ระเบิดลูกปราย (คลัสเตอร์บอมบ์) คืออะไร ทำไมสหรัฐฯ ตัดสินใจส่งให้ยูเครน?

Loading

    สหรัฐอเมริกาประกาศว่าจะจัดส่ง ‘ระเบิดลูกปราย’ (Cluster Munitions) หรือ ‘คลัสเตอร์บอมบ์’ ให้กับยูเครนตามคำขอ ซึ่งการตัดสินใจดังกล่าวเรียกเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงจากกลุ่มสิทธิมนุษยชน เนื่องจากคลัสเตอร์บอมบ์ถูกมองว่าเป็นอาวุธร้ายแรงที่ปัจจุบันถูกแบนในกว่า 120 ประเทศ   คลัสเตอร์บอมบ์คืออะไร อันตรายอย่างไร?   ระเบิดลูกปรายหรือคลัสเตอร์บอมบ์ เป็นระเบิดที่บรรจุลูกระเบิดขนาดเล็กๆ ไว้ภายในจำนวนมาก วิธีการใช้ทำได้หลายวิธี คือ สามารถทิ้งลงจากเครื่องบิน ขีปนาวุธ หรือยิงโดยปืนใหญ่จากพื้นดินสู่พื้นที่เป้าหมายก็ได้ โดยคลัสเตอร์บอมบ์จะระเบิดกลางอากาศเพื่อปล่อยลูกระเบิดย่อยให้กระจายเป็นวงกว้าง   จากมุมมองด้านการทหาร ระเบิดลูกปรายมีประสิทธิภาพอย่างน่ากลัวเมื่อใช้โจมตีกองทหารราบที่ประจำการอยู่ในสนามเพลาะหรือหลุมที่ถูกขุดเพื่อเป็นที่มั่นในการต่อสู้ ตลอดจนที่ประจำอยู่ตามป้อมค่ายต่างๆ   อย่างไรก็ดี ความอันตรายของอาวุธชนิดนี้คือ ระเบิดลูกปรายมีความคลาดเคลื่อนผิดพลาดจากเป้าหมายและไม่ระเบิดในอัตราที่สูง หรือ ‘Dud Rate’ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าระเบิดตกลงบนพื้นที่เปียกหรือนุ่ม   รายงานของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) ระบุว่า ระเบิดลูกปรายที่ถูกนำมาใช้ในความขัดแย้งล่าสุดนั้น มีอัตราระเบิดด้านสูงถึง 40%   นั่นหมายความว่าลูกระเบิดขนาดเล็กอาจตกค้างบนพื้นดิน และอาจระเบิดขึ้นได้ในภายหลังเมื่อถูกหยิบหรือเหยียบ ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บและสูญเสียชีวิตของพลเรือนผู้บริสุทธิ์ แม้ว่าจะผ่านไปอีกยาวนานหลายปีหรือหลายสิบปี ประชาคมระหว่างประเทศจึงพิจารณาเห็นว่า ระเบิดลูกปรายเป็นอาวุธที่ส่งผลกระทบด้านมนุษยธรรมสูง   กลุ่มสิทธิมนุษยชนระบุว่า…

หมดกันความเป็นส่วนตัว! เมื่ออากู๋ “Google” ขอขุดดาต้ามาสอน AI

Loading

  กำแพงความเป็นส่วนตัวถูกทำลายลงอีกครั้ง เมื่อ Search Engine ยักษ์ใหญ่อย่าง “Google” ขออนุญาต “ขุด” ข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลทุกอย่างที่เราเคยโพสต์ทางออนไลน์ ด้วยเหตุผลว่าจะนำไปสอน AI   การก้าวล้ำเส้นแบ่งของความเป็นส่วนตัวในโลกออนไลน์เริ่มต้นเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เมื่อ Google ปรับปรุงนโยบายความเป็นส่วนตัว โดยระบุอย่างชัดเจนว่าบริษัทขอสงวนสิทธิ์ในการขุดข้อมูลทุกอย่างที่พวกเราโพสต์ทางออนไลน์เพื่อสร้างเครื่องมือ AI   โดยนโยบายใหม่ของ Google ระบุว่า “Google จะใช้ข้อมูลเพื่อปรับปรุงบริการและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ฟีเจอร์ และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ และสาธารณะ”     “Google” ยกตัวอย่างว่า ข้อมูลจะถูกใช้ฝึกโมเดล AI ของ Google และสร้างผลิตภัณฑ์รวมถึงฟีเจอร์ต่างๆ เช่น Google Translate, Bard และเพิ่มความสามารถของ Cloud AI ซึ่งเพิ่มเติมจากเดิมที่ Google เคยบอกว่าข้อมูลจะใช้สำหรับโมเดลภาษาเท่านั้น แต่ตอนนี้ได้กระโดดเข้ามาสู่ตลาด “AI” เป็นที่เรียบร้อย   ข้อสังเกตอย่างหนึ่งที่ดูจะไม่ปกตินักคือ โดยทั่วไปแล้ว…

จีนทดสอบสุดยอดเครื่องยนต์ทรงพลัง WS-15 นำเครื่องบินขับไล่ล่องหนเหินเวหาครั้งแรก

Loading

ภาพและคลิปของเที่ยวบินทดสอบเครื่องยนต์ดับเบิ้ลยูเอส-15 ว่อนในสื่อโซเชียล – ภาพ : เว่ยปั๋ว   พญามังกรยกระดับมาตรฐานเทคโนโลยีขยับใกล้พี่กัน วิดีโอและภาพถ่ายว่อนเน็ต ยืนยัน ดับเบิ้ลยูเอส-15 (WS-15 engines) เครื่องยนต์ทรงพลังมากที่สุดและใช้เวลาพัฒนามานาน 2 ทศวรรษของจีน ทดสอบสมรรถนะสำหรับการบินเป็นเที่ยวแรกแล้ว   ความสำเร็จในการพัฒนาเครื่องยนต์รุ่นนี้จะเพิ่มขีดความสามารถของเครื่องบินขับไล่ล่องหนจีนในการต่อกรกับเครื่องบินขับไล่ล่องหนระดับพระกาฬในโลก ท่ามกลางสถานการณ์ตึงเครียดในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งเครื่องบินขับไล่เอฟ-22 และเอฟ-35 รุ่นที่ 5 ของสหรัฐฯ กำลังยกโขยงมาประจำการ   วิดีโอเครื่องบินเจ-20 ทะยานขึ้นจากลานบินทดสอบในเมืองเฉิงตู มณฑลเสฉวนทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ ถูกเผยแพร่ในสื่อสังคมออนไลน์เมื่อวันที่ 28 มิ.ย. เครื่องบินต้นแบบลำนี้ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ดับเบิ้ลยูเอส-15 ซึ่งติดตั้ง 2 ตัว โดยเมืองเฉิงตูเป็นที่ตั้งของบริษัทอวกาศและการบินเฉิงตู (Chengdu Aerospace Corporation) ผู้สร้างเจ-20 เครื่องบินขับไล่ล่องหนล้ำสมัยที่สุดรุ่นหนึ่งของแดนมังกร   คลิปเครื่องบินขับไล่ล่องหน เจ-20 ทะยานขึ้นเพื่อทดสอบเครื่องยนต์ดับเบิ้ลยูเอส-15 เป็นครั้งแรก – ภาพ : เว่ยปั๋ว   แม้กองทัพปลดแอกประชาชนจีนไม่ออกมาแถลงเกี่ยวกับวันเวลาในการทดสอบ แต่การปล่อยให้วิดีโอและภาพถ่ายแพร่สะพัดในสื่อโซเชียลทั้งในและนอกประเทศโดยไม่ถูกเซ็นเซอร์ก็เท่ากับเป็นการยืนยันกลายๆ…

กรมการปกครองแนะนำคนไทยใช้ ‘ThaID’ ช่วยยืนยันตัวตน

Loading

  กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย พร้อมนำแอปพลิเคชัน ThaID (ไทยดี) ยกระดับการให้บริการประชาชนภายใต้รัฐบาลดิจิทัล ด้วยระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนผ่านทางแอป ThaID ลดภาระค่าใช้จ่ายประชาชน ลดการใช้ทรัพยากรสิ้นเปลือง ลดความเสี่ยงปลอมแปลงเอกสาร สามารถใช้แทนบัตรประชาชนได้ในการรับบริการต่าง ๆ จากภาครัฐ   ปลื้มหลังจากเปิดตัวไตรมาสแรกปี 66 มียอดดาวน์โหลดกว่า 5.8 ล้านครั้ง ปัจจุบันพร้อมใช้ยืนยันตัวตนกับภาครัฐได้ถึง 11 ระบบ เผยขณะนี้มีหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่ขออนุญาตใช้งานการยืนยันตัวตนถึงกว่า 70 หน่วยงาน พร้อมสร้างความเชื่อมั่นด้วยมาตรฐานความปลอดภัยระดับสากล ชวนคนไทยดาวน์โหลดและใช้งานได้ฟรี ทั้งระบบ Android และ iOS   นายแมนรัตน์ รัตนสุคนธ์ อธิบดีกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า กรมการปกครอง พร้อมยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย ตามแผนพัฒนาภาครัฐสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย โดยได้ดำเนินการจัดทำและพัฒนาแอปพลิเคชัน ThaID เพื่อเป็นระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล รองรับการใช้งานของประชาชนทั้งประเทศ ติดต่อกับราชการโดยไม่ต้องเดินทางไปที่สำนักงาน ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ลดการใช้ทรัพยากรกระดาษที่สิ้นเปลือง ลดความเสี่ยงในการใช้เอกสารราชการปลอมในกระบวนการยืนยันตัวตนของระบบเดิม สร้างมิติใหม่ของการทำธุรกรรมภาครัฐและภาคเอกชน ที่มีความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย สามารถบริการพี่น้องประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ…

“พายุสุริยะ” คืออะไร นาซาสั่งจับตาส่อเกิด “อินเทอร์เน็ตล่ม” ทั่วโลกปี 2025

Loading

    ‘พายุสุริยะ’ คืออะไร เพราะเหตุใด นาซารวมไปถึงผู้เชี่ยวชาญให้จับตา ทำลายระบบไฟฟ้า “อินเทอร์เน็ตล่ม” ทั่วโลก ทวีความรุนแรงในปี 2025   “พายุสุริยะ” กำลังเป็นที่พูดถึงและถูกจับตามองจากทั่วโลก รวมไปถึง NASA และผู้เชี่ยวชาญต่างคาดการณ์ว่า พายุสุริยะกำลังทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ และคาดว่า จะถึงจุดสูงสุดในปี 2025 พร้อมคาดการณ์กันอีกว่า มีโอกาสที่จะทำให้ระบบอินเทอร์เน็ตล่มทั่วโลก และหากเกิดขึ้นจริง ก็อาจทำให้อินเทอร์เน็ตล่มยาวนานนับเดือน   พายุสุริยะ คืออะไร เหตุใดถึงมีอนุภาค ทำให้กระทบต่อระบบไฟฟ้าบนโลก ในประวัติศาสตร์เมื่อปี 1859 พายุสุริยะ เคยทำให้ระบบโทรเลขล่ม ต่อมาในปี 1989 ก็ทำให้ไฟฟ้ารัฐควิเบกดับนาน 12 ชั่วโมง   ด้าน คีธ สตรอง นักฟิสิกส์พลังงานแสงอาทิตย์และผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสภาพอากาศอวกาศที่มหาวิทยาลัยโคโลราโด สหรัฐอเมริกา ได้ออกมาเปิดเผยข้อมูลชี้ให้เห็นว่าจำนวนจุดดับ (Sunspot) บนดวงอาทิตย์เมื่อเดือนมิถุนายน 2023 ที่ผ่านมา สูงถึง 163 จุด และสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่ปี…

ถอดบทเรียน ‘สนามบินดอนเมือง’ ถึงเวลายกเครื่องใหม่ ‘ระบบความปลอดภัย’

Loading

    “สนามบินดอนเมือง” ถึงเวลายกเครื่องใหม่รื้อระบบความปลอดภัย จ่อเปลี่ยนทางเลื่อนบริการผู้โดยสารทั้งหมด 20 จุด หลังใช้งานมานานกว่า 27 ปี เกิดอุบัติเหตุซ้ำซาก ย้ำต้องลงทุนเทคโนโลยีความปลอดภัยสูง หวังฟื้นความเชื่อมั่น   อุบัติเหตุจากทางเลื่อนภายในอาคารผู้โดยสารของท่าอากาศยานดอนเมือง เมื่อวันที่ 29 มิ.ย.ที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่าไม่ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก เพราะก่อนหน้านี้ย้อนหลังไปเมื่อปี 2562 ผู้โดยสารเคยประสบอุบัติเหตุรองเท้าติดอยู่กับทางเลื่อน บริเวณเส้นทางผู้โดยสารขาเข้าระหว่างประเทศ แต่นับว่าโชคดีที่ผู้โดยสารคนดังกล่าวได้ดึงเท้าออกจากรองเท้าและไม่ได้รับบาดเจ็บ   โดยจากเหตุการณ์ในครั้งนั้น ทางท่าอากาศยานดอนเมืองออกมาวางมาตรการเข้มงวดในการป้องกันเหตุเพิ่มเจ้าหน้าที่ตรวจสอบสถานการณ์ทำงานของอุปกรณ์ทางเลื่อน 8 รอบต่อวัน เพื่อเฝ้าระวังหรือตรวจสอบความผิดปกติของอุปกรณ์ นอกจากนี้ยังมีมาตรการเพิ่มเติม ประกอบด้วย   1. เพิ่มความละเอียดถี่ถ้วนในการตรวจสอบอุปกรณ์ตามวงรอบในแต่ละวัน หากพบว่าหวีบันไดเลื่อนและทางเลื่อน หรืออุปกรณ์ใดชำรุดเสียหายมากกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ผู้ผลิตกำหนดจะดำเนินการเปลี่ยนอุปกรณ์ที่ชำรุดโดยทันที รวมถึงการซ่อมบำรุงรักษาให้มากกว่าแผนงาน (preventive maintenance)   2. จัดหาอะไหล่สำรองที่ชำรุดบ่อยให้เพียงพอต่อการซ่อมบำรุงรักษาประจำปี   3. จัดทำป้ายสติ๊กเกอร์คำเตือนการใช้งานให้คลอบคลุมทุกหัวข้อตามคำแนะนำของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ และติดตั้งในตำแหน่งที่มองเห็นชัดเจนมากยิ่งขึ้น     อย่างไรก็ดี แม้จะมีการยกระดับตรวสอบการทำงานของอุปกรณ์ทางเลื่อนมากถึง 8 รอบต่อวัน แต่ท้ายที่สุดยังคงเกิดเหตุซ้ำ และส่งผลให้มีผู้โดยสารได้รับบาดเจ็บรุนแรง…