายาม ที่เจ้าของสามารถพาสุนัขแสนซื่อสัตย์ไปที่ห้องในโรงแรม แล้ววางสุนัขทิ้งไว้ในห้องได้แม้เจ้าของจะไม่อยู่ในห้องแล้ว จุดนี้ Snowden ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวไวรด์ (Wired) ในรายงานที่เผยแพร่เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า แอปพลิเคชันนี้จะไม่ต่างจากเจ้าหมาแสนรู้ที่สามารถเป็นพยานบอกเล่าทุกอย่างที่เกิดขึ้นเมื่อเจ้าของไม่อยู่ แนวคิดของแอปพลิเคชัน Haven นั้น เรียบง่าย ผู้ใช้ต้องติดตั้งแอปพลิเคชันไว้ที่สมาร์ทโฟนที่ควรเป็นโทรศัพท์ราคาไม่แพง ซึ่งผู้ใช้สามารถวางทิ้งไว้ไกลตัวได้ จากนั้น ก็วางโทรศัพท์ไว้ในที่ที่ผู้ใช้ต้องการระวังการถูกสอดแนมวิธีนี้จะทำให้ผู้ใช้ที่อาจอยู่ในห้องพักที่โรงแรมในฮ่องกง แล้วกังวลว่า ผู้มีอิทธิพลบางรายกำลังพยายามสอดแนมติดตามพฤติกรรม สามารถติดตั้ง Haven…

เอฟบีไอ เตือน “ของเล่น” อาจเป็นเครื่องโจรกรรมข้อมูลส่วนตัว

Loading

สำนักงานสอบสวนกลางสหรัฐฯ หรือ เอฟบีไอ ออกมาเตือนว่า ของเล่นที่เด็กๆได้รับในวันคริสต์มาสหรือวันปีใหม่นั้น อาจกลายเป็นฝันร้ายสำหรับคุณได้ เพราะนี่อาจเป็นอุปกรณ์ให้เหล่าแฮกเกอร์เข้ามาล้วงข้อมูลส่วนตัวกันถึงในบ้านได้ เอฟบีไอ ไม่ได้ระบุว่า ของเล่นประเภทใดหรือจากบริษัทใดที่มีความเสี่ยง แต่ให้คำจำกัดความรวมๆว่า ของเล่นที่มีไมโครโฟน กล้อง และระบบติดตามหรือระบุพิกัด เป็นคุณสมบัติของเล่นที่เสี่ยงต่อการถูกเจาะข้อมูลและระบบความปลอดภัยของเด็กๆและครอบครัวคุณได้ ของเล่นที่มีความเสี่ยงอาจจะเป็นตุ๊กตาพูดโต้ตอบกับเด็ก หรือแท็ปเล็ตเพื่อการเรียนรู้ที่ดูไร้พิษสง เนื่องจากของเล่นเหล่านี้อาจหลุดรอดสายตาจากแผนกตรวจสอบความปลอดภัย เพื่อให้วางขายให้ทันช่วงคริสต์มาสและปีใหม่ อย่างไรก็ตาม ใครที่ซื้อของเล่นสำหรับลูกหลานไปแล้ว แต่ไม่แน่ใจว่าของเล่นนั้นมีความเสี่ยงหรือไม่ ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยของเทคโนโลยี แนะนำวิธีง่ายๆให้ห่างไกลจากการถูกโจรกรรมข้อมูล จากของเล่นหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใกล้ตัว 1. ค้นหาข้อมูลของขวัญหรือของเล่นต้องสงสัย – คำแนะนำจาก เบห์นัม ดายานิม (Behnam Dayanim) ผู้เชี่ยวชาญด้านความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ของ Paul Hasting Law ก่อนแกะกล่องของเล่นหรือแก็ตเจ็ตที่ได้มาในวันคริสต์มาส สละเวลาอันมีค่า ค้นหาเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของสินค้านั้นๆ เข้าไปที่ Privacy Policy หรือ นโยบายด้านความเป็นส่วนตัว ถ้าไม่มีให้โทรศัพท์ไปสอบถามโดยตรง อีกวิธีง่ายๆ คือ อ่านรีวิวหรือคำวิจารณ์ถึงสินค้าเหล่านั้นบนอินเตอร์เน็ตก่อนแกะกล่อง ถ้าพบว่ามีความเห็นที่สุ่มเสี่ยงเรื่องความปลอดภัยในการใช้สินค้าเหล่านั้น จะช่วยในการตัดสินใจได้ว่าจะเก็บไว้หรือเอาไปคืนดีหรือไม่ 2. เพิ่มความปลอดภัยให้ Wi-Fi ที่บ้าน –หากของเล่นนั้นต้องเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต ควรยกระดับความปลอดภัยของอินเตอร์เน็ต Wi-Fi…

Okai Chisato อดีตสมาชิกวง ℃-ute เผย “ถูกแอบถ่ายภาพ” ขณะกำลังซื้อของ

Loading

ดาราสาว “Okai Chisato” (23 ปี) อดีตสมาชิกของกลุ่มไอดอลหญิง 5 คน วง “℃-ute” ที่เพิ่งยุบวงอย่างเป็นทางการไปเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ได้เปิดเผยผ่านบล็อกส่วนตัวเกี่ยวกับ “การถูกแอบถ่ายภาพ” สร้างความเป็นห่วงให้เหล่าแฟนคลับอย่างมาก โดยเมื่อคืนวันที่ 17 ธันวาคม Okai Chisato ได้เขียนบล็อกในหัวข้อ “บอกกันก่อนสิ!” พร้อมเล่าเรื่องราวถูกแอบถ่ายโดยมีเนื้อหาคร่าว ๆ ว่า “วันนี้ฉันไปซื้อของที่ร้านแห่งหนึ่ง มีคู่รักอยู่คู่นึงที่ร้านนั้น ระหว่างที่แฟนสาวของเขากำลังเข้าห้องลองเสื้อผ้า ฉันคิดว่าฝ่ายชายจะรู้ว่าฉันคือ Chisato…และเขาก็แอบถ่ายภาพฉัน” พร้อมเล่ารายละเอียดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอีกว่า “ผลสุดท้าย เขาก็แกล้งทำเป็นถ่ายภาพทั่วทั้งร้าน แถมยังถ่ายวิดีโออีกด้วย” นอกจากนี้ เธอยังได้เขียนในบล็อกอีกว่า “มันโอเคเหรอ? กับการถ่ายภาพผู้หญิงคนอื่นทั้ง ๆ ที่ตัวเองก็มีแฟนอยู่แล้ว! ถ้าเป็น Chisato ล่ะก็คงรู้สึกโกรธแน่” อีกทั้งยังได้พูดติดตลกอีกว่า “อีกอย่างนะ วันนั้นฉันไม่ได้แต่งหน้าด้วย…ถ้าจะถ่ายรูปก็บอกกันบ้างสิคะ! อย่างน้อยก็ให้ทาลิปสติกสักนิดก็ยังดี” หลังจากบล็อกดังกล่าวได้ถูกเผยแพร่ ทำให้มีเหล่าแฟนคลับหลั่งไหลมาแสดงความคิดเห็นมากมาย เช่น “พฤติกรรมแบบนี้ไม่สมควรให้อภัย”, “การแอบถ่ายภาพเป็นอาชญากรรมนะ!”, “จะมาอ้างว่า ‘เพราะเธอเป็นดาราเลยแอบถ่ายรูปได้’ มันก็ไม่ถูกต้องนะ” อย่างไรก็ตาม การแอบถ่ายภาพบุคคลหรือสถานที่สาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตถือเป็นเรื่องผิดกฎหมายในประเทศญี่ปุ่น จึงควรระมัดระวังการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลเมื่อไปเที่ยวในประเทศญี่ปุ่นกันนะคะ ที่มา : ANNGLE มองญี่ปุ่นในมุมที่แตกต่าง ลิงค์ :  http://anngle.org/th/news/tousatsusarechisato.html