รัฐบาลสิงคโปร์สั่งขึ้นทะเบียนโดรนทุกลำ หลังเหตุป่วนสนามบินนานาชาติชางงี

Loading

รัฐบาลสิงคโปร์เตรียมออกกฎหมายให้โดรนทุกลำในประเทศต้องขึ้นทะเบียนก่อนนำไปใช้งาน พร้อมเล็งเพิ่มบทลงโทษสำหรับผู้ที่ละเมิดกฎหมาย โดยรัฐบาลให้เหตุผลว่าจำเป็นต้องมีมาตรการควบคุมอย่างเข้มงวดหลังจากเกิดเหตุโดรนบินป่วนท่าอากาศยานนานาชาติสิงคโปร์ชางงี ส่งผลให้เที่ยวบินหลายลำเกิดการล่าช้าจนถึงขั้นต้องปิดรันเวย์เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ด้านนาย Lam Pin Min in รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมสิงคโปร์ เผยถึงเหตุผลการขึ้นทะเบียนโดรนว่าจะสร้างความมั่นใจให้กับสารการบินและผู้ใช้งานสนามบินได้ เพราะจะทำให้นักบินโดรนจะทำการบินอย่างมีความรับผิดชอบ แต่ทางกระทรวงยังไม่สามารถระบุวันเวลาที่จะเริ่มบังคับใช้กฎหมายได้แน่ชัด แต่จะพยายามให้ทันภายในเดือนหน้า อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันกฎหมายสิงคโปร์ห้ามการนำโดรนบินภายในรัศมี 5 กิโลเมตร หรือที่ระดับความสูง 61 เมตร ของสนามบินและฐานทัพทหาร โดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งผู้กระทำผิดมีระวางโทษจำคุกสูงสุด 1 ปี และปรับไม่เกิน 20,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ และท่าอากาศยานนานาชาติสิงคโปร์ชางงี นับเป็นหนึ่งในท่าอากาศยานที่มีผู้โดยสารมากที่สุดในโลก ให้บริการผู้โดยสารจำนวนถึง 65.6 ล้านคนในปีที่แล้ว ที่มาข่าวและภาพประกอบ: Channel News Asia, 8/07/2019 Link : https://www.tcijthai.com/news/2019/7/asean/9202

คาดสายชาร์จไฟไหม้ ต้นตอเครื่องบิน “เวอร์จิ้น แอตแลนติก” ลงจอดฉุกเฉิน

Loading

เที่ยวบินสายการบินเวอร์จิ้น แอตแลนติก เส้นทางจากมหานครนิวยอร์ก ต้องลงจอดฉุกเฉินที่สนามบินนานาชาติโลแกน ในนครบอสตัน หลังเกิดเหตุไฟไหม้ห้องโดยสาร ซึ่งทีมสืบสวนคาดว่าน่าจะมีต้นตอมาจากสายชาร์จโทรศัพท์เกิดลุกไหม้บนเครื่อง ผู้โดยสาร 217 ชีวิตและลูกเรืออพยพจากเที่ยวบิน สายการบินเวอร์จิ้น แอตแลนติก ที่สนามบินในนครบอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ได้อย่างปลอดภัย โดยมีรายงานผู้บาดเจ็บที่ปฏิเสธการปฐมพยาบาลเนื่องจากภาวะสำลักควัน หนังสือพิมพ์ Washington Post อ้างข้อมูลจากตำรวจรัฐแมสซาชูเซตส์ รายงานว่า การสืบสวนเบื้องต้นพบว่าสาเหตุของเพลิงไหม้น่าจะมาจากสายชาร์จโทรศัพท์มือถือ ที่พบอยู่ระหว่างที่นั่งโดยสารในเกิดประกายไฟลุกไหม้ ก่อนที่เจ้าหน้าที่บนเครื่องบินจะเข้าควบคุมเพลิงไว้ได้ ทั้งนี้ ตามข้อมูลจากสำนักงานบริหารการบินแห่งชาติ หรือ FAA ห้ามไม่ให้นำแบตเตอรี่ลิเธียมพกพาโหลดลงในกระเป๋าสัมภาระใต้เครื่อง รวมทั้งมีรายงานว่าสายการบินหลายแห่ง สั่งห้ามนำกระเป๋า Smart Bag ที่บรรจุแบตเตอรี่ลิเธียมสำหรับชาร์จสมาร์ทโฟนหรือคอมพิวเตอร์โหลดลงในกระเป๋าสัมภาระใต้เครื่อง เพราะมีความเสี่ยงที่อุปกรณ์ดังกล่าวอาจเกิดประกายไฟหรือระเบิดได้ แต่ข้อกำหนดดังกล่าวไม่ได้มีผลบังคับใช้กับการนำแบตเตอรี่พกพาเหล่านี้ขึ้นไปบนห้องโดยสารบนเครื่องบิน หรือใส่ไว้ในกระเป๋าเดินทางติดตัวขึ้นเครื่อง หรือ carry-on ปัจจุบัน สายการบินหลายแห่ง เริ่มปรับเปลี่ยนนโยบายการบิน หลังเหตุไฟไหม้บนเครื่องบินที่มาต้นตอมาจากแบตเตอรี่พกพา ซึ่งรวมถึงเหตุการณ์เมื่อปี ค.ศ. 2016 กับสายการบินเซาท์เวสต์แอร์ไลน์สด้วย และผู้โดยสารจะต้องแจ้งกับพนักงานบนเครื่องทันทีหากพบว่าแบตเตอรี่พกพาที่ตนนำมาเกิดความร้อนผิดปกติ ตกหล่นลงไปด้านใต้เบาะที่นั่งโดยสาร หรือเริ่มมีควันออกมาจากอุปกรณ์ดังกล่าว ————————————————————— ที่มา : VOA Thai /…

จีนแอบใส่แอปฯ ลับในมือถือนักท่องเที่ยว เก็บข้อมูลส่วนบุคคล-ข้อความ-ประวัติการโทร เฝ้าระวังข้อมูลที่อาจเป็นปัญหา

Loading

การท่องเที่ยวในจีนอาจไม่ปลอดภัยอีกต่อไป เมื่อทางการจีนแอบติดตั้งซอฟต์แวร์บางตัวลงในโทรศัพท์มือถือของนักท่องเที่ยว กระบวนการแทรกแซงทางข้อมูลของตำรวจตรวจคนเข้าเมืองของประเทศจีนนี้ถูกเปิดเผยออกมา เมื่อนักท่องเที่ยวเปิดเผยร่องรอยของซอฟต์แวร์ที่หลงเหลือในโทรศัพท์ของเขากับสื่อ ก่อนทีมสืบสวนของสำนักข่าวเดอะการ์เดียนและพันธมิตรระหว่างประเทศจะร่วมกันติดตามกรณีล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชนครั้งนี้และพบว่าตำรวจตรวจคนเข้าเมืองของจีนจะแอบติดตั้งแอปพลิเคชันบางอย่างในโทรศัพท์ของนักเดินทางที่เดินทางเข้าสู่เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ผ่านทางประเทศคีร์กีซสถาน นอกจากนั้น นักท่องเที่ยวหลายรายยังเปิดเผยว่าเจ้าหน้าที่ของทางการจีนจะขอให้นักท่องเที่ยวส่งมือถือพร้อมรหัสสำหรับเข้าใช้งานให้กับเจ้าหน้าที่ ก่อนจะนำโทรศัพท์หายเข้าไปในห้องราว 1-2 ชั่วโมงและนำกลับออกมาให้ในภายหลัง ซึ่งจากการติดตามดูโทรศัพท์ส่วนมากจะถูกถอนการติดตั้งของแอปฯ ออกไปก่อนส่งคืน แต่ในบางครั้งนักท่องเที่ยวก็พบว่าแอปฯ ยังอยู่ในเครื่องของพวกเขา โดยแอปฯ ดังกล่าวจะทำหน้าที่ดาวน์โหลดข้อมูลส่วนบุคคลหลายอย่าง ทั้งข้อความ ข้อมูลติดต่อ และประวัติการใช้งานบางอย่างส่งกลับไปที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองที่หน้าด่าน โดยเฉพาะผู้ที่เข้าเมืองผ่านทางเขตพรมแดน Irkeshtam ซึ่งอยู่สุดเขตตะวันตกของจีนที่มีการหลงเหลือของร่องรอยการติดตามในโทรศัพท์ของนักท่องเที่ยวเป็นประจำ ขณะเดียวกัน ยังไม่สามารถทราบได้ว่าข้อมูลดังกล่าวถูกดูดออกไปเพื่ออะไรและทางการจีนจะเก็บข้อมูลเหล่านั้นไว้นานแค่ไหน และแม้ว่าจะไม่พบหลักฐานการติดตามข้อมูลภายหลังจากการเดินทางผ่านข้ามแดน แต่ข้อมูลภายในเครื่องก็ยังสามารถใช้ในการติดตามค้นหาตัวตนของเจ้าของเครื่องได้ ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์โดยสำนักข่าวเดอะการ์เดียน นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยไซเบอร์ ระบุว่า แอปฯ ดังกล่าวที่ถูกออกแบบโดยบริษัทในจีนจะค้นหาข้อมูลที่ทางการจีนคิดว่าเป็น “ปัญหา”  ซึ่งหมายรวมถึงคำศัพท์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับลัทธิหัวรุนแรง Islamist และคู่มือปฏิบัติการอาวุธ รวมถึงข้อมูลอื่นๆ อย่างการถือศีลอดในช่วงรอมฎอนจนถึงวรรณกรรมของดาไลลามะ และวงดนตรีเมทัลจากญี่ปุ่นชื่อ Unholy Grave โดยกระบวนการล่วงละเมิดนี้เป็นส่วนหนึ่งของความเข้มงวดที่จีนมีต่อเขตปกครองตนเองซินเจียง ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลจีนได้ควบคุมเสรีภาพในพื้นที่ดังกล่าวโดยการติดตั้งกล้องสำหรับจดจำใบหน้าประชากรมุสลิมทั่วท้องถนนและมัสยิด รวมถึงมีรายงานว่ามีการบังคับให้ประชาชนในพื้นที่ดาวน์โหลดซอฟต์แวร์เพื่อติดตามโทรศัพท์ของพวกเขา ด้าน Edin Omanović หนึ่งในกลุ่มรณรงค์ด้านความเป็นส่วนตัวระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า “มันน่าตกใจมากที่เพียงแค่การดาวน์โหลดแอปฯ หรือบทความข่าวอาจทำให้ผู้คนต้องเข้าค่ายกักกัน” เช่นเดียวกับ Maya…