เรื่องต้องรู้? “ประชุมออนไลน์” ต้องมี 7 องค์ประกอบที่ ก.ม. รองรับ!

Loading

    กำลังเป็นประเด็นร้อนของสังคม อย่างมากสำหรับกรณี คลิปการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 66 ของ ไอทีวี เมื่อวันที่ 26 เม.ย. 66 กับรายงานการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น   กำลังเป็นประเด็นร้อนของสังคม อย่างมากสำหรับกรณี คลิปการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 66 ของ ไอทีวี เมื่อวันที่ 26 เม.ย. 66 กับรายงานการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 66 ในประเด็นที่ว่า ไอทีวี ยังดำเนินกิจการเกี่ยวกับสื่อหรือไม่ ที่พบว่า การตอบคำถามสถานะบริษัทเรื่องธุรกิจสื่อ กลับพบคำตอบไม่ตรงกับเอกสารรายงานการประชุม   โดย รายการ “ข่าว 3 มิติ” นำมาเปิดเผยที่แรก จนกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง และมีการตั้งข้อสังเกตว่า มีการแก้ไขรายงานการประชุมผู้ถือหุ้นหรือไม่   ซึ่งการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 66 ของ ไอทีวี เป็นการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือเรียกว่า การประชุมออนไลน์ หรือ อี-มีทติ้ง (e-Meeting)   วันนี้พามารู้จักกันว่า…

ใครคือ ‘เทด คาซินสกี’ เจ้าของฉายา ‘ยูนาบอมเบอร์’

Loading

    วันที่ 4 พฤษภาคม 1998 ผู้พิพากษาประกาศคำตัดสินลงโทษจำคุก ธีโอดอร์ จอห์น คาซินสกี หรือที่คนทั่วไปรู้จักในชื่อ ‘ยูนาบอมเบอร์’ ตลอดชีวิต และให้คุมขังไว้ในเรือนจำซึ่งมีการดูแลความปลอดภัยขั้นสูงสุด นับแต่นั้นมา คาซินสกีต้องไปชดใช้กรรมความผิดที่ ‘เอดีเอ็กซ์ ฟลอเรนซ์’ ในรัฐโคโลราโด ซึ่งนับเป็นเรือนจำที่มีมาตรการควบคุมนักโทษที่เข้มงวดที่สุดแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกา ห้องขังของเขามีความกว้างขนาด 3.60 x 3.60 เมตร หรือขนาดใกล้เคียงกับกระท่อมที่เขาใช้เป็นสถานที่ประดิษฐ์ระเบิด   เทด คาซินสกี เริ่มประดิษฐ์พัสดุบรรจุระเบิดที่กระท่อมในป่าเขตรัฐมอนทานาตั้งแต่ปี 1978 และจัดส่งไปทั่วประเทศ ระเบิดของเขาคร่าชีวิตเหยื่อไป 3 ราย และบาดเจ็บอีก 23 คน ส่วนหนึ่งบาดเจ็บสาหัส การส่งพัสดุระเบิดของเขากินเวลาต่อเนื่องยาวนานถึง 17 ปี และนับเป็นการติดตามหาตัวคนร้ายที่ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์อาชญากรรมของสหรัฐอเมริกา เนื่องจากเป้าหมายระเบิดครั้งแรกเขามุ่งไปที่มหาวิทยาลัยและสายการบิน เจ้าหน้าที่สืบสวนจึงตั้งฉายาเขาว่า ‘ยูนาบอมเบอร์’ จากอักษรตัวแรกของเป้าหมายระเบิด คาซินสกีเลือกเหยื่อของเขาแบบไม่ตั้งใจ สำหรับเขาแล้วมันคือสัญลักษณ์ของวิถีชีวิตที่ใช้เทคโนโลยีในการทำลายความสงบสุขของสังคม   เขาเกิดเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 1942 ในชิคาโก…

Binance เตือนผู้ใช้ระวังสแกมเมอร์สวมรอย Gulf Binance หลอกร่วมลงทุน

Loading

    ในโลกที่คนส่วนใหญ่สามารถสร้างโปรไฟล์โซเชียลมีเดียได้อย่างง่ายดายเพียงแค่ปลายนิ้ว จึงไม่น่าแปลกใจหากคุณจะเจอแอคเคาท์ปลอมของบุคคลหรือองค์กรที่เป็นที่รู้จักตามหน้าโซเชียลมีเดีย คอมเมนท์ตามโพสต์ต่างๆ หรือแม้กระทั่งในแอปพลิเคชันแชท อย่าง Telegram ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว องค์กรต่างๆ ไม่สามารถควมคุมแอคเคาท์ปลอมบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียเหล่านี้ได้ จึงทำให้เหล่าผู้ไม่หวังดีสามารถสร้างแอคเคาท์ปลอมขึ้นมาใหม่ได้อย่างง่ายดายในเวลาแค่ไม่กี่วินาที แม้ว่าองค์กรต่างๆ จะพยายามอย่างหนักที่จะแก้ปัญหาดังกล่าวด้วยการแจ้งปัญหาที่เกิดขึ้นไปที่ผู้ผลิตแพลตฟอร์มโดยตรงก็ตาม   บทความของ Binance ชิ้นนี้ จึงมุ่งเน้นไปที่การปกป้องผู้ใช้จากการตกเป็นเหยื่อของสแกมเมอร์ที่แอบอ้างเป็นองค์กรที่มีความน่าเชื่อถือ เพื่อหลอกให้ผู้ใช้โอนเงินหรือแชร์ข้อมูลส่วนตัว โดยสแกมเมอร์เหล่านี้มักจะสร้างเรื่องเท็จที่อ้างอิงกับเหตุการณ์ปัจจุบัน พร้อมเชื่อมโยงกับบริบททางสังคมที่หลากหลาย โดยพวกเขาอาจจะติดต่อเหยื่อผ่านทางโทรศัพท์ การส่งข้อความ หรืออีเมล หรือแม้กระทั่งตั้งคอลเซ็นเตอร์ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์เพื่อเพิ่มความสมจริงและทำให้ดูเหมือนเป็นองค์กรที่ถูกต้องตามกฏหมาย   สำหรับประเทศไทย การหลอกลวงทางอินเทอร์เน็ตหรือสแกมนั้นเกิดขึ้นเป็นวงกว้าง โดยมีรายงานว่ามีเหยื่อได้รับความเสียหายจากการถูกโจรกรรมคิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 31,580 ล้านบาทภายในหนี่งปี ทั้งนี้ การหลอกลวงโดยแอบอ้างชื่อองค์กรบนแพตฟอร์มโซเชียลมีเดีย อย่าง Facebook ได้เกิดขึ้นกับ Gulf Binance ด้วยเช่นกัน ภายหลังจากที่บริษัทร่วมทุนระหว่าง Binance และ Gulf ได้รับใบอนุญาตผู้ประกอบกิจการสินทรัพย์ดิจิทัลจากกระทรวงการคลังของประเทศไทย ผ่านสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)   ตัวแทนจาก Gulf Binance กล่าวว่า “บริษัทกำลังอยู่ในขั้นตอนของการเตรียมความพร้อมศูนย์ซื้อขายและนายหน้าสินทรัพย์ดิจิทัล เพื่อให้เป็นไปตามกำหนดการที่จะเปิดให้บริการภายในไตรมาสที่ 4…

ภัยออนไลน์ ที่จ้องเล่นงานคุณ

Loading

    ภัยออนไลน์ ที่ยังระบาดอย่างต่อเนื่อง ระวังตัวให้ดี เงินที่หามาแสนลำบาก อาจโดนปล้นไปโดยไม่รู้ตัว งั้นวันนี้เรามาอัพเดทกันหน่อยดีกว่าว่า โจรที่มากับโลกอินเทอร์เน็ต จะมาขโมยเงินของเราในรูปแบบไหนบ้าง และวิธีป้องกัน   เริ่มจากภัยหลายๆ คนมองข้าม คิดว่าไม่มีอะไร แต่หารู้ไม่ว่ากำลังเปิดประตูให้โจรเข้ามาในเครื่องของคุณ นั้นก็คือการ WiFi ฟรี   ภัยออนไลน์ WiFi ฟรี   WiFi ฟรีที่มาจากร้านกาแฟ ร้านอาหาร สนามบิน ที่ดูเหมือนจะไม่มีอะไร แต่เราจะรู้ได้ยังว่า WiFi ตัวนั้นปล่อยออกมาจากร้านนั้นจริงๆ ไม่ได้มีใครก็ไม่รู้ที่เปิดคอมพิวเตอร์แล้วปล่อยสัญญาณ WiFi ที่ตั้งชื่อแบบเดียวกัน ซึ่งเรื่องนี้ เราไม่มีทางรู้เลย แล้วคนร้ายที่แอบปล่อยสัญญาณก็สามารถเห็นการกระทำบนโลกอินเทอร์เน็ตของเราทุกอย่าง ถึงหลายคนจะบอกว่า https นั้นเข้ารหัส แต่มันก็ใช้ว่าจะถอดไม่ได้ เมื่อคุณอยู๋ในวง WiFi ของเขา ก็เหมือนคุณอยู่ในเงื้อมือของเขาเช่นกัน เพราะทุกการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต คนร้ายจะเป็นคนกลาง หรือที่เรียกว่า Man in the Middle เขาสามารถเห็นทุกอย่าง และยังสามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลทุกอย่างได้ด้วย​…

‘ญี่ปุ่น’ ผู้นำเทคโนโลยีโลก แต่ล้าหลังด้าน’ดิจิทัล’

Loading

  ‘ญี่ปุ่น’ ผู้นำเทคโนโลยีโลก แต่ล้าหลังด้าน’ดิจิทัล’ โดยการดำเนินงานระหว่างหน่วยงานรัฐบาล 1,900 รายการ ยังคงใช้เทคโนโลยีจัดเก็บข้อมูลแบบเก่า เช่น ซีดี, แผ่นดิสก์ขนาดเล็ก และฟลอปปีดิสก์   ญี่ปุ่น ในความทรงจำของคนทั่วโลกเป็นดินแดนแห่งอนาคต เพราะเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรม เป็นดินแดนแห่งวิทยาการด้านหุ่นยนต์ แต่ประเทศเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลกแห่งนี้ ยังมีอีกหลายด้านที่ขัดแย้งในตัวเอง โดยเฉพาะเมื่อพูดถึงเศรษฐกิจดิจิทัล และดูเหมือนว่าการชอบใช้เงินสดของชาวญี่ปุ่น เป็นแค่ตัวอย่างหนึ่งของความเฉื่อยชาในการตอบสนองต่อกระแสเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศยักษ์ใหญ่แห่งเอเชียตะวันออก   ข้อมูลของกระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรมญี่ปุ่น(เมติ) ระบุว่า แม้การชำระเงินแบบไร้เงินสดในญี่ปุ่นจะเติบโตกว่า 2 เท่าตลอด 10 ปีที่ผ่านมา โดยมีสัดส่วนการชำระเงินแบบไร้เงินสดอยู่ที่ 36% ในปี 2565 แต่สัดส่วนการชำระเงินแบบไร้เงินสดของญี่ปุ่น ยังคงล้าหลังกว่าประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเดียวกัน ทั้งเกาหลีใต้และสิงคโปร์ ที่ล้วนเป็นประเทศที่มีการชำระเงินแบบไร้เงินสดมากที่สุด   อาซาฮิ ร้านอาหารของ’ริวอิจิ อูเอกิ’ เป็นร้านที่รับเฉพาะเงินสด เช่นเดียวกับร้านอาหารอื่น ๆ ที่เขารู้จัก โดยอูเอกิ เจ้าของร้านอาซาฮิ รุ่นที่…

ถอดบทเรียนโศกนาฏกรรมรถไฟชนกันที่อินเดีย

Loading

  การรถไฟของอินเดียทำงานอย่างไม่หยุดหย่อน เพื่อฟื้นสภาพรางรถไฟ หลังเกิดเหตุรถไฟชนกัน ครั้งเลวร้ายที่สุดในรอบหลายสิบปี เมื่อวันที่ 2 มิ.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นโศกนาฏกรรมที่จุดกระแสความกังวล เกี่ยวกับเครือข่ายระบบรางขนาดใหญ่แห่งหนึ่งของโลกอีกครั้ง   นายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี ผู้นำอินเดีย ผลักดันการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านรถไฟให้ทันสมัย ด้วยงบประมาณ 30,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1 ล้านล้านบาท) เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจและการเชื่อมต่อของอินเดีย โดยให้รถไฟเป็นรูปแบบการเดินทางระยะไกลที่ต้องการ และมีราคาถูกที่สุด สำหนับประชาชนและการขนส่งสินค้า ทว่าเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่แล้ว โมดีกลับพบซากรถไฟ 3 ขบวนในสภาพพังยับเยิน และแสดงความเสียใจต่อครอบครัวของผู้เสียชีวิตเกือบ 300 ราย   ผู้สันทัดกรณีหลายคนกล่าวว่า เหตุรถไฟชนกันที่เขตบาลาซอร์ ในรัฐโอริสสา ทางตะวันออกของอินเดีย บ่งชี้ระบบรถไฟที่ซับซ้อนและล้าสมัยของประเทศ ยังคงต้องพัฒนากันอีกยาวไกล   “ความล้มเหลวในการดำเนินงานเพียงอย่างเดียว ไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับการรถไฟของอินเดีย” นายสุพจน์ เชน อดีตเจ้าหน้าที่ระดับสูงของการรถไฟอินเดีย กล่าว “ขณะนี้ กลไกด้านความปลอดภัยมีความมั่นคงมากขึ้น แต่มันอยู่ระหว่างดำเนินการ”   Guardian News   การรถไฟอินเดีย…