รู้จัก ‘แฮกเกอร์สายขาว’ ของไทย ผู้ปกป้องเงินในบัญชีของคุณ

Loading

ปัจจุบันธนาคารพาณิชย์ในไทยผลักดันให้ลูกค้าหันมาทำธุรกรรมการเงินออนไลน์ ซึ่งนอกจากจะช่วยประหยัดเวลา ลดต้นทุนของธนาคาร ธนาคารมักยืนยันว่ามีความปลอดภัย แต่ลูกค้ามั่นใจได้จริงแค่ไหน พิชญะ โมริโมโต พยายามแฮกเข้าระบบของธนาคารเป็นประจำและมักประสบผลสำเร็จ แต่ต่างจากอาชญากรไซเบอร์ เพราะเขาเป็น “แฮกเกอร์สายขาว” ซึ่งหน้าที่ก็คือช่วยให้เงินฝากในบัญชีของธนาคารปลอดภัยมากยิ่งขึ้น สิ่งที่เขาพบก็คือระบบการรักษาความปลอดภัยของธนาคารโดยรวมยังมีจุดอ่อน “ยังไม่ค่อยปลอดภัยเท่าที่ควร ยังมีหลาย ๆ ครั้ง ที่พบช่องโหว่ที่มีความรุนแรงสูงมาก แต่ไม่มีการซ่อมแซม” พิชญะ ผู้มีตำแหน่งผู้ให้คำปรึกษาด้านความปลอดภัย ของบริษัท SEC Consult กล่าว ส่องเทคโนโลยีปี 2560 : ธนาคารใหญ่จะพ่ายโจรไซเบอร์ ขุดบิทคอยน์: อาชีพเสริมใหม่ หรือ กระแสชั่วคราว? บริการยิ่งหลากหลายยิ่งเสี่ยงมากขึ้น ตามระเบียบของธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งในประเทศจะต้องทดสอบความปลอดภัยของระบบอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งโดยผู้ตรวจสอบจากนอกองค์กร นั่นหมายถึงธนาคารต้องจ้างมืออาชีพตรวจสอบด้านความปลอดภัยระบบอย่าง พิชญะ เข้ามาทำงาน สิ่งที่เขาทำคือจำลองสถานการณ์เหมือนเป็นแฮกเกอร์ที่พยายามเจาะระบบ เพื่อวิเคราะห์ว่าสามารถโจมตีทางใดได้บ้างและรายงานต่อธนาคารเพื่อแก้ไข พิชญะ อธิบายว่าความเสี่ยงของระบบนั้นขึ้นอยู่กับสิ่งที่เรียกว่า attack surface นั่นคือช่องทางหรือพื้นที่แฮกเกอร์สามารถทำงานได้ กล่าวคือ ยิ่งมีบริการออนไลน์หลายรูปแบบ ยิ่งมีโอกาสเกิดช่องโหว่ได้มากขึ้น “เขาอาจจะมองว่าถึงมีช่องโหว่จริง แต่เขาก็มีทีมมอร์นิเตอร์และมั่นใจว่าจะระงับเหตุได้ทันท่วงที” พิชญะกล่าว แต่ในมุมมองของเขา…

นักวิทยาศาสตร์สวิสพัฒนา ‘หุ่นยนต์สี่ขา’ สามารถเดินได้อย่างมั่นคงสำหรับงานกู้ภัย

Loading

เทคโนโลยีสมัยใหม่ช่วยเร่งการพัฒนาหุ่นยนต์เพื่อทำงานแทนมนุษย์ในงานหลายรูปแบบ ผู้คนเคยเห็นหุ่นที่มีความเหมือนมนุษย์จริงทำถูกใช้งานต้อนรับลูกค้ากันมาแล้ว บางครั้งหุ่นมีหน้าที่เฉพาะและมีลักษณะแตกต่างไปจากคนอย่างสิ้นเชิง หุ่นยนต์อีกประเภทหนึ่งคือที่สามารถเคลื่อนที่ได้อย่างมั่นคง ซึ่งเป็นงานพัฒนาของนักวิจัย Marco Hutter แห่ง Autonomous Systems Lab ที่เมืองซูริค ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ รูปพรรณสัณฐานของหุ่นยนต์นี้ซึ่งถูกตั้งชื่อว่า ANYmal มีความคล้ายสัตว์สี่ขา Marco Hutter ผู้ประดิษฐ์ กล่าวว่า หุ่น ANYmal เคลื่อนที่ทีละขาและมีความมั่นคงเป็นพิเศษ งานที่เหมาะกับสิ่งประดิษฐ์นี้คือการเคลื่อนที่บนสภาพพื้นผิวที่มีสิ่งกีดขวางและคาดเดายากว่าพื้นที่ข้างหน้าเป็นเช่นใด บริษัทที่เป็นเจ้าของหุ่นรุ่นนี้คือ ANYbotics ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยบริษัทตั้งเป้าที่จะนำหุ่น ANYmal ออกขายเชิงพาณิชย์ในอนาคต Marco Hutter กล่าวว่าหุ่น ANYmal สามารถวางแผนที่จะเดินก้าวต่อไปเมื่อทราบถึงลักษณะพื้นผิวจากก้าวที่เพิ่งเหยียบลง นอกจากจะมีกล้องติดตัวที่อ่านค่าความร้อนได้แล้ว ANYmal มีเซนเซอร์จับการเคลื่อนไหวก๊าซรอบตัว จึงทำให้พวกมันเหมาะงานสำรวจแหล่งปิโตรเลียม และแหล่งแร่ส่วนความสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างมั่นคงเป็นจุดเด่นสำหรับภารกิจกู้ภัย (รัตพล อ่อนสนิท เรียบเรียงจากรายงานของ Arash Arabasadi) —————————————————————- ที่มา : VOA thai / 16 พฤศจิกายน 2560 Link…

นาฬิกาอัจฉริยะสำหรับเด็ก ถูกแบนแล้วในเยอรมนี

Loading

  น่าสนใจทีเดียวกับมาตรการของหน่วยงานจากรัฐบาลของเยอรมนีอย่าง Bundesnetzagentur ที่ออกมาประกาศ “แบนนาฬิกาอัจฉริยะ” สำหรับเด็กแล้ว พร้อมเรียกร้องให้ผู้ปกครองที่ซื้อนาฬิกาดังกล่าวให้เด็ก ๆ “ทำลาย” นาฬิกาทิ้งด้วย ความเคลื่อนไหวครั้งนี้ คาดว่าเป็นผลมาจากความกังวลเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวของเด็ก ๆ ว่าจะอาจจถูกคุกคามจากช่องโหว่ในอุปกรณ์เหล่านี้นั่นเอง โดยประธานของ Bundesnetzagentur อย่าง Jochen Homann ให้สัมภาษณ์ว่า ผู้ปกครองสามารถเปิดเข้าไปในแอปพลิเคชัน และสามารถฟังเสียงสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็กได้ แต่ข้อมูลเหล่านี้จะถูกส่งผ่านระบบเครือข่ายโดยที่ไม่มีการรักษาความเป็นส่วนตัว ทำให้มีโอกาสที่จะถูกบุคคลภายนอกแอบฟังได้เช่นกัน ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ต้องบอกว่าในสังคมเยอรมนีมีความกังวลเกี่ยวกับการใช้งานอุปกรณ์ Wearable สำหรับเด็กเพิ่มมากขึ้น และเคยมีคณะกรรมการผู้บริโภคนอร์วีเจียน (Norwegian Consumer Council) ได้ออกมาเตือนไม่ให้ผู้ปกครองซื้อนาฬิกาที่แสดงตำแหน่งผ่านระบบ GPS ให้บุตรหลานเช่นกัน เนื่องจากเกรงว่า นอกจากพ่อแม่ที่สามารถทราบตำแหน่งของลูก ๆ ได้แล้ว ก็อาจมีคนอื่นล่วงรู้ตำแหน่งของเด็ก ๆ ด้วย “ผู้บริโภคส่วนใหญ่มองว่า นาฬิกาเหล่านี้สามารถช่วยให้ลูก ๆ ของตนเองปลอดภัยได้ แต่ถึงตอนนี้ พวกเขาอาจต้องคิดใหม่ หากช่องโหว่เรื่องความปลอดภัยยังไม่ได้รับการแก้ไข นาฬิกาเหล่านี้อาจเป็นสิ่งที่อันตรายได้” แบรนด์ที่ทางการเยอรมนีระบุชื่อว่าควรระวังไม่ซื้อมาให้ลูก ๆ สวมนั้นมี…

กระทรวงดีอีตั้งหน่วยงานดูแลความผิดปกติทางอินเทอร์เน็ต

Loading

กระทรวงดีอี พร้อมรับมือภัยโจรกรรมโจมตีไซเบอร์ พร้อมจัดตั้งหน่วยงานดูแลจับความผิดปกติทางอินเทอร์เน็ต นายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอี กล่าวว่า ได้เตรียมความพร้อม รับมือเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ Cyber Security โดยได้มีมาตราการรับมือกับการโจมตีทางระบบไซเบอร์ไว้ เพราะปัจจุบันการโจมตีผ่านระบบไซเบอร์ เริ่มมีมากขึ้น และจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมได้ เห็นได้จาก คดีการโจรกรรมข้อมูล หรือ มีนักแฮคเกอร์ สามารถเข้ามาล้วงข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลการทำธุรกรรมทางการเงิน ก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษบกิจ รวมทั้งอาจจะกระทบไปถึงฐานข้อมูลประเทศโดยรวม จึงได้ตั้งคณะกรรมการไซเบอร์ซีเคียวริตี้แห่งชาติ หรือ  National Cyber Security Committee โดยมี นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน  ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวจะกำกับดูแลความปลอดภัยและวางโครงสร้างพื้นฐานด้านการเงิน ธนาคาร พลังงาน และด้านสาธารณูปโภค ที่มีการเชื่อมโยงข้อมูลการทำงานผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ขณะเดียวกันในปีหน้าจะเป็นปีแห่ง Big Data ซึ่งทุกกระทรวงจะต้องดำเนินการทำ Big Data ของแต่ละกระทรวง เพื่อเตรียมไว้ใช้ สำหรับวิเคราะห์ข้อมูลและวางแผนการพัฒนาประเทศ ผ่านโครงการต่างๆ โดยรัฐบาลลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน ผ่านโครงการเน็ทประชารัฐไว้รองรับการใช้อินเทอร์เน็ตให้กับประชาชน ซึ่งภายในสิ้นปีนี้จะติดตั้งครบทั้ง 24,700 หมู่บ้าน และภายในปีหน้า…

หน่วยงานข่าวร่วมมือสื่อออนไลน์สร้างระบบตรวจสอบคุณภาพข่าวในโครงการ ‘Trust Project’

Loading

โครงการนี้ สร้าง ‘Trust Indicator’ เพื่อให้ผู้รับข่าวสารรับทราบถึงคุณภาพของข้อมูล หน่วยงานข่าว 75 องค์กร ร่วมกับ Facebook, Twitter, Google และบริษัทสื่อสังคมออนไลน์หลายแห่ง ร่วมทำงานเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือของข่าวสารบนโซเชียลมีเดีย ภายใต้โครงการ ‘Trust Project’ คณะทำงานของโครงการนี้ประชุมกันที่เมืองซานตา คารา รัฐแคลิฟอร์เนียเพื่อร่วมกันสร้างตัวบ่งชี้ความน่าเชื่อถือหรือ Trust Indicator ที่แทนด้วยสัญลักษณ์ ‘i’ บนโซเชี่ยลมีเดีย เพื่อให้ผู้รับข่าวสารรับทราบถึงคุณภาพของข้อมูล Sally Lehrman จาก Santa Clara University ด้านการใช้หลักการจริยธรรม กล่าวว่า สังคมมีความสงสัยมากขึ้นถึงคุณภาพของข่าวสาร ดังนั้นผู้รับข่าวควรได้ข้อมูลที่ทำให้พวกตนทราบถึงผู้เสนอข่าวเรื่องจรรยาบรรณและคุณภาพด้านวิชาชีพ ตัวบ่งชี้ความน่าเชื่อถือหรือ Trust Indicator ที่แทนด้วยสัญลักษณ์ ‘i’ จะอยู่ข้างข่าวออนไลน์ รวมถึงข้อมูลเนื้อหาที่ผู้ใช้สามารถแชร์ได้บนโซเชียลมีเดีย function นี้ช่วยบ่งชี้ถึงต้นตอและคุณภาพของข่าวสาร Facebook, Twitter และ Google เคยถูกวิจารณ์ว่ามีส่วนทำให้เกิดการแพร่ข้อมูลเท็จออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เมื่อปีที่แล้ว โดยหน่วยงานข่าวกรองสหรัฐฯ เชื่อว่า รัสเซียมีส่วนเกี่ยวข้องกับการแทรกแซงการเมืองอเมริกันช่วงนั้น…

รัฐบาลขอความร่วมมือ ใช้กล้องวงจรปิดเอกชน ดูแลความปลอดภัย-ป้องกันความมั่นคง

Loading

“คงชีพ” เผย “ประวิตร” เล็งขอความร่วมมือกล้องวงจรปิดภาคเอกชน เชื่อมโยงภาครัฐ ดูแลความปลอดภัยประชาชนในพื้นที่สาธารณะ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พล.ท.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกกระทรวงกลาโหม เปิดเผยว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กำชับให้ฝ่ายเลขานุการ คณะกรรมการบริหารการบูรณาการแผนและระบบกล้อง ประสานทุกส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ เร่งรัดติดตาม รวบรวมข้อมูลสถานภาพกล้องวงจรปิดทั่วประเทศที่มีอยู่จริงจากการสำรวจที่ผ่านมา พร้อมทั้งจัดทำแผนปฏิบัติการเชื่อมโยงระบบกล้องทั่วประเทศ และแผนบริหารจัดการระบบและการใช้ข้อมูลของทั้งพื้นที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดต่างๆ และภาพรวมของประเทศ ให้แล้วเสร็จ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการประชุมภายในเดือนพฤศจิกายนนี้ พล.ท.คงชีพ กล่าวต่อว่า ขณะเดียวกัน ได้สั่งการให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติและกระทรวงมหาดไทย พิจารณาจัดทำแผนติดตั้งกล้องวงจรปิดเร่งด่วนเพิ่มเติมในพื้นที่จุดเสี่ยงที่จำเป็นของแต่ละจังหวัด พร้อมทั้งประสานขอความร่วมมือภาคเอกชน สนับสนุนการเชื่อมโยงและใช้ประโยชน์กล้องวงจรปิดที่ติดตั้งนอกอาคาร ให้สามารถสานต่อครอบคลุมเป็นเครือข่ายดูแลความปลอดภัยของประชาชนได้ในภาพรวม “การบูรณาการเชื่อมโยงเครือข่ายและใช้ศักยภาพกล้องวงจรปิดภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศ รวมทั้งการสนับสนุนติดรถยนต์สาธารณะและรถยนต์ส่วนบุคคล เป็นนโยบายของรัฐบาล ที่ต้องการเพิ่มมาตรการดูแลความปลอดภัยของประชาชนและติดตามการเชื่อมโยงปัญหาอาชญากรรมที่เกิดขึ้น โดยเชื่อว่าความร่วมมือของภาคเอกชนในงานความมั่นคง จะเป็นกำลังร่วมที่สำคัญในการดูแลความปลอดภัยของประชาชนและสร้างวินัยทางสังคมควบคู่กันไปในภาพรวม” โฆษกกระทรวงกลาโหมกล่าว —————————————————— ที่มา : มติชนออนไลน์ / 16 พฤศจิกายน 2560 Link : https://www.matichon.co.th/news/733440