ตร.อิสราเอลตามล่ามือมีดปาเลสไตน์ ก่อเหตุไล่แทง วันชาติอิสราเอล ดับ 3 ศพ

Loading

  เกิดเหตุคนร้ายใช้มีดไล่แทงผู้คนที่ออกมาร่วมงานฉลองวันชาติอิสราเอล ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 3 ศพ บาดเจ็บ 4 ราย ขณะที่มือมีดยังอยู่ระหว่างการหลบหนี   เมื่อวันที่ 5 พ.ค. เกิดเหตุชายชาวปาเลสไตน์ 2 คนใช้อาวุธมีดไล่แทงผู้คนในเมืองเอลอาด ใกล้กับเมืองเทลอาวีฟ ก่อนที่จะขึ้นรถหลบหนีไป โดยตำรวจอิสราเอลได้ระดมกำลังออกไล่ล่าผู้ก่อเหตุ โดยส่งเฮลิคอปเตอร์ขึ้นบินวนตรวจสอบเส้นทางหลบหนีและมีคำสั่งปิดถนนหลายสาย ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 3 ศพบาดเจ็บ 4 ราย ในจำนวนนี้อาการสาหัส 2 ราย   โดยเจ้าหน้าที่กู้ภัยเปิดเผยว่า หลังจากได้รับแจ้งเหตุก็ได้เข้าไปยังบริเวณสถานที่จัดงานฉลองวันชาติ พบผู้เสียชีวิต 3 ศพ และผู้บาดเจ็บหลายคนกระจายอยู่ตามจุดต่างๆ ขณะที่สื่อท้องถิ่นของอิสราเอลรายงานว่า ผู้ก่อเหตุเป็นชายชาวปาเลสไตน์ 2 คน ขณะนี้ตำรวจกำลังเร่งตามล่าผู้ก่อเหตุพร้อมเตือนประชาชนไม่ให้เข้าไปในพื้นที่เมืองเอลอาด   ทั้งนี้ สถานการณ์ตึงเครียดระหว่างอิสราเอล-ปาเลสไตน์ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างมาก หลังเกิดเหตุรุนแรงจากการเผชิญหน้ากันบ่อยครั้งในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา โดยเฉพาะบริเวณมัสยิดอัล อักซอ ในนครเยรูซาเล็ม ซึ่งส่งผลให้มีการวางกำลังรักษาความปลอดภัยหนาแน่นทั้งในเยรูซาเล็ม และเขตเวสต์แบงก์     ————————————————————————————————————————————————————————————————————– ที่มา :   …

รัสเซียขึ้นบัญชีดำ 63 คนสำคัญของญี่ปุ่นห้ามเข้าประเทศ ไร้ชื่ออดีตนายกฯ “อาเบะ”

Loading

  กระทรวงการต่างประเทศรัสเซียประกาศห้ามชาวญี่ปุ่น 63 คนเดินทางเข้ารัสเซียโดยไม่มีกำหนด นายกฯ คิชิดะ ติดชื่อเบอร์ 1 แต่ไม่มีชื่อของนายชินโซ อาเบะ อดีตผู้นำญี่ปุ่นที่เคยประกาศตัวว่าคุ้นเคยกับประธานาธิบดีปูติน   รัสเซียตอบโต้ที่ญี่ปุ่นคว่ำบาตรรัสเซียจากการรุกรานยูเครน กระทรวงการต่างประเทศรัสเซียประกาศในวันพุธที่ 4 พฤษภาคม ห้ามชาวญี่ปุ่น 63 คนเดินทางเข้ารัสเซีย รายชื่อบุคคลสำคัญประกอบด้วยกลุ่มต่างๆ คือ   นักการเมืองญี่ปุ่น เช่น นายฟูมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น นายโยชิมาซะ ฮายาชิ รมว.ต่างประเทศ นายโนบูโอะ คิชิ รมว.การป้องกันประเทศ นายฮิโรกาสุ มัตสึโนะ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น นอกจากนี้ ยังมีรัฐมนตรีคลัง รัฐมนตรียุติธรรม ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา คณะกรรมาธิการรัฐสภาที่รับผิดชอบเรื่องดินแดน รวมทั้งสมาชิกรัฐสภาระดับสูงหลายคน     แต่ที่น่าสังเกตคือ ไม่มีชื่อของนายชินโซ อาเบะ อดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น   ซึ่งเคยพบกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน หลายครั้ง และได้ทำข้อตกลงโครงการพัฒนาพัฒนาเศรษฐกิจบนเกาะ 4…

ผู้เชี่ยวชาญด้านไซเบอร์แนะให้เปลี่ยนจากการใช้รหัสผ่านมาเป็นการยืนยันตัวตนด้วยชีวมิติ

Loading

    แกรเฮม วิลเลียมส์ (Grahame Williams) ผู้อำนวยการด้านจัดการตัวตนและการเข้าถึงแห่งบริษัทด้านการทหาร Thales ระบุว่ารหัสผ่านกลายเป็นสิ่งที่นับวันจะไม่ปลอดภัยและถูกแฮกได้ง่าย เนื่องจากวิธีการใช้ง่ายเกินไปและคาดเดาได้ไม่ยาก วิลเลียมส์เรียกร้องให้วงการไซเบอร์เปลี่ยนวิธีการล็อกอินเข้าระบบจากการใช้รหัสผ่านไปเป็นการยืนยันตัวตนแบบหลายชั้น (Multi-Factor Authentication – MFA) หรือการที่ผู้ใช้งานต้องให้รายละเอียดตัวตนหลากหลายในการเข้าสู่ระบบ โดยเฉพาะข้อมูลชีวมิติ (Biometrics) อย่างลายนิ้วมือ ใบหน้า และม่านตา ข้อมูลล่าสุดระบุว่ารหัสผ่านที่ได้รับความนิยมสูงสุดในบรรดาผู้ใช้ทั่วโลกคือว่า ‘password’ และ ‘qwerty’ ผลการวิจัยเมื่อสัปดาห์ที่แล้วยังพบด้วยว่าผู้บริหารจำนวนมากยังใช้รหัสผ่านในอุปกรณ์ว่า ‘12356’ อยู่เลย ดังนั้นการรณรงค์และการผลักดันให้ใช้รหัสผ่านที่ซับซ้อนแทบไม่เป็นผล “เรารู้ว่าคนยังใช้รหัสผ่านที่ง่ายโคตร ๆ เหล่านี้อยู่ แต่สิ่งที่น่าตกใจที่สุดคือการที่พวกเขาใช้รหัสผ่านแบบนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ดังนั้นหากมีใครสามารถเจาะรหัสผ่านของอุปกรณ์ใดอุปกรณ์หนึ่งได้ เขาก็จะสามารถเข้าครอบครองทุกอย่าง นอกจากนี้ การทำงานจากบ้านในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด – 19 ที่ผ่านมายิ่งที่ทำให้ปัญหาความไม่ปลอดภัยจากรหัสผ่านแย่ลงไปอีก” วิลเลียมส์ระบุ วิลเลียมส์จึงเสนอว่าผู้ให้บริการแพลตฟอร์มควรเร่งเสนอวิธีการอื่น ๆ ในการล็อกอินแทนการใช้รหัสผ่านได้แล้ว โดยเฉพาะการใช้ใบหน้าและลายนิ้วมือ ซึ่งเป็นสิ่งที่เฉพาะตัวของผู้ใช้แต่ละคน ที่มา The National     ที่มา : beartai   …

สหรัฐฯเร่งส่งทีมไซเบอร์หนุนลิทัวเนียต้านภัยคุกคามรัสเซีย

Loading

  พลตรีโจ ฮาร์ตแมน ผู้บัญชาการหน่วยปฏิบัติการไซเบอร์แห่งกองทัพสหรัฐ (U.S. Cyber National Mission Force) เผยว่า ขณะนี้สหรัฐฯได้เร่งส่งกองทัพไซเบอร์เข้าสนับสนุนลิทัวเนียในการป้องกันการโจมตีทางออนไลน์ที่เพิ่มขึ้นนับตั้งแต่รัสเซียบุกโจมตียูเครน พลตรีฮาร์ตแมนให้สัมภาษณ์นักข่าวที่เมืองแนชวิลล์ รัฐเทนเนสซี ว่าการส่งกำลังพลดังกล่าวไปยังลิทัวเนียครั้งนี้มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับวิกฤตที่ยูเครนกำลังเผชิญอยู่ขณะนี้ สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า ปฏิบัติการหยุดยั้งภัยคุกคามทางไซเบอร์ (Hunt forward mission) เป็นการส่งกองกำลังไซเบอร์ไปยังประเทศต่าง ๆ ตามที่ประเทศพันธมิตรของสหรัฐฯได้ขอความร่วมมือ เพื่อสอดส่องดูแลเครือข่ายโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะสร้างความยืดหยุ่น และแบ่งปันข้อมูลใหม่ ๆ เกี่ยวกับภัยคุกคาม โดยภาครัฐและเอกชนจะส่งข้อมูลกลับไปวิเคราะห์ที่สหรัฐฯ ผู้บัญชาการหน่วยปฏิบัติการฯ เพิ่มเติมว่า ปฎิบัติการในลิทัวเนียเป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการโดยเร็ว เนื่องจากภัยคุกคามที่เกิดขึ้นจากรัสเซียส่งผลต่อกลุ่มประเทศบอลติกและองค์กรอื่น ๆ ในภูมิภาค พลตรีฮาร์ตแมนยังเสริมอีกว่า สหรัฐฯเริ่มปฏิบัติการหยุดยั้งภัยคุกคามทางไซเบอร์มาตั้งแต่ปี 2561 จนถึงตอนนี้ดำเนินการไปแล้วกว่า 28 ภารกิจใน 16 ประเทศ โดยวางเครือข่ายมากกว่า 50 เครือข่าย ปัจจุบันประเทศเอสโตเนีย , มอนเตเนโกร , มาซิโดเนียเหนือ และยูเครนเป็นประเทศที่ประกาศตนอย่างชัดเจนในการให้ความร่วมมือกับปฏิบัติการนี้ โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (05 พ.ค. 65)…

FBI เตือนภัยจาก BEC ขโมยเงินกว่า 43,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทั่วโลก

Loading

Credit: ShutterStock.com ตัวเลข 43,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มาจากรายงานอาชญากรรมต่อ FBI รวมไปถึงข้อมูลการบังคับใช้กฎหมายและการยื่นเอกสารต่อสถาบันการเงิน โดยมีธนาคารในเอเชียเป็นจุดหมายปลายทางหลักในการรับเงินที่ถูก BEC ขโมยไป มากสุดคือ ธนาคารไทย และฮ่องกง จีนมาเป็นอันดับสาม รองลงมาเป็นเม็กซิโกและสิงคโปร์ Business Email Compromise เป็นรูปแบบหนึ่งของการโจมตีแบบ Social Engineering โดย FBI ให้นิยามว่า เป็นการต้มตุ๋นทางอีเมลอันแยบยล ซึ่งมีเป้าหมายสำหรับธุรกิจที่มีการติดต่อกับพาร์ทเนอร์ต่างประเทศ และมีการโอนเงินหากันผ่านทาง Wire Transfer บ่อยครั้ง โดยปกติแล้ว BEC จะเริ่มต้นโดยการแฮ็คหรือปลอมแปลงอีเมลของผู้บริหารระดับสูง จากนั้นก็ใช้อีเมลดังกล่าวส่งไปยังพนักงานทั่วไปที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ แล้วหลอกให้ทำการโอนเงินไปยังบัญชีของแฮ็คเกอร์ที่อยู่ต่างประเทศ FBI เผยสถิติจากการรายงานข้อมูลการหลอกลวงทางการเงินในสหรัฐฯ จำนวน 50 รัฐ และอีก 177 ประเทศทั่วโลก โดยระหว่างเดือนกรกฎาคม 2562 ถึงเดือนธันวาคม 2564 มีอัตราเพิ่มขึ้น 65% สำหรับข้อมูลการสูญเสียที่เปิดเผยจากทั่วโลก นับว่าเป็นการสูญเสียจากการพยายามปล้นเงินทางไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในช่วงการระบาด COVID-19 มีจำนวน 140…

อินเดียผ่านกฎหมายบังคับผู้ให้บริการต่างๆ เก็บข้อมูลผู้ใช้งาน

Loading

  รัฐบาลอินเดียได้ยกระดับการคุมเข้มทางอินเทอร์เน็ตด้วยการออกกฎหมายควบคุมกับผู้ให้บริการประกอบด้วย VPN , Datacenter , ธุรกิจตัวกลาง และนิติบุคคลต้องเก็บข้อมูลผู้ใช้   ตัวกฏหมายที่ประกาศจาก Indian CERT กล่าวว่า ผู้ให้บริการประกอบด้วย VPN , VPS , Cloud Provider , KYC , Custodian wallet service provider และ virtual asset exchange/service provider ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดใหม่ที่จะมาถึงในมิถุนายนนี้ โดยข้อบังคับว่าด้วยเรื่องการตั้งเวลาระบบให้ตรง การเก็บ Log และสามารถรายงานเหตุการณ์ทางไซเบอร์ได้ภายในหกชั่วโมง รวมถึงมีข้อมูลผู้ใช้บริการหรือลูกค้า สำหรับข้อมูลที่ผู้ให้บริการ Data Center , VPN และ Cloud Provider ต้องมีข้อมูลเหล่านี้อย่างน้อย 5 ปี – วันและช่วงเวลาการว่าจ้าง – วัตถุประสงค์ของการใช้บริการ – ที่อยู่และเบอร์ที่มีอยู่จริงตรวจสอบได้…