Apple สั่งบล็อก “Clearview AI” ฐานละเมิดกฎซอฟต์แวร์

Loading

เขียนโดย :   Talil เมื่อไม่กี่วันมานี้ Apple ได้มีการประกาศสั่งบล็อกแอปฯ ‘Clearview AI’ เทคโนโลยีจดจำใบหน้า เพราะละเมิดกฎโปรแกรมซอฟต์แวร์ของบริษัท โดย Clearview AI ที่ให้บริการแอปฯ เฉพาะเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย รวมถึงองค์กรบางรายเท่านั้น เช่น Macy’s, Walmart และ Wells Fargo ได้ใช้ใบรับรองระดับองค์กรทำให้ผู้ใช้สามารถติดตั้งซอฟต์แวร์ได้โดยไม่ผ่าน App Store โดยทำผิดกฎของ Apple ที่จำกัดให้ผู้ใช้เข้าถึงซอฟต์แวร์เฉพาะบุคคลภายในองค์กรที่กำหนดเท่านั้น ขณะที่ปกติแล้วเทคโนโลยีการจดจำใบหน้าขั้นสูงของ Clearview AI ผู้ใช้ iPhone ทั่วไปจะเข้าถึงไม่ได้ แต่ลองนึกภาพว่าเราเดินอยู่ในที่สาธารณะ และมีคนแปลกหน้าเดินสวนกับคุณ จนกระทั่งเขาหยิบโทรศัพท์มือถือขึ้นมาถ่ายรูปคุณ ก่อนจะอัพโหลดรูปนั้นลงในแอปฯ เพื่อให้แมตช์กับฐานข้อมูล จนสามารถพบข้อมูลของคุณบนสื่อโซเชียลมีเดีย พบแอคเคาท์  Facebook , instagram หรืออื่นๆ จากนั้นตามด้วยชื่อจริง ที่อยู่ ซึ่งหลังจากนั้นมันจะเป็นอย่างไรต่อ ? แน่นอนว่ามันคือหายนะ เพราะนั่นอาจหมายถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นตามมาในภายหลัง “เพื่อความปลอดภัย” หรือ “รุกล้ำความเป็นส่วนตัว” สำหรับ ‘Clearview AI’ เป็นเทคโนโลยีจดจำใบหน้าที่ถูกพัฒนาโดยบริษัทสตาร์ทอัพเล็กๆ ในสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งโดย “ฮอน ทอน-แทต” หนุ่มหน้าตาดี อดีตนายแบบเชื้อสายเวียดนาม ซึ่งได้รับเงินทุนจากอภิมหาเศรษฐีคนหนึ่งในสหรัฐอเมริกา…

พบ TrickBot ตัวใหม่ ใช้ Macro ของโปรแกรม Word โจมตีผู้ใช้งานระบบปฏิบัติการ Windows 10

Loading

เขียนโดย :   moonlightkz โดยปกติแล้ว ในแวดวงซอฟต์แวร์ เรามักจะได้ยินคำแนะนำว่าควรอัปเดตเป็นเวอร์ชันล่าสุดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อปิดรูรั่วที่ถูกค้นพบแล้ว อย่างไรก็ตาม ในขณะเดียวกันการอัปเดตไม่ได้มีแค่การปิดช่องโหว่เท่านั้น มันยังมีการเพิ่มคุณสมบัติใหม่ๆ เข้ามาด้วย ปัญหาก็คือ ความสามารถใหม่ที่ถูกเพิ่มเข้ามานั้น อาจจะกลายเป็นช่องโหว่ใหม่ได้ด้วยเช่นกัน ล่าสุดมีการค้นพบการโจมตีรูปแบบใหม่ของ Trickbot โดยแฮกเกอร์ใช้ช่องทางยอดนิยมในอดีตอย่างฟังก์ชัน Macro ของ Microsoft Word ที่เป็นที่นิยมอย่างมากในยุค ค.ศ. 1995 มาปรับปรุงใหม่ให้เข้ากับยุคสมัยปัจจุบัน ในระบบปฏิบัติการ Windows 10 มีฟังก์ชันใหม่ที่เรียกว่า Remote desktop ActiveX แฮกเกอร์ได้ใช้ฟังก์ชันดังกล่าวในการควบคุม Ostap ที่เป็น Malware downloader ซึ่งแฝงตัวมากับ VBA macro และ JScript ของเอกสารที่มีมาโครอยู่ (Macro-enabled document (.DOCM)) แฮกเกอร์ได้สร้างไฟล์เอกสารส่งไปทางอีเมลไปหาเหยื่อ โดยระบุว่าเป็นใบเสร็จเรียกเก็บเงิน หากเหยื่อหลงเชื่อคลิกเปิดใช้งาน Macro ในไฟล์ดังกล่าว มันจะเริ่มยิง Payload เพื่อโจมตีในทันที รูปแบบการโจมตีของ Trickbot จะเป็นการ Hijacks เว็บเบราว์เซอร์…

กสทช. ออสเตรเลียบังคับค่ายมือถือยืนยันตัวตนลูกค้าสองขั้นตอนก่อนออกซิมใหม่ วางค่าปรับ 5 ล้านบาทหากทำไม่ครบ

Loading

Australian Communications and Media Authority (ACMA) หรือกสทช.ออสเตรเลียประกาศมาตรฐานการตรวจสอบผู้ใช้ก่อนออกซิมใหม่ หลังพบว่าประชาชนเป็นเหยื่อมากขึ้นและการถูกขโมยหมายเลขโทรศัพท์แต่ละครั้งทำให้เหยื่อเสียหายเฉลี่ยสูงกว่า 10,000 ดอลลาร์ออสเตรเลีย หรือมากกว่าสองแสนบาท ทาง ACMA ไม่ได้แยกย่อยว่าความเสียหายส่วนใหญ่เกิดจากอะไร แต่ก็ระบุความสำคัญของการใช้บริการธนาคารบนโทรศัพท์มือถือ ที่หากคนร้ายควบคุมหมายเลขโทรศัพท์ได้ก็จะขโมยเงินได้ กฎใหม่นี้บังคับให้ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือต้องยืนยันตัวตนลูกค้าที่มาขอเปลี่ยนซิมด้วยมาตรการ 2 ขั้นตอนเป็นอย่างน้อย (multi factor authentication) ผู้ให้บริการที่ไม่ทำตามข้อกำหนดนี้มีโทษปรับสูงสุด 250,000 ดอลลาร์ออสเตรเลียหรือ 5 ล้านบาท นอกจากการบังคับยืนยันตัวตนหลายขั้นตอนแล้ว ทาง ACMA ยังพยายามปรับปรุงความปลอดภัยและลดการหลอกลวงผ่านโทรศัพท์โดยรวม เช่น มาตรการ Do Not Originate List เปิดให้แบรนด์สามารถลงทะเบียนป้องกันคนร้ายมาสวมรอยเป็นเบอร์ต้นแทาง หรือมาตรการตัดการเชื่อมต่อกับเครือข่ายที่มีปริมาณการโทรหลอกลวงสูงๆ ——————————————————- ที่มา : Blognone / 2 มีนาคม 2563 Link : https://www.blognone.com/node/114931

กฎเหล็ก“ตากาล็อก” หมัดน็อก“ก่อการร้าย”

Loading

ทหารฝ่ายรัฐบาลฟิลิปปินส์ กรีธาทัพเข้ายึดเมืองมาราวี คืนจากกลุ่มก่อการร้าย (Photo : Getty Images) ถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่รบกวนต่อเสถียรภาพความมั่นคงของบรรดาประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอุษาคเนย์เรา สำหรับ “ปัญหาการก่อการร้าย” หรือในบางประเทศเรียว่า “ผู้ก่อความไม่สงบ” ที่ยังคงเปิดฉากการสู้รบกับกองทัพรัฐบาลในหลายประเทศของอาเซียน รวมประเทศไทยเราด้วย โดยนอกจากมีไทยเราแล้ว ก็ยังมี มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ที่ผจญกับศึกจากเหล่าวายร้ายพวกนี้ ทั้งนี้ ทั้ง 3 ชาติอาเซียน คือ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ข้างต้น ออกมายอมรับว่า นอกจากจะต้องปะทะกับกลุ่มติดอาวุธหัวรุนแรงที่เคลื่อนไหวภายในประเทศเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ก็ยังต้องตะลุมบอนกับเครือข่ายของขบวนการก่อการร้ายกลุ่มรัฐอิสลาม หรือไอเอส หรือที่หลายคนเรียกว่า ไอซิส ที่เคยมีประวัติการรบ การทำสงครามก่อการร้ายจากอิรัก และซีเรีย อีกต่างหากด้วย นอกจากนี้ ถึงขนาดมีบางประเทศ อย่างฟิลิปปินส์ ถิ่นตากาล็อก เคยถูกเครือข่ายไอเอสพวกนี้ ร่วมมือกับกลุ่มก่อการร้ายเจ้าถิ่น บุกโจมตีมายึดเมืองได้ทั้งเมืองก็เคยมี ยกตัวอย่าง เมืองมาราวี ใน จ.ลาเนาเดลซูร์ บนเกาะมินดาเนา ภาคใต้ของประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งถูกเครือข่ายไอเอส ที่จับมือกับกลุ่ม “มาอูเต”…

แคนาดาเตรียมยุติมาตรการอารักขา”แฮร์รี-เมแกน”

Loading

รัฐบาลแคนาดาจะไม่ใช้มาตรการรักษาความปลอดภัยระดับสูงให้กับเจ้าชายแฮร์รีและเมแกน เมื่อทั้งคู่สิ้นสุดสถานะ “สมาชิกระดับสูง” ในราชวงศ์วินด์เซอร์อย่างเป็นทางการ สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงออตตาวา ประเทศแคนาดา เมื่อวันที่ 287 ก.พ. ว่านายบิล แบลร์ รมว.กระทรวงความปลอดภัยสาธารณะของแคนาดา แถลงเมื่อวันพฤหัสบดี ว่ามาตรการรักษาความปลอดภัยให้กับเจ้าชายแฮร์รี ดยุกแห่งซัสเซกซ์ และพระชายาคือเมแกน ดัชเชสแห่งซัสเซกซ์ “จะยุติภายในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า” เพื่อให้เป็นไปตาม “สถานะที่เปลี่ยนไป” ของเจ้าชายแฮร์รีและพระชายา ซึ่งจะสละฐานันดรและลดบทบาทจากการเป็น “สมาชิกระดับสูง” ในราชวงศ์วินด์เซอร์ ทั้งนี้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติของแคนาดาจัดมาตรการรักษาความปลอดภัยให้แก่ดยุกและดัชเชสแห่งซัสเซกซ์ เนื่องจากถือเป็นบุคคลซึ่งมีสถานะ “ได้รับการคุ้มครองระหว่างประเทศ” ตามการหารือกับสำนักงานตำรวจนครบาลกรุงลอนดอนของสหราชอาณาจักร โดยเจ้าชายแอร์รีและพระชายาประทับที่แคนาดาบ่อยครั้งและเป็นเวลานานขึ้น นับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2562 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม การที่สำนักพระราชวังบักกิงแฮมประกาศเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ว่า “บทบาท” ของดยุกและดัชเชสแห่งซัสเซกซ์ “ในราชวงศ์วินด์เซอร์ จะสิ้นสุดอย่างเป็นทางการในวันที่ 31 มี.ค. นี้ ตามการหารือเป็นการภายในระหว่างสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่สองกับพระบรมวงศานุวงศ์ เจ้าชายแฮร์รีและเมแกนจะไม่สามารถเข้าถึงงบประมาณสนับสนุนด้านความปลอดภัย จากกองทุนสาธารณะของรัฐบาลกลางแคนาดาได้อีกต่อไป ความเคลื่อนไหวดังกล่าวของแคนาดาเป็นไปตามความคาดหมายของทุกฝ่าย และสอดคล้องกับผลสำรวจความคิดเห็นชาวแคเนเดียนโดยสื่อมวลชนและสำนักโพลหลายแห่ง โดยผลสำรวจของสำนักข่าวเอเอฟพีพบว่า 77% ของกลุ่มตัวอย่างไม่ประสงค์ให้มีการใช้ภาษีเป็นค่าใช้จ่ายด้านการรักษาความปลอดภัยให้กับเจ้าชายแฮร์รีและเมแกน เครดิตภาพ : GETTY IMAGES…

มองกฎหมายไต้หวัน จะต้านทานอิทธิพลข้อมูลข่าวสารจากจีนได้หรือไม่

Loading

ประเทศไต้หวันก็มีปัญหาจากปฏิบัติการข้อมูลข่าวสาร (IO) เช่นกัน จากการที่มีคนมองว่าสาธารณรัฐประชาชนจีนพยายามใช้ปฏิบัติการสื่อแทรกซึมและชักนำให้มีการสนับสนุนจีนและการรวมประเทศ แม้มีกฎหมายต่อต้านการแทรกซึมเพื่อป้องกันไม่ให้ประเทศภายนอกใช้ข้อมูลเท็จส่งอิทธิพลต่อการเมืองในไต้หวัน แต่ก็มีข้อถกเถียงว่ากฎหมายนี้จะกลายเป็นลิดรอน “เสรีภาพสื่อ” หรือไม่ 26 ก.พ. 2563 ช่วงปลายปีที่แล้วไต้หวันผ่านร่างกฎหมายใหม่เพื่อป้องกันไม่ให้มีการใช้ข้อมูลเท็จแทรกแซงการเมืองในไต้หวันที่เรียกว่า “กฎหมายต่อต้านการแทรกซึม” กฎหมายนี้ถูกมองว่าเป็นความพยายามจำกัดการใช้อิทธิพลของจีนต่อไต้หวัน มีการตั้งข้อสังเกตว่าหลังบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว สื่อสนับสนุนจีนที่ชื่อ “มาสเตอร์เชน” ประกาศว่าจะออกจากกตลาดไต้หวัน แม้มีคนแสดงความกังวลว่ากฎหมายฉบับนี้อาจจะนำมาอ้างใช้ลิดรอนเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นได้ แต่ก็มีคนตีความว่าการที่สื่อสนับสนุนจีนอย่างมาสเตอร์เชนประกาศลาแสดงให้เห็นว่ากฎหมายฉบับนี้มุ่งเล่นงานอิทธิพลต่อสื่อของค่ายจีนแผ่นดินใหญ่ ในช่วงที่มีการอภิปรายเกี่ยวกับร่างกฎหมายนี้ พรรคพลังใหม่ พรรคสายสนับสนุนให้ไต้หวันเป็นอิสระจากจีนเสนอให้มีบทบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมในหลายส่วนให้เน้นเป้าหมายไปที่ “สื่อสนับสนุนจีน” หนึ่งในข้อเสนอคือการห้ามไม่ให้ใครก็ตามดำเนินการโดยได้รับคำสั่ง ถูกควบคุม หรือได้รับเงินสนับสนุนจากจีน รวมถึงไม่โฆษณาสร้างภาพลักษณ์ให้กับจีน แต่พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าซึ่งเป็นพรรครัฐบาลปัจจุบันปฏิเสธที่จะแก้ไขเพิ่มเติมในเรื่องนี้ โดยต้องการให้กฎหมายยังคงมีภาษากว้างๆ ที่พูดเรื่องการป้องกันการแทรกแซงรวมถึงการแทรกแซงการเลือกตั้งในประเทศด้วย สภากิจการจีนแผ่นดินใหญ่เสนอว่าควรจะมีการหารือเรื่องการแทรกซึมจากสื่อของจีนแผ่นดินใหญ่ในกฎหมายเกี่ยวกับการแพร่ภาพกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์ ในบริบทของไต้หวัน ความกังวลที่มีคือการที่จีนพยายามแทรกซึมการเมืองไต้หวันผ่านภาคส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเมือง การทหาร ศาสนา และสื่อ เพื่อต่อต้านความเป็นอิสระของไต้หวัน หนึ่งในนั้นคือสื่อมาสเตอร์เชนที่มีผู้ก่อตั้งคือจวงลี่ปิง คนเดียวกับที่เคยเขียนหนังสือสนับสนุนแนวคิดจีนเดียว หรือที่เรียกว่า “ฉันทามติ 1992” ซึ่งหมายถึงการรวมเอาไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของจีน นอกจากนี้ยังมีการตั้งข้อสังเกตเรื่องที่จีนใช้ปฏิบัติการข้อมูลข่าวสารว่า สื่อสนับสนุนจีนมีการจ้างอดีตเจ้าหน้าที่รัฐของไต้หวันเพื่อให้เป็นเครือข่ายข้อมูลข่าวสารข้ามพรมแดน นอกจากนี้ยังมีสื่อบางแห่งที่สนับสนุนจีนแบบเนียนๆ เช่น วอนต์ วอนต์ มีเดียกรุ๊ป ที่ได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลจีน พวกเขาไม่ทำข่าวในแบบที่แสดงให้เห็นว่าสนับสนุนจีนโดยตรงแต่พยายามสร้างเรื่องเล่า (narrative) ว่ากฎหมายต่อต้านการแทรกซึมจะเป็นการลิดรอนเสรีภาพสื่อ โดยต้องการให้เกิดความคิดเห็นต่อต้านจากประชาชนและส่งแรงผลักดันให้เกิดการสนับสนุนพรรคก๊กมินตั๋ง (KMT) ที่มีท่าทีต้องการใกล้ชิดกับจีนมากกว่า ในช่วงที่มีการหาเสียงเลือกตั้งก่อนหน้านี้…