กอ.รมน. ประชุมร่วม มิตรอาเซียน ป้องกัน ปัญหาก่อการร้าย-อาชญากรรมข้ามชาติ

Loading

  กอ.รมน. ประชุมร่วม มิตรประเทศอาเซียน ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ   24 ก.พ. 66 – ที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) นางทศยาพร ดิเรกวุฒิ รองโฆษก (กอ.รมน.) เปิดเผยว่า พล.อ.อุกฤษฎ์ บุญตานนท์ เลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) เป็นประธานเปิดการประชุมความร่วมมือด้านการต่อต้านการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติกับกลุ่มประเทศอาเซียน ประจำปี พ.ศ. 2566 (ASEAN Counter Terrorism and Transnational Crime Coordination Conference – ACTC 2023) จัดโดยศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 3 กอ.รมน. ซึ่งรับผิดชอบในการอำนวยการ บูรณาการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ   การประชุมครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมกว่า 100 คน ประกอบด้วยผู้ช่วยทูตทหารอาเซียนประจำประเทศไทย ผู้แทนจากหน่วยงานความมั่นคง อาทิ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.), ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล (ศตก.), กองบัญชาการตำรวจสันติบาล (บช.ส.),…

80% ของคดีฆาตกรรมในสหรัฐฯ เกิดจากแนวคิดเหยียดเชื้อชาติ

Loading

  องค์กรสิทธิมนุษยชนเผย 80% ของคดีฆาตกรรมที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มหัวรุนแรงในสหรัฐฯ ปี 2022 เกิดจากแนวคิดเหยียดเชื้อชาติ   ปี 2022 ที่ผ่านมา เป็นอีกหนึ่งปีที่เกิดเหตุฆาตกรรมจำนวนมากในสหรัฐฯ โดยเฉพาะความรุนแรงจากอาวุธปืน ซึ่งเกิดบ่อยจนแทบจะกลายเป็นเหตุการณ์ปกติที่ไม่ควรปกติในดินแดนแห่งเสรีภาพไปแล้ว และหนึ่งในรากเหง้าของปัญหานี้ ก็คือรากเหง้าเชิงทัศนคติความเชื่อ   สมาคมต่อต้านการหมิ่นประมาท (ADL) เปิดเผยว่า ในปี 2022 สหรัฐฯ มีเหตุฆาตกรรมที่ถูกจัดประเภทว่า “เกี่ยวข้องกับกลุ่มหัวรุนแรง” อยู่ทั้งหมด 25 คดี และมีมีหลายคดีที่ “มีมูลเหตุทั้งหมดหรือบางส่วนมาจากแนวคิดความเชื่อ”   และแนวคิดความเชื่อที่นำไปสู่ความรุนแรงมากที่สุดในสหรัฐฯ คือแนวคิดเหยียดเพศ และแนวคิดเหยียดเชื้อชาติที่เชื่อว่าคนผิวขาวเป็นผู้ที่มีสถานะสูงสุดในสหรัฐฯ หรือ White Supremacy นั่นเอง   ตัวอย่างเช่น เหตุกราดยิงในเดือน พ.ค. 2022 ที่เมืองบัฟฟาโล รัฐนิวยอร์ก ซึ่งผู้ที่มีความเชื่อ White Supremacy ก่อเหตุยิงคนผิวสีเสียชีวิต 10 คน และอีกเหตุการณ์ในเดือน พ.ย. 2022 ที่โคโลราโดสปริงส์…

คณะกรรมาธิการยุโรปสั่งแบน “TikTok” บนอุปกรณ์ของหน่วยงาน

Loading

    คณะกรรมาธิการยุโรป สั่งแบนการใช้งานแอปพลิเคชัน TikTok บนอุปกรณ์ของทางการทั้งหมด เนื่องจากกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยทางไซเบอร์   คำสั่งดังกล่าวกำหนดให้เจ้าหน้าที่ของคณะกรรมธิการยุโรปซึ่งเป็นองค์กรฝ่ายบริหารของสหภาพยุโรป ต้องทำการลบแอปพลิเคชัน TikTok ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันชื่อดังที่ขึ้นชื่อเรื่องวิดีโอสั้น ๆ ของจีน ออกจากอุปกรณ์ของที่ทำงาน รวมทั้งอุปกรณ์ส่วนตัวที่ใช้ทำงาน ภายในวันที่ 15 มี.ค.นี้ เนื่องจากกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยทางไซเบอร์   ด้านโฆษกคณะกรรมาธิการยุโรป เปิดเผยว่า มาตรการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อปกป้องคณะกรรมธิการจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ และการกระทำใด ๆ ที่อาจเปิดทางให้เกิดการโจมตีทางไซเบอร์ได้ พร้อมทั้งระบุด้วยว่า เป็นเพียงมาตรการชั่วคราว และจะมีการตรวจสอบอย่างต่อเนื่องและอาจมีการพิจารณาใหม่อีกครั้ง     ขณะที่ทาง TikTok ออกมาเคลื่อนไหวแล้ว โดยแสดงความผิดหวังต่อการตัดสินใจดังกล่าว และระบุว่า เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากความเข้าใจผิด แม้ว่าก่อนหน้านี้ TikTok จะออกมาเปิดเผยต่อผู้ใช้งานในยุโรปว่า พนักงานในจีนอาจเข้าถึงข้อมูลได้ก็ตาม   โฆษกของบริษัท เปิดเผยว่า ได้ติดต่อไปชี้แจงข้อเท็จจริงกับคณะกรรมาธิการยุโรปแล้ว พร้อมทั้งอธิบายว่าทางบริษัทปกป้องข้อมูลของผู้ใช้งาน 125 ล้านคนทั่วสหภาพยุโรปที่เข้ามาใช้ TikTok ทุก ๆ เดือนได้อย่างไร   นอกจากนี้…

ตำรวจไซเบอร์ เตือนภัยใช้ Internet Banking ระวังเจอเว็บไซต์ธนาคารปลอม

Loading

  โฆษก บช.สอท. เตือนภัยใช้ Internet Banking ทำธุรกรรมออนไลน์ โจรมารูปแบบใหม่สร้างเว็บไซต์ธนาคารปลอม เหยื่อไม่ทันระวังเจอดูดเงินเกลี้ยง พร้อมแนะวิธีสังเกตป้องกันภัย   วันนี้ (24 ก.พ.) พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) ขอประชาสัมพันธ์เตือนภัยใช้ Internet Banking ระวังเจอเว็บไซต์ธนาคารปลอม ถูกมิจฉาชีพหลอกลวงกรอกข้อมูลทางการเงิน เงินหายออกจากบัญชี ดังนี้   ตามที่ในปัจจุบันประชาชนสามารถเข้าถึง ตรวจสอบข้อมูล หรือขอเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ หรือทำธุรกรรมการเงินโดยไม่ต้องเดินทางไปยังสถาบันการเงิน หรือธนาคารแต่อย่างใด สามารถใช้โทรศัพท์มือถือ หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นใด ที่เชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ตเข้าถึงระบบได้ทุกที่ทุกเวลา แต่ก็เป็นช่องทางหนึ่งให้มิจฉาชีพฉวยโอกาสสร้างเว็บไซต์ปลอม ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับเว็บไซต์จริง เพื่อหลอกลวงประชาชนที่ไม่ทันสังเกต เข้ามากรอกทั้งข้อมูลส่วนบุคคล และข้อมูลทางการเงิน เช่น รหัสผู้ใช้งาน รหัสผ่าน หมายเลขบัญชีธนาคาร เลขบัตรเดบิต/เครดิต รหัสหลังบัตร 3 หลัก รหัสใช้ครั้งเดียว (OTP) เป็นต้น เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในทางมิชอบ ไม่ว่าจะเป็นการนำข้อมูลที่ได้ไปถอนเงินของเหยื่อออกจากบัญชี หรือไปแฮ็กบัญชีสื่อสังคมออนไลน์…

ดีมากกว่าเสีย? ‘เฟซบุ๊ก’ เก็บเงินยืนยันตัวตน ช่วยแยกเพจปลอมคนดังที่ถูกแอบอ้างได้

Loading

  ผู้เชี่ยวชาญด้านไซเบอร์ ชี้ เฟซบุ๊กเก็บเงินค่ายืนยันตัวตน ช่วยให้รู้ว่าเพจไหนปลอมเพจไหนจริง แต่หวั่นเรื่องข้อมูลส่วนบุคคล ต้องใช้บัตรประชาชนสมัคร ระบุต้องอยู่ภายใต้ ก.ม.พีดีพีเอ   ดร.ปริญญา หอมเอนก ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอซิส โปรเฟสชั่นนัล เซ็นเตอร์ จำกัด เปิดเผยว่า การที่เฟซบุ๊กจะเก็บค่าบริการ ใช้สัญลักษณ์รับรองบัญชีอย่างเป็นทางการ (Meta Verified) ประมาณ 400-500 บาทต่อเดือน นั้น จะช่วยให้ผู้ใช้งานเฟซบุ๊ก รู้ว่าเพจไหนเป็นเพจจริงหรือปลอม หลังจากปัจจุบันจะพบปัญหาเพจปลอมจำนวนมาก โดยเฉพาะคนที่มีชื่อเสียงถูกปลอมหรือแอบอ้างทำเพจปลอมจำนวนมาก ผู้มีชื่อเสียงบางคนถูกนำรูปและข้อมูลไปปลอมเพจมีเป็นสิบเป็นร้อยเพจ ถ้ามีการยืนยันมีเครื่องหมายถูก ก็จะช่วยให้คนที่ใช้งาน รู้ว่าเพจไหนปลอมหรือจริง ช่วยให้ไม่ถูกหลอก   “สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ การสมัครบริการ จะต้องใช้บัตรประชาชน หรือเอกสารราชการนั้น ทางเฟซบุ๊ก ก็ต้องดำเนินการ ตามกฎหมาย หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ของประเทศไทย ต้องดูแลข้อมูล ไม่ให้เกิดการรั่วไหล และหากเกิดรั่วไหลก็ต้องมีความรับผิดชอบตามกฎหมายประเเทศไทย แต่ที่ผ่านมาผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม จากต่างประเทศเหล่านี้มักอ้างว่า ไม่มีออฟฟิศ หรือสำนักงานในไทย ซึ่งจะทำให้การเอาผิดตามกฎหมายทำได้อยาก ส่งผลให้ไทยไม่มีอธิปไตยไซเบอร์ ที่ไม่สามารถเอาผิดแพลตฟอร์มเหล่านี้ได้ตามกฎหมาย”   ดร.ปริญญา กล่าวต่อว่า การให้บริการนี้ทางเฟซบุ๊ก บอกว่าจะให้บริการในการติดต่อเจ้าหน้าที่ที่รวดเร็วขึ้นหากเกิดปัญหา ถือเป็นพรีเมียมเซอร์วิส แต่ที่จริงควรจะดำเนินการให้กับทุกคนไม่เฉพาะที่ต้องจ่ายเงิน และต้องดูว่า เมื่อมีการจ่ายเงินไปแล้ว จะได้รับบริการเร็วตามที่อ้างหรือไม่ หากมีคนยอมจ่ายเป็นล้านคนจะได้บริการที่รวดเร็วหรือไม่ ต้องดูว่าประสบการณ์ หลังการจ่ายเงินแล้วจะเป็นตามที่โฆษณาหรือไม่ โดยมองว่าบริการนี้จะมีคนจ่ายเฉพาะคนดัง…

แคนาดาเผยพบทุ่นสังเกตการณ์ หลักฐานบ่งชี้จีน “พยายามสอดแนม” พื้นที่อาร์กติก

Loading

  แคนาดาเผยพบทุ่นสังเกตการณ์ หลักฐานบ่งชี้จีน “พยายามสอดแนม” ภูมิภาคอาร์กติก   แคนาดาเผยพบทุ่นสังเกตการณ์ – วันที่ 23 ก.พ. บีบีซี รายงานว่า กองทัพแคนาดา แถลงพบหลักฐานที่บ่งชี้ว่าทางการจีนพยายามสอดแนม ภูมิภาคอาร์กติก หรือบริเวณขั้วโลกเหนือ ซึ่งประกอบไปด้วยพื้นที่บางส่วนของประเทศต่าง ๆ ครอบคลุมถึงแคนาดา กรีนแลนด์ ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ สวีเดน ฟินแลนด์ และสหรัฐอเมริกา   หลังทีมเจ้าหน้าที่ในภารกิจ “โอเปอเรชั่นลิมปิด” ภารกิจสืบภัยคุกคามต่อความมั่นคงของประเทศด้วยการตรวจตราทางอากาศ ทางบก และทางทะเลของกองทัพแคนาดา ค้นพบทุ่นสังเกตการณ์ช่วงปลายปีก่อน     นายดาเนียล เลอ บูติลิเยร์ โฆษกสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติ กล่าวว่ากองทัพตระหนักดีถึงความพยายามของจีนในการสอดแนมน่านฟ้าและเส้นทางการเดินเรือของแคนาดา จีนทำสิ่งนี้โดยใช้เทคโนโลยีเพื่อจุดประสงค์ 2 ด้าน หมายความว่าอุปกรณ์ที่จีนใช้สอดแนมสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเพื่อการวิจัยและการทหาร   พร้อมเสริมว่ากองทัพได้ยับยั้งการเข้าสอดแนมในแคนาดาตั้งแต่ปี 2565 แต่ไม่ได้ระบุรายละเอียดว่าจีนพยายามล้วงข้อมูลลับด้วยวิธีใด ทั้งนี้ ในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมาจีนส่งเจ้าหน้าที่ระดับสูงเข้าไปในพื้นที่ขั้วโลกเหนือมากถึง 33 ครั้ง หนำซ้ำยังส่งเรือตัดน้ำแข็งและเรือขนาดใหญ่…