อย่าหวังยึดง่ายๆ! กองทัพไต้หวันฝึกจำลองการป้องกัน ‘สนามบินเถาหยวน’ รับมือจีนบุก

Loading

  ไต้หวันเปิดการซ้อมรบทางทหารที่ท่าอากาศยานานาชาติเถาหยวนวันนี้ (26 ก.ค.) โดยสั่งปิดการจราจรทางอากาศชั่วคราว เพื่อให้ทหารได้ฝึกฝนยุทธวิธีป้องกันสนามบินพาณิชย์แห่งนี้จากการโจมตีของปักกิ่ง   การฝึกซ้อมดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการซ้อมรบใหญ่ภายใต้รหัส “ฮั่นกวง” (Han Kuang) ซึ่งในปีนี้กองทัพไต้หวันได้เพิ่มภารกิจปกป้องสนามบินพลเรือนเข้ามาด้วย หลังจากที่จีนยกระดับข่มขู่กดดันไทเปอย่างหนักทั้งในทางการทหาร และการทูต   นี่ยังถือเป็นครั้งแรกที่ไต้หวันจัดการซ้อมรบภายในท่าอากาศยานนานาชาติขนาดใหญ่ที่สุด นับตั้งแต่เปิดให้บริการในปี 1979   อเล็กซานเดอร์ หวัง (Alexander Huang) ผู้เชี่ยวชาญด้านการทหารจากมหาวิทยาลัย Tamkang University ในกรุงไทเป ระบุว่า ไต้หวันถอดบทเรียนจากประสบการณ์ของ “ยูเครน” ซึ่งเคยปกป้องท่าอากาศยานอันโตนอฟ ชานกรุงเคียฟจากการจู่โจมของกองกำลังพลร่มรัสเซียได้สำเร็จเมื่อปีที่แล้ว   “การยึดสนามบินของศัตรูถือเป็นขั้นตอนสำคัญในการส่งกองกำลังจู่โจมทางอากาศเข้ามารุกราน” หวัง ให้สัมภาษณ์กับ AFP   “นอกจากช่วยให้ทหารของเราคุ้นเคยกับสายบัญชาการและการควบคุมต่างๆ แล้ว การฝึกคราวนี้ยังเป็นการส่งสัญญาณบอกฝ่ายศัตรูว่า เรามีการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือเหตุไม่คาดฝันในลักษณะนี้”       ทหารไต้หวันหลายสิบนายได้จำลองการขับไล่ “กองกำลังศัตรู” ที่ใช้เฮลิคอปเตอร์โจมตีเป็นพาหนะจู่โจมเข้าสู่สนามบินเถาหยวน โดยการฝึกครั้งนี้ทำให้สนามบินต้องปิดการสัญจรทางอากาศไปราว 30 นาที   ตำรวจและหน่วยดับเพลิงประจำสนามบินได้เข้าร่วมการฝึกในครั้งนี้ ซึ่งทางการไต้หวันระบุว่า มีเป้าหมายเพื่อสนธิกำลังเจ้าหน้าที่ทั้งฝ่ายพลเรือนและทหารในการปกป้องโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ…

ศูนย์แผ่นดินไหวอู่ฮั่นถูกแฮ็กเกอร์ต่างชาติโจมตี จีนลั่นความมั่นคงของชาติถูกคุกคาม

Loading

  เจ้าหน้าที่ตำรวจของมณฑลหูเป่ย กล่าวในแถลงการณ์ในวันนี้ (26 ก.ค.) ว่า ศูนย์เฝ้าระวังแผ่นดินไหวของสำนักงานบริหารจัดการเหตุฉุกเฉินของเทศบาลนครอู่ฮั่นถูกโจมตีทางไซเบอร์จากแฮ็กเกอร์ในต่างประเทศ   ตำรวจจีนกล่าวว่า จากการค้นพบในเบื้องต้นพบว่า การโจมตีดังกล่าวดำเนินการโดยกลุ่มแฮ็กเกอร์และอาชญากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับรัฐบาลต่างประเทศ และทางตำรวจเริ่มกระบวนการสืบสวนสอบสวนแล้ว   ศูนย์รับมือเหตุฉุกเฉินด้านไวรัสคอมพิวเตอร์ของจีน (CVERC) และบริษัท 360 ซึ่งเป็นบริษัทด้านความปลอดภัยทางอินเทอร์เน็ต ได้ทำการตรวจสอบจนพบว่า เครือข่าย “หน้าบ้าน” หรือฟรอนต์-เอ็นด์ (Front-End ) ของศูนย์เฝ้าระวังแผ่นดินไหวอู่ฮั่นถูกโจมตีโดยองค์กรต่างชาติจริง   รายงานระบุว่า ศูนย์เฝ้าระวังแผ่นดินไหวได้ดำเนินการปิดผนึกอุปกรณ์เครือข่ายที่เกี่ยวข้องได้ทันเวลา รวมถึงได้แจ้งตำรวจเพื่อให้ทำการสืบสวนต่อไป และจะเฝ้าติดตามการสืบสวนคดีนี้   ส่วนสำนักงานด้านความมั่นคงสาธารณะแห่งเทศบาลนครอู่ฮั่น กล่าวว่า การโจมตีดังกล่าวเป็นภัยคุกความต่อความมั่นคงของชาติอย่างร้ายแรง และสำนักงานด้านความมั่นคงสาธารณะเขตเจียงฮั่นได้ยื่นเรื่องให้มีการสืบสวนแล้ว   สำนักข่าวซีจีทีเอ็นของจีนรายงานว่า ศูนย์เฝ้าระวังแผ่นดินไหวของอู่ฮั่นเป็นหน่วยงานของรัฐอีกหนึ่งแห่งที่ถูกโจมตีจากกลุ่มแฮ็กเกอร์ต่างชาติ โดยก่อนหน้านี้มหาวิทยาลัยโพลีเทคนิคตะวันตกเฉียงเหนือ ในเมืองซีอาน มณฑลส่านซี ก็เคยถูกโจมตีในลักษณะเดียวกันเมื่อเดือน มิ.ย. ปีที่แล้ว   รายงานระบุว่า หลังจากที่มหาวิทยาลัยถูกโจมตี CVERC และ 360 ได้จัดตั้งทีมเทคนิคร่วมกันเพื่อวิเคราะห์อย่างครอบคลุม โดยค้นพบว่า Tailored Access Operations…

ระทึก จนท.เอกวาดอร์บุกเรือนจำ ช่วยผู้คุมถูกนักโทษจับเป็นตัวประกัน

Loading

    เอกวาดอร์ส่งเจ้าหน้าที่ความมั่นคงนับพันนายบุกเรือนจำช่วยผู้คุมที่ถูกนักโทษจับเป็นตัวประกัน ท่ามกลางการจลาจลในทัณฑสถานหลายแห่ง จน ปธน.ต้องประกาศภาวะฉุกเฉิน   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า เมื่อวันอังคารที่ 25 ก.ค. 2566 ประธานาธิบดี กีเยร์โม ลาสโซ แห่งประเทศเอกวาดอร์ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเรือนจำทั่วประเทศ และมอบอำนาจให้กองทัพยึดการควบคุมในเรือนจำกลับคืนมา หลังเกิดการจลาจลระหว่างแก๊งคู่อริที่เรือนจำกวายาส ในเมืองกวายาควิล ต่อเนื่องหลายวันจนมีผู้เสียชีวิตแล้ว 18 ศพ   การจลาจลดังกล่าวกระตุ้นให้เกิดเหตุความไม่สงบขึ้นที่เรือนจำอื่น ๆ อีกหลายสิบแห่ง มีผู้คุมนับร้อยคนถูกนักโทษจับเป็นตัวประกันที่ทัณฑสถานอย่างน้อย 5 แห่ง โดยที่เรือนจำตูรี ในเมืองกูเอนกา จังหวัดอาซวย ทางตอนใต้เพียงแห่งเดียวก็มีผู้คุมถูกจับตัวเอาไว้ถึง 53 คนแล้ว   ในเวลาต่อมา นายฮวน ซาปาตา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ของประเทศเอกวาดอร์ เปิดเผยว่า เจ้าหน้าที่กำลังมีปฏิบัติการความมั่นคงขนาดใหญ่เพื่อปลดปล่อยผู้คุมที่ถูกจับเป็นตัวประกัน โดยส่งเจ้าหน้าที่กว่า 2,700 นาย ไปยังเรือนจำกวายาส และสามารถเข้าควบคุมปีกอาคารได้แล้ว 3 แห่ง แต่ไม่ระบุว่าช่วยตัวประกันได้แล้วหรือไม่   ทั้งนี้ เรือนจำหลายแห่งในเอกวาดอร์ประสบปัญหานักโทษเกินความจุ…

รัฐบาลสิงคโปร์สั่งน้องชายนายกรัฐมนตรี แก้ไขการโพสต์เฟซบุ๊ก

Loading

  นายลี เซียน หยาง น้องชายของผู้นำสิงคโปร์ แก้ไขข้อความบนเฟซบุ๊ก ตามคำสั่งของรัฐบาล ที่ระบุว่า “เป็นเนื้อหาบิดเบือน”   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากประเทศสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 26 ก.ค. ว่า สำนักนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ออกแถลงการณ์ เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ว่าข้อความหนึ่งบนเฟซบุ๊กเพจของนายลี เซียน หยาง น้องชายของนายกรัฐมนตรีลี เซียน ลุง “มีเนื้อหาคลาดเคลื่อนไปจากข้อเท็จจริง” ด้วยเหตุนี้ นายลี เซียน หยาง ต้องแก้ไขข้อมูลดังกล่าวให้ถูกต้อง โดยต้องมีการโพสต์ลิงก์เชื่อมไปยังเพจของรัฐบาล “ซึ่งเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง” ทั้งนี้ การโพสต์ดังกล่าวของน้องชายผู้นำสิงคโปร์ เกี่ยวข้องกับกรณีเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงยุติธรรมเช่าบังกะโล อย่างไรก็ตาม ผลการสืบสวนสอบสวนเป็นการภายในระบุว่า เจ้าหน้าที่กลุ่มนี้ไม่มีความผิดในทางใด   แม้นายลี เซียน หยาง ซึ่งปัจจุบันอาศัยอยู่ในต่างประเทศเป็นหลัก ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว ที่รัฐบาลใช้อำนาจตามกฎหมายปราบปรามเนื้อหาเท็จออนไลน์ เมื่อปี 2562 แต่มีการโพสต์ข้อความต่อว่า เขายังคงยึดมั่นกับข้อมูลดั้งเดิม และวิจารณ์รัฐบาลสิงคโปร์ของพี่ชาย “กำลังชี้นำประชาชนไปในทางที่ผิด”   อนึ่ง พี่น้องตระกูลลีแห่งสิงคโปร์ขัดแย้งกันอย่างหนัก ในเรื่องมรดกของบิดาผู้ล่วงลับ…

สายขุด สายสืบข้อมูลอาชญากรรมคนอื่นมาเปิดเผย ระวังสูญเงินล้าน

Loading

  นักสืบขุดประวัติ “บอดี้การ์ด” ของ “พิธา ลิ้มเจริญรัตน์” หัวหน้าพรรคก้าวไกล แชร์ว่อนเน็ต เคยเป็นผู้ต้องโทษ ทำให้ถูกสั่งพักงาน งานนี้คนขุดมีหนาว เพราะ “ข้อมูลอาชญากรรม” เป็นข้อมูลอ่อนไหวที่ได้รับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตามกฎหมาย “PDPA” เอาผิดทั้งแพ่ง อาญา ปกครอง   ชาวเน็ตขุด “ข้อมูลอาชญากรรม” ของบอดี้การ์ดส่วนตัว “พิธา ลิ้มเจริญรัตน์” หัวหน้าพรรคก้าวไกล แชร์ว่อนโลกโซเชียล เคยผ่านการต้องโทษ พร้อมเปิดเผยภาพใบหน้าขณะนำตัวมาแถลงข่าว ทำให้บอดี้การ์ดคนนี้ถูกสั่งพักงาน   คำถามคือ “ข้อมูลอาชญากรรม” เป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับการคุ้มครองจาก “พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562” หรือ กฎหมาย “PAPA” ถ้าหากเจ้าของข้อมูลเอาเรื่อง คนเปิดเผยข้อมูลจะได้รับโทษอย่างไรบ้าง   “ดร.ศิวรักษ์ ศิวโมกษธรรม” เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) เคยให้สัมภาษณ์ในเวทีอบรมเสวนาเชิงปฏิบัติการการส่งเสริมองค์ความรู้ด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับสื่อมวลชนเมื่อเร็วๆ นี้ว่า “PAPA” ในส่วน “ข้อมูลอาชญากรรม” เป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว หากมีคนนำไปเปิดเผยจนกระทบต่อเจ้าของข้อมูล มีโทษทางแพ่ง อาญา…

Google เพิ่มความเข้มงวดแอปสินเชื่อบน Google Play

Loading

  กูเกิล (Google) ประกาศใช้นโยบายสำหรับการคัดกรองแอปให้บริการสินเชื่อผ่านช่องทางดิจิทัลที่ดำเนินการในไทย ต้องแนบเอกสาร หลักฐานการให้บริการก่อนปล่อยให้ดาวน์โหลดผ่าน Google Play หวังเสริมความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้ ย้ำผู้ใช้งาน Android ระมัดระวังไม่ติดตั้งแอปจากภายนอกสุ่มเสี่ยงการหลอกลวงจากมิจฉาชีพ   แจ็คกี้ หวาง Country Director , Google ประเทศไทย กล่าวว่า นโยบายใหม่นี้จะช่วยปกป้องผู้ใช้ในไทยจากการละเมิดที่อาจเกิดขึ้นจากแอปสินเชื่อส่วนบุคคลที่ฉ้อฉล ภายเป้าหมายของกูเกิลในการกำจัดแอปที่ไม่ดีออกจาก Play Store   “การบังคับใช้มาตรการเชิงรุก โดยกำหนดเกณฑ์ที่เข้มงวดสำหรับแอปบริการสินเชื่อผ่านช่องทางดิจิทัล จะช่วยลดความเสี่ยงทางการเงินและปกป้องผู้บริโภค”   สำหรับการปรับปรุงนโยบายบริการทางการเงินของ Google ในครั้งนี้ กำหนดให้แอปที่มีฟีเจอร์ทางการเงินต้องส่งแบบฟอร์มการประกาศฟีเจอร์ทางการเงิน พร้อมด้วยข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติม โดยนโยบายนี้จะมีผลตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2566 เป็นต้นไป   ทั้งนี้ นักพัฒนาแอปสินเชื่อส่วนบุคคลที่มีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายในไทยจะต้องกรอกแบบฟอร์มการประกาศแอปสินเชื่อส่วนบุคคล และส่งเอกสารที่จำเป็นก่อนที่จะเผยแพร่แอป จากนั้นต้องส่งหลักฐานการอนุมัติจากธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อให้บริการหรือช่วยอำนวยความสะดวกในการให้บริการสินเชื่อดิจิทัลในไทย   ระหว่างนี้แอปสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่ได้รับใบอนุญาตให้ดำเนินการในไทยจะถูกนำออกจาก Google Play Store ทันที หากใบอนุญาตการจดทะเบียน หรือการประกาศไม่เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง นักพัฒนาแอปจะต้องนำแอปออกจาก…