เกิดระเบิดสะพานเคียร์ช เชื่อมไครเมีย-รัสเซีย พลเรือนเสียชีวิต 2 ราย

Loading

  เกิดเหตุระเบิดขึ้นที่สะพานเคียร์ช เชื่อมระหว่างรัสเซียแผ่นดินใหญ่กับคาบสมุทรไครเมีย โดยมีผู้เสียชีวิต 2 ราย ทางการรัสเซียได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินแล้ว   มีรายงานว่าเกิดเหตุระเบิดขึ้นที่สะพานเคียร์ช ซึ่งเชื่อมระหว่างรัสเซียกับคาบสมุทรไครเมียที่รัสเซียผนวกไปในปี 2014 โดยมีผู้เสียชีวิตจากเหตุระเบิดดังกล่าว 2 ราย   โดยเซอร์เก อัคโซนอฟ ผู้ว่าการแคว้นไครเมียที่แต่งตั้งโดยรัสเซียได้ระบุข้อความผ่านเทเลแกรมช่วงเช้ามืดตามเวลาท้องถิ่นว่า เกิดเหตุฉุกเฉินบริเวณเสาที่ 145 ของสะพานเคียร์ชจากทางฝั่งแคว้นครัสโนดาร์ในรัสเซีย และขอให้ประชาชนที่ใช้รถเลือกใช้เส้นทางอื่นในการสัญจรระหว่างแคว้นครัสโนดาร์และคาบสมุทรไครเมียแทน     ขณะที่กระทรวงคมนาคมรัสเซียระบุว่า มีความเสียหายเกิดขึ้นที่ถนนบนสะพานฝั่งที่ใกล้กับคาบสมุทรไครเมีย แต่ไม่พบว่าเกิดความเสียหายที่เสา ส่วนสำนักข่าว RBC ของยูเครนรายงานว่า ได้ยินเสียงระเบิดบริเวณสะพานเคียร์ชเช่นกัน   ในด้านความสูญเสียที่เกิดขึ้น ล่าสุดมีรายงานว่ามีพลเรือนเสียชีวิตจากเหตุระเบิดดังกล่าว 2 ราย และมีผู้บาดเจ็บสาหัสอีก 1 ราย ซึ่งเป็นเด็ก   อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีข้อมูลชัดเจนว่าแรงระเบิดเกิดจากอะไร หรืออะไรคือสาเหตุของการระเบิดครั้งนี้ ขณะนี้อยู่ในระหว่างขั้นตอนการตรวจสอบโดยฝ่ายรัสเซีย แต่ในข้อความของผู้ว่าการแคว้นไครเมียและกระทรวงคมนาคมรัสเซียไม่ได้ระบุว่าเหตุที่เกิดขึ้นเป็นการโจมตี   ทั้งนี้สะพานเคียร์ชถูกโจมตีจนเสียหายหนัก 8 ตุลาคม 2022 แรงสั่นสะเทือนได้ส่งผลต่อความแข็งแรงของโครงสร้าง รวมถึงถนน และระบบรถรางของสะพาน จนต้องมีการปิดการใช้งานอยู่หลายเดือน…

เตือน! ดาวน์โหลดข้อมูลผ่านเว็บเถื่อน เสี่ยงโดนฝังมัลแวร์ขโมยข้อมูล

Loading

  วันที่ 16 ก.ค.66 เพจ ตำรวจสอบสวนกลาง โพสต์ข้อความระบุว่า ปัจจุบันมีเว็บไซต์เถื่อนที่ปล่อยให้ผู้ท่องโลกอินเตอร์เน็ตเข้าไปดาวน์โหลดข้อมูลฟรีเป็นจำนวนมาก ทั้งปล่อยให้ดาวน์โหลดเพลง หรือวิดีโอฟรี ซึ่งไฟล์ดังกล่าวที่ให้ดาวน์โหลดจากเว็บไซต์เถื่อนเหล่านี้จะมีการฝังมัลแวร์ ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่เป็นอันตราย ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อขโมยข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือของเรา หรืออาจทำให้เครื่องเสียหายได้   เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการตกเป็นเหยื่อของอาชญากรไซเบอร์ จึงไม่ควรดาวน์โหลดไฟล์ต่าง ๆ จากเว็บไซต์เถื่อน การที่เราจะตรวจสอบว่าเป็นเว็บไซต์เถื่อนหรือไม่ สามารถสังเกตได้ดังนี้   –  ตรวจสอบความถูกต้องของ URL หากเป็นเว็บไซต์ที่ถูกต้องจะขึ้นต้นด้วย https หรือตรวจสอบข้อมูลการจดโดเมนเนมก่อนทำการดาวน์โหลดไฟล์จากเว็บไซต์นั้น ๆ –  เลือกใช้ระบบป้องกันที่ครอบคลุมการรักษาความปลอดภัยในการเล่นเว็บไซต์ (Internet Security) –  สังเกตชื่อไฟล์ที่ดาวน์โหลดอยู่เสมอ แม้ว่าจะดาวน์โหลดจากแหล่งที่เชื่อถือได้ก็ตาม ไฟล์วีดีโอควรเป็น .mkv และ .mp4 โดยนามสกุลของไฟล์ไม่ควรเป็น .exe   ขอบคุณข้อมูลและภาพ เพจ ตำรวจสอบสวนกลาง       ————————————————————————————————————————————————— ที่มา :     …

ไมโครซอฟท์ถูกแฮ็กกุญแจเซ็นโทเค็น Azure AD แฮ็กเกอร์เข้าดาวน์โหลดเมลรัฐบาลสหรัฐฯ สำเร็จ

Loading

  ไมโครซอฟท์ออกรายงานถึงกลุ่มแฮ็กเกอร์ Storm-0558 ที่โจมตีจากประเทศจีนโดยมีแนวทางมุ่งขโมยข้อมูล โดยคนร้ายสามารถขโมยกุญแจเซ็นโทเค็นของ Azure AD ออกไปจากไมโครซอฟท์ได้ ทำให้สามารถเซ็นโทเค็นปลอมตัวเป็นบัญชีผู้ใช้อะไรก็ได้ของเหยื่อ   หน่วยงานที่ถูกโจมตีคือฝ่ายบริหารฝั่งพลเรือนของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ (Federal Civilian Executive Branch – FCEB) โดยพบล็อกใน Microsoft 365 ว่ามีรายงาน MailItems Accessed ซึ่งเป็นการเข้าอ่านเมลจากไคลเอนต์ต่าง ๆ แต่ที่แปลกออกไปคือค่า AppID นั้นไม่เคยพบ แปลว่าอยู่ ๆ ก็มีคนใช้อีเมลไคลเอนต์ประหลาดเข้ามาอ่านอีเมล   หลังจากไมโครซอฟท์ได้รับแจ้งจากลูกค้า ตรวจสอบพบว่าคนร้ายเข้าอ่านเมลทาง Outlook Web Access ซึ่งน่าจะแปลว่าเครื่องผู้ใช้ถูกแฮ็ก เพื่อขโมยโทเค็นหลังจากผู้ใช้ล็อกอินตามปกติ แต่เมื่อวิเคราะห์เหตุต่อเนื่องภายหลังจึงพบว่าโทเค็นที่ใช้ล็อกอินนั้นไม่ตรงกับโทเค็นที่ออกไปจากระบบ Azure AD โดยโทเค็นที่เซ็นออกไปมี scope ผิดปกติที่ Azure AD ไม่เคยออกโทเค็นในรูปแบบเช่นนั้น   ภายหลังไมโครซอฟท์จึงยืนยันว่า Storm-0558 ขโมยกุญแจเซ็นโทเค็น Microsoft Account ออกไปได้…

ตร.พร้อมจัดกำลังดูแล “ส.ว.” หวั่นไม่ปลอดภัย หลังถูกคุกคามหนักจากกรณีโหวตเลือกนายกฯ

Loading

พล.ต.ท.อาชยน ไกรทอง โฆษก ตร.   โฆษก ตร. พร้อมจัดกำลังดูแลความปลอดภัย ส.ว. หลังถูกคุกคามหนักจากกรณีลงมติเลือกนายกฯ เตือนเกรียนคีย์บอร์ดแสดงความคิดเห็นอยู่ในขอบเขต อาจมีความผิดตามกฎหมาย   17 ก.ค. ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) พล.ต.ท.อาชยน ไกรทอง โฆษก ตร. กล่าวถึงกรณี สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) หลายคนหวั่นไม่ปลอดภัยหลัง ว่า ช่วงนี้ในกรณีของ สว.บางท่านได้มีการร้องขอในเรื่องการดูแลรักษาความปลอดภัย ทาง ตร.ได้พิจารณาและมีการจัดเจ้าหน้าที่ไปช่วยดูแล ทั้งนี้ เพื่อความสงบและเพื่อความปลอดภัย และให้ทุกอย่างเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ตำรวจเห็นความสงบเรียบร้อยเป็นสิ่งสำคัญ   “ช่วงนี้มีข้อมูลข่าวสารในการเผยแพร่ในเรื่องของข้อความก็ดี มีการดำเนินการในเรื่องการแสดงความคิดเห็นก็ดี การแสดงความคิดเห็นนั้นเป็นสิ่งที่กระทำได้ภายใต้กรอบของกฎหมาย จะไม่ไปรบกวนสิทธิหรือข่มขู่ผู้อื่น ขอประชาสัมพันธ์อาจจะมีเรื่องของกฎหมายอาญาในเรื่องของหมิ่นประมาท และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ หรือ พ.ร.บ.ข้อมูลส่วนบุคคล” โฆษก ตร. กล่าวและว่า ขอประชาสัมพันธ์ไปยังทุกกลุ่มด้วย การดำเนินการแสดงความคิดเห็นด้วยการแสดงออกไม่มีใครว่า แต่อย่าไปกระทบต่อสิทธิ หรือให้ปฎิบัติให้อยู่ภายใต้กรอบของกฎหมาย        …

ตร.ไซเบอร์รวบหนุ่มวิศวะ โพสต์ขายข้อมูลส่วนบุคคล ให้เว็บพนันและมิจฉาชีพ

Loading

  พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษกกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) เปิดเผยข้อมูลว่าจากการตรวจสอบเจ้าหน้าที่พบกลุ่มเฟซบุ๊กแบบปิด (Private Group) ซึ่งมีการนำเสนอซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า และสิ่งของที่ผิดกฎหมายต่าง ๆ มีสมาชิกประมาณ 100,000 บัญชี   โดยมีผู้ใช้บัญชีเฟซบุ๊กรายหนึ่งได้โพสต์ข้อความประกาศขายฐานข้อมูลของลูกค้ากลุ่มการพนันออนไลน์ ได้แก่ ชื่อ-นามสกุล หมายเลขโทรศัพท์ หมายเลขบัญชีธนาคาร และไลน์ไอดีของลูกค้า เป็นต้น ขายในราคาต่าง ๆ โดยเริ่มตั้งแต่ 100,000 รายชื่อ ราคา 500 บาท ไปจนถึง 2,000,000 รายชื่อ ราคา 3,500 บาท เพื่อให้ผู้ซื้อนำไปใช้ทำการตลาด นำข้อมูลที่ได้ไปใช้โทรศัพท์ติดต่อ หรือส่งข้อความสั้น (SMS) หรือแอดไลน์ไปยังรายชื่อดังกล่าว และหากซื้อข้อมูลดังกล่าวไปแล้วจะมีการอัปเดตข้อมูลให้ฟรี นอกจากนี้แล้วยังมีการโพสต์ประกาศรับเปิดเว็บไซต์พนันออนไลน์เริ่มต้นเพียง 6,500 บาท พร้อมดูแลระบบ และออกแบบหน้าเว็บไซต์ให้ฟรีอีกด้วย     เจ้าหน้าที่ตำรวจสังกัด บก.สอท.5 จึงได้ทำการสืบสวนสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบความเชื่อมโยง…

ดีอีเอสเตือนระวังมิจฉาชีพหลอกทำใบขับขี่ปลอม

Loading

  ดีอีเอสพบมิจฉาชีพแอบอ้างกรมขนส่งฯ หลอกทำใบขับปขี่ปลอมที่เว็บไซต์ www.thaidriveexam.com ระวังถูกล้วงเอาข้อมูลสำคัญ ส่วนสถานการณ์ข่าวปลอม “การลงทุน-สินเชื่อกู้ยืม” ยังว่อน เตือนอย่าเสียรู้โจร เช็กข้อมูลทุกด้านให้ดีก่อนหลงเชื่อ   นายเวทางค์ พ่วงทรัพย์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า ผลการมอนิเตอร์และรับแจ้งข่าวปลอมของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ระหว่างวันที่ 7-13 กรกฎาคม 2566 พบข้อความที่เข้ามาทั้งหมด 3,209,611 ข้อความ โดยมีข้อความที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ (Verify) ทั้งสิ้น 279 ข้อความ   ช่องทางที่มีการพบเบาะแสมากที่สุด คือ ข้อความที่มาจาก Social Listening จำนวน 244 ข้อความ ตามมาด้วยการแจ้งเบาะแสผ่าน Line Official จำนวน 35 ข้อความ รวมเรื่องที่ต้องดำเนินการตรวจสอบทั้งหมด 180 เรื่อง และจากการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้รับผลการตรวจสอบกลับมาแล้ว 112 เรื่อง   ทั้งนี้ ดีอีเอสได้แบ่งข่าวปลอมที่ได้รับความสนใจ เป็น…