รายงานชี้ รัสเซียใช้ขีปนาวุธข้ามทวีปโจมตียูเครนเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 3 ปีของสงคราม

Loading

    กองทัพอากาศยูเครนรายงานว่า รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีป (Intercontinental Ballistic Missile: ICBM) ในระหว่างการโจมตียูเครนวันนี้ (21 พฤศจิกายน) ตามเวลาท้องถิ่น นับเป็นครั้งแรกในสงครามที่ใช้ขีปนาวุธทรงพลังซึ่งสามารถติดตั้งหัวรบนิวเคลียร์และมีระยะยิงไกลหลายพันกิโลเมตร   รายงานดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับจากสหรัฐฯ และอังกฤษโจมตีเป้าหมายในรัสเซียเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา แม้ว่ารัสเซียจะเคยเตือนว่าการกระทำดังกล่าวจะถือเป็นการยกระดับสงครามครั้งใหญ่ในความขัดแย้งที่ดำเนินมาเกือบจะ 3 ปีแล้ว   ทั้งนี้ ขีปนาวุธข้ามทวีป (ICBM) ถือเป็นอาวุธยุทธศาสตร์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อส่งหัวรบนิวเคลียร์ และเป็นส่วนสำคัญของระบบป้องปรามนิวเคลียร์ของรัสเซีย อย่างไรก็ตาม ยูเครนไม่ได้ระบุถึงชนิดของขีปนาวุธหรือหัวรบ และไม่มีข้อบ่งชี้ว่าขีปนาวุธดังกล่าวติดตั้งหัวรบนิวเคลียร์   ขณะที่การโจมตีครั้งนี้มีเป้าหมายไปยังสถานประกอบการและโครงสร้างพื้นฐานสำคัญในเมืองดนีโปร ทางตอนกลาง-ตะวันออกของยูเครน โดยทางการไม่ได้ระบุว่าขีปนาวุธข้ามทวีปมีเป้าหมายที่ใดหรือสร้างความเสียหายใดบ้าง แต่ เซอร์กีย์ ลีแซค ผู้ว่าการภูมิภาคดนีโปรเปตรอฟสก์ กล่าวว่ามีความเสียหายต่อสถานประกอบการอุตสาหกรรมและเกิดเพลิงไหม้ โดยมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 2 ราย   นอกจากนี้รัสเซียยังยิงขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิกชนิดคินชัลและขีปนาวุธร่อน Kh-101 อีก 7 ลูก ซึ่งถูกสกัดกั้นได้ 6 ลูก ตามรายงานของกองทัพอากาศยูเครน ซึ่งทางด้าน Defense Express ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ปรึกษาด้านกลาโหมของยูเครน ตั้งคำถามว่า…

Google เตรียมเพิ่ม “Shielded Email” ฟีเจอร์สร้างอีเมลชั่วคราวกันสแปม

Loading

Google เตรียมเพิ่มฟีเจอร์ “Shielded Email” เข้ามาใน Gmail Email สร้างอีเมลชั่วคราวป้องกันสแปม เพิ่มความปลอดภัยในการใช้งาน

13 พันธมิตรใหม่ BRICS กับความสำคัญเชิงภูมิศาสตร์-ยุทธศาสตร์

Loading

    BRICS ขยายพาร์ตเนอร์เพิ่มอีก 13 ประเทศ รวมถึงไทย โดย รศ. ดร.ปิติ ศรีแสงนาม คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้อำนวยการบริหาร มูลนิธิอาเซียน มองว่าพาร์ตเนอร์ใหม่ BRICS ล้วนมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ หรือแหล่งทรัพยากรสำคัญที่ป้อนอุตสาหกรรมใหม่ ๆ   ในอีกมุมหนึ่ง การเลือกพาร์ตเนอร์ BRICS รอบนี้ยังสะท้อนการเชื่อมหมากในกระดานหมากล้อม ที่จีนพยายามแก้เกมปิดล้อมในทางภูมิศาสตร์ของสหรัฐฯ และพันธมิตรตะวันตก       แอลจีเรียมีทั้งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ เดิมมีลูกค้าพลังงานรายใหญ่คือฝรั่งเศส แต่เริ่มรู้สึกว่าไม่แฟร์ จึงกระจายความเสี่ยงไปคบกับจีน     ไนจีเรีย เป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุด และมีตัวเลข GDP สูงที่สุดในทวีปแอฟริกา อีกทั้งยังเป็นประตูสู่แอฟริกาตะวันตก และประตูสู่พื้นที่รอยต่อทางใต้ของทะเลทรายซาฮารา และเหนือพื้นที่สีเขียวของแอฟริกาที่เรียกว่าเข็มขัดซาเฮล     ยูกันดาเป็นประตูสู่แอฟริกาตะวันออก มีทำเลที่ตั้งทางยุทธศาสตร์ และเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์     โบลิเวียเป็นประเทศที่มีแหล่งแร่ลิเธียมมากที่สุดในโลก ซึ่งจะเป็นหลักประกันในการป้อนอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ของจีนตามแผนยุทธศาสตร์ 3…

โอกาส ‘ประเทศไทย’ กับการเป็น ศูนย์กลาง ‘ดาต้าเซ็นเตอร์ภูมิภาค’

Loading

บ้านเราค่อนข้างให้ความสำคัญกับการมาลงทุนตั้ง ดาต้าเซนเตอร์ของบริษัทต่างประเทศมากพอควร ล่าสุด บีโอไอ ออกมาระบุว่า ปัจจุบันมีโครงการ ดาต้าเซนเตอร์ และคลาวด์ เซอร์วิส ขอรับการส่งเสริมลงทุนจากบีโอไอ รวม 46 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 167,989 ล้านบาท

คุยการเมืองเรื่องทรัมป์ เทรดวอร์และระเบียบโลกใหม่ กับศ.ดร. สิริพรรณ นกสวน สวัสดี

Loading

    “กรุงเทพธุรกิจ” ชวนพูดคุยกับ ศ. ดร.สิริพรรณ นกสวน สวัสดี ผู้เชี่ยวชาญด้านการเมืองระหว่างประเทศอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย ถึงผลของการกลับมาของทรัมป์ที่มีต่อระเบียบโลกและประชาธิปไตยสหรัฐ   การกลับมาของ “โดนัลด์ ทรัมป์” ในฐานะว่าที่ประธานาธิบดีคนที่ 47 ของสหรัฐจากพรรครีพับลิกันสร้างทั้งความตระหนักและตระหนกให้กับประชาคมโลกโดยเฉพาะประเด็นนโยบาย America First ที่อาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงระเบียบโลกครั้งใหญ่   ว่ากันว่าภายใต้การนำของทรัมป์ สหรัฐมีแนวโน้มที่จะถอยห่างจากบทบาทผู้นำโลกเสรีที่เคยดำรงมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยหันมาเน้นการเจรจาแบบทวิภาคีที่มุ่งผลประโยชน์ระยะสั้นมากกว่าการรักษาพันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์ระยะยาว การถอนตัวจากข้อตกลงระหว่างประเทศสำคัญๆ อย่างความตกลงปารีสและองค์การอนามัยโลกในสมัยแรก สะท้อนให้เห็นถึงท่าทีที่เปลี่ยนไปของมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลก   ขณะเดียวกัน การที่ทรัมป์มีความสัมพันธ์อันดีกับผู้นำประเทศที่นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์จำนวนหนึ่งมองว่ามิได้ยึดถือหลักการประชาธิปไตย ไม่ว่าจะเป็นรัสเซีย จีน หรือเกาหลีเหนือ ก็ส่งสัญญาณว่าสหรัฐอาจไม่ได้ยึดมั่นในอุดมการณ์ดังกล่าวเหมือนในอดีต (?) การเมืองระหว่างประเทศกำลังเคลื่อนไปสู่ยุคที่ความสัมพันธ์ “ส่วนตัว” ระหว่างผู้นำมีความสำคัญมากกว่าค่านิยมร่วมหรือผลประโยชน์ระยะยาวของประเทศ   นอกจากนี้ ยังมีความกังวลเกี่ยวกับสถานะความเป็นประชาธิปไตยของสหรัฐเอง หลังจากที่ทรัมป์ปฏิเสธผลการเลือกตั้งในปี 2020 จนนำไปสู่เหตุการณ์จลาจลที่รัฐสภาในวันที่ 6 ม.ค. ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดของประชาธิปไตยอเมริกัน การแบ่งขั้วทางความคิดที่รุนแรงขึ้น ประกอบกับวิธีการหาเสียงที่เน้นการโจมตีคู่แข่งและการสร้างความเกลียดชัง ทั้งหมดล้วนส่งผลให้สถาบันจัดอันดับประชาธิปไตยระดับโลกจัดให้สหรัฐเป็นเพียง “ประชาธิปไตยที่บกพร่อง”   แม้ว่าทรัมป์จะยังไม่ได้เข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ แต่ทิศทางนโยบายต่างประเทศที่เขาวางไว้ก็มีความเป็นไปได้ว่าทั้งโลกกำลังจะเข้าสู่ยุคใหม่ที่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจะซับซ้อนและไม่แน่นอนมากขึ้น…

ดีอี หนุน สคส. ตั้งเป้าข้อมูลรั่วไหลต้องเป็น ‘ศูนย์’

Loading

สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) เดินหน้าผนึกกำลังจากทุกภาคส่วน เพื่อสร้างความแข็งแกร่งในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนไทย พร้อมตั้งเป้าหมายสำคัญ ข้อมูลรั่วไหลต้องเป็น “ศูนย์”