ผู้บริหาร Microsoft เตือนภัยจาก Deepfakes ในอนาคตที่อาจสมจริงถึงขั้นที่ไม่มีทางจับได้

Loading

  งานวิจัยชิ้นล่าสุดของ เอริก ฮอร์วิตซ์ (Eric Horvitz) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิทยาศาสตร์ของ Microsoft ในชื่อ ‘On the horizon: Interactive and compositional deepfakes’ คาดการณ์ไว้ว่าเทคโนโลยี Deekfakes ในอนาคตอาจพัฒนาไปไกลถึงขั้นที่ถูกนำมาใช้แบบเรียลไทม์ได้   Deepfakes คือการดัดแปลงคลิปวีดิโอโดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ และ Machine Learning เพื่อสร้างคลิปวีดิโอที่ทำให้ดูเหมือนว่าคน ๆ หนึ่งพูดในสิ่งที่เขาไม่เคยพูดจริง ๆ ได้   ฮอร์วิตซ์เชื่อว่า Deepfakes ในอนาคตอาจก้าวหน้าไปจนถึงขนาดที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้งานแบบเรียลไทม์ได้   นอกจากนี้ Deepfakes ในอนาคตอาจมีความสมจริงไปจนถึงขั้นที่สังเคราะห์ภาพประวัติศาสตร์ของเหตุการณ์โลกที่ไม่เคยเกิดขึ้นจริงได้ หรือที่เรียกว่า Synthetic history (ประวัติศาสตร์สังเคราะห์)   ยิ่งไปกว่านั้น ภาพ Deepfakes ที่สมจริงมากอยู่แล้วในปัจจุบัน อาจยิ่งมีความสมจริงยิ่งขึ้นจนเราไม่สามารถแยกแยะว่าภาพไหนจริงหรือปลอมได้อีกต่อไป รวมถึงยังอาจสามารถหลอกเครื่องมือตรวจจับข้อมูลเท็จที่ล้ำหน้าได้ด้วย     ที่มา TechRadar    …

นักวิจัยเผยว่าแอปบนมือถือจำนวนมากถูกแฮ็กเกอร์เข้าแทรกซึม

Loading

  HUMAN Security บริษัทด้านไซเบอร์พบว่าแอปพลิเคชันจำนวนเกือบ 90 แอปที่ให้เปิดให้บริการอยู่บนระบบปฏิบัติการ Android และ iOS ถูกแฮ็กเกอร์เข้าควบคุมเพื่อแฝงโฆษณาปลอมเพื่อใช้ทำเงิน   ในจำนวนนี้มีถึง 80 แอปที่อยู่บน Android และอีก 9 แอปอยู่บน iOS ทั้งหมดนี้มียอดดาวน์โหลดรวมกันมากกว่า 13 ล้านครั้ง มีทั้งเกม แอปพักหน้าจอ หรือแม้แต่แอปกล้อง   HUMAN พบว่าแฮ็กเกอร์สามารถเข้าควบคุมแอปเหล่านี้เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ส่วนตัวในหลายรูปแบบด้วยกัน ตั้งแต่การปลอมเป็นแอปอื่น การแฝงโฆษณาปลอมเพื่อหลอกทำเงินจากเจ้าของโฆษณา และการนำข้อมูลการกดปุ่มในแอปเพื่อไปหลอกระบบว่าเป็นการกดดูโฆษณาของผู้ใช้   HUMAN เรียกกระบวนวิธีการแฮ็กนี้ว่า Scylla ซึ่งมีความซับซ้อนอย่างมาก และเชื่อว่าเหล่าแฮ็กเกอร์ผู้อยู่เบื้องหลังน่าจะกำลังพัฒนากลวิธีให้ซับซ้อนยิ่งขึ้น   ทั้งนี้ ทาง HUMAN ระบุว่ากำลังทำงานร่วมกับ Google และ Apple อย่างใกล้ชิดเพื่อจัดการลบแอปเหล่านี้ออกจากแพลตฟอร์มของแต่ละเจ้าต่อไป   อย่างไรก็ดี แม้จะมีการนำแอปเหล่านี้ออกจากแพลตฟอร์มไปแล้ว แต่ผู้ใช้งานที่ดาวน์โหลดแอปเข้าไปในอุปกรณ์ของตัวเองยังมีความเสี่ยงอยู่จนกว่าจะลบแอปออกจากเครื่องไป   ผู้ใช้สามารถเข้าไปตรวจสอบแอปที่มีความเสี่ยงได้ที่นี่     ที่มา…

ฟองปริศนาผุดในทะเลบอลติก!? คาดวินาศกรรมท่อส่งก๊าซรัสเซีย

Loading

A large disturbance in the sea can be observed off the coast of the Danish island of Bornholm, Sept. 27, 2022.   เกิดฟองอากาศจำนวนมากผุดขึ้นกลางทะเลบอลติก ซึ่งคาดว่าอาจเกิดจากเหตุวินาศกรรมท่อส่งก๊าซนอร์ดสตรีมของรัสเซีย   รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แอนโทนี บลิงเคน กล่าวกับผู้สื่อข่าวในวันอังคารว่า “กำลังมีการตรวจสอบฟองอากาศและการรั่วไหลนี้ โดยรายงานเบื้องต้นชี้ว่าอาจเป็นผลจากการโจมตีหรือการก่อวินาศกรรม” และว่า “หากมีการยืนยันว่าเป็นการโจมตีจริง ก็ไม่มีใครได้ประโยชน์จากเรื่องนี้”   ด้านโฆษกทำเนียบขาว คารีน ฌอง-ปิแอร์ กล่าวว่า ยังไม่สามารถยืนยันสาเหตุของเรื่องนี้ได้   ท่อส่งก๊าซนอร์ดสตรีม 1 ความยาว 1,222 กม. ถือเป็นเส้นทางสำคัญในการส่งก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียไปยังยุโรป ขณะที่ท่อนอร์ดสตรีม 2 ความยาว 1,234 กม. ยังไม่ได้เปิดใช้เพื่อการพาณิชย์   Map…

รัสเซียขับจนท.กงสุลญี่ปุ่นพ้นประเทศ ชี้จารกรรมข้อมูลลับ โตเกียวยันโต้กลับ

Loading

  รัสเซียขับจนท.กงสุลญี่ปุ่นพ้นประเทศ ชี้จารกรรมข้อมูลลับ โตเกียวยันโต้กลับ   สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานเมื่อวันที่ 27 กันยายนว่า สำนักงานความมั่นคงรัสเซีย (เอฟเอสบี) กล่าวเมื่อวันที่ 26 กันยายนว่า รัสเซียได้จับกุม นายโมโตกิ ทัตสึโนริ เจ้าหน้าที่กงสุลชาวญี่ปุ่นที่เมืองท่าวลาดิวอสต็อกของรัสเซีย โทษฐานเป็นผู้ต้องสงสัยจารกรรมข้อมูล ซึ่งต่อมาได้ทำการปล่อยตัวและสั่งให้เจ้าหน้าที่ดังกล่าวออกจากประเทศ ขณะที่ทางการที่ญี่ปุ่นออกมาต่อต้านการจับกุมครั้งนี้อย่างแข็งกร้าว   เอฟเอสบีได้ประกาศให้นายทัตสึโนริเป็น “บุคคลที่ไม่พึงปรารถนา” หลังจากถูกจับกุมตัวได้ขณะกำลังจารกรรมข้อมูลลับเกี่ยวกับผลกระทบทางเศรษฐกิจในรัสเซียตะวันออกไกล ที่เกิดขึ้นจากการคว่ำบาตรของตะวันตก ซึ่งคาดว่านายมัตสึโนะถูกจ้างวานด้วย “เงินรางวัล” ให้ล้วงข้อมูลในครั้งนี้ อีกทั้ง ยังมีรายงานว่ารัสเซียได้ประท้วงการจารกรรมข้อมูลของเจ้าหน้าที่ญี่ปุ่นคนนี้ผ่านช่องทางทางการทูตแล้ว   ขณะที่นายฮิโรคาสุ มัตสึโนะ หัวหน้าเลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น กล่าวในการแถลงข่าวประจำวันเมื่อวันที่ 27 กันยายนว่า ญี่ปุ่นคัดค้านอย่างรุนแรงต่อการที่รัสเซียจับกุมเจ้าหน้าที่กงสุล ซึ่งญี่ปุ่นออกมาปกป้องว่าไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งผิดกฎหมายใดๆ ว่าเป็น “การกระทำที่คุกคาม” และเป็นการ “ความรุนแรงอย่างชัดเจนที่ล่วงละเมิดต่ออนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต” พร้อมกับส่งสัญญาณว่าจะตอบโต้ปฏิบัติการของรัสเซียครั้งนี้   ท่าทีของมัตสึโนะสอดคล้องกับกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นที่ได้แจ้งกับเอกอัครราชทูตรัสเซียประจำกรุงโตเกียวว่า ญี่ปุ่นจะดำเนินการต่างตอบแทนที่เท่าเทียมกัน อีกทั้งยังประเทศต้องการคำขอโทษจากรัสเซียด้วย       ———————————————————————————————————————————————- ที่มา :   มติชนออนไลน์ …

อีกแล้ว! ประวัติคนไข้-ผลติดเชื้อโควิด-19 หลุดในถุงกระดาษห่อขนมโตเกียว

Loading

  โซเชียลฯ แห่วิจารณ์ พบถุงกระดาษห่อขนมโตเกียวคือกระดาษที่มีข้อมูลคนไข้ และระบุผลการติดเชื้อโควิด-19 ของผู้ที่เคยไปตรวจหาเชื้อ ด้านชาวเน็ตแซวผลตรวจไม่พบเชื้อคือปลอดภัย    27 ก.ย. เพจ “Drama-addict” โพสต์ภาพถุงกระดาษที่ใช้สำหรับห่อขนมโตเกียว แต่กลับพบว่าคือกระดาษที่มีข้อมูลคนไข้ และระบุผลการติดเชื้อโควิด-19 ของผู้ที่เคยไปตรวจหาเชื้อ ซึ่งทำให้ชาวเน็ตที่พบเห็นภาพดังกล่าวต่างตกใจ เนื่องจากกระดาษที่มีข้อมูลคนไข้และผลการติดเชื้อโควิด-19 ก็คือขยะที่ไม่ควรใช้ห่ออาหาร   โดยระบุข้อความว่า “ลูกเพจฝากมา ซื้อขนมโตเกียววันนี้ แถมฟรี ข้อมูลส่วนตัวคนไข้ ผลแล็บ บลาๆ แถวระยองครับ”         ———————————————————————————————————————————————- ที่มา :    ผู้จัดการออนไลน์                 /   วันที่เผยแพร่   27 ก.ย.65 Link : https://mgronline.com/onlinesection/detail/9650000092855

อินเดียกำหนดให้ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนรองรับระบบ NavIC ระบบดาวเทียมระบุพิกัดของอินเดียเอง

Loading

  พื้นที่การใช้งานระบบดาวเทียม NavIC   อินเดียได้ออกข้อกำหนดให้ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนและอุปกรณ์พกพาอื่นที่จะทำตลาดในอินเดียให้รองรับระบบนำทางด้วยดาวเทียมของอินเดียที่ชื่อ NavIC (Navigation with Indian Constellation) (หรือก็คือระบบ GPS ที่เป็นของอินเดียเอง) เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคมปี 2023 เป็นต้นไป   มาตรการผลักดันการใช้งานระบบ NavIC ล่าสุดที่กำหนดให้ผู้ผลิตชิปและผู้ผลิตอุปกรณ์พกพาสำหรับขายในอินเดียให้ผนวกชิปรองรับการใช้งานกับดาวเทียม NavIC นั้นย่อมเพิ่มโจทย์ในการทำงานให้บริษัทไอที ทั้งเรื่องต้นทุนชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งจะต้องทำงานแข่งกับเวลาให้ทันเดือนมกราคมปีหน้า   รายงานข่าวระบุว่าในการประชุมแบบปิดในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน ตัวแทนของ Apple, Xiaomi และ Samsung ซึ่งเข้าร่วมการประชุมต่างก็แสดงความเห็นคัดค้านกฎใหม่นี้ ด้วยเหตุผลด้านต้นทุนและการแจ้งข้อกำหนดที่กระชั้นชิดมีเวลาทำงานที่น้อยเกินไป ที่สำคัญเรื่องนี้กระทบแผนงานพัฒนาผลิตภัณฑ์และแผนการตลาดของหลายบริษัท ทั้งนี้ตัวแทน Samsung ระบุว่าในตอนนี้บริษัทวางแผนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ล่วงหน้าไปถึงปี 2024 แล้ว   กลุ่มผู้ผลิตสมาร์โฟนต้องการให้ทางการอินเดียยืดระยะเวลาบังคับใช้กฎใหม่นี้ไปเป็นปี 2025 เพื่อให้มีเวลาพัฒนาฮาร์ดแวร์รวมทั้งทำการทดสอบให้พร้อมใช้งานจริง ซึ่งทำให้การหารือเรื่องนี้ระหว่างกลุ่มผู้ผลิตอุปกรณ์กับรัฐบาลอินเดียยังไม่ได้ข้อสรุปที่ลงตัวในขณะนี้และจะมีการนัดประชุมเพื่อหาทางออกร่วมกันอีกครั้ง   NavIC เป็นระบบระบุพิกัดโดยดาวเทียม 7 ดวงของ ISRO (Indian Space Research Organisation) ซึ่งเป็นหน่วยงานวิจัยด้านอวกาศของรัฐบาลอินเดีย…