เส้นทางของประเทศไทยในบริบทโลกไร้คาร์บอน

Loading

ความพยายามของประเทศไทยที่จะร่วมขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างจริงจังและเข้มแข็ง จากแผนที่นำทางการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ พ.ศ.2564-2573 สู่การจัดทำแผนปฏิบัติการลดก๊าซเรือนกระจกรายสาขา อันประกอบด้วย (1) สาขาพลังงาน โดยมีสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก (2) สาขาขนส่ง โดยมีสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กระทรวงคมนาคม เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก (3) สาขากระบวนการทางอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ รวมถึงน้ำเสียอุตสาหกรรม โดยมีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก และ (4) สาขาการจัดการของเสียชุมชน โดยมีกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก

เทรนด์พลังงานนิวเคลียร์ 2025 นวัตกรรมที่จะพลิกโฉมโลก

Loading

  ในปี 2025 ความต้องการแหล่งพลังงานที่สะอาดและยั่งยืน ทำให้ภาคพลังงานนิวเคลียร์กำลังเติบโตและเป็นที่ต้องการอย่างมาก เพราะเป็นพลังงานที่มีเสถียรภาพและปล่อยคาร์บอนต่ำ โดยองค์การพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) คาดการณ์ว่า การผลิตพลังงานนิวเคลียร์ทั่วโลกจะเติบโตขึ้นเกือบ 3% ต่อปีจนถึงปี 2026 พลังงานนิวเคลียร์ฟื้นตัวในบางประเทศ เช่น จีนตั้งเป้าที่จะมีความสามารถผลิตพลังงานนิวเคลียร์สูงถึง 100 กิกะวัตต์ (GW) ภายในปี 2025 ขณะที่อินเดียยังคงเพิ่มจำนวนเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ โดยให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีเครื่องปฏิกรณ์ขนาดเล็ก (SMRs) ในยุโรป หลายประเทศกำลังพิจารณานโยบายยกเลิกการยุติการใช้พลังงานนิวเคลียร์ เช่น ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นผู้ผลิตพลังงานนิวเคลียร์อันดับสองของโลกได้ประกาศว่าจะขยายพลังงานนิวเคลียร์ ในขณะที่ เยอรมนี ซึ่งเคยมีแผนที่จะยุติการใช้พลังงานนิวเคลียร์ ก็ได้เลื่อนการยุติออกไปเพื่อรักษาความเสถียรของกริดไฟฟ้าและความมั่นคงด้านพลังงาน ขณะที่ประเทศไทยก็กำลังดำเนินการในภาคพลังงานนิวเคลียร์เช่นกัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การเปลี่ยนผ่านพลังงานที่กว้างขึ้น โดยโฟกัสไปที่ศักยภาพของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ขนาดเล็ก (SMRs) เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ภายในปี 2065 อย่างไรก็ตาม การพิจารณาด้านกฎระเบียบและความปลอดภัย ความปลอดภัยยังคงเป็นปัจจัยสำคัญ โดยเฉพาะหลังจากเหตุการณ์ ฟุกุชิมะ ในปี 2011 ที่ทำให้ประชาชนรู้สึกไม่เชื่อมั่นต่อพลังงานนิวเคลียร์ยังคงมีอยู่ แต่รัฐบาลหลายๆ ประเทศ ก็ได้ดำเนินการเพื่อให้มั่นใจว่ามีมาตรฐานด้านความปลอดภัยที่ดี ผลิตพลังงานนิวเคลียร์เพิ่ม 3 เท่า แรงผลักดันที่สำคัญ คือ…

เปิดประตูสู่เกาหลีเหนือ นักท่องเที่ยวชาวอังกฤษพบเจออะไร หลังเปิดประเทศครั้งแรกในรอบ 5 ปี

Loading

อย่าดูหมิ่นผู้นำ อย่าดูหมิ่นอุดมการณ์ และอย่าไปตัดสินใด ๆนี่คือกฎที่ไกด์ทัวร์อ่านให้นักท่องเที่ยวชาวตะวันตกฟังขณะที่พวกเขากำลังเตรียมตัวขับรถข้ามพรมแดนเข้าไปยังประเทศเกาหลีเหนือ ดินแดนที่ลี้ลับและเผด็จการที่สุดในโลก

ฟอร์ติเน็ต ชี้ องค์กร 61% กังวลเรื่องความปลอดภัย และการปฏิบัติตามข้อบังคับในการใช้คลาวด์

Loading

    ฟอร์ติเน็ต เผยผลศึกษาของรายงานสถานะความปลอดภัยระบบคลาวด์ประจำปี 2025 (2025 State of Cloud Security Report) ซึ่งจัดทำโดย Cybersecurity Insiders เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มล่าสุด ความท้าทาย และการกำหนดกลยุทธ์เพื่อรักษาความปลอดภัยให้ระบบคลาวด์   ภัคธภา ฉัตรโกเมศ ผู้จัดการประจำประเทศไทย ฟอร์ติเน็ต กล่าวถึง การนำคลาวด์มาใช้ ว่าเป็นหัวใจสำคัญในการปฏิรูปกระบวนการทำงานสู่ระบบดิจิทัล ช่วยให้องค์กรมีความยืดหยุ่นและคล่องตัว ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับการแข่งขันในตลาดปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว   การแข่งขันในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ต้องอาศัยการพัฒนาหลายด้าน ทั้งการสร้างประสบการณ์เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าแต่ละราย การปรับใช้นโยบายเพื่อให้ ทำงานได้จากทุกที่    (work-from-anywhere) อย่างจริงจัง ปรับกระบวนการทำงานให้คล่องตัวขึ้น พร้อมทั้งปรับปรุงการดำเนินงานในลักษณะกระจายศูนย์ให้เกิดประสิทธิภาพและสามารถรองรับการขยายได้ดียิ่งขึ้น   แม้ว่าเทคโนโลยีคลาวด์จะช่วยให้ธุรกิจสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วตามความต้องการที่เปลี่ยนแปลงได้ตลอดในปัจจุบัน แต่ก็ยังคงเป็นความท้าทายสำคัญที่ทีมรักษาความปลอดภัยต้องตระหนักและจัดการให้ได้ ซึ่งความท้าทายเหล่านี้รวมถึงการปกป้องข้อมูลที่ละเอียดอ่อน   การปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับ ในขณะที่ยังคงสามารถมองเห็นความเป็นไปพร้อมทั้งควบคุมการดำเนินงานในสภาพแวดล้อมคลาวด์แบบไฮบริดและมัลติคลาวด์ที่ซับซ้อนมากขึ้นได้   ประเด็นที่น่าสนใจจากผลศึกษาของรายงานสถานะความปลอดภัยระบบคลาวด์ประจำปี 2025 มีการนำกลยุทธ์คลาวด์แบบไฮบริดและมัลติคลาวด์มาใช้มากขึ้น: โดยกว่า 78% ของผู้ตอบแบบสอบถามมีการใช้บริการจากผู้ให้บริการคลาวด์สองรายขึ้นไป ซึ่งเน้นให้เห็นว่าแนวทางด้านมัลติคลาวด์มีความสำคัญมากขึ้น โดยช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและให้ประโยชน์ด้านความสามารถเฉพาะทาง ในขณะที่ 54%…

“อุยกูร์” คือใคร ? รากเหง้าประวัติศาสตร์พันปีสู่ความขัดแย้งร่วมสมัย

Loading

      “อุยกูร์” ชาติพันธุ์ที่มีรากเหง้าลึกในเอเชียกลาง ต้องเผชิญความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่หลัง “ซินเจียง” ถูกรวมเข้ากับจีน ทั้งนโยบายควบคุมประชากร ศาสนา อัตลักษณ์ จุดชนวนความขัดแย้ง ที่นานาชาติต่างร่วมประณามนี่คือการ “ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ทางวัฒนธรรม” ชาวอุยกูร์ (Uyghur) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีรากเหง้ามาจากชนเผ่าเร่ร่อนในแถบเอเชียกลางที่มีรากเหง้ามาจากชนเผ่าตุรกีโบราณ ที่เคยอาศัยอยู่ในแถบเอเชียกลาง พวกเขามีความเกี่ยวข้องกับเผ่าซงหนู (Xiongnu) และเผ่าตูเจวี๋ย (Tujue) ซึ่งเคยมีอิทธิพลในบริเวณที่ราบสูงมองโกเลียและทะเลทรายทากลามากัน ในช่วงศตวรรษที่ 8 ชาวอุยกูร์ได้สถาปนาอาณาจักรของตนเองที่เรียกว่า “อุยกูร์คานาเต” (Uyghur Khaganate) ซึ่งปกครองพื้นที่กว้างขวางและมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับราชวงศ์ถังของจีน อย่างไรก็ตาม อาณาจักรอุยกูร์ล่มสลายในศตวรรษที่ 9 หลังจากถูกกองกำลังคีร์กีซโจมตี ทำให้ชาวอุยกูร์จำนวนมากต้องอพยพลงใต้สู่ดินแดนที่ปัจจุบันคือ “เขตปกครองตนเองซินเจียง” ของจีน หลังจากการอพยพ ชาวอุยกูร์ได้ตั้งถิ่นฐานใหม่ใน “ซินเจียง” และกลายเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีบทบาทสำคัญในเส้นทางสายไหม พวกเขาค้าขายกับชาวเปอร์เซีย อาหรับ และจีน ทำให้ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากหลายอารยธรรม ในช่วงศตวรรษที่ 10 ชาวอุยกูร์เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามที่แพร่หลายแทนที่ศาสนาเทียนไถและศาสนาพุทธ วัฒนธรรมของอุยกูร์เริ่มแยกออกจากวัฒนธรรมของจีนและกลุ่มชนเผ่าเร่ร่อนอื่น ๆ ในเอเชียกลาง โดยมีภาษาอุยกูร์ที่ใช้ตัวอักษรอาหรับและมีวรรณกรรม ศิลปะ และดนตรีที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง   “ซินเจียง”…

อึ้ง! คนไทย 60% ยอมให้ข้อมูลส่วนตัว แลกสิทธิพิเศษ-ส่วนลด

Loading

วันนี้ (28 ก.พ.68) นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ฯ เปิดเผยรายงานภาวะสังคมไทยไตรมาส 4/2567 ประเด็นการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลและภัยคุกคามทางไซเบอร์ ระบุว่า ประเทศไทย แม้มีพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) แต่ยังพบการคุกคามทางไซเบอร์ และการรั่วไหลของข้อมูลเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง