อัฟกันระทึก! มือปืนบุกยิงทารก-แม่ดับ 16 ศพกลางรพ.คาบูล บึ้มงานศพ ‘ผบ.ตำรวจ’ ตายเกลื่อนอีก 24 ศพ-เจ็บอื้อ

Loading

เจ้าหน้าที่ความมั่นคงอัฟกันอุ้มทารกน้อยคนหนึ่งออกมาจากโรงพยาบาลในกรุงคาบูล ซึ่งถูกกลุ่มติดอาวุธโจมตีเมื่อวันที่ 12 พ.ค. รอยเตอร์ – กลุ่มติดอาวุธซึ่งแต่งกายคล้ายตำรวจบุกกราดยิงแม่และทารกแรกคลอดเสียชีวิต 16 รายที่แผนกสูติกรรมของโรงพยาบาลในกรุงคาบูล ซึ่งบริหารงานโดยองค์กรแพทย์ไร้พรมแดน (MSF) เมื่อวานนี้ (12 พ.ค.) และในวันเดียวกันยังเกิดเหตุระเบิดฆ่าตัวตายโจมตีงานศพผู้บัญชาการตำรวจที่จังหวัดนันกาฮาร์ (Nangahar) ซึ่งมีเจ้าหน้าที่รัฐบาลและสมาชิกรัฐสภาคนหนึ่งไปร่วมงาน ทำให้มีผู้เสียชีวิต 24 ราย บาดเจ็บอีก 68 ราย SITE ซึ่งเป็นองค์กรที่ติดตามความเคลื่อนไหวของกลุ่มก่อการร้าย ระบุว่า กลุ่มรัฐอิสลามโคราซาน (Islamic State Khorasan) ซึ่งเป็นเครือข่ายของไอเอสในอัฟกานิสถานได้ออกมาอ้างผลงานสำหรับเหตุระเบิดฆ่าตัวตายที่นันกาฮาร์ ส่วนปฏิบัติการโจมตีโรงพยาบาลคาบูลนั้นยังไม่มีกลุ่มใดอ้างความรับผิดชอบ ตอลิบานซึ่งเป็นกลุ่มอิสลามิสต์รายใหญ่ที่ก่อความไม่สงบในอัฟกานิสถานปฏิเสธความเกี่ยวข้องกับเหตุโจมตีทั้ง 2 จุด โดยยืนยันว่าได้ยุติการโจมตีเมืองใหญ่ๆ แล้วตามเงื่อนไขข้อตกลงที่ทำร่วมกับสหรัฐฯ เหตุยิงถล่มโรงพยาบาลเกิดขึ้นในช่วงเช้าวานนี้ (12) โดยมีมือปืนอย่างน้อย 3 คนสวมเครื่องแบบคล้ายตำรวจบุกเข้าไปที่โรงพยาบาล ดัชต์-อี-บาร์ชี จากนั้นก็เริ่มขว้างปาระเบิดมือและกราดยิงใส่ผู้คนแบบไม่เลือกหน้า ก่อนที่หน่วยความมั่นคงจะวิสามัญฯ คนร้ายทั้งหมดได้ในช่วงบ่าย “คนร้ายยิงใส่ผู้คนในโรงพยาบาลอย่างไร้เหตุผล ที่นี่เป็นโรงพยาบาลของรัฐ จึงมีประชาชนพาภรรยาและลูกมารับการรักษาเป็นจำนวนมาก” รามาซาน อาลี พ่อค้าที่ขายของอยู่ใกล้ๆ โรงพยาบาลขณะเกิดเหตุ ระบุ โรงพยาบาลขนาด…

กลุ่มแฮกเกอร์แอบขโมยข้อมูลผู้ใช้กว่า 73 ล้านรายการออกขายบนเว็บมืด

Loading

การใช้บริการอินเทอร์เน็ตไม่ว่าจะผ่านเว็บไซต์หรือแอป เมื่อเริ่มต้นสมัครการใช้งานทางผู้ให้บริการจะมีแบบฟอร์มให้ผู้ใช้กรอกข้อมูลส่วนตัวจัดเก็บไว้ในฐานข้อมูล บางครั้งข้อมูลเหล่านี้ได้รั่วไหลออกไปหรือถูกล้วงข้อมูลเพื่อนำไปใช้ประโยชน์โดยมิชอบ เลวร้ายถึงขนาดนำไปทำธุรกรรมออนไลน์ที่มีข่าวออกมาอย่างต่อเนื่อง ปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาแหล่งข่าว ZDNet เปิดเผยว่ามีกลุ่มแฮกเกอร์ ShinyHunters อ้างว่ากำลังขายฐานข้อมูลผู้ใช้งานประมาณ 73.2 ล้านรายการในตลาดเว็บมืด ซึ่งทำเงินได้ประมาณ 18,000 USD (579,060 บาท) โดยได้แอบขโมยฐานข้อมูลมาจากกว่า 10 บริษัทด้วยกัน ประมาณ 30 ล้านรายการมาจากแอปหาคู่ที่ชื่อว่า Zoosk, อีก 15 ล้านรายการมาจาก Chatbooks บริการพรินต์ภาพจาก Instagram, Facebook และแกลเลอรีในโทรศัพท์ในเวลาเพียง 5 นาที ส่วนที่เหลือมาจากเว็บไซต์ที่หลากหลาย ได้แก่ 1 ล้านรายการจากหนังสือพิมพ์ Star Tribune, รวม 8 ล้านรายการจากเว็บไซต์แฟชั่นและเฟอร์นิเจอร์ของเกาหลีใต้, 3 ล้านรายการจากเว็บไซต์ Chronicle of Higher Education นำเสนอข่าวสารข้อมูลและงานสำหรับนักศึกษาในวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย, 8 ล้านรายการจาก Home Chef บริการส่งมอบอาหาร, 5…

ครม.ไฟเขียวเลื่อนบังคับใช้พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ออกไปอีก 1 ปี

Loading

ครม. เด้งรับ ‘ดีอีเอส’ รับทราบ ความจำเป็นออกพ.ร.ฎ.ขยายเวลาบังคับใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล บางหมวด ออกไปอีก 1 ปี เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม. รับทราบถึงความจำเป็นในการออกร่างพระราชกฤษฎีกา ขยายเวลาการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ในหมวด 2 การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หมวด 3 สิทธิเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล หมวด 5 การร้องเรียน หมวด 6 ความรับผิดทางแพ่ง หมวด 7 บทกำหนดโทษ และความในมาตรา 95 และมาตรา 96 ที่เดิมจะมีผลบังคับใช้ ในวันที่ 27 พ.ค. 2563 ออกไปอีก 1ปี ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ เพื่อบรรเทาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชน เนื่องจากหากมีการบังคับใช้ตามกำหนดเวลาเดิมในขณะที่ทุกภาคส่วนยังไม่พร้อม…

FBI เผย ‘แฮกเกอร์จีน’ พยายามล้วงข้อมูลงานวิจัย ‘วัคซีนต้านโควิด-19’

Loading

เอเอฟพี – สำนักงานสอบสวนกลางสหรัฐฯ (FBI) และผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงไซเบอร์เชื่อว่าแฮกเกอร์จีนกำลังพยายามขโมยข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาวัคซีนต้านไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ สื่อมะกันรายงานวานนี้ (11 พ.ค.) หนังสือพิมพ์วอลล์สตรีทเจอร์เนิลและนิวยอร์กไทม์สรายงานว่า เอฟบีไอและกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิสหรัฐฯ มีแผนออกหนังสือเตือนเกี่ยวกับปฏิบัติการของแฮกเกอร์จีน ในขณะที่รัฐบาลและบริษัทเอกชนทั่วโลกกำลังเร่งคิดค้นวัคซีนที่สามารถป้องกันโควิด-19 ได้ ทั้งนี้ เชื่อว่าแฮกเกอร์จีนกำลังพุ่งเป้าไปที่ข้อมูลและทรัพย์สินทางปัญญาเกี่ยวกับวิธีรักษาและการตรวจหาเชื้อโควิด-19 เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ อ้างว่าจารชนไซเบอร์กลุ่มนี้มีส่วนเชื่อมโยงถึงรัฐบาลจีน และคาดว่าจะมีคำเตือนออกมาอย่างเป็นทางการภายในอีกไม่กี่วัน จ้าว ลี่เจียน โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีน รีบออกมาปฏิเสธข้อครหาดังกล่าว โดยยืนยันว่ารัฐบาลปักกิ่งต่อต้านการโจมตีทางไซเบอร์ทุกรูปแบบ “เราก็เป็นผู้นำโลกในด้านการรักษาและคิดค้นวัคซีนต้านโควิด-19 การสร้างข่าวลือมาโจมตีและให้ร้ายจีนโดยปราศจากหลักฐานจึงเป็นสิ่งที่ผิดศีลธรรม” จ้าว ระบุ เมื่อถูกถามถึงรายงานในสื่อชั้นนำทั้ง 2 ฉบับ ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ยังปฏิเสธที่จะยืนยัน แต่บอกว่า “มีเรื่องอะไรใหม่ๆ เกี่ยวกับจีนอีกล่ะ? มีอะไรใหม่เหรอ? บอกผมมาสิ ผมไม่แฮปปี้กับจีนเลย” “เรากำลังตามดูพวกเขาอย่างใกล้ชิด” ผู้นำสหรัฐฯ กล่าวเสริม ก่อนหน้านี้เคยมีรายงานว่า แฮกเกอร์ซึ่งมีรัฐบาลหนุนหลังในอิหร่าน, เกาหลีเหนือ, รัสเซีย และจีน ทำกิจกรรมมุ่งร้ายที่เกี่ยวข้องกับโรคระบาดใหญ่ (pandemic) ตั้งแต่การเผยแพร่เฟคนิวส์เรื่องไปจนถึงการเล่นงานนักวิทยาศาสตร์และบุคลากรทางการแพทย์ นิวยอร์กไทม์สชี้ว่า คำเตือนที่ออกมาอาจนำไปสู่ปฏิบัติการโจมตีตอบโต้โดยหน่วยงานของสหรัฐฯ ที่รับผิดชอบด้านสงครามไซเบอร์…

แอพช่วยติดตามผู้เข้าใกล้เชื้อโควิด 19 กับประเด็นความเป็นส่วนตัวของสหภาพยุโรป

Loading

สหภาพยุโรปได้ชื่อว่าเป็นผู้นำของโลกเรื่องการปกป้องคุ้มครองข้อมูลและความเป็นส่วนตัวของบุคคลโดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลในระบบดิจิตอล แต่ปัญหาการระบาดของโรคโควิด-19 รวมทั้งความจำเป็นเพื่อติดตามและเก็บข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อกำลังทำให้เกิดคำถามและข้อโต้แย้งเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพราะโดยปกติแล้วการสืบสวนโรคและติดตามผู้ได้ติดต่อสัมผัสกับผู้ที่มีเชื้อ หรือที่เรียกว่า contact tracing เพื่อการแจ้งเตือนและแยกตัวเองนั้นต้องใช้ทั้งเวลาและกำลังคนเป็นจำนวนมาก ดังนั้นขณะนี้หลายประเทศในยุโรปจึงหันมาพิจารณาใช้เทคโนโลยีในสมาร์ทโฟนเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว โดยวิธีที่ได้รับความสนใจมากที่สุดในปัจจุบันคือการใช้ระบบส่งสัญญาณบลูทูธจากโทรศัพท์มือถือเพื่อติดตามและเก็บข้อมูลเกี่ยวกับเจ้าของโทรศัพท์ผู้อาจเคยสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่มีเชื้อ และขณะนี้ก็มีระบบซึ่งเป็นทางเลือกใหญ่ๆ อยู่สองระบบด้วยกันในยุโรป โดยระบบหนึ่งซึ่งสนับสนุนโดยเยอรมนีมีชื่อเรียกย่อว่า PEPP-PT อาศัยการเก็บข้อมูลแบบรวมศูนย์เข้าไว้ที่เซิฟเวอร์ส่วนกลาง ในขณะที่อีกระบบหนึ่งซึ่งมีสวิตเซอร์แลนด์เป็นผู้นำและมีชื่อว่า DP3T นั้นไม่ใช้วิธีเก็บข้อมูลแบบรวมไว้ที่ศูนย์กลางแต่อย่างใด ผู้ที่สนับสนุนเรื่องการปกป้องความเป็นส่วนตัวเห็นด้วยกับระบบของสวิตเซอร์แลนด์ที่ไม่เก็บข้อมูลแบบรวมศูนย์เข้าส่วนกลางเพราะข้อมูลซึ่งไม่มีการระบุตัวตนผู้ใช้นี้จะถูกเก็บไว้เฉพาะในเครื่องโทรศัพท์เท่านั้น แต่ก็มีรัฐบาลของบางประเทศในยุโรปที่สนับสนุนระบบการเก็บข้อมูลแบบรวมเข้าที่เซิร์พเวอร์ส่วนกลางเพราะเห็นว่าฐานข้อมูลดังกล่าวจะเป็นประโยชน์สำหรับการตัดสินใจเชิงนโยบาย ดูเหมือนว่าขณะนี้ประเทศต่างๆ ในยุโรปกำลังแบ่งเป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ ในแง่การใช้ระบบเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อช่วยติดตามการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย กล่าวคือสวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย ไอร์แลนด์ และเอสโตเนียเป็นตัวอย่างของประเทศที่สนับสนุนการเก็บข้อมูลแบบไม่รวมศูนย์เข้าส่วนกลาง และมีอิตาลีกับเยอรมนีที่เริ่มเห็นด้วยในช่วงหลังนี้ขณะที่ฝรั่งเศสต้องการใช้ระบบเก็บข้อมูลแบบรวมศูนย์ของตนเอง แต่ก็มีบางประเทศอย่างเช่นนอรเวย์ซึ่งพัฒนาแอพของตนที่ไปไกลกว่านั้นคืออาศัยข้อมูลทั้งจากระบบ GPS และบลูทูธเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ใช้โทรศัพท์และอัพโหลดเข้าไปที่เซิร์ฟเวอร์ส่วนกลางทุกๆชั่วโมงเป็นต้น แต่สเปนนั้นกำลังพิจารณาจะผ่อนคลายมาตรการล็อคดาวน์และอาจไม่นำเทคโนโลยีเพื่อช่วยติดตามผู้สัมผัสใกล้ชิดดังกล่าวนี้มาใช้เลย การมีมาตรฐานที่แตกต่างกันระหว่างประเทศต่างๆ ในยุโรปในขณะนี้ทำให้ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีเตือนว่าปัญหาหนึ่งที่จะเกิดขึ้นคือแอพที่ใช้กับโทรศัพท์มือถืออาจจะไม่สื่อสารหรือส่งผ่านข้อมูลระหว่างกันเมื่อพลเมืองของประเทศหนึ่งเดินทางข้ามพรมแดนเข้าไปในอีกประเทศหนึ่ง และเห็นได้ชัดว่าความกังวลของกลุ่มที่สนับสนุนเรื่องการปกป้องความเป็นส่วนตัวก็คือถ้ารัฐบาลนำเทคโนโลยีช่วยด้าน contact tracing มาใช้เกินความจำเป็น เรื่องนี้ก็อาจนำไปสู่การติดตามสอดส่องความเคลื่อนไหวของประชาชนในวงกว้างโดยรัฐบาลที่นิยมใช้อำนาจเผด็จการได้ และถึงแม้ว่าโอกาสของการใช้แอพในโทรศัพท์มือถืออย่างเช่นที่เคยใช้ในเกาหลีใต้หรือฮ่องกงเพื่อติดตามเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จะเกิดขึ้นได้ยากในยุโรปนั้น นักวิเคราะห์ก็หวังว่าระบบที่สามารถตกลงกันได้ในกลุ่มสหภาพยุโรปจะช่วยสร้างมาตรฐานเรื่องการคุ้มครองความเป็นส่วนตัว ซึ่งประเทศอื่นๆในทวีปอื่นๆ จะสามารถนำมาใช้ได้เช่นกัน ————————————————————————– ที่มา : VOA Thai / 5 พฤษภาคม 2563 Link :…

ส.ส.ฮ่องกง ‘ปะทะเดือด’ กลางสภา

Loading

สัญญาณความตึงเครียดทางการเมืองฮ่องกงปะทุอีกรอบ ส.ส.ขั้วตรงข้ามในสภาปะทะเดือดเรื่องการเลือกตั้งประธานคณะกรรมาธิการ สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า ส.ส.ฮ่องกงทั้งฝ่ายสนับสนุนประชาธิปไตยและหนุนรัฐบาลปักกิ่งขัดแย้งกันอย่างหนัก เรื่องการเลือกตั้งประธานคณะกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎร ที่ต้องตรวจสอบร่างกฎหมายก่อนส่งให้สภาพิจารณา ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้ไม่มีประธานมาตั้งแต่เดือน ต.ค.แล้ว การประชุมเมื่อช่วงบ่าย ส.ส.ฝ่ายหนุนปักกิ่งอ้างข้อกฎหมายว่าเพื่อผ่าทางตัน เลือกนางสตาร์รี ลี ขึ้นเป็นประธานคณะกรรมาธิการ ฝ่ายหนุนประชาธิปไตยก็อ้างข้อกฎหมายกล่าวหาว่านางลีทำผิดระเบียบ ต่างฝ่ายต่างขึ้นเสียงใส่กันชนิดไม่มีใครยอมใคร ปากระดาษแข็งเข้าใส่หน้าฝ่ายตรงข้าม สุดท้ายกลายเป็นเหตุตะลุมบอน เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยลาก ส.ส.ฝ่ายประชาธิปไตยหลายคนออกจากห้องประชุม ซึ่งเจ้าหน้าที่ก็พลอยโดนลูกหลงไปด้วย ระหว่างนั้นทั้งสองฝ่ายต่างถ่ายทอดสดเหตุการณ์ผ่านโทรศัพท์มือถือให้คนภายนอกได้รับรู้ ด้านรัฐบาลปักกิ่งกล่าวหาว่า ส.ส.ฝ่ายหนุนประชาธิปไตยมีเจตนาร้าย ต้องการขัดขวางไม่ให้ร่างกฎหมายหลายฉบับที่นำเสนอไปแล้วผ่านการลงมติในสภา ——————————————————————- ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ / 8 พฤษภาคม 2563 Link : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/879688