เลขาธิการ ‘นาโต’ ลั่น ยานหุ้มเกราะ-รถถัง ร่วม 1,900 คัน ถึงยูเครนแล้ว!

Loading

  นายเยนส์ สโตลเทนเบิร์ก เลขาธิการองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (นาโต) กล่าวเมื่อวันที่ 27 เมษายนว่า พันธมิตรและหุ้นส่วนนาโตได้ส่งมอบยานพาหนะทางการทหารร่วม 1,900 คัน ซึ่งประกอบไปด้วย ยานหุ้มเกราะจำนวน 1,550 คัน และรถถังอีก 230 คันให้แก่ยูเครน เพื่อใช้ในการจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการและช่วยกอบกู้ดินแดนของยูเครนจากกองทัพรัสเซียเป็นที่เรียบร้อยแล้ว   สโตลเทนเบิร์กแถลงข่าวว่า การส่งมอบยานพาหนะเหล่านี้ นับตั้งแต่ที่รัสเซียบุกโจมตีจนเกิดเป็นสงครามในยูเครนเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปี 2022 คิดเป็นกว่า 98% ของจำนวนยานรบภาคพื้นดินทั้งหมดที่สัญญาว่าจะสนับสนุนให้แก่เคียฟ   “เบ็ดเสร็จแล้วพวกเราได้ฝึกฝนและติดตั้งกองพลยานเกราะใหม่ของยูเครนมากกว่าเก้ากองพล สิ่งนี้จะทำให้ยูเครนยืนอยู่ในจุดที่แข็งแกร่งในการกอบกู้ดินแดนที่ถูกรัสเซียยึดครองต่อไปได้” เลขาธิการนาโตกล่าว นอกจากนี้ ก่อนหน้านี้ รัฐสมาชิกของนาโตยังได้สนับสนุนระบบป้องกันการโจมตีทางอากาศและปืนใหญ่แก่ยูเครน ขณะที่โปแลนด์และสาธารณรัฐเช็กได้ส่งมอบเครื่องบินขับไล่ มิก-29 ซึ่งถูกออกแบบโดยสหภาพโซเวียตแก่ยูเครนเช่นกัน อีกทั้งนาโตยังได้ฝึกซ้อมนายทหารของยูเครนจำนวนหลายพันนายในการใช้อาวุธต่างๆ   สโตลเทนเบิร์กได้ตอกย้ำการสนับสนุนทางทหารแก่ยุเครนที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนนี้ พร้อมเตือนว่า “พวกเราไม่ควรประมาทรัสเซีย” ซึ่งกำลังเคลื่อนพลภาคพื้นดินมากขึ้นและเต็มใจที่จะส่งกองทัพจำนวนหลายพันนายออกไปรบ แม้ว่าพวกเขาจะมีโอกาสที่จะเสียชีวิตสูงก็ตาม   ในการเผชิญหน้ากับสงครามที่มีทีท่าว่าจะยืดเยื้อนี้ สโตลเทนเบิร์กกล่าวว่า สมาชิกนาโตจะต้องอดทนต่อความยากลำบากและสนับสนุนสิ่งที่จำเป็นต่อยูเครนเพื่อให้มีชัยเหนือรัสเซียต่อไป   เลขาธิการนาโตผู้นี้กล่าวด้วยว่า การประชุมสุดยอดนาโตในเดือนกรกฎาคมที่ประเทศลิทัวเนียจะเป็นการวางแผนการสำหรับโครงการสนับสนุนยูเครนไปอีกหลายปี และกล่าวว่า ตนมีความรู้สึกยินดีต่อการที่ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงของจีนและประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี…

‘จีน’ ออกกฎหมายต้านจารกรรม สร้างความเสี่ยงให้บริษัทต่างชาติ

Loading

    จีนได้ขยายขอบเขตของกฎหมายต่อต้านการจารกรรม (Counterespionage Law) ซึ่งเดิมกว้างขวางอยู่แล้ว ขณะที่นักวิเคราะห์เตือนว่าอาจสร้างความเสี่ยงทางกฎหมายมากขึ้น หรือเพิ่มความไม่แน่นอนแก่บริษัทต่างชาติ นักข่าว และนักวิชาการ   สำนักข่าวซีเอ็นเอ็นรายงานในวันนี้ (27 เม.ย.) ว่า การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ขยายคำจำกัดความของการจารกรรมจาก การรวบรวมความลับของรัฐและข่าวกรอง ไปสู่ “เอกสาร ข้อมูล วัตถุ หรือสิ่งของใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงและผลประโยชน์ของชาติ” โดยไม่มีการระบุถึงแนวทางที่เฉพาะเจาะจงสำหรับวิธีการกำหนดเงื่อนไขเหล่านี้   สำหรับการโจมตีทางไซเบอร์ที่มุ่งเป้าไปที่โครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลที่สำคัญของจีน ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานด้านการสอดแนม ก็ถูกจัดประเภทเป็นการจารกรรมภายใต้กฎหมายฉบับใหม่ด้วยเช่นกัน โดยจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ก.ค.   ข้อกฎหมายดังกล่าวซึ่งได้รับการอนุมัติจากสภานิติบัญญัติของจีนเมื่อวานนี้ (26 เม.ย) มีขึ้นท่ามกลางการเพิ่มขึ้นของการเน้นย้ำเรื่องความมั่นคงของชาติภายใต้การนำของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ซึ่งเป็นผู้นำที่เด็ดเดี่ยวที่สุดของจีนในยุคนี้         —————————————————————————————————————————————— ที่มา :                   …

น่าจับตา! ‘สีจิ้นผิง-เซเลนสกี’ คุยโทรศัพท์ร่วมกันครั้งแรก นับตั้งแต่เกิดสงครามยูเครน

Loading

      ผู้นำจีนและผู้นำยูเครน สนทนาทางโทรศัพท์ร่วมกันเป็นครั้งแรก นับตั้งแต่การสู้รบระหว่างรัสเซียกับยูเครนปะทุ เมื่อเดือน ก.พ. 2565   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน เมื่อวันที่ 27 เม.ย.ว่า กระทรวงการต่างประเทศจีนรายงานว่า ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ผู้นำจีน สนทนาทางโทรศัพท์กับประธานาธิบดีโวโลดิเมียร์ เซเลนสกี ผู้นำยูเครน เมื่อวันพุธที่ผ่านมา ใช้เวลานานประมาณ 1 ชั่วโมง ซึ่งนับเป็นการพูดคุยอย่างเป็นทางการครั้งแรกของผู้นำทั้งสองประเทศ ตั้งแต่การสู้รบระหว่างรัสเซียกับยุเครนปะทุ เมื่อวันที่ 24 ก.พ. 2565   สีกล่าวในตอนหนึ่ง ว่าจีนให้ความสำคัญกับการส่งเสริมกระบวนการเจรจาสันติภาพ และผลักดันให้เกิดการหยุดยิงโดยเร็วที่สุด ทั้งนี้ รัฐบาลปักกิ่งในฐานะหนึ่งในสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอสซี) จะไม่ใช่ประเทศที่คอยสุมไฟให้เกิดความขัดแย้ง หรืออย่างน้อยที่สุด คือ การมุ่งแสวงหาผลประโยชน์จากสถานการณ์ที่กำลังดำเนินอยู่   I had a long and meaningful phone call with ?? President…

นักวิจัยพบ Google Authenticator ไม่ได้เข้ารหัส end-to-end ขณะซิงก์ข้ามอุปกรณ์ – Google บอกจะเพิ่มฟีเจอร์นี้ในอนาคต

Loading

    เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา กูเกิลได้ประกาศเพิ่มคุณสมบัติซิงก์ข้อมูลข้ามอุปกรณ์ผ่านบัญชีกูเกิลของ Google Authenticator แอปจัดการรหัสผ่าน 2FA ซึ่งหลายคนรอคอยมานาน (หรือไม่รอแล้ว?) อย่างไรก็ตามฟีเจอร์นี้มาพร้อมประเด็นด้านความปลอดภัย   โดยนักวิจัยความปลอดภัยชื่อ Mysk เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบทราฟิกในการซิงก์ข้อมูลของ Google Authenticator พบว่าข้อมูลที่รับ-ส่งเข้าเซิร์ฟเวอร์กูเกิลนั้นไม่มีการเข้ารหัสแบบ end-to-end จึงเป็นความเสี่ยงหากมีผู้เข้าถึงข้อมูลดังกล่าว และอาจสร้างรหัส 2FA ขึ้นมาซ้ำได้หากรู้ seed ของโค้ดนั้น   ทั้งนี้ Authy แอปยอดนิยมในการจัดการ 2FA มีคุณสมบัติที่รองรับการเข้ารหัสแบบ end-to-end ซึ่งผู้ใช้งานต้องกำหนดเปิดใช้เพิ่มเติม   Christiaan Brand ผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์ของกูเกิลตอบประเด็นดังกล่าวว่า บริการของกูเกิลมีความปลอดภัย และเข้ารหัสข้อมูลในทุกจุดอยู่แล้ว ส่วนคุณสมบัติเข้ารหัสแบบ end-to-end นั้น ได้เพิ่มเติมแล้วในหลายผลิตภัณฑ์ซึ่ง Google Authenticator ก็จะรองรับด้วยในอนาคต       ที่มา: Bleeping Computer    …

ผู้นำเกาหลีใต้ฟุ้งความสัมพันธ์กับมะกันแน่นแฟ้น ไม่หวั่นอีกฝ่ายสอดแนม

Loading

    ผู้นำเกาหลีใต้ฟุ้งความสัมพันธ์กับมะกันแน่นแฟ้น ไม่หวั่นอีกฝ่ายสอดแนม ขณะเตรียมหารือกับประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐในสัปดาห์นี้ เพื่อหารือประเด็นเกาหลีเหนือ จีน และปัญหาอื่นๆ   สัมพันธ์ระหว่างสหรัฐและเกาหลีใต้จะไม่ได้รับผลกระทบจากกรณีที่ สหรัฐสอดแนมเกาหลีใต้ อย่างแน่นอน โดยการลอบดักฟังพันธมิตรของสหรัฐนั้นถูกเปิดโปงต่อสาธารณชน หลังเอกสารลับของกระทรวงกลาโหมสหรัฐรั่วไหลบนโลกออนไลน์   ทั้งนี้ การให้สัมภาษณ์ครั้งนี้มีขึ้นในขณะที่ ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ ยุนซอกยอล และ ประธานาธิบดีสหรัฐ โจ ไบเดน มีกำหนดพบปะกันในสัปดาห์นี้ เพื่อหารือประเด็นเกาหลีเหนือ จีน และปัญหาอื่นๆ   เจ้าหน้าที่สหรัฐ และเกาหลีเหนือ ระบุว่า ข้อมูลส่วนใหญ่ในเอกสารลับที่รั่วไหลบนโลกออนไลน์นั้นไม่ถูกต้องและอาจถูกดัดแปลงแก้ไข แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดที่เฉพาะเจาะจงเพิ่มเติม   “ผมเชื่อว่าประเด็นนี้จะไม่สั่นคลอนความไว้วางใจที่แข็งแกร่งที่สนับสนุนความเป็นพันธมิตรระหว่างสหรัฐ และเกาหลีใต้ เพราะความไว้วางใจดังกล่าวตั้งอยู่บนพื้นฐานของสิ่งที่ทั้งสองประเทศต่างก็ให้คุณค่า เช่น เสรีภาพ” ประธานาธิบดี ยุนซอกยอล กล่าวเมื่อวันจันทร์ (24 เม.ย.)   ประธานาธิบดี ยุนซอกยอล กล่าวว่า ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐ และเกาหลีใต้ตั้งอยู่บนความไว้เนื้อเชื่อใจระดับสูง “หากคุณมีความเชื่อใจในระดับนี้แล้ว คุณก็จะไม่สั่นคลอน”  …

กทม. ใช้ระบบ AI ทดสอบ คุมหีบเลือกตั้ง ยกระดับความปลอดภัย-โปร่งใส

Loading

    กทม. ใช้ระบบ AI ทดสอบ เฝ้าหีบบัตร – ห้องรักษาบัตรและอุปกรณ์เลือกตั้ง ส.ส. หวังยกระดับความปลอดภัย แจ้งเตือนความผิดปกติเรียลไทม์แทนกล้อง CCTV ที่ต้องไล่เช็คภาพย้อนหลัง เมื่อเกิดเหตุ   เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2566 นายชัชชาติ สิทธิพันธ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ระบุว่า กทม.ต้องการยกระดับมาตรฐานการรักษาความปลอดภัย ซึ่งตามระเบียบ กกต. แม้ได้กำหนดมาตรฐานไว้อยู่แล้ว เช่น ต้องมีผู้ดูแลรักษาความปลอดภัย 3 คนเฝ้าด้านหน้าห้องเก็บรักษาบัตรและหีบบัตรเลือกตั้ง และต้องมีระบบติดตั้งกล้องวงจรปิด (CCTV)   แต่การใช้บุคคลนั่งเฝ้า ก็อาจเกิดเรื่องไม่คาดคิด หรือ ผิดพลาดได้ และกล้อง CCTV ก็เป็นระบบ บันทึกภาพเพียงอย่างเดียว ทาง กทม.จึงคิดว่าทำอย่างไรที่จะดึงเทคโนโลยี ดึงระบบออนไลน์มาใช้ให้ทันสมัย เราจะทำได้หรือไม่ โดยเปิดเป็นระบบออนไลน์ ให้ประชาชนช่วยกันดูแทนที่จะให้ รปภ. 3 คนดู ก็ให้ประชาชนช่วยกันจับตา   สำหรับ…