สหรัฐฯ ประกาศกฎระเบียบใหม่เพื่อควบคุมการทำงานสื่อรัฐบาลจีน

Loading

A military delegate reads a China Daily newspaper ahead of the second plenary session of the National People’s Congress (NPC) in Beijing March 9, 2009. REUTERS/David Gray (CHINA POLITICS SOCIETY IMAGE OF THE DAY TOP PICTURE) รัฐบาลสหรัฐฯ เตรียมบังคับใช้กฎระเบียบใหม่ เพื่อควบคุมการทำงานของสื่อจีนในประเทศ เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับการที่รัฐบาลจีนพยายามใช้สื่อของตนเพื่อดำเนินแผนโฆษณาชวนเชื่อ แหล่งข่าวจากกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เปิดเผยว่า กฎระเบียบใหม่นี้เกิดขึ้นหลังจีนยกระดับการควบคุมการทำงานสื่อของรัฐ และประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ใช้งานสื่อรัฐในเชิงรุกมากขึ้น ทั้งในแง่ของเนื้อหาและการทำงานของกองบรรณาธิการ ภายใต้กฎระเบียบใหม่นี้ พนักงานของสื่อรัฐหลัก 5 แห่งของจีนที่อยู่ในสหรัฐฯ ต้องลงทะเบียนตัวตนและทรัพย์สินในอเมริกาไว้กับรัฐบาลสหรัฐ เช่นเดียวกับที่พนักงานและเจ้าหน้าที่สถานทูตต่างประเทศต้องทำ โดยสื่อที่ต้องปฏิบัติตามกฎใหม่นี้…

สิงคโปร์สั่งเฟซบุ๊กบล็อคเพจต่อต้านรัฐบาล ปิดปากพวกวิพากษ์วิจารณ์

Loading

เอเอฟพี – สิงคโปร์ในวันจันทร์(17ก.พ.) ออกคำสั่งถึงเฟซบุ๊กให้บล็อคเพจต่อต้านรัฐบาล ความเคลื่อนไหวล่าสุดในการใช้กฎหมายจัดการกับการให้ข้อมูลผิดๆ แต่ถูกฝ่ายวิพากษ์วิจารณ์กล่าวหาว่าเป็นความพยายามจำกัดสิทธิเสรีภาพการแสดงความคิดเห็น กฎหมายให้อำนาจคณะรัฐมตรีสั่งแฟลตฟอร์มอินเตอร์เน็ตและเว็บไซต์ต่างๆวางคำเตือนไว้ใกล้กับโพสต์ข้อความทั้งหลายที่พวกเขามองว่าเป็นข้อมูลผิดๆ เช่นเดียวกับสามารถสั่งบล็อคเพจต่างๆเหล่านั้นจากการเข้าถึงของพวกผู้ใช้ภายในเมืองที่คุมเข้มกฎระเบียบแห่งนี้ ในขณะที่ส่วนใหญ่ยอมทำตามกฎหมายดังกล่าว แต่เว็บไซต์การเมืองอย่าง States Times Review (STR) ซึ่งมักโพสต์หัวข้อวิพากษ์วิจารณ์ ปฏิเสธที่จะปฏิบัติตาม ถ้อยแถลงจากกระทรวงสื่อสารระบุว่าเฟซบุ๊กได้รับแจ้งให้บล็อคพวกผู้ใช้สิงคโปร์จากการเข้าถึงเพจ STR เนื่องจากเพจแห่งนี้ข้อมูลอันเป็นเท็จซ้ำๆและไม่ปฏิบัติตามคำสั่งที่ขอให้โพสต์ข้อมูลที่ถูกต้อง ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่เพียงแค่ขอให้แก้ไขข้อมูลในโพสต์เฟซบุ๊กให้ถูกต้อง รวมถึงวางข้อมูลที่ถูกต้องไว้ใกล้ๆกับข้อมูลอันเป็นเท็จ แต่หนนี้ถือเป็นครั้งแรกที่พวกเขาหาทางบล็อคเพจเฟซบุ๊กเพจใดเพจหนึ่ง เมื่อวันศุกร์(14ก.พ.) รัฐบาลออกคำสั่งถึง States Times Review ให้เตือนผู้อ่านบนเพจเฟซบุ๊กของตนเองว่าพวกเขามักโพสต์ข้อมูลเท็จอยู่เป็นประจำ แต่เว็บไซต์แห่งนี้ไม่ยอมทำตาม เว็บไซต์ States Times Review ถูกกล่าวหาแพร่ข้อมูลข่าวสารอันเป็นเท็จมาแล้วหลายต่อหลายครั้ง ในนั้นรวมถึงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเจ้าหน้าที่อ้างว่าเว็บไซต์แห่งนี้โพสต์ข้อมูลเท็จเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ รายงานข่าวระบุว่าเว็บไซต์แห่งนี้ดูแลโดย อเล็กซ์ ตัน ซึ่งอ้างว่าตนเองเป็นพลเมืองออสเตรเลียที่พักอาศัยอยู่ในต่างแดน เฟซบุ๊กยังไม่ออกมาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับรายงานข่าวนี้ แต่เมื่อเดือนพฤศจิกายน สื่อสังคมออนไลน์แห่งนี้ได้วางข้อมูลที่ถูกต้องไว้ใกล้ๆข้อมูลที่โพสต์โดยตัน ตามคำร้องขอของรัฐบาล ความเคลื่อนไหวของรัฐบาลสิงคโปร์ มีขึ้นท่ามกลางข่าวลือที่ว่าศึกเลือกตั้งทั่วไปจะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า แม้หลายฝ่ายมองว่าฝ่ายค้านอยู่ในภาวะที่อ่อนแออย่างมากและคงไม่สามารถสู้รบกับพรรครัฐบาลได้ รัฐบาลสิงคโปร์ ซึ่งมักถูกวิพากษ์วิจารณ์เป็นประจำต่อการจำกัดสิทธิเสรีภาพของพลเรือน ยืนยันว่ากฏหมายนี้มีความจำป็น เพื่อสกัดการเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จบนสื่อสังคมออนไลน์ ที่อาจก่อความเสียหายในวงกว้าง ——————————————————– ที่มา…

ทหาร-ตำรวจเอลซัลวาดอร์ตบเท้าบุกสภา บีบอนุมัติกู้ซื้ออาวุธ

Loading

ทหารเอลซัลวาดอร์พร้อมอาวุธยืนเรียงแถวในสภานิติบัญญัติเมื่อวันอาทิตย์ สมาชิกสภาเอลซัลวาดอร์แตกตื่น ทหารและตำรวจพร้อมอาวุธตบเท้าเข้าสภาเมื่อวันอาทิตย์ หนุนหลังประธานาธิบดีนายิบ บูเกเล กดดัน ส.ส.อนุมัติการกู้ยืมงบประมาณ 109 ล้านดอลลาร์เพื่อใช้ซื้อยุทธภัณฑ์สนับสนุนการต่อสู้ปราบปรามแก๊งอาชญากร ประธานาธิบดีนายิบ บูเกเล ผู้นำหนุ่มวัย 38 ปีของเอลซัลวาดอร์เพิ่งชนะการเลือกตั้งเมื่อเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว ด้วยคำมั่นสัญญาว่าจะปราบปรามความรุนแรงโดยพวกแก๊งอาชญากร เขาตั้งใจจะใช้เงินกู้ยืมประมาณ 3,409 ล้านบาทนี้ มาปรับปรุงอาวุธยุทธภัณฑ์ของตำรวจและกองทัพ ในการต่อสู้กับอาชญากรรมรุนแรงในเอลซัลวาดอร์ ซึ่งมีอัตราฆาตกรรมสูงที่สุดชาติหนึ่งในโลก โดยจะใช้สำหรับซื้อยานพาหนะของตำรวจ, เครื่องแบบ, อุปกรณ์ตรวจการณ์และเฮลิคอปเตอร์ 1 ลำ เอเอฟพีรายงานเมื่อวันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ว่า บูเกเลเรียกร้องให้สภาเปิดการประชุมวาระพิเศษช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาเพื่ออภิปรายเรื่องนี้ แต่ถูก ส.ส.ส่วนใหญ่ปฏิเสธ และก่อนที่เขาจะเข้าห้องประชุมสภาเมื่อวันอาทิตย์ ตำรวจและทหารพร้อมอาวุธปืนไรเฟิลกลุ่มใหญ่เดินตบเท้าเข้ามาภายในห้องประชุม ซึ่งเป็นภาพที่ไม่เคยเกิดขึ้นนับแต่สิ้นสุดสงครามกลางเมืองในประเทศนี้เมื่อปี 2535 บูเกเลกล่าวปราศรัยต่อผู้สนับสนุนเขาด้านนอกสภาก่อนหน้านั้นว่า หากพวกเปล่าประโยชน์ (ส.ส.) เหล่านี้ไม่อนุมัติแผนควบคุมอาณาเขตฉบับนี้ภายในสัปดาห์นี้ เราจะเรียกร้องให้พวกเขาจัดการประชุมอีกครั้งในวันอาทิตย์หน้า “เมื่อพวกเจ้าหน้าที่ขัดต่อระบอบรัฐธรรมนูญ ประชาชนชาวซัลวาดอร์ก็มีสิทธิที่จะก่อการกบฏเพื่อกำจัดเจ้าหน้าที่พวกนี้” บูเกเลประกาศต่อผู้สนับสนุนด้านนอกสภา นักการเมืองฝ่ายค้านแสดงความไม่พอใจที่ทหารตำรวจพร้อมอาวุธครบมือบุกเข้าสภา โดยพวกเขากล่าวว่าเป็นพฤติการณ์ข่มขู่คุกคามที่ไม่เคยมีมาก่อน ส่วนภายนอกประเทศก็แสดงความกังวลเช่นกัน องค์กรแอมเนสตีอินเตอร์เนชันแนลออกแถลงการณ์ทางทวิตเตอร์ว่า การออกมาของทหารอาจเป็นจุดเริ่มต้นของหนทางอันตรายต่อสถาบันและต่อสิทธิมนุษยชนในประเทศนี้ ส่วนสหภาพยุโรปแสดงความ “ห่วงกังวลอย่างยิ่ง” ต่อการเผชิญหน้าระหว่างสถาบัน ————————————– ที่มา :…

ทวิตเตอร์ออกกฎจัดการ deepfake แสดงข้อความเตือนและลดการมองเห็นของทวีต เริ่มเดือนหน้า

Loading

ทวิตเตอร์ออกกฎใหม่สำหรับจัดการกับสื่อประเภท deepfake อย่างเป็นทางการ โดยนโยบายใหม่นี้จะจำกัดไม่ให้แชร์ข้อมูลปลอมที่อาจสร้างผลกระทบหรือความเสียหายได้ ทวิตเตอร์มีปัจจัยในการพิจารณาทวีตอยู่ 3 ข้อ ว่าจะทำเครื่องหมาย, แสดงข้อความเตือนหรือลบทวีตเหล่านั้นหรือไม่ ดังนี้ สื่อถูกสังเคราะห์หรือเปลี่ยนแปลงหรือไม่? ไม่ว่าจะเป็นลำดับ, เวลา, เฟรม ไปจนถึงข้อมูลว่าถูกลบหรือสร้างขึ้นมาหรือไม่ และมีคนจริงถูกจำลองหรือปลอมขึ้นมาหรือไม่ สื่อถูกแชร์ในลักษณะตั้งใจให้โกหกหลอกลวงหรือไม่? พิจารณาจากข้อความในทวีต, เมตะดาต้าที่อยู่ในสื่อ, ข้อความบนโปรไฟล์ของผู้ที่แชร์ และเว็บไซต์ที่ลิงก์ในโปรไฟล์หรือในทวีต คอนเทนต์มีผลกระทบต่อความปลอดภัยต่อประชาชน หรืออาจส่งผลให้เกิดความเสียหายอย่างหนักหรือไม่? ไม่ว่าจะเป็นภัยคุกคามต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคล, ความเสี่ยงในความรุนแรงหรือความไม่สงบในวงกว้าง และภัยคุกคามต่อความเป็นส่วนตัวหรือสิทธิต่าง ๆ ของบุคคลหรือกลุ่มบุคคล ปัจจัยเหล่านี้ ทวิตเตอร์จะนำมาพิจารณาในการใส่ข้อความเตือนลงในทวีต, ใส่เครื่องหมาย, ลดการมองเห็นของทวีตโดยไม่ขึ้นเป็นทวีตแนะนำ และเพิ่มรายละเอียดในแลนดิ้งเพจ โดยทวิตเตอร์จะเริ่มใช้มาตรการนี้ในวันที่ 5 มีนาคม เป้าหมายของการออกกฎจัดการ deepfake ก็เพื่อรับมือกับข้อมูลปลอมก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปีนี้ โดยกฎนี้กำหนดขึ้นจากแบบร่างที่ทวิตเตอร์ได้เสนอก่อนหน้าและรับฟังความเห็นกว่า 6,500 ความเห็นจากผู้ใช้ทั่วโลกผ่านแฮชแท็ก #TwitterPolicyFeedback เพื่อนำมาปรับปรุงให้เป็นฉบับสมบูรณ์ ———————————————————————- ที่มา : Blognone / 5 กุมภาพันธ์ 2563 Link : https://www.blognone.com/node/114529

อนามัยโลกจับมือ ‘กูเกิล’ ต่อสู้การปล่อยข่าวเท็จออนไลน์กรณีโคโรนาไวรัส

Loading

Passengers arrive at LAX from Shanghai, China, after a positive case of the coronavirus was announced in the Orange County suburb of Los Angeles, California, U.S., January 26, 2020. องค์การอนามัยโลก หรือ WHO กำลังทำงานร่วมกับบริษัทเทคโนโลยี Google เพื่อรับรองว่า เมื่อค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับโคโรนาไวรัส ประชาชนจะได้รับข้อมูลที่ถูกต้องจาก WHO ก่อนเป็นที่แรก ผอ.ใหญ่ขององค์การอนามัยโลก เทดรอส อัทนอม เกเบรเยซุส กล่าวในพิธีเปิดการประชุมของ WHO ในวันจันทร์ว่า สื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ เช่น Twitter, Facebook, Tencent และ TikTok ต่างใช้มาตรการหลายอย่างในการจำกัดการกระจายข้อมูลผิด…

YouTube ออกมาตรการ แบนคลิปที่จงใจให้ข้อมูลเลือกตั้งผิด รับมือการเลือกตั้งสหรัฐฯ 2020

Loading

หลังจากทวิตเตอร์เปิดให้ผู้ใช้รายงานบัญชีและโพสต์ที่แนะนำข้อมูลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ แบบผิดๆ ล่าสุด YouTube ก็ออกมาตรการแบนวิดีโอที่พยายามชี้นำการเลือกตั้งที่มีข้อมูลผิดด้วย YouTube ระบุว่า จะลบวิดีโอที่ละเมิดกฎแพลตฟอร์มดังนี้ วิดีโอที่ถูกปลอมแปลงในลักษณะที่ทำให้คนดูเข้าใจผิด เช่น deepfake เนื้อหาที่มีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้ผู้คนเข้าใจผิดเกี่ยวกับการลงคะแนน หรือให้ข้อมูลผิดเกี่ยวกับวันลงคะแนนเสียง เนื้อหาที่ผู้บรรยายอ้างสิทธิ์ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับหน่วยงานเลือกตั้ง ที่ไม่เป็นความจริง YouTube ยังบอกด้วยว่าได้ระงับช่องที่พยายามปลอมตัว ปลอมแปลงประเทศที่สังกัด หรือหรือปกปิดความสัมพันธ์กับรัฐบาล และระงับช่องที่ใช้ระบบอัตโนมัติเพิ่มยอดวิว ยอดไลค์ หรือใช้ระบบอัตโนมัติสร้างคอมเม้นท์ เป็นต้น —————————————————- ที่มา : Blognone / 4 กุมภาพันธ์ 2563 Link : https://www.blognone.com/node/114493