ระเบิดป้อมปาลัส “คาร์บอมบ์” ลูกที่ 59 ตลอด 18 ปีไฟใต้

Loading

เหตุระเบิดใกล้กับป้อมตำรวจ “หน่วยบริการประชาชนจันทรักษ์” ท้องที่บ้านปาลัส ต.ควน อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี ถือเป็น “คาร์บอมบ์” หรือระเบิดที่ติดตั้งในรถยนต์รูปแบบหนึ่ง งานนี้อาจเรียกได้ว่าเป็น TRUCK BOMB เพราะคนร้ายซุกระเบิดในรถขนขยะ ซึ่งเป็นรถบรรทุก 6 ล้อแบบดัดแปลง ก่อนใช้วิทยุสื่อสารกดจุดชนวน เหตุระเบิดในรูปแบบ “คาร์บอมบ์” จัดเป็นความรุนแรงระดับสูงสุดที่เคยเกิดขึ้นในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอของ จ.สงขลา คาร์บอมบ์ครั้งนี้ ถือเป็นระเบิดคาร์บอมบ์ลูกแรกของปี 2565 และเป็นคาร์บอมบ์ลูกที่ 59 นับตั้งแต่มีสถานการณ์ไฟใต้ปะทุขึ้นมาเมื่อปี 2547 ก่อนหน้านี้ในช่วงปี 2563-2564 พบว่า เกิดเหตุคาร์บอมบ์ขึ้นปีละ 1 ครั้ง วันที่ 17 มี.ค.63 เกิดระเบิดคาร์บอมบ์ขึ้นที่บริเวณหน้าศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) โดยคนร้ายได้ขับรถยนต์กระบะตอนเดียวสภาพเก่า ยี่ห้อโตโยต้า รุ่นไมตี้เอ็กซ์ สีขาว ไม่ทราบหมายเลขทะเบียน ดัดแปลงประกอบระเบิดเป็นคาร์บอมบ์ ไปจอดไว้ที่หน้าป้าย ศอ.บต. หลังจากนั้นจึงได้ระเบิดขึ้น แรงระเบิดทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ นักข่าว…

หุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดของ สทป. ผ่านรับรองมาตรฐานกลาโหม พร้อมเดินหน้าผลิต

Loading

  22 มิ.ย.2565 – สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (สทป.) ได้เปิดเผยผลงานโครงการวิจัยและพัฒนาด้านหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิด ซึ่งเป็น 1 ใน 5 ของเทคโนโลยีเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ เพื่อวิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์ทั้งขนาดเล็กและขนาดกลางสนับสนุนภารกิจตรวจค้น พิสูจน์ทราบ เก็บกู้และทำลายวัตถุระเบิด และภารกิจทางด้านความมั่นคงต่าง ๆ ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งทางทหารและพลเรือน โดยรูปแบบการดำเนินงานมุ่งเน้นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือจากทั้งสถาบันการศึกษาและภาคอุตสาหกรรม เพื่อบูรณาการขีดความสามารถในการวิจัยและพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดให้สามารถตอบสนองภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงตามความต้องการของผู้ใช้งาน จากการวิจัยและพัฒนาต้นแบบหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดอย่างต่อเนื่อง สทป.ได้มีการนำข้อเสนอแนะจากหน่วยผู้ใช้มาพัฒนาและปรับปรุงสมรรถนะ เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนเป็นที่ยอมรับของหน่วยผู้ใช้ ทำให้หุ่นยนต์ของ สทป.ได้รับการรับรองมาตรฐานยุทโธปกรณ์กระทรวงกลาโหม พร้อมเดินหน้าเข้าสู่สายการผลิต จำนวน 2 รุ่น ได้แก่ 1. ต้นแบบหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดขนาดเล็ก รุ่น D-EMPIR V.4 ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สทป. กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร เป็นหุ่นยนต์ที่สนับสนุนภารกิจตรวจค้น พิสูจน์ทราบ เก็บกู้และทำลายวัตถุระเบิด โดยออกแบบให้หุ่นยนต์มีความคล่องตัวในการเข้าพื้นที่ ทนต่อสภาพแวดล้อม ควบคุมและสั่งการแบบไร้สายระยะไกล 300 เมตร ใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง 2 ชั่วโมง และสามารถรับน้ำหนักของวัตถุต้องสงสัยได้ถึง 30 กิโลกรัม 2.…

กต.สหรัฐฯ หนุน ‘ธรรมศาสตร์’ ยกระดับเป็นศูนย์กลางอาเซียนด้านความปลอดภัยไซเบอร์

Loading

  “ธรรมศาสตร์” เดินหน้าเปิดศูนย์อบรมด้าน “Cybersecurity” เสริมองค์ความรู้ให้หน่วยงานดูแลระบบโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ “ไฟฟ้า-พลังงาน-อื่นๆ” ของประเทศ หลัง ก.ต่างประเทศสหรัฐฯ-PNNL สนับสนุนเป็นศูนย์กลางของไทยและอาเซียน วันที่ 20 มิถุนายน 2565 รศ.ดร.จิรพล สังข์โพธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันโลกออนไลน์กลายเป็นส่วนสำคัญในการใช้ชีวิตและการทำงานของทุกคน รวมถึงทุกองค์กร และนั่นจึงทำให้การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity) กลายเป็นประเด็นที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดในเวลานี้ เพื่อที่จะปกป้องอุปกรณ์ ข้อมูล ตลอดจนทรัพย์สินทางดิจิทัลต่างๆ ซึ่งล้วนมีโอกาสเสี่ยงในการตกเป็นเป้าของการโจมตีทางไซเบอร์ได้มากยิ่งขึ้น รศ.ดร.จิรพล กล่าวว่า ในฐานะสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศ ล่าสุด มธ. ได้รับความไว้วางในการเป็นศูนย์กลางด้าน Cybersecurity สำหรับระบบโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ (Critical Infrastructure) ของประเทศไทย และในประเทศประชาคมอาเซียน (ASEAN) ด้วยการสนับสนุนจากกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (US Department of State) ผ่านห้องปฏิบัติการแห่งชาติแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ หรือ Pacific Northwest National Laboratory (PNNL)  …

ศาลยุโรปเผยใช้ข้อมูลผู้โดยสารสายการบินได้กรณีจำเป็นเท่านั้น

Loading

ศาลยุติธรรมสหภาพยุโรป (CJEU) เปิดเผยในวันนี้ว่า การใช้ข้อมูลผู้โดยสารสายการบินของสหภาพยุโรป (EU) ที่เก็บรวบรวมไว้เพื่อรับมืออาชญากรรมร้ายแรงจำเป็นต้องคำนึงถึงสิทธิพื้นฐาน และจำกัดการใช้งานเฉพาะกรณีที่จำเป็นจริง ๆ เท่านั้น CJEU ระบุว่า “ศาลเห็นว่า การเคารพสิทธิขั้นพื้นฐานจำเป็นต้องกำหนดให้มีการจำกัดขอบเขตอำนาจที่เกี่ยวข้องกับการใช้ระบบข้อมูลชื่อผู้โดยสาร (PNR Directive) ไว้ในเฉพาะกรณีที่จำเป็นจริง ๆ เท่านั้น” นอกจากนี้ CJEU ยังเสริมว่า “ในกรณีที่ไม่มีภัยคุกคามจากการก่อการร้ายที่แท้จริง ซึ่งบ่งชี้ว่ามีโอกาสเกิดในปัจจุบันหรือในอนาคตต่อประเทศสมาชิก กฎหมายของ EU จะไม่ครอบคลุมถึงกฎหมายในระดับประเทศ ที่กำหนดให้มีการถ่ายโอนและประมวลผลข้อมูล PNR ของผู้โดยสารในเที่ยวบินภายใน EU และการขนส่งที่ดำเนินการโดยวิธีอื่นภายใน EU เช่นกัน”     ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์   /   วันที่เผยแพร่ 21 มิ.ย.65 Link : https://www.infoquest.co.th/2022/210060  

คืบหน้า “ระเบิดคาร์บอม” ป่วนปัตตานี เจ้าหน้าที่คาดฝีมือกลุ่มอับดุลฮาดี

Loading

คืบหน้าเหตุ “ระเบิดคาร์บอม” ป่วนปัตตานี ล่าสุดเจ้าหน้าที่เผยรู้เบาะแสคนร้ายแล้ว คาดฝีมือกลุ่ม “อับดุลฮาดี” สร้างสถานการณ์ จากกรณีคนร้ายไม่ทราบจำนวนพร้อมอาวุธได้ทำการปล้นรถเก็บขยะของ อบต.ลางา อ.มายอ จ.ปัตตานี แล้วใช้เชือกมัดพนักงานทั้ง 4 คน ก่อนที่จะนำรถไปทำการซุกระเบิดน้ำหนักประมาณ 50 กิโลกรัม เพื่อทำ “ระเบิดคาร์บอม” ก่อนขับมาจอดทิ้งไว้บริเวณด้านข้างป้อมจุดตรวจหน่วยบริการประชาชนจันทรักษ์ ริมถนนสายปัตตานี-นราธิวาส ม.1 บ้านปาลัส ต.ควน อ.ปะนาเระ ซึ่งอยู่ติดกับปั๊ม ปตท.ปาลัส และ อบต.ควน หลังจากที่คนร้ายได้จอดรถแล้วจึงวิ่งขึ้นรถ จยย.ซึ่งมีคนร้ายอีกคนขับมาจอดรอรับพาหลบหนีไป ประมาณ 10 นาทีคนร้ายได้กดชนวนระเบิดจนเกิดระเบิดเสียงดังสนั่นหวั่นไหว ทำให้ ส.ต.ท.ณัฐกิตต์ เชี่ยวชาญ ซึ่งอยู่ภายอาคารได้รับบาดเจ็บ เหตุเกิดเมื่อคืนวันที่ 20 มิ.ย.65 ที่ผ่านมา สำหรับความคืบหน้าล่าสุดวันนี้ (21 มิ.ย.65) พล.ต.ต.นรินทร์ บูสะมัญ ผบก.ภ.จ.ปัตตานี พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ชุดสืบสวนสอบสวน เจ้าหน้าที่เก็บกู้วัตถุระเบิด และเจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐาน (พฐ.) ได้เข้ามาทำการตรวจสอบที่เกิดเหตุอีกครั้งเพื่อเก็บวัตถุพยานและตรวจสอบความเสียหายจากแรงระเบิด จากการตรวจสอบพบซากรถบรรทุก 6…

ญี่ปุ่นจ่อลงดาบบริษัทไอทีต่างชาติที่ไม่ยอมจดทะเบียนในประเทศ

Loading

นายโยชิฮิสะ ฟูรุคาวะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมของญี่ปุ่นเปิดเผยในวันนี้ (21 มิ.ย.) ว่า บริษัทเทคโนโลยีต่างชาติขนาดใหญ่ที่ไม่ยอมจดทะเบียนบริษัทในญี่ปุ่นตามที่กฎหมายกำหนดจะต้องถูกลงโทษ สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า จนถึงขณะนี้บริษัทไอทีต่างชาติ 48 แห่ง ซึ่งรวมถึงกูเกิล , เมตา แพลตฟอร์ม และทวิตเตอร์ ยังไม่ยอมจดทะเบียนบริษัทในญี่ปุ่น แม้ว่ากระทรวงยุติธรรมและกระทรวงสื่อสารของญี่ปุ่นได้ยื่นคำขอไปแล้วก็ตาม ทั้งนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นตั้งเป้าที่จะส่งเสริมการตรวจสอบธุรกิจของบริษัทต่างชาติที่ให้บริการผู้คนจำนวนมากในประเทศ นอกจากนั้น การจดทะเบียนของกลุ่มบริษัทโซเชียลมีเดีย จะทำให้ศาลญี่ปุ่นสามารถขอรายละเอียดผู้ใช้งานได้ เพื่อนำมาใช้ในการพิจารณาคดีการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ตที่แพร่หลายภายในประเทศ กฎหมายของญี่ปุ่นบัญญัติเอาไว้ว่า ตัวแทนท้องถิ่นของบริษัทต่างประเทศที่ไม่ได้จดทะเบียน แม้มีเจตนาทำธุรกิจในญี่ปุ่น จะถูกปรับเป็นเงินถึง 1 ล้านเยน (7,400 ดอลลาร์สหรัฐ) อย่างไรก็ดี กระทรวงยุติธรรมระบุว่า บริษัท 6 แห่งจาก 48 แห่งได้ตอบรับคำขอจดทะเบียนแล้ว ขณะที่อีกส่วนหนึ่งเพิ่งตอบรับหลังจากได้รับแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรเมื่อต้นเดือนนี้ว่าต้องจดทะเบียนภายในวันที่ 13 มิ.ย.     ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์   /   วันที่เผยแพร่ 21 มิ.ย.65 Link : https://www.infoquest.co.th/2022/210049