อิสราเอลชี้’ฮิซบอลเลาะห์’ มี’คลังแสง’ใกล้สนามบินเบรุต

Loading

ผู้นำอิสราเอลแถลงต่อสมัชชายูเอ็น ยกย่องข้อตกลง “สันติภาพ” กับยูเออีและบาห์เรน ประณามอิหร่าน และกล่าวว่ากลุ่มฮิซบอลเลาะห์มี “คลังแสง” ในเขตชุมชน ใกล้กับท่าอากาศยานนานาชาติ ในกรุงเบรุต เมืองหลวงของเลบานอน สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 29 ก.ย. ว่า นายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู ผู้นำอิสราเอล กล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ (ยูเอ็นจีเอ) เมื่อวันอังคาร ว่าแม้ตะวันออกกลางเป็นภูมิภาคที่ “ไม่ค่อยมีข่าวดีให้ชาวโลกได้รับทราบ” แต่เมื่อกลางเดือนนี้รัฐบาลเทลอาวีฟลงนามอย่างเป็นทางการในข้อตกลง “อับราฮัม” ว่าด้วยการสถาปนาความสัมพันธ์ “ระดับปกติอย่างเป็นทางการ” กับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) และบาห์เรน พร้อมทั้งแสดงความเชื่อมั่นว่า ประเทศที่เหลือในโลกอาหรับจะทยอยเข้าร่วม “วัฏจักรแห่งสันติภาพ” เนทันยาฮูใช้เวลาส่วนใหญ่กล่าวถึงสถานการณ์ในตะวันออกกลาง โดยเนื้อหาส่วนใหญ่ “ไม่เหนือความคาดหมายมากนัก” จากการที่ผู้นำอิสราเอลยังคงประณามอิหร่าน ว่าก้าวร้าวและคุกคามประเทศร่วมภูมิภาคทั้งทางตรง และทางอ้อมผ่านการทำสงครามตัวแทน ทั้งในซีเรีย เยเมน ฉนวนกาซา และเลบานอน ที่เกิดเหตุระเบิดครั้งใหญ่บริเวณท่าเรือ ในกรุงเบรุต เมื่อวันที่ 4 ส.ค. ที่ผ่านมา ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต “อย่างน้อย 200 คน”…

สิงคโปร์นำร่อง “สแกนใบหน้า” ยืนยันตัวตนแทน “บัตรประชาชน” ชาติแรกของโลก

Loading

Photo by Mladen ANTONOV / AFP รัฐบาลสิงคโปร์เดินหน้าใช้เทคโนโลยี “ยืนยันใบหน้า” ระบุตัวตนแทนบัตรประชาชนประเทศแรกของโลก ให้ประชาชนเข้าถึงบริการภาครัฐอย่างปลอดภัย ปูทางสู่เศรษฐกิจดิจิทัล สำนักข่าวบีบีซี รายงานว่าสิงคโปร์จะเป็นประเทศแรกในโลกที่ใช้ระบบยืนยันใบหน้า (facial verification) เพื่อระบุตัวตนในการเข้าถึงบริการของภาครัฐอย่างปลอดภัย ซึ่งจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ นายแอนดริว บัด ซีอีโอของ iProov บริษัทเทคโนโลยีของอังกฤษ ซึ่งดูแลระบบดังกล่าวให้รัฐบาลสิงคโปร์ กล่าวว่า เทคโนโลยีสแกนใบหน้าจะต้องตรวจสอบและยืนยันได้ว่า บุคคลนั้นมีตัวตนอยู่จริง ไม่ใช่ภาพถ่าย หรือวิดีโอที่ถูกอัดขึ้น และเทคโนโลยีนี้จะถูกเชื่อมเข้ากับ “SingPass” ซึ่งเป็นระบบบัญชีกลางดิจิทัลของรัฐบาลสิงคโปร์ เพื่ออนุญาตให้ชาวสิงคโปร์สามารถเข้าถึงบริการต่าง ๆ ของภาครัฐได้ ซึ่งจะเป็นครั้งแรกที่มีการใช้ระบบยืนยันใบหน้าในระบบคลาวด์ เพื่อรักษาความปลอดภัยที่ช่วยระบุตัวตนของผู้ใช้งานด้วยข้อมูลประจำตัวจากระบบดิจิทัลของชาติ แทนการใช้บัตรประชาชน โดยเทคโนโลยีการยืนยันใบหน้า จะต้องใช้วิธีการสแกนใบหน้าบุคคล และจับคู่กับรูปภาพที่มีอยู่ในฐานข้อมูลเพื่อระบุตัวตน โดยจะต้องได้รับความยินยอมจากผู้ใช้บริการ เพื่อให้ผู้ใช้บริการเข้าถึงข้อมูลและทำธุรกรรม เช่น ปลดล็อกโทรศัพท์มือถือ หรือเข้าแอปพลิเคชันธนาคารบนสมาร์ตโฟน ปัจจุบันการยืนยันตัวตนผ่านใบหน้าในสิงคโปร์ เริ่มมีการนำมาใช้งานในสาขากรมสรรพากรสิงคโปร์บางแห่ง รวมถึงธนาคารดีบีเอส สถาบันการเงินยักษ์ใหญ่ของสิงคโปร์ที่เปิดให้บริการลูกค้ายืนยันใบหน้า เพื่อเปิดบัญชีธนาคารรูปแบบออนไลน์ และจะมีการนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้กับทางเข้าหรือออกเพื่อตรวจสอบความปลอดภัย รวมถึงกลุ่มธุรกิจต่างๆ ที่มีการนำไปใช้งานภายใต้ข้อกำหนดของรัฐบาล ขณะที่บริษัทเทคโนโลยีของสหรัฐอเมริกาและจีนได้นำระบบยืนยันใบหน้ามาใช้ในลักษณะเดียวกันเพิ่มขึ้น เช่น แอปพลิเคชั่นธนาคารที่รองรับระบบ Apple Face ID…

การสร้างหรือแชร์ข่าวปลอม มีความผิดตามกฎหมาย!

Loading

การนำข้อมูลปลอม ข่าวปลอม ไม่ว่าจะเป็นการปลอมทั้งหมด หรือแค่บางส่วน หรือข้อมูลอันเป็นเท็จ เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ หรือแม้แต่การแชร์ หรือส่งต่อข้อมูลอันเป็นเท็จเหล่านั้น ล้วนมีความผิด ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นความผิดที่ไม่สามารถยอมความได้ ตัวอย่างของการกระทำ ที่เข้าข่ายความผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14 – โพสต์ข้อมูลปลอม ทุจริต หลอกลวง เช่น ข่าวปลอม โฆษณาธุรกิจลูกโซ่ที่หลอกลวงเอาเงินลูกค้า และไม่มีการส่งมอบของให้จริง เป็นต้น มีความผิดตามมาตรา 14(1) – โพสต์ข้อมูลความผิดเกี่ยวกับความมั่งคงปลอดภัย มีความผิดตามมาตรา 14(2) – โพสต์ข้อมูลความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง ก่อการร้าย มีความผิดตามมาตรา 14(3) – โพสต์ข้อมูลลามก ที่ประชาชนเข้าถึงได้ มีความผิดตามมาตรา 14(4) – เผยแพร่ ส่งต่อข้อมูล ที่รู้แล้วว่าผิด เช่น กด Share ข้อมูลที่มีเนื้อหาเข้าข่ายความผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ กรณีนี้ก็ถือว่ามีความผิด มีความผิดตามมาตรา 14(5) หากการกระทำในลักษณะดังกล่าวข้างต้น…

ประท้วงเดือดทั่วอเมริกา! หลังคณะลูกขุนไม่ตั้งข้อหาตำรวจคดียิงสังหาร ‘บรีออนนา เทย์เลอร์’

Loading

Police push back protesters during a demonstration after a decision by a grand jury in the police shooting death of Breonna Taylor, in Louisville, Kentucky, Sept. 23, 2020 ความเดือดดาลและการเดินขบวนประท้วงปะทุขึ้นอีกครั้งในหลายเมืองทั่วสหรัฐฯ เพื่อแสดงจุดยืนคัดค้านการพิจารณาของคณะลูกขุนที่ไม่ตั้งข้อหากับตำรวจรัฐเคนตักกีผู้ยิงสังหารสตรีอเมริกันเชื้อสายแอฟริกัน บรีออนนา เทย์เลอร์ (Breonna Taylor) ในบ้านของเธอเอง ที่เมืองลุยซ์วิลล์ รัฐเคนตักกี้ บ้านเกิดของเทย์เลอร์ ผู้ประท้วงพากันเดินขบวนไปตามท้องถนนก่อนที่จะลุกลามไปเป็นความรุนแรง เมื่อผู้ประท้วงปะทะกับตำรวจและมีเสียงปืนดังขึ้นหลายนัด และมีตำรวจได้รับบาดเจ็บสองคนเมื่อคืนวันพุธที่ผ่านมา บรีออนนา เทย์เลอร์ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในเมืองลุยซ์วิลล์ ถูกยิงใส่หลายนัดอย่างผิดตัวในบ้านของเธอเอง เมื่อตำรวจผิวขาวบุกจับตัวผู้ต้องสงสัยคดียาเสพติดในชุมชนที่เธออาศัยอยู่เมื่อเดือนมีนาคม A billboard sponsored by O, The Oprah Magazine, is…

รัฐสภาเข้มรับม็อบ! เตรียมแผนขั้นสูง’เรือ-ฮ.’ขนคนออก

Loading

รัฐสภาเข้มเตรียมแผนรปภ.ขั้นสูงสุด รับมือม็อบเย็นนี้! จับตามติโหวตแก้รธน. เตรียมเรือ-ฮ.ขนคนออก ด้านผกก.สน.บางโพตรวจความเรียบร้อยชุดควบคุมฝูงชนแต่เช้า เมื่อเวลา 08.30 น. วันที่ 24 ก.ย. ที่อาคารรัฐสภา ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศช่วงเช้าก่อนที่จะเริ่มการประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อพิจารณาญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญวันที่สองนั้นเป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยมี ส.ว.และ ส.ส.ทยอยเดินทางมาร่วมประชุมอย่างต่อเนื่อง ภายหลังจากที่นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา สั่งพักการประชุมวันแรกไปเมื่อเวลา 24.30 น. วันที่ 24 ก.ย. ท่ามกลางมาตรการการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวดของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยรัฐสภา มีการตรวจบัตรบุคคลเข้าออกอย่างเข้มงวด ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจได้นำแผงเหล็กมาปิดกั้นฟุตปาธบริเวณด้านทางเข้า-ออกอาคารรัฐสภา เนื่องจากในช่วงเวลา 16.00 น. จะมีกลุ่มผู้ชุมนุม อาทิ กลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย กลุ่มประชาชนปลดแอก เดินทางมาทำกิจกรรมและเฝ้าติดตามการพิจารณาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 เพื่อพิจารณาตั้ง ส.ส.ร. ทั้งนี้ในช่วงเช้าเริ่มมีเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดควบคุมฝูงชนมาปฏิบัติหน้าที่ โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.บางโพมา ตรวจความเรียบร้อย ขณะเดียวกันบริเวณท่าเรือเกียกกายที่ติดกับวัดแก้วฟ้าจุฬามณีและรัฐสภา ยังไม่มีการนำแผงรั้วเหล็ก และยังไม่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจมาดูแลในช่วงเช้า โดยเหตุการณ์ยังคงเป็นไปตามปกติ อย่างไรก็ตามก่อนหน้าที่ทางสำนักงานเลขาธิการสภาฯ ได้เตรียมแผนขั้นสูงสุดในการรักษาความปลอดภัยให้กับสมาชิกรัฐสภา ตั้งแต่วันที่ 21ก.ย. หลังจากที่แกนนำผู้ชุมนุมกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมประกาศจะมาชุมนุมที่รัฐสภา ทั้งในเรื่องของเจ้าหน้าที่ตำรวจดูแลพื้นที่รอยต่อรัฐสภา…

กรณีศึกษา Shopify ทำข้อมูลลูกค้ารั่วไหลเพราะคนในแอบขโมยข้อมูล (insider threat)

Loading

Shopify เป็นแพลตฟอร์มสำหรับสร้างเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ รองรับทั้งการแสดงผลร้านค้าและการชำระเงิน เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2563 บริษัท Shopify ได้ประกาศแจ้งสถานการณ์ข้อมูลรั่วไหล โดยสาเหตุเกิดจากพนักงานฝ่ายสนับสนุนจำนวน 2 คนเข้าถึงข้อมูลบันทึกการชำระเงินของลูกค้ากว่า 200 รายโดยไม่ได้รับอนุญาต หลังจากที่ตรวจพบเหตุการณ์ดังกล่าวทางบริษัทได้ตัดสิทธิ์พนักงานทั้ง 2 คนออกจากระบบและสั่งดำเนินการสอบสวนทางกฎหมายทันที ทั้งนี้ ทาง Shopify แจ้งว่าอยู่ระหว่างการรวบรวมรายชื่อลูกค้าที่ได้รับผลกระทบ แต่ก็ยืนยันว่าข้อมูลที่พนักงานสามารถเข้าถึงได้นั้นมีเฉพาะข้อมูลพื้นฐาน เช่น ชื่อ อีเมล ที่อยู่ และประวัติการซื้อขายสินค้า แต่ไม่มีข้อมูลทางการเงินหลุดออกไปแต่อย่างใด กรณีศึกษานี้เป็นตัวอย่างเหตุการณ์ภัยคุกคามจากคนใน (insider threat) ซึ่งเป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกองค์กร เป้าหมายมีได้ตั้งแต่การฉ้อฉล ขโมยทรัพย์สินทางปัญญา ไปจนถึงสร้างความเสียหาย สาเหตุของการเกิดนั้นมีได้ทั้งจากตัวพนักงานและจากปัญหาภายในองค์กร ทั้งนี้ ภัยคุกคามจากคนในนั้นไม่ได้หมายถึงแค่คนในเป็นคนก่อเหตุ แต่ยังหมายรวมถึงเหตุการณ์ที่คนในกระทำผิดโดยไม่เจตนา หรือถูกข่มขู่บังคับเพื่อให้กระทำการทุจริตได้ด้วย ทาง Software Engineering Institute ของ Carnegie Mellon University ได้ให้ข้อแนะนำในการป้องกันภัยคุกคามจากคนในไว้ดังนี้ จัดทำทะเบียนสินทรัพย์ และกำหนดมาตรการป้องกันตามระดับความสำคัญของสินทรัพย์นั้น ๆ จัดให้มีมาตรการและทีมงานเพื่อตรวจสอบ ป้องกัน…