บิ๊กโจ๊ก ตรวจโครงการ สมาร์ทเซฟตี้โซน 4.0 สุดล้ำใช้โดรนบินตรวจการณ์

Loading

  พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ตรวจโครงการ สมาร์ทเซฟตี้โซน 4.0 สภ.เมืองสมุทรปราการ ติดกล้องวงจรปิด 180 ตัว บินโดรน สอดส่องป้องกันอาชญากรรม เมื่อวันที่ 8 ก.ย. 2564 ที่ห้องประชุมชั้น 5 กองบังคับการตำรวจภูธร จ.สมุทรปราการ พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ที่ปรึกษาสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สบ.9) เข้าตรวจโครงการสมาร์ทเชฟตี้โซน 4.0 ของสภ.เมืองสมุทรปราการ โดยมีพล.ต.ต.ชุมพล พุ่มพวง ผบก.ภ.จว.สมุทรปราการ พร้อมด้วยข้าราชการตำรวจ ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธร ทุกสถานีในจ.สมุทรปราการ กต.ตร.สมุทรปราการ ตัวแทนห้างร้านและชาวบ้านชุมชนต่าง ๆ ให้การตอนรับ โดยมีพ.ต.อ.เติมรัศมิ์ จินดาวัฒน์ ผกก.สภ.เมืองสมุทรปราการ กล่าวรายงาน ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสภ.เมืองสมุทรปราการ ได้มีการประสานงานกับองค์การบริหารส่วนจ.สมุทรปราการ เทศบาลนครสมุทรปราการ ในการติดตั้งกล้อง CCTV และซ่อมแซมกล้อง รวมทั้งหมด 180 ตัว ตามถนนหนทาง และชุมชนต่าง ๆ และติดตั้งกล่อง แจ้งเหตุฉุกเฉิน…

ผอ.รพ.สถาบันไตภูมิฯ แจ้งจับแฮกเกอร์เจาะข้อมูลคนไข้นับหมื่นราย

Loading

  เมื่อวันที่ 8 กันยายน ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์ธีรชัย ฉันทโรจน์ศิริ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์ นำหลักฐานและคลิปเสียงแฮกเกอร์เข้าแจ้งความร้องทุกข์กับ พ.ต.อ.บวรภพ สุนทรเรขา ผกก.สน.พญาไท เพื่อให้ดำเนินคดีกับแฮกเกอร์ที่ลักลอบเจาะข้อมูลคนไข้ของโรงพยาบาลกว่า 4 หมื่นรายชื่อ ทำให้โรงพยาบาลได้รับความเสียหาย ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์ธีรชัยเปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 6 ก.ย.​ที่ผ่านมา ทางโรงพยาบาลพบว่าไม่สามารถเข้าระบบฐานข้อมูลคนไข้ของโรงพยาบาลได้ตั้งแต่เวลาประมาณ 05.00 น. เมื่อตรวจสอบก็พบว่าแฮกเกอร์ได้เจาะระบบนำข้อมูลคนไข้ไป เช่น ข้อมูลส่วนตัวคนไข้ ประวัติการฟอกไต และประวัติการรักษาและผลเอกซเรย์ของคนไข้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุที่เข้ามารับการรักษา จากนั้นแฮกเกอร์ซึ่งเป็นชายพูดภาษาอังกฤษก็โทรศัพท์มาที่โรงพยาบาลขอเจรจาต่อรองกับผู้มีอำนาจ พร้อมบอกว่าขณะนี้ยังไม่มีบุคคลภายนอกรู้เรื่องนี้ และนัดโทรมาอีกครั้งในเวลา 09.00 น.วันที่ 7 ก.ย.​ แต่สุดท้ายก็ไม่มีการติดต่อเข้ามา ทางโรงพยาบาลจึงเข้าแจ้งความ ทั้งนี้ ส่วนตัวสันนิษฐานว่าแฮกเกอร์อาศัยช่วงที่ทางโรงพยาบาลติดต่อซื้อโปรแกรมตัวใหม่จากบริษัทเอกชนมาติดตั้ง โดยมีการควบคุมคอมพิวเตอร์ระยะไกลเข้ามาติดตั้งโปรแกรม ทำให้ระบบป้องกันของโรงพยาบาลเกิดช่องโหว่ แฮกเกอร์จึงฉวยโอกาสแฮกเข้ามาพอดี แต่เชื่อว่าแฮกเกอร์ไม่เกี่ยวข้องกับบริษัทผู้ผลิตโปรแกรมดังกล่าว เพราะเป็นบริษัทที่น่าเชื่อถือ อีกทั้งยังมีโรงพยาบาลและหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุขหลายแห่งที่ถูกแฮกเช่นกัน อย่างไรก็ตาม แม้โรงพยาบาลจะได้รับผลกระทบ ทำให้แพทย์ไม่สามารถตรวจประวัติการรักษาคนไข้หรือผลเอกซเรย์ในอดีตได้ และระบบจ่ายยาต้องใช้การคีย์ข้อมูลด้วยตนเองแทน แต่เจ้าหน้าที่ไอทีกำลังเร่งกู้ข้อมูลทั้งหมด และยืนยันว่าโรงพยาบาลมีการแบ๊กอัพข้อมูลประวัติการรักษาคนไข้ไว้อยู่แล้ว และคนไข้ยังสามารถมาใช้บริการได้แต่อาจเกิดความล่าช้ากว่าปกติ ด้าน พ.ต.อ.บวรภพเปิดเผยว่า แม้ตำรวจจะยังไม่มีเบาะแสผู้ต้องสงสัย…

ปัตตานีป่วน สั่งคุมเข้ม ไฟไหม้อบต. ชี้เกิดบ่อยไม่ใช่เรื่องบังเอิญแล้ว

Loading

  เจ้าหน้าที่สั่งคุมเข้มหลังเกิดไฟไหม้อบต. เอกสารราชการเสียหายทั้งหมด ชี้เกิดบ่อยไป ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ เร่งดูแล หาสาเหตุด่วน วันที่ 8 ก.ย. 2564 เจ้าหน้าที่เข้าดับเพลิงที่ไหม้ในอบต.สาครบน อ.มายอ จ.ปัตตานี พบไฟไหม้ชั้น 2 ของตัวเอาคาร ใช้เวลา 40 นาทีจึงควบคุมไว้ได้ จากการตรวจสอบพบว่าเป็นห้องเก็บเอกสารราชการ ซึ่งถูกไฟเผาทำลายจนหมด ตัวห้องได้รับความเสียหายอย่างมาก เบื้องต้นตำรวจตั้งประเด็นสาเหตุไว้ 3 ข้อ ข้อแรกคือไฟฟ้าลัดวงจร ข้อ 2.สร้างสถานการณ์และข้อสุดท้ายเป็นเรื่องส่วนตัวภายในสำนักงานเอง ทั้งนี้ได้มีการกำชับให้ดูแลอบต.ในจังหวัดหลายแห่งแล้ว หลังถูกเพลิงไหม้หลายครั้งแล้ว จนไม่ใช่เรื่องบังเอิญแล้ว โดยช่วงเช้าเมื่อวานนี้ก็มีรายงานคนร้ายบุกเผาสัญญาณโทรศัพท์ในพื้นที่บ้านเกาะบาตอ หมู่ 5 ต.เมาะมาวี อ.ยะรัง จ.ปัตตานี โดยกลุ่มผู้ก่อเหตุใช้กระสอบป่านเป็นเชื้อเพลิงเผาใต้เสาส่งสัญญาณได้รับความเสียหาย ซึ่งเจ้าหน้าที่จะเร่งสอบสวนหาตัวผู้ก่อเหตุมาดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป   ——————————————————————————————————————————- ที่มา : ข่าวสดออนไลน์        / วันที่เผยแพร่  8 ก.ย.2564 Link : https://www.khaosod.co.th/crime/news_6608049

โพลล์: อเมริกันชนเกือบครึ่งต้าน “การสอดเเนม” ประชาชนด้วยเหตุผลความมั่นคง

Loading

  เหลืออีกเพียงสี่วันก็จะครบรอบ 20 ปีเหตุการณ์ ก่อการร้าย 11 กันยายน ปี ค.ศ. 2001 ในสหรัฐฯ ซึ่งโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นทำให้เจ้าหน้าที่เพิ่มมาตรการด้านความมั่นคงขึ้นมาเพื่อปกป้องความปลอดภัยของประชาชน เมื่อเวลาผ่านไปมาตรการเก็บข้อมูลประชาชนทั้งในและนอกประเทศที่เคยได้รับการสนับสนุนจากคนอเมริกัน กลับได้รับเเรงต่อต้านมากขึ้น ณ ขณะนี้ สำนักข่าวเอพี (Associated Press) รายงานโดยอ้างโพลล์ที่ทำร่วมกับองค์กร NORC Center for Public Affairs Research ว่า คนอเมริกันร้อยละ 46 ไม่เห็นด้วยกับการที่เจ้าหน้าที่สามารถเข้าไปอ่านอีเมลของบุคคลที่ไม่ได้อยู่ในสหรัฐฯ โดยไม่มีหมายค้น แม้ว่าจะทำไปเพื่อตอบโต้ภัยคุกคามต่อสหรัฐฯก็ตาม และมีเพียงร้อยละ 27 ของผู้ตอบเเบบสอบถามที่เห็นด้วย ตามข้อมูลในโพลล์ของ AP-NORC ที่สำรวจความคิดเห็นของคนช่วงวันที่ 12-16 สิงหาคม อันที่จริงมาตรการดังกล่าวสามารถทำได้ตามกฎหมายว่าด้วยการเก็บข้อมูลข่าวกรองต่างประเทศ เมื่อมองย้อนกลับไป 10 ปีที่เเล้วผู้ที่สนับสนุนการสอดเเนมลักษณะดังกล่าวมีมากกว่าผู้ที่ไม่เห็นด้วยคือ ร้อยละ 47 ต่อ 30     ตัวเลขที่เห็นถือว่าเป็นไปในทางตรงข้ามกับปัจจุบัน แม้ว่าในตอนนี้ผู้เชี่ยวชาญเริ่มเตือนถึงความเป็นไปได้ที่กลุ่มติดอาวุธในต่างแดนจะกลับมาสั่งสมกำลังอีกครั้งหลังจากที่สหรัฐฯ เพิ่งถอนทหารออกจากอัฟกานิสถาน ผลโพลล์ครั้งนี้เเสดงให้เห็นถึงความคิดที่เปลี่ยนไป ที่คนอเมริกัน…

“ดีอีเอส”จัดทำฐานข้อมูลติดตามคดีกระทำผิดทางสื่อโซเชียล

Loading

  ดีอีเอส เร่งกำหนดคุณลักษณะของระบบฐานข้อมูลฯ และกรอบระยะเวลาดำเนินงาน เพื่อใช้ติดตามความคืบหน้าคดี ช่วยแก้ปัญหาข่าวปลอม การกระทำผิดทางสื่อสังคมออนไลน์ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นายภุชพงค์ โนดไธสง รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เปิดเผยว่า คณะทำงานจัดทำระบบฐานข้อมูลเพื่อควบคุมและติดตามคดีที่เกี่ยวข้องกับการเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จและการกระทำผิดทางสื่อสังคมออนไลน์  ได้มีแนวทางในการเร่งจัดทำระบบฐานข้อมูลรวมเกี่ยวกับเว็บไซต์ หรือสื่อโซเซียล ที่ทางกระทรวงฯ ได้รับแจ้งว่ามีการโพสต์ข้อความที่เป็นเท็จหรือเฟกนิวส์ และผิดกฎหมายต่างๆ อาทิ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์  เพื่อช่วยให้เจ้าหน้าที่ทำการคัดกรองเว็บไซต์ที่เข้าข่ายผิดกฎหมายให้สามารถนำเสนอต่อศาลเพื่อพิจารณามีคำสั่งปิดกั้น ซึ่งจะช่วยให้การแก้ไขปัญหาการเผยแพร่ข้อมูลเท็จ ทางสื่อสังคมออนไลน์ในประเด็นต่างๆให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น “คณะทำงานฯ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ และอัยการ ฯลฯ เพื่อบูรณาการข้อมูลร่วมกันในการจัดทำ ฐานข้อมูลเกี่ยวกับเว็บไซต์และสื่อโซเชียลที่มีข้อมูลเท็จหรือโพสต์ผิดกฎหมายที่ได้รับแจ้ง เพื่อให้เจ้าหน้าที่ทำได้เร็วขึ้น จากที่ผ่านมาแยกส่วนกัน เช่น มีเว็บไซต์ที่กระทำผิดที่แจ้งเข้ามาแต่ละวันจำนวนเท่าใด มีการกลั่นกรองเข้าข่ายผิดกฎหมาย เพื่อขอคำสั่งศาล ปิดกั้นเท่าไร และศาลมีคำสั่งปิดกั้นแล้วเท่าไร เพื่อดำเนินการส่งให้ทางผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต หรือ ไอเอสพี ปิดกั้นแล้วกี่ยูอาร์แอล ฯลฯ ซึ่งจะทำให้กระบวนการทำงานสามารถนำเสนอต่อ ศาลเพื่อพิจารณา วินิจฉัยได้แบบวันต่อวัน ขณะเดียวกันระบบก็จะมีการแจ้งเตือน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น เจ้าหน้าที่ตำรวจก็สามารถเข้ามาดูข้อมูล ในส่วนที่ต้องดำเนินการตามกฎหมาย เพื่อนำไปทำงานต่อได้ทันที โดยไม่ต้องรอหนังสือแจ้งจากกระทรวงฯ อย่างไรก็ตามการจัดทำฐานข้อมูลฯเป็นการเริ่มดำเนินการในช่วงแรกเท่านั้นยังไม่ได้กำหนดกรอบเวลาที่แล้วเสร็จเมื่อใด…

สรุปรายการข้อมูลคนไทยบน Raidforums พบข้อมูลผู้ใช้ CP Freshmart อีก 5.9 แสนรายการ ไม่ทราบที่มาอีก 30 ล้านรายการ

Loading

  นอกจากข้อมูลที่หลุดจากโรงพยาบาลเพชรบูรณ์แล้ว เมื่อค้นเว็บบอร์ด Raidforums ต่อ ยังสามารถพบข้อมูลจากประเทศไทยที่น่าเป็นห่วงอีกหลายรายการ ผู้ใช้ THJAX ประกาศขายข้อมูลที่ระบุว่ามาจากเว็บไซต์ CP Freshmart ประกอบด้วยชื่อ-นามสกุล, อีเมล, ชื่อผู้ใช้, ที่อยู่, เบอร์โทร, วันเดือนปีเกิด, และรหัสผ่านแบบแฮช ทั้งหมดกว่า 5.9 แสนรายการ (594,585 แถว) โดยมีตัวอย่างเป็นไฟล์เอ็กเซลให้ดาวน์โหลด 1,000 รายการ ส่วนอีกรายการเป็นข้อมูลไม่เปิดเผยที่มาจากผู้ใช้ osintguy อ้างว่ามีข้อมูลกว่า 30 ล้านรายการ โดยมีตัวอย่างเป็นไฟล์ .txt ภายในมีข้อมูล ชื่อ นามสกุล เบอร์โทรศัพท์ ที่อยู่ หมายเลขบัตรประชาชน เพศ และวันเดือนปีเกิด     ทั้งสองรายการให้ติดต่อกลับเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม ปัจจุบันมีคอมเม้นต์ในฟอรั่มขอข้อมูลเพิ่มเติมมากพอสมควร ผู้เขียนทดลองดาวน์โหลดไฟล์ตัวอย่างของทั้งสองกระทู้ พบว่ามีข้อมูลประชาชนตามที่กล่าวอ้างจริง แต่ไม่ทราบว่ามีจำนวนถึงตามที่อ้างไว้หรือไม่ ปัจจุบันประเทศไทยยังมีการบังคับใช้ พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ยังไม่ครบทุกหมวด หลังมีมติ ครม. เลื่อนบังคับใช้…